วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562

“นักปรัชญา” อาชีพที่จะมาแรงในยุค AI



 ในยุคเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ อาจารย์อาร์ท - อรรถพล ปะมะโข อาจารย์ภาควิชาภาษาอังกฤษและภาษาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง คาดการณ์ว่าอาชีพของการเป็น “นักปรัชญา” จะเป็นที่ต้องการอย่างยิ่งยวดในอนาคตข้างหน้า เพราะการตัดสินใจในโจทย์ที่ยาก จึงทำให้นักปรัชญาจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยออกแบบแนวทางให้กับอนาคตของปัญญาประดิษฐ์ได้ 

เคนท์ วอล์คเกอร์ รองประธานอาวุโสฝ่ายกิจการทั่วโลกของกูเกิลที่เพิ่งจะเดินทางมาประเทศไทยเมื่อเร็วๆ มานี้ เขาเป็นคนร่างแนวคิดในการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ทั้ง 7 ข้อ เพื่อให้กูเกิลที่เป็นองค์กรระดับแถวหน้าของโลกในการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ได้ยึดถือเป็นแนวทางและปฏิบัติตาม

อีลอน มัสค์ บิลล์ เกตส์ และสตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง ซึ่งล้วนแล้วแต่เคยออกมาเตือนสังคมโลกว่าให้ระมัดระวังในการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์เพราะสักวันหนึ่งมันอาจจะออกมาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์ก็ได้ น่าจะสามารถอธิบายได้ด้วยปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Uncanny Valley 


ส่วนคำถามที่ว่าแล้วปัญญาประดิษฐ์จะต้องมีจริยธรรมในเรื่องต่างๆ อย่างไรบ้างนั้น ตอนนี้คงไม่มีคำตอบชัดเจน แต่นี่น่าจะเป็นช่วงเวลาสำคัญที่เราจะต้องเริ่มระดมสมองกันแล้วว่าหากเราจะพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ต่อไป แนวคิด จริยธรรม วิสัยทัศน์ หรือกระบวนการตัดสินใจแบบไหนที่เราจะอยากให้มีอยู่ในโปรแกรม เพราะเราจะต้องช่วยกันวางรากฐานนี้ไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยการกำหนดกฎเกณฑ์แนวทางในการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ร่วมกัน วางแผนให้ลูกเรียนด้านปรัชญาตอนนี้อาจจะเป็นการการันตีว่าจบมาน่าจะเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงาน หรือไม่ก็จะไม่เตะฝุ่นนานเกินไปก็ได้

Cr.http://dv.co.th/blog-th/Philosopher-vs-AI/?fbclid=IwAR3l4qesQzmYB59XLrgEhAHnp3dPq4hgGdVxMSmvic4IDew0XJumR6a24Hc

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนวทางนำ "เครือข่าย ไอที การวิจัย" ช่วยยกระดับการศึกษาคณะสงฆ์ไทยยุค AI

การยกระดับการศึกษาคณะสงฆ์ไทยในยุค AI จำเป็นต้องใช้เครือข่าย ไอที และการวิจัยเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนา แม้ว่าจะมีความท้าทาย แต่การวางแผนแ...