วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ผอ.สันติศึกษา"มจร" บรรยายสันติภาพ แก่นักศึกษา๔ส.รุ่น๑๓ สถาบันพระปกเกล้า


(คลิป https://youtube.com/shorts/haL6l_4Kgxs?feature=share)

วันที่ ๑๖  กุมภาพันธ์  ๒๕๖๖  พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์, ศ.ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตรนานาชาติและผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)  บรรยายแลกเปลี่ยนกับนักศึกษาหลักสูตร "เสริมสร้างสังคมสันติสุข" รุ่น ๑๓ สถาบันพระปกเกล้า โดยกล่าวประเด็นสำคัญว่า "ตัวรู้ กับ ความรู้" โดยเรามุ่งตัวความรู้มากกว่าความตัวรู้ แต่แท้จริงแล้วตัวรู้มีความสำคัญมากกว่าความรู้ จึงต้องพัฒนาสันติภาพที่มีความเย็นสงบ โดยInner Peace มีความสำคัญอย่างไร ? อะไรคือสันติภาพภายนอกโดยมอง ๕ P. ประกอบด้วย มิติสังคม (People) มิติเศรษฐกิจ (Prosperity) มิติสิ่งแวดล้อม (Planet) มิติสันติภาพและสถาบัน (Peace) และมิติหุ้นส่วนการพัฒนา (Partnership) โดยมิติของสันติภาพมี ๔ มิติ อันประกอบด้วย 

๑)สันติภาพเชิงกายภาพ   เป็นมิติสิ่งแวดล้อม  การอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ  จึงมุ่งพัฒนาสันติศึกษาโคกหนองนา ธนาคารน้ำ ใส่ใจดินน้ำลมป่าอาหาร อาชีพ เป็นการรับผิดชอบต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๒)สันติภาพเชิงพฤติภาพ  เป็นมิติการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างและความขัดแย้งในสังคม การเข้าไม่ถึงความยุติธรรม จึงมีการขับเคลื่อนศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน สันติศึกษาพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยอย่างมืออาชีพ  ๓)สันติภาพเชิงจิตตภาพ เป็นมิติด้านจิตใจ คนมีความทุกข์มากในสังคม แต่เราหายใจไม่เป็น จึงมุ่งพัฒนาสันติภายใน เป็น  ๔)สันติภาพเชิงปัญญาภาพ มิติการทำงานร่วมกัน ใช้ปัญญาออกไปช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์  

จึงสะท้อนว่า การสร้างสันติภายในคือ การพัฒนาสติ จึงมุ่งพัฒนาเชิงรับเพื่อสนับสนุนเชิงรุก  เหมือนน้ำในเขื่อนมีความนิ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้า สติเป็นมารดาของทุกสิ่งทุกอย่าง เพียงสนใจสติตัวเดียวเท่านั้นจบมีพลังอำนาจแต่อำนาจภายในสำคัญที่สุด โดยอำนาจภายใจประกอบด้วย "ศรัทธาเชื่อมั่นตนเอง วิริยะมีความกล้า  สติปักมุดชีวิต  สมาธิมีความแน่วแน่  และปัญญาจะหาเครื่องมือมาช่วย" สติไม่ได้อยู่ภายนอกแต่สติอยู่ภายในของเรา จึงต้องไม่สงสัยในความสามารถของตนเอง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ธรรมะกับประชาธิปไตยไยห่วงใยสถาบันศาสนา

การวิเคราะห์ประชาธิปไตยในปริบทพุทธสันติวิธีชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ในระบอบประชาธิปไตย เพื่อลดความขัดแย้ง สร้างควา...