วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2561

"อภิสิทธิ์"เตือน!ปชช.มองศก.ไทยแย่กว่ายุคต้มยำกุ้ง



 "อภิสิทธิ์"เตือน!ปชช.มองศก.ไทยแย่กว่ายุคต้มยำกุ้ง  แนะศาสนาต้องไม่แยกจากวิถีชีวิตชุมชน




จากการเดินทางไปบรรยายเรื่อง "ประเทศไทยจะก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างไร" ที่ห้องประชุมคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)  ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์  แก่ผู้บริหาร คณาจารย์ พระนิสิต นิสิต มจร และประชาชนทั่วไป เมื่อวันที่ 25 ม.ค.2561 ที่ผ่านมานั้น



นายอภิสิทธ์ได้ชี้ให้เห็นถึงสภาพของสังคมโลกปัจจุบันที่เรียกว่า "โลกาวิวัฒน์" ที่มีความเจริญด้วยเทคโนโลยีโดยเฉพาะด้านการสื่อสารทำให้ประชาคมโลกไร้พรมแดน ขณะที่ประเทศไทยก็ได้ประกาศนำมาเป็นปัจจัยในการพัฒนาผลักดันให้เป็นประเทศที่เจริญแล้วหรือเรียกว่า "ไทยแลนด์ 4.0" แต่นายอภิสิสิทธิ์ก็เกรงว่า จะเป็นการพัฒนาที่ลืมรากฐานวัฒนธรรมไทย สูญเสียความเป็นอัตลักษณ์ไทยหรือไม่ เพราะต้องมีความพอดีหากมีความเป็นชาตินิยมหรือ "ไทยนิยม" แต่ก็ต้องเคารพกติกาของสังคมประชาคมโลก หรือกติกาโลกด้วย



"เทคโนโลยีมีผลทั้งทางทำลายและสร้างสรรค์ เทคโนโลยีไม่ใช่แค่สะดวก แต่เทคโนโลยีเริ่มทำลาย เปลี่ยนวิถีชีวิตคน ประเทศที่เจริญแล้วกลัวหุ่นยนต์มาก พนักงานกลัวมาก เพราะหุ่นยนต์มาแทนการบริการของผู้คน ปัจจุบันธนาคารอาจจะต้องปิดสาขา วิชาอาชีพสูงๆ เช่น แพทย์ก็ไม่แน่นอน ต่อไปจะมีระบบคอมพิวเตอร์วินิจฉัยโรคแทนอาชีพแพทย์ได้"  หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวและว่า



เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงจึงมีการเปลี่ยนพฤติกรรมคน วิถีชีวิตเราเปลี่ยนไป  คนปัจจุบันต้องการความเป็นอิสระ คนปัจจุบันไม่นิยมนำตนเข้าไปผูกพันกับองค์กร แต่ต้องการที่จะเป็นเจ้าของกิจการเอง เรื่องสื่อเทคโนโลยีจึงทำให้เรามีสมาธิสั้นลง เราจะคาดหวังให้สังคมไทยอุดมด้วยปัญญา พื้นฐานสำคัญ คือ เราจึงต้องอ่าน พอไม่อ่านก็ฉาบฉวย เวลาจะใส่ร้ายป้ายสีใคร เราเขียนประโยคเดียวก็ทำร้ายใครได้ แต่เวลาเขียนอธิบายต้องเขียนยาว บอกว่าเกิน 7 บรรทัดไม่อ่านเป็นความท้าทาย น่ากลัวมากที่สุดคือการใช้สื่อเทคโนโลยีที่เอาความเท็จใส่กัน



ขณะที่ธุรกิจสื่อสารมวลชนกังวลมาก เพราะทุกคนเป็นสื่อสารมวลชนด้วยตนเอง เพราะทุกคนสามารถไลฟ์สดด้วยตนเองผ่านทางเฟชบุ๊ค เทคโนโลยีเจริญทำให้คนมีความมั่นคงในชีวิตน้อยลง ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจและสังคม



ปัญหาสังคมไทยมีความแตกแยก แบ่งขั้ว ตามอิทธิพลทางการเมือง ซึ่งระบบประชาธิปไตยนั้นต้องฟังชาวบ้าน เพราะหากไม่ได้ฟังชาวบ้านจะทำให้ไม่เห็นความจริงตอบโจทย์ปัญหาไม่ได้ เมื่อขาดความเป็นประชาธิปไตยจึงทำให้ไม่เห็นหลากหลายมุมมอง ขณะที่ประชากรไทยเข้าสู่ยุคผู้สูงวัย ปัจจุบันคนไม่แต่งงานหรือแต่งก็อายุ 40 ปีขึ้น แต่งแล้วไม่ต้องการมีลูก เจึงเป็นสังคมที่ขาดแคลนแรงงานจึงเป็นสังคมที่พึ่งแรงงานต่างด้าว



ปัญหาเศรษฐกิจ ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยมีรายได้ระดับปานกลาง แต่รัฐบาลปัจจุบันกำลังจะพัฒนาเป็นประเทศที่มีรายได้สูง แต่สิ่งที่เรากำลังเผชิญคือ ติดกับดัก ซึ่งเวลาพูดเรื่องเศรษฐกิจมีการกันพูดคนละภาษา แต่ประชาชนมองว่า ยุคนี้มีเศรษฐกิจแย่ขนาดว่า "ต้มยำกุ้ง" ที่ว่าแย่แล้ว แต่ปัจจุบันเศรษฐกิจแย่ยิ่งกว่า เพราะมีโครงสร้างทางสังคมเปลี่ยนแปลง



จากสภาพปัญหาดังกล่าวแล้ว "ประเทศไทยจะก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างไร"



นายอภิสิทธ์ได้แนะว่าต้องวางแผนยุทธศาสตร์ โดยให้เริ่มที่การพัฒนาคนเตรียมความพร้อมของคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านภาษา ซึ่งได้ยกจังหวัดพิษณุโลกมีการทดลองภาษาอังกฤษ ด้วยการให้ชาวต่างชาติมาสอนภาษาอังกฤษเด็กอนุบาล เป็นโรงเรียนชายขอบชนบท ทำให้เด็กสื่อสารภาษาได้ดีมาก ปัจจุบันคนไปเรียนเป็นจำนวนมาก สิ่งสำคัญคือ"ผู้บริหาร ครู นักเรียน จัดการเรียนรู้ร่วมกัน" ถือว่าเป็นการกระจายอำนาจ ด้วยการเปิดโอกาสให้คิดทำกันเอง ขณะเดียวกันปัจจุบันนี้หลักสูตรต่างๆ กลัว สกอ.มากเพราะมีตัวชี้วัดมากมายเพราะต้องการคุณภาพ



ด้านเศรษฐกิจโดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี เมื่อรัฐบาลตั้งความหวังเรื่อง 4.0 สร้างนวัตกรรมก็จะต้องสร้างคนให้รองรับในยุค 4.0 ธุรกิจ 4.0 ต้องสร้างกฎหมายรองรับ อย่าให้ผิดกฏหมายด้านคอมพิวเตอร์



ด้านการเมืองประชาธิปไตยไม่ใชามุ่งเลือกตั้งอย่างเดียว จะต้องเน้นการมีส่วนร่วม รับผิดชอบ ความโปร่งใส ประสิทธิภาพ ตามหลักธรรมาภิบาล ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต ปราศจากการทุจริตคอรัปชั่นอย่างประเทศจีน ต้องสร้างบรรยากาศในการอยู่ร่วมกัน ความเป็น 4.0 จึงจะเกิดขึ้น



สุดท้ายต้องย้อนกลับมาหาคำว่า "คุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม" โดยศาสนาจะต้องเข้ามีส่วนร่วมส่วนช่วยให้คนในสังคมดีขึ้น โดยความจริงศาสนากับรัฐเราต้องพึงตระหนักระมัดระวัง ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลก "ศาสนาต้องไม่แยกจากวิถีชีวิตของชุมชน" ในอดีตวัดเป็นศูนย์กลางมีบทบาทในช่วยให้ชุมชน ศาสนาต้องบทบาทในการช่วยให้สังคมดีขึ้น ประเทศไทยจะเดินหน้าพวกเราทุกคนต้องช่วยกัน การส่งเสริมการสร้างความเข้าใจระหว่างทุกศาสนาในประเทศไทย โดยเน้นการอยู่ร่วมกันเป็นที่สุด



ปัจจุบันนี้ศูนย์กลางการศึกษาของพระพุทธศาสนาในมหาจุฬาฯถือว่าเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาในโลก เพราะมีความก้าวหน้ามากสู่ระดับของนานาชาติโดยมีพระนิสิตจากทั่วโลกเข้ามาศึกษาเป็นจำนวนมาก รวมถึงมีวิทยาลัยเขตอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะมีส่วนช่วยสรรสร้างสังคม ชุมชน ให้เกิดสันติสุขได้



................

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Pramote OD Pantapat พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

22 เมษา วันคุ้มครองโลก วัดพระธรรมกายถวายสังฆทานคณะสงฆ์ 10,000 วัดทั่วประเทศ และถวายสังฆทานสงฆ์ 4 จ.ชายแดนใต้

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2567 เป็นวันคุ้มครองโลก หรือ Earth Day เกิดขึ้นโดยวุฒิสภาชาวอเมริกันชื่อ Gaylord Nelson ที่ได้รณรงค์ให้ชาวอเมริกันร่วม...