วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

งานเขียนเกี่ยวกับพุทธศาสนาในโลกมุสลิม



เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2563  เพจ Sãi Bản Mường ได้โพสต์ข้อความว่า 



งานเขียนเกี่ยวกับพุทธศาสนาในโลกมุสลิม
Writings on Buddhism in Muslim World

หลังการพิชิตของมุสลิมอาหรับไปทั่วเขตตะวันออกกลาง อิหร่าน และอัฟกานิสถาน จนถึงแอฟริกาเหนือ อาระบิกหรือภาษาอาหรับกลายเป็นภาษากลางที่สืบทอดวัฒนธรรมภูมิปัญญาจากตะวันออกสู่ตะวันตก และหนึ่งในตัวอย่างที่ชัดเจนคือตำนานพุทธประวัติเป็นที่ได้เดินทางส่งไปจากอินเดียสู่อาหรับและยุโรป

ปี 767-815 พุทธประวัติในพากษ์ภาษาอาหรับ
• กีตาบ อัล-บุดด์ (Kitab al-Budd) หรือ "ตำราว่าด้วยพระพุทธเจ้า"('Book of the Buddha')
• กีตาบ บูธาสาฟ มุฟรัด(Kitab Budhasaf mufrad) หรือ "ตำราว่าด้วยอัตชีวประวัติของพระพุทธเจ้า" (Book of Buddha by himself) ได้เรียบเรียงขึ้นในสมัยของกาหลิบอัล-ฮารูน จากฉบับแปลของพุทธประวัติพากษ์ฉบับอินเดีย

• กีตาบอัลบุดด์ต่อมาได้ถูกนำไปดัดแปลงโดยกวีชาวแบกแดด อะบัน อัลลาหิกี(al-Lahiki 750-815) ซึ่งไม่เหลืออยู่อีกต่อไป แต่เนื้อหาที่สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เหลืออยู่ปรากฏในตำราชื่อ "กีตาบ บิเลาว์ฮาร์ วา-บูธาสาฟ"(Kitab Bilawhar wa-Budhasaf) หรือ "ตำราว่าด้วยบิเลาว์ฮาร์และบูธาสาฟพร้อมด้วยคำแนะนำและคำอุปมาอันเปี่ยมด้วยปัญญา"('Book of Bilawhar and Budhasaf, with Exhortations and Parables filled with Wisdom") เหลืออยู่เป็นตอนหนึ่งของ Nihayat al-lrab fi Akbar al-Furs wa'l-'Arab เป็นส่วนหนึ่งของ Ibn al-Mukaffa 42 เรื่องบิเลาว์ฮาร์และบูธาสาฟเป็นพุทธประวัติที่ถูกแปลและดัดแปลงแก้ไขเนื้อหาในภาษาอาหรับและเป็นแบบฉบับให้แก่เรื่อง "บาร์ลามและโยซาฟัต" (Barlam ang Josaphat) ของคริสเตียน

อันที่จริงตำนานนี้ในพากษ์ภาษาอาหรับเหลืออยู่ใน "ตำราว่าด้วยความสมบูรณ์แบบแห่งปัญญาและความเต็มพร้อมแห่งความสุข" ('Book of the Perfection of Faith and the Accomplishment of Felicity' /Kitab ikmal ai-din wa 'itmam at-mi 'ma) เขียนโดยอิบน์ บาบูยะ แห่งกุม( Ibn Babuya of Qum)

งานเขียนเกี่ยวกับพุทธศาสนานับว่าจำกัดในหมู่นักวิชาการมุสลิมยุคแรก คัมภีร์กุรอานกล่าวถึงศาสนาหลักทั้งหกคือ อิสลาม ยิว คริสต์ ซาเบียน มาไจ และพหุเทวนิยม โดยไม่เอ่ยถึงพุทธศาสนาเลย

ในสมัยที่กองทัพอาหรับพิชิตเปอร์เซียและเอเชียกลาง ผู้ปกครองมุสลิมเหนือท้องถิ่นชาวพุทธได้เปิดโอกาสให้นักวิชาการมุสลิมได้เริ่มศึกษาพุทธศาสนาและพบบางคำสอนที่มีความใกล้เคียงกันในคัมภีร์อัลกุรอาน กุรอานมีการอ้างถึงศาสนาที่ปรากฏก่อนนบีมูฮัมหมัดนับพันปี แต่ไม่ชัดเจนว่าเป็นพุทธศาสนาหรือไม่

•"บ้านแห่งปัญญา("House of Wisdom"; Bayt al-Hikma)ในเมืองแบกแดด สมัยอับบาสิด ตระกูลบาร์มาคิดได้นิมนต์พระสงฆ์และนักวิชาการพุทธจำนวนหนึ่งมาแปลพระสูตรและคัมภีร์จากภาษาสันสกฤต ซึ่งพอจะหลงเหลืออยู่จนศตวรรษที่ 13 ในจำนวนนั้นที่มีชื่อเสียงนิยมกันในอาหรับได้แก่ประวัติพระพุทธเจ้า (ต่อมาถูกแปลงเป็นเรื่องบิเลาว์ฮาร์และบูธาสาฟ ดังกล่าวแล้ว) และนิทานชาดกต่างๆซึ่งกลายเป็นเค้าของนิทานอาหรับราตรีหลายเรื่อง ก่อนจะแพร่หลายสู่ยุโรปต่อไป

• ปี 700s โอมาร์ อิบน์ อัล-อาซรัค อัล-เกร์มานี(Omar ibn al-Azraq al-Kermani) นักเขียนชาวอิหร่านในสมัยอุมัยยัด ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับนววิหาร(Nava Vihara)ด้วยการพรรณนาเปรียบเทียบได้กับหินกาบะห์แห่งเมกกะ เนื้อหาถูกรักษาไว้ใน "ตำราแห่งแผ่นดิน" (Book of Lands: Kitab al-Buldan) โดย อิบน์ อัล-ฟาคีห์ อัล-หะมะธานี(Ibn al-Faqih al-Hamadhani) ศตวรรษที่ 10 ว่า: "การสิดญะ (sidja -กราบ), อะห์ราม (ahram-ขุดที่ใส่ขณะประกอบพิธีฮัจญ์), ฏอวาฟ(tawaf -การเดินเวียนรอบสถานศักดิ์สิทธิ์) ทีกาบะห์มีลักษณะเดียวกับวิธีการบูชาสักการะของชาวพุทธ" .

• ปี 838 – 923 อัล-ฏะบะรี(al-Tabari) กล่าวถึงกลุ่มนักปรัชญาชาวอินเดียที่ปรากฏตนในอาระเบีย เรียกว่า "อาห์มะระ" (Ahmaras) หรือ กลุ่มชนครองผ้าแดง จากแคว้นสินธ์ อันส่อว่าเป็นพระสงฆ์ในพุทธศาสนา

• อับดัล-การิม อัล-ชาห์รัสตานี (Abd al-Karim al-Shahrastani;1086–1153 CE) -นักวิชาการมุสลิมรุ่นคลาสสิกในด้านศาสนาเปรียบเทียบ ในหนังสือ “ตำราว่าด้วยศาสนาและข้อเชื่อ" (The Book of Religions and Creeds; Kitab al-Milal wa al-Nihal) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับหลักคำสอนพุทธ ในขณะที่อธิบายว่าพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาของเหล่าสมนิยยะ(samaniyya)หรือสมณะ คำที่ใช้เรียกพระภิกษุพุทธในแดนอิหร่าน และให้รายละเอียดอย่างกว้างขวางในอิหร่าน เกี่ยวกับพุทธศาสนาและอิทธิพลต่ออิสลามที่แม้จะมองไม่เห็น
• อัล-ชาห์รัสตานี กล่าวถึงพระพุทธเจ้าด้วยความนับถืออย่างสูงในตอน "ทัศนะแห่งชาวอินเดีย" (The Views of the Indians/ Ara ’ al-Hind)ภายในผลงานชิ้นเอกชุดเดียวกัน แสดงความเคารพต่อพุทธศาสนาและความรุ่มรวยทางจิตวิญญาณในทางพุทธอย่างสูง โดยถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้เดียวกับบุคคลในอัลกุรอานชื่อ อัล-ขิดร์ al-Khidr ในฐานะที่เป็นผู้แสวงหาการตรัสรู้

•1000s ฮามิด อับดุล กาดีร์(Hamid Abdul Qadir,) เสนอว่า ศาสดาธุลกิฟล์ (Dhu’l Kifl) หรือ “บุรุษจากกิฟล์” กล่าวถึงสองครั้งในพระคัมภีร์อัลกุรอานว่าเป็นผู้มีขันติธรรมและความดีงาม คือผู้เดียวกับพระพุทธเจ้า ในหนังสือของเขาเรื่อง “พระพุทธะผู้ยิ่งใหญ่ ประวัติและปรัชญา”(Buddha the Great: His Life and Philosophy: Budha al-Akbar Hayatoh wa Falsaftoh)

•1305 ราชิด-อัล-ดิน ฮะมะดานี (Rashid-al-Din Hamadani) นักประวัติศาสตร์เปอร์เซีย ได้บันทึกถึงพระคัมภีร์ทางพุทธศาสนาประมาณ 11 เล่มที่หมุนเวียนในฉบับแปลภาษาอาหรับ ซึ่งน่าจะแปลมาตั้งแต่สมัยอับบาสิดจากบ้านแห่งปัญญาในแบกแดด โดยพระสงฆ์หรือนักวิชาการพุทธจากอินเดีย ในจำนวนนั้นมีพระสูตรที่พอจะทราบได้คือ
-สุขาวดีวยูหสูตร (ว่าด้วยดินแดนแห่งความสุขของพระพุทธเจ้าแห่งแสงสว่างอันไม่สิ้นสุด-อมิตาภะ)
-การัณฑวยูหสูตร (ว่าด้วยกรุณาของพระอวโลกิเตศวรที่สำแดงร่างหลายปาง)
-บางส่วนของสังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย
-หลายตอนของไมเตรยวยากรณ์ (การพยากรณ์พระไมเตรยะว่า่จะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต)

• ราชิด อัล-ดิน (1247–1318 CE) ผู้ทำงานให้กับราชสำนักอิลข่านแห่งมองโกลเปอร์เซีย ยังด้เรียบเรียง “ชีวประวัติและคำสอนของพระพุทธเจ้า” (Life and Teaching of Buddha) เป็นหนึ่งในบทว่าด้วยประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของผู้คนยุคก่อนมองโกลในผลงานชิ้นเอกเรื่อง "ประวัติศาสตร์สากล" (Compendium of Chronicles/ Jami’ al-Tawarikh) ทั้งในภาษาเปอร์เซียและอาหรับด้วยความปรารถนาให้ความรู้เรื่องพุทธศาสนาเข้าถึงแวดวงของชาวมุสลิม เขาอาจจะได้รับข้อมูลนี้มาจากพระกมลศรี ภิกษุชาวกัศมีร์(แคชเมียร์)ที่เข้ามาในราชสำนักอิลข่านของฆาซานที่แม้จะเป็นมุสลิม ราชิด อัล-ดินมีความสนใจในความงามและความดีของทุกวัฒนธรรมและความเชื่อ ในพุทธประวัติของเขาฉบับนี้ยังใช้ศัพท์ที่ทำให้ชาวมุสลิมเข้าใจพุทธด้วยการเรียกพระพุทธเจ้าว่าศาสดาหรือนบี(prophet) เทวดาว่า ทูตสวรรค์(angels) และมารว่าซาตาน(devil) ด้วยปรารถนาจะทำให้พุทธศาสนาเข้าถึงการรับรู้ของชาวมุสลิม

• ปี1364 ติมูร์(Timur) หรือตาเมอร์เลน(Tamerlaine) ผู้นำทัพมองโกลอีกสาขาหนึ่งได้บุกยึดจักรวรรดิอิลข่าน ชาห์รุข(Shah Rukh) ทายาทของติมูร์ ได้บัญชาให้นักประวัติศาสตร์ ฮาฟิซ อิ อับรู(Hafiz-i Abru) เขียน "ชุมนุมประวัติศาสตร์" (Majma’ al-Tawarikh) ผลงานชิ้นนี้เสร็จสิ้นในปี 1425 ณ เมืองเฮรัต(Herat) อัฟกานิสถาน -เมืองหลวงของชาห์รุข โดยในเนื้อหามีเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนาตามบันทึกของราชิด อัลดินในศตวรรษก่อนหน้านี้

ผู้หญิงมุสลิมกำลังสอนการทำสมาธิทางพุทธศาสนาในจอร์แดน 


ผู้หญิงมุสลิมที่รวดเร็วกำลังสอนสมาธิในจอร์แดนสมาธิไม่จำเป็นต้องแปลงศาสนาใดๆสมาธิไม่ใช่เฉพาะชาวพุทธหรือฮินดู การทำสมาธินำประโยชน์มากมายสำหรับมนุษย์ทุกคน ทุกคนสามารถเรียนฝึกหรือทุกคนสามารถทำสมาธิได้ทุกคนต้องการชีวิตที่มีความสุขโปรดแชร์โพสต์นี้ประโยชน์สำหรับมนุษย์ทุกคน

1 ความคิดเห็น:

"มจร" แจ้งพระศรีสัจญาณมุนี ส่งรายงานแล้ว ขอให้ไปพิสูจน์กันในกระบวนการยุติธรรม

เมื่อวันที่ 29  เมษายน พ.ศ. 2567   พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือเจ้าคุณประสาร รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห...