วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

พรรคประชาชาติส่ง "มนตรี" เสวนาเวทีผู้นำฝ่ายค้านฯ ระดมสมองหาทางออก แก้หนี้ แก้จน เพื่อชีวิตใหม่


เมื่อวันที่ 11  กุมภาพันธ์ 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานจาก โรงแรมสยามริเวอร์รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ว่า เมื่อเวลา 09.30น. ที่ผ่านมา นายมนตรี บุญจรัส กรรมการบริหารพรรคประชาชาติ และ รองโฆษกพรรคประชาชาติ, ที่ปรึกษากรรมาธิการแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรม และ กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย ในฐานะ ผู้แทนพรรคประชาชาติ เดินทางมาเสวนา “โครงการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรพบประชาชน : ระดมสมอง หาทางออก แก้หนี้ แก้จน เพื่อชีวิตใหม่” โดยมีแกนนำและตัวแทนพรรคร่วมฝ่ายค้าน รวมถึงประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมอย่างคึกคัก อาทิ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ฯลฯ เป็นต้น 

นายมนตรี บุญจรัส กรรมการบริหารพรรคประชาชาติ และ รองโฆษกพรรคประชาชาติ ระบุว่า “ภาครัฐควรมุ่งเน้นการให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนภาคการเกษตรของประเทศ รวมถึงการลดต้นทุนการผลิต ทั้งนี้ ภาคเกษตรถือเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยเนื่องจากเป็นต้นทางของปัจจัยในการดำรงชีวิต ทั้งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค รวมทั้งยังเป็นแหล่งรองรับแรงงานจากภาคการผลิตอื่น ๆ และไม่ว่าราคาผลผลิตจะตกต่ำอย่างไร เกษตรกรควรต้องมีกำไร การลดต้นทุนการผลิตที่สำคัญ คือ การส่งเสริมสนับสนุนแนวคิดการลดต้นทุนปุ๋ยเคมีให้เป็นศูนย์ ซึ่งประเทศไทยมีแหล่งแร่โพแทสเซียมจำนวนมหาศาล อยู่ที่แอ่งชัยภูมิและแอ่งโคราช รัฐจึงควรเร่งสร้างโรงงานปุ๋ยผลิตเองและนำไปบาร์เตอร์กับแม่ปุ๋ยตัวอื่น ๆ เช่น ไนโตรเจนและ ฟอสฟอรัสจากประเทศผู้ส่งออก และให้ความสำคัญจากผลพลอยได้ แม่ปุ๋ยไนโตรเจน (N) ที่ได้จากการผลิตน้ำมัน สามารถนำมาใช้ในภาคการเกษตรให้มากขึ้น แทนที่จะไปเป็นสารตั้งต้นให้กลุ่มอุตสาหกรรมมากเกินไป เพื่อให้ปุ๋ยในประเทศมีราคาถูก เพื่อมุ่งลดต้นทุนให้เกษตรกร รวมถึงรัฐควรมีนโยบายส่งเสริมเรื่องการคืนสิทธิ์ที่ดินทำกินและโครงการล้างหนี้ให้เกษตรกรตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ด้วย”


นายมนตรี บุญจรัส กล่าวเพิ่มเติมว่า “ภาครัฐควรดำเนินนโยบายขับเคลื่อนภาคเกษตร ในมิติต่าง ๆ ทั้งการสนับสนุนปัจจัยพื้นฐานของการทำเกษตร การบริหารจัดการน้ำ และการพัฒนาระบบขนส่ง ทั้งระบบขนส่งทางรางและท่าเรือน้ำลึก การส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม การพัฒนาช่องทางการตลาดที่หลากหลาย ตลอดจนการแก้ไขปัญหาหนี้สินและพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่ออาชีพเกษตรกรครับ”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ธรรมะกับประชาธิปไตยไยห่วงใยสถาบันศาสนา

การวิเคราะห์ประชาธิปไตยในปริบทพุทธสันติวิธีชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ในระบอบประชาธิปไตย เพื่อลดความขัดแย้ง สร้างควา...