วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559


เปิดปูมหลัง'กรกต ธำรงวงศ์สวัสดิ์'ปลัดจังหวัดบึงกาฬกับกระแสต้านสร้างมัสยิด

หลังจากกระแสการคัดค้านการสร้างมุสยิดในพื้นที่อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ จนกระทั้งได้รับความสนใจจากนักข่าวนำเรื่องไปถามพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หลังการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 ก.ย.ที่ผ่านมา ทำให้ปรากฏชื่อนายกรกต ธำรงวงศ์สวัสดิ์ ปลัดจังหวัดบึงกาฬ ออกมาชี้แจงและมีหนังสือลงนามอนุญาตการสร้างแทนผู้ว่าราชการจังหวัด ส่งให้มีการค้นข้อมูลว่านายกรกตคนนี้เป็นใครมาจากไหน

จากการค้นข้อมูลปรากฏชื่อนายกรกตจากเว็บไซต์ http://www.bungkan.com ที่ได้นำผู้เสพผู้ติดยาเสพติดเข้าบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพแต่ก็เป็นข่าวเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2558  เมื่อเข้าไปดูข้อมูลจากเว็บดังกล่าวก็พบว่าส่วนใหญ่แล้วเป็นข้อมูลเมื่อปี 2558  ถัดมาปรากฏชื่อนายกรกตในการร่วมกับโครงการเคลื่อนโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา "หมู่บ้านรักษาศีล 5" ลงพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ วันที่ 5  กรกฎาคม 2559 ที่วัดเซกาเจติยาราม (พระอารามหลวง) อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ ซึ่งพระเทพสิทธิญาณรังษี ประธานคณะกรรมการ ในฐานะปฏิบัติหน้าที่แทนผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ ในงานนี้มีพระเถระจากจังหวัดภาคอีสานไปร่วมงานเป็นจำนวนมาก และที่โด่งดังที่สุดก็คือการให้ความเห็นกรณีที่ปลัดอำเภอสาวแต่งตัวฟิตเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2558 หลังจากนั้นก็ปรากฏในข่าวเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ปกติอย่างเช่นการปราบยาเสพติดในพื้นที่ และก็มาโด่งดังอีกครั้งก็คราวเคลื่อนไหวคัดค้านการสร้างมัสยิดที่อำเภอปากคาดนี้เอง

ทั้งนี้มีข้อมูลนายกรกตเป็นนายอำเภออำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนมในปี 2552   ถูกย้ายไปเป็นนายอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ปี 2556  และถูกย้ายมาเป็นปลัดจังหวัดบึงกาฬปี 2558 หากค้นหาจากกูเกิลด้วยคำว่า "กรกต ธำรงวงศ์สวัสดิ์ ประวัติ" ก็จะมีข้อมูลที่เกี่ยวข้อมูลเพียง 8 หน้าเท่านั้นและเป็นข้อมูลที่ปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ
...........................
(หมายเหตุ : ที่มาภาพ http://www.alittlebuddha.com)

ไทยแลนด์4.0'ผู้ตรวจเงินแผ่นดิน' มอบผ้ายันต์ให้กำลังใจ 'ปลัดพาณิชย์'

นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ได้มอบหมายให้นายประจักษ์ บุญยัง รองผุ้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ไปมอบผ้ายันต์ให้แก่ นางชุติมา บุญยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เพื่อเป็นการให้กำลังใจและชื่นชม ในการปฏิบัติหน้าที่รักษาเงินแผ่นดินอย่างดียิ่ง โดยเฉพาะกรณีลงนามหนังสือคำสั่งทางปกครอง เรียกค่าเสียหายในคดีขายข้าวแบบรับต่อรัฐ (G TO G)

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผ้ายันต์ดังกล่าวนั้นเข้าใจว่าเป็นยันต์พิชัยสงคราม แต่เป้าหมายหรือเลขยันต์จริงนั้นคือการชนะกิเลสในจิตใจถึงจะตรงกับหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา แต่ถ้าเข้าใจเพียงเป็นของขลังก็มีความหมายเพียงไสยศาสตร์เท่านั้น
..............................
หมายเหตุ : ที่มาเนื้อหาและภาพจาก http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/720438

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559


'ประยุทธ์'ชี้กรณีค้านสร้างมัสยิดบึงกาฬให้คู่ขัดแย้งต้องไปทำความเข้าใจกันจะให้รัฐแก้ทุกอย่างคงไม่ได้

เมื่อเวลา 14.15 น. วันที่ 27 กันยายน ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยในขณะที่ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าวต่างๆ ได้มีผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวมุสลิม ไวท์ชาแนล (http://news.whitechannel.tv/) ได้สอบถามถามกรณีเกิดการคัดค้านการสร้างมัสยิดที่ จ.บึงกาฬ โดยผู้สื่อข่าวมุสลิมได้ถามว่า "ตอนนี้สำนักจุฬาราชมนตรีมีข้อห่วงกังวล เกี่ยวกับการคัดค้านสร้างมัสยิดที่ จ.บึงกาฬ เพราะได้มีการอนุญาตให้สร้างจากท้องถิ่นตามกฎหมายแล้ว แต่ว่ามีกลุ่มบางกลุ่มที่พยายามปลุกปั่นทางโซเชียลมีเดีย"

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ตอบผู้สื่อข่าวดังกล่าวว่า เรื่องนี้คู่ขัดแย้งต้องไปทำความเข้าใจกันจะให้รัฐแก้ทุกอย่างคงไม่ได้ เพราะอาจจะทำให้เกิดความขัดแย้งขยายขึ้นไปได้อีก และถ้ารัฐเข้าไปแล้วเกิดความขัดแย้งขึ้นมาใครจะเป็นผู้รับผิดชอบได้บ้าง จะใช้กฎหมายอย่างไร ให้จับคนคัดค้านทั้งหมดก็ขยายความขัดแย้งไปเรื่อยๆ ชาวพุทธกับมุสลิมก็ทำความเข้าใจกัน  แล้วที่ขยายไปเรื่อยๆอย่างนั้นแล้วพุทธกับมุสลิมจะอยู่กันได้อย่างไร ไม่ใช่ขยายไปเรื่อยๆอีกหน่อยก็อยู่กันไม่ได้ทั้งประเทศแล้วเกิดอะไรขึ้นแล้วมีใครรับผิดชอบหรือไม่

ผู้สื่อข่าวมุสลิมคนดังกล่าวได้ถามต่อไปอีกว่า "แล้วรัฐจะมีการตั้งเวทีเพื่อรับฟังความคิดเห็นหรือไม่ ?"

นายกรัฐมนตรีตอบกลับไปทันทีว่า "ไม่ต้องตั้งเวทีหรอกผมสั่งการให้เขาดูอยู่แล้ว แล้วถ้าคนเขาไม่ยอมกันทั้งคู่จะให้ผมทำอย่างไร หรือจะให้จับทั้งคู่สร้างให้ได้  หรือจะให้ผมเอาทหารไปล้อมให้สร้างมัสยิดหรือ โธ่ ก็ไม่ได้ทั้งหมด ไม่อยากอยู่ร่วมกันแล้วจะทำอย่างไรได้ ต้องมาหาวิธีการอยู่ร่วมกันให้ได้เพียงพอหรือยัง อีกข้างหนึ่งก็ไม่ไว้ใจอีกข้างหนึ่งก็ต้องการโอกาสบ้าง นี่งัยประชาธิปไตย จะให้ใช้กฎหมายอย่างเดียวก็ไม่ใช่ประชาธิปไตยแล้ว ต้องอยู่ร่วมกันให้ได้ก่อนกฎหมายใช้เมื่อจำเป็น ถ้าบังคับใช้กฎหมายทุกเรื่องก็เกิดความขัดแย้งเรื่อยไป

..........................
(คลิปจาก https://www.youtube.com/watch?v=ml8Yy8AvyXs นาทีที่ 37)


แม่น้ำเจ้าพระยาไหลถึงดานูบด้วยสายธารธรรม




สาธุ!ฮังการีรับรองวิทยาลัยพระพุทธศาสนาธรรมเกทวิทยาลัยพุทธสบทบ'มจร'แห่งเดียวในยุโรปเปิดสอบตั้งแต่ระดับป.ตรี-เอก พระพรหมบัณฑิตและคณะตรวจเยี่ยมชื่นชมผลงาน

              ระหว่างวันที่   ๒๔-๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๙ พระพรหมบัณฑิตและคณะประกอบด้วยพระศรีคัมภีรญาณ รองอธิการบดี และพระมหาสมบูรณ์ วุฑฒิกโร คณบดีบัณฑิต พระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา  นำคณะเดินทางไปตรวจเยี่ยมวิทยาลัยพระพุทธศาสนาธรรมเกท กรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี ซึ่งเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยนายปีเตอร์ ยาคอป (H.E. Dr. Peter Jakab) เอกอัครราชทูตฮังการีประจำกรุงเทพมหานคร  ได้เข้าพบที่วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ถวายคำแนะนำเมื่อวันอังคารที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๙

              ทั้งนี้วิทยาลัยพระพุทธศาสนาธรรมเกทเป็นวิทยาลัยพุทธศาสนาแห่งเดียวในยุโรปที่เปิดสอนปริญญาตรีและปริญญาโทที่รัฐบาลให้การรับรองศักดิ์และสิทธิ์ของปริญญา สำหรับการเปิดสอนระดับปริญญาเอกนั้น วิทยาลัยแห่งนี้ดำเนินการโดยอาศัยหลักสูตรปริญญาเอกของ มจร ในฐานะเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัย เช่นเดียวกับวิทยาลัยพระพุทธศาสนาดองกุก ชอนบอบ สาธารณรัฐเกาหลี มหาปัญญาวิทยาลัย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา  มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาซินจู สาธารณรัฐไต้หวัน  ศูนย์การศึกษาพระอาจารย์พรัหม ประเทศสิงคโปร์   วิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ ประเทศศรีลังกา  วิทยาลัยพระพุทธศาสนา ประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ยังได้เปิดศูนย์ฝึกอบรมชาวพุทธในยุโรป (European Buddhist Training Center) ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

              วันเสาร์ที่ ๒๔ กันยายน  เวลา ๑๐.๓๐ น. พระพรหมบัณฑิตและคณะเดินทางถึงสนามบินกรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี  มีนายยานอส เจเลน (Janos Jelen) อธิการบดีวิทยาลัยพระพุทธศาสนาธรรมเกท

              วันอาทิตย์ที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๙ เวลา ๙.๐๐ น. พระพรหมบัณฑิตและคณะตรวจเยี่ยมกิจการของวิทยาลัยพระพุทธศาสนาธรรมเกท โดยพบและปรึกษาหารือกับนายลาสโล มิเรซ (Laszlo Mireisz) ประธานพุทธสมาคมฮังการีในฐานะนายกสภาของวิทยาลัย จากนั้นพระพรหมบัณฑิตได้บรรยายพิเศษเป็นภาษาอังกฤษเรื่อง "ปรัชญาอัตถิภาวนิยมกับพุทธปรัชญา" แก่ผู้บริหาร คณาจารย์และนิสิตของวิทยาลัย

              ต่อมาเวลา ๑๔.๐๐ น.พระพรหมบัณฑิตและคณะเยี่ยมชมโบสถ์พันนอนฮาลมาอายุ ๑,๐๒๒ ปีซึ่งเป็นโบสถ์คริสต์แห่งแรกในประเทศฮังการี และได้สนทนาแลกเปลี่ยนกับบิชอปอัสทริก วาร์เซกิ (Dr. Asztrik Varszegi) เจ้าอธิการของโบสถ์ โบสถ์พันนอนฮาลมา สร้างเมื่อ พ.ศ. ๑๕๓๙ (ค.ศ. ๙๙๖) มีการฉลองอายุครบหนึ่งพันปีเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๙ โบสถ์นี้เคยถูกกองทัพมุสลิมเติร์กทำลายย่อยยับในเวลาไล่เลี่ยกับที่มหาวิทยาลัยนาลันทาถูกเผาทำลายในอินเดีย แต่ชาวคริสต์ในฮังการีได้ช่วยกันสร้างขึ้นมาใหม่จนมีสภาพอย่างที่เห็นในปัจจุบัน องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้โบสถ์นี้เป็นมรดกโลกอีกด้วย
 
              วันจันทร์ที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๙ เวลา ๙.๐๐ น. พระพรหมบัณฑิตและคณะเยี่ยมชมอาคารรัฐสภาของฮังการีและสนทนาแลกเปลี่ยนกับนายยาลอส ลาโทไซ (Dr. Janos Latorcai)รองประธานรัฐสภาของฮังการี

              อาคารรัฐสภานี้สร้างเสร็จใน พ.ศ. ๒๔๔๗ เป็นอาคารรัฐสภาใหญ่เป็นอันดับสามของโลกรองจากอารรัฐสภาอาเจนตินาและอาคารรัฐสภาอังกฤษ ฮังการีในปัจจุบันมีสภาเดียวคือสภาผู้แทนราษฎร ไม่มีวุฒิสภา อาคารรัฐสภาฮังการีเป็นที่เก็บมงกุฏอันศักดิสิทธิ์ของกษัตริย์ฮังการีในอดี

              วันจันทร์ที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๙ เวลา ๑๔.๐๐ น. พระพรหมบัณฑิตและคณะเยี่ยมชมปราสาทบูดา (Buda Castle) ซึ่งเริ่มสร้างในพ.ศ. ๑๘๐๘ ตั้งอยู่บนเนินเขาสูงที่ทำให้มองเห็นทัศนียภาพรอบกรุงบูดาเปสต์ ปราสาทนี้เคยเป็นพระราชวังของกษัตริย์ฮังการีที่ได้รับการปรับปรุงให้งดงามมากในยุคจักรวรรดิออสเตรีย ฮังการีปัจจุบันเป็นที่ตั้งของทำเนียบรัฐบาลฮังการี

              จากนั้นเวลา ๑๗.๐๐ น. พระพรหมบัณฑิตและคณะได้ไปเยี่ยมชมโบสถ์บาสิลิกา (St. Stephen's Basilica) เป็นโบสถ์คริสต์สำคัญที่สุดของฮังการี สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ ในโบสถ์มีเครื่องออร์แกนขนาดใหญ่สำหรับบรรเลงเพลงศาสนาที่คนนิยมเข้าฟังจำนวนมาก เพลงหนึ่งที่บรรเลงในวันนี้มีชื่อว่า Thai's Meditation (กรรมฐานไทย)

              วันอังคารที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๙ เวลา ๙.๐๐ น. พระพรหมบัณฑิตและคณะล่องเรือไปตามแม่น้ำดานูบเพื่อชมกรุงบูดาเปสต์และเมืองเซนเทนเดอร์ ในขณะนั่งเรือ พระพรหมบัณฑิตได้บันทึกเทปโทรทัศน์เรื่อง "จากเจ้าพระยาถึงดานูบ" เพื่อออกอากาศในรายการรู้ธรรมนำชีวิตทางช่อง  ๙ ช่อง ๑๑ และ MCU TV

              เมืองเซนเทนเดอร์ เป็นเมืองเล็กริมฝั่งแม่น้ำดานูบ เริ่มตั้งเมืองเมื่อ ๘๐๐ ปีที่แล้ว นักกวีและจิตรกรชอบมาอยู่ที่เมืองนี้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการผลิตผลงานด้านกวีนิพนธ์และวาดภาพ

              วันอังคารที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๙ เวลา ๑๔.๐๐ น. เดินทางไปเยี่ยมวัดไทยรัตนประทีปซึ่งเป็นวัดไทยแห่งแรกในประเทศฮังการีโดยมีท่านเจ้าอาวาสพร้อมด้วยนายต่อ ศรลัมพ์ อุปทูตไทยประจำกรุงบูดาเปสต์รอต้อนรับวัดไทยรัตนประทีปจดทะเบียนเป็นสมาคมอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๙ ที่ผ่านมาโดยสามารถซื้อที่ดินและอาคารสถานที่ตั้งวัดได้แล้วด้วยการอุปถัมภ์ของสถานทูตไทยและการบริจาคทั่วไป ปัจจุบันมีพระสงฆ์ไทยอยู่จำพรรษา ๒ รูป โดยพระพรหมบัณฑิตได้แนะนำให้วัดไทยรัตนประทีปทำงานร่วมกันกับวิทยาลัยพุทธศาสนาธรรมเกท

              พระมหาหรรษา ธัมมหาโส เปิดเผยระหว่างร่วมคณะว่า  พระพรหมบัณฑิตได้ย้ำเน้นว่า "เราไม่ได้สนับสนุนการจัดการศึกษาเพื่อประโยชน์ของมหาวิทยาลัย มหาจุฬาฯ แต่เรากำลังทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ซึ่งเป็นการเปิดหน้าประวัติศาสตร์โดยการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประชาชนในกลุ่มประเทศในยุโรปโดยมีฮังการีเป็นประตู" และพระพรหมบัณฑิตได้กล่าวถึงสหภาพยุโรปให้การยอมรับมหาจุฬาฯ ในฐานะที่วิทยาลัยพระพุทธศาสนาธรรมเกทเป็นสถาบันสมทบของมหาจุฬาฯ ย่อมทำให้มหาจุฬาฯเป็นมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาที่สหภาพยุโรปเชื่อมั่นและให้การยอมรับ

              ประโยชน์ยิ่งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ คือประโยชน์ที่ชาวฮังการีและชาวยุโรปจะได้รับจากพระพุทธศาสนาผ่านการทำหน้าที่ของมหาจุฬาฯ ที่จะนำพระพุทธศาสนามาสู่ชาวยุโรปด้วยมิติต่างๆ ทั้งการศึกษาพระพุทธศาสนาในระดับอุดมศึกษา และการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อจัดการความทุกข์ที่เกิดจากการเกาะกัดกินของวัตถุนิยม รวมไปถึงความทุกข์อันเกิดจากความขัดแย้งและหวาดระแวงที่เกิดจากการปะทะกันทางวัฒนธรรมต่างๆ

              การปะทะกันทางวัฒนธรรมเก่ากับใหม่นั่นเอง จึงทำให้พระพรหมบัณฑิตนายยานอส ยาโทไซ รองประธานรัฐสภาฮังการี และบิชอบอาสทริก วาร์เซกิ ผู้นำสูงสุดของศาสนาคริสต์ในประเทศฮังการี ได้ย้ำเน้นถึงความสำคัญของ "สันติศึกษา" หรือ Peace Education ในขณะพูดคุย ที่จะใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการเชื่อมโยงให้กลุ่มต่างๆ ได้ตระหนักรู้ถึงผลเสียของสงครามและความรุนแรงของฮังการีที่ได้ผลกระทบจากอาณาออสโตมาน การทำลายล้างของกลุ่มทหารเติร์ก ลัทธิล่าอาณานิคมจากฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมัน และแนวทางคอมมิวนิวต์แบบเลนิน และสตาลิน

              ฮังการีจึงเป็นประเทศ "ล้มเพื่อลุก และลุกเพื่อล้ม" มาอย่างต่อเนื่องด้วยตัวแปรต่างๆ ทั้งตัวแปรภายในและตัวแปรภายนอก สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการลุกและล้มนั้น คือ (๑) การรุกรานจากอาณาจักรที่เข้มแข็งกว่า (๒) การตั้งอยู่ในสมรภูมิที่อยู่ตรงกลางระหว่างยุโรป โซเวียต และตะวันออกกลาง ฉะนั้น ในทุกศึกสงครามประเทศมหาอำนาจจึงต้องตีเมืองแล้วยึดประเทศฮังการีเพื่อใช้เป็นรัฐกันชนก่อน แล้วจึงข้ามไปทำสงครามกับประเทศอื่นๆ ต่อไป (๓) ตัวผู้นำทางการเมืองมักจะตัดสินใจผิดพลาดในการถ่วงดุลระหว่างประเทศมหาอำนาจ (Balance of Power) จึงทำให้ประเทศมหาอำนาจไม่พอใจจนนำไปสู่การยึดและทำลายล้าง ซึ่งประเด็นนี้ ประเทศไทยตั้งแต่อดีตเชี่ยวชาญในการถ่วงดุลอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นรัชกาล ๕ ทรงคบหากับรัสเซีย และเยอรมัน รัชการที่ ๖ ทรงคบหากับประเทศอังกฤษในฐานศิษย์มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด และกลุ่มปรีดี พนมยงค์ คบหากับประเทศอเมริกา

              ในมิติของความสัมพันธ์ระหว่างศาสนจักรกับอาณาจักรนั้น ประโยคที่ว่า "คอมมิวนิสต์มาศาสนาหมด" การจัดวางสถานะของศาสนจักรที่รัฐในฐานะที่เป็นคอมมิวนิสต์ในช่วงเวลาที่โซเวียตครองครองอยู่มีลักษณะเผชิญหน้าและต่อต้าน จึงทำให้ศาสนาคริสต์ถูกปราบอย่างหนักทั้งการยึดโรงเรียน ทั้งการปิดโรงเรียนสอนศาสนาจำนวนมาก ทั้งการบีบ และขับไล่ผู้นำทางศาสนาคริสต์ จนในที่สุดทำให้พลังของศาสนาคริสต์ที่ส่งตรงมาจากโรมอ่อนตัวลงในยุคคอมมิวนิสต์ที่โซเวียตเข้ามาครองครองอำนาจหลังจากขับไล่อำนาจของเยอรมันออกไป ในบางยุคผู้นำทางการเมืองเข้ามาอาศัยผลประโยชน์จากการบริจาคของโบสถ์ต่างๆ จะเห็นว่า พลังของการเมืองทางการเมืองมีอิทธิพลอย่างสูงต่อความเจริญและความเสื่อมของพระพุทธศาสนาในฮังการี ท้ายที่สุด ภายหลังที่เข้าสู่ประชาธิปไตย ศาสนาคริสต์และศาสนาพุทธจึงได้รับการเผยแผ่ขึ้นในเวลาที่ใกล้เคียงกัน แต่ศาสนาคริสต์มีต้นที่ทุนเดิมที่ดีกว่า ทั้งนี้ในปัจจุบันมีมีพุทธศาสนิกชนราว ๑๐,๐๐๐ คนกว่า

              นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่พระพรหมบัณฑิตจึงย้ำว่า "เราไม่ได้มาในนามมหาจุฬาฯ แต่เรานำพระพุทธศาสนามามอบให้ชาวยุโรปผ่านประตูของวิทยาลัยพระพุทธศาสนาธรรมเกท กรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี ซึ่งการเข้าพบบิชอบออาสทริกและรองประธานรัฐสภายานอส คือการเข้าไปพบปะพูดคุยเพื่อแนะนำตัว แลกเปลี่ยน และเปิดตัวมหาจุฬาฯ ต่อผู้นำทางศาสนาและผู้นำทางการเมือง เพื่อให้สถาบันสมทบได้ทำลายภายในพันธมิตรร่วมคือมหาจุฬาฯ ดังที่ผู้นำองค์กรสูงสุดของประเทศฮังการีย้ำว่า "ในประเทศฮังการี คริสต์ศาสนาคือพี่ พระพุทธศาสนาคือน้อง" รวมกันคือความเป็นพี่น้องที่มุ่งมั่นทำงานใช้ชาวฮังการีและชาวยุโรป

              การเดินทางมาของพระพรหมบัณฑิต และคณะผู้บริหารมหาจุฬาฯ จึงใช้การศึกษามาเป็นสะพานให้การให้พระพุทธศาสนาได้ทอดเดินจากประเทศไทยสู่ประเทศฮังการี อันเป็นการส่งเสริมองค์ความรู้และเครื่องมือในการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาให้แก่สถาบันสมทบ เพื่อให้สถาบันสมทบซึ่งสหภาพยุโรปและรัฐบาลที่ให้การรับรองได้เป็นประตูที่จะนำพระพุทธศาสนาไปสู่ชุมชน และสังคมได้ศึกษา เรียนรู้และพัฒนาเป็นในการดำเนินชีวิต เพื่อนำตนออกจากความทุกข์และเข้าถึงสันติสุขในชีวิต ชุมชน และสังคมต่อไป


....................................
หมายเหตุ : ข้อมูลและภาพจากเว็บไซต์ http://www.watprayoon.com ซึ่งมีภาพเป็นจำนวนมา

พรึบ!ป้ายคัดค้านสร้างมัสยิดปากคาดหลังคณะสงฆ์บึงกาฬมีมติต้าน 


จากผลการประชุมเจ้าคณะพระสังฆาธิการในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ ประกอบด้วยเจ้าคณะอำเภอทุกอำเภอของบึงกาฬ เจ้าคณะตำบลของอำเภอปากคาดทั้งหมด และเจ้าอาวาสในตำบลปากคาดทุกวัดโดยมีรองเจ้าคณะจังหวัดเป็นประธาน ที่วัดโนนสำราญ ต.โสกก่าม อ.เซกา จ.บึงกาฬ  เมื่อวันที่ 26 ก.ย.2559 ที่ผ่านมา เกี่ยวกับสถานการณ์พระพุทธศาสนาโดยเฉพาะการสร้างมัสยิดในพื้นที่อำเภอปากคาด โดยเป็นการประขุมลับ มีเจ้าหน้าสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติประจำจังหวัด ตำรวจและทหารทั้งในและนอกพื้นที่สังเกตการณ์และรายงารต่อผู้บังคับบัญชาเป็นระยะ


รายงานแจ้งว่า ที่ประชุมมีมติคือ 1.ดำเนินการอ้างสิทธิ์การเป็นอยู่ในพื้นที่อย่างสันติสุข 2.แสดงการคัดค้านการสร้างมัสยิดพื้นที่อำเภอปากคาดเชิงสัญลักษณ์ทั่วทั้งจังหวัดบึงกาฬเช่นการขึ้นป้ายคัดค้าน และ 3.ตั้งคณะกรรมเครือข่ายประสานงานระดับอำเภอ  ซึ่งจะทำหนังสือนำเสนอมติดังกล่าวนี้ต่อเจ้าคณะจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดในวันที่30ก.ย.นี้


จากผลการประชุมของเจ้าคณะพระสังฆาธิการในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬดังกล่าวปรากฏว่าวันที่ 27 ก.ย.ได้มีการตัดป้ายคัดค้านการสร้างมัสยิดตามถนนอำเภอปากคาด





ปลัดแรงงานเยี่ยมให้กำลังใจชื่นชมเยาวชนทำผลงานได้ดี

เมื่อเร็วๆ นี้ หม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมนายกรีฑา สพโชค อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน นายเสถียร พจน์โพธ์ศรี รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงานและคณะเยี่ยมชมให้กำลังใจเยาวชนตัวแทนประเทศไทยพร้อมคณะผู้เชี่ยวชาญ ที่เข้าร่วมแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 11 ระหว่าง วันที่ 24 - 26 กันยายน 2559 ณ Malaysia Agro Exposition Park Serdang : MAEPS กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งในช่วงการแข่งขันผู้เข้าแข่งขันสาขาต่างๆ ได้ลงมือปฏิบัติตามโจทย์ที่ได้รับมา ซึ่งส่วนใหญ่สามารถทำผลงานได้ตามแผนเกือบทุกสาขา ยกเว้นบางสาขาที่มีปัญหาในเรื่องอุปกรณ์ที่ไม่ได้เป็นไปตามแผนการที่วางไว้ แต่ก็สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ไปได้ด้วยดีและทำคะแนนได้ในระดับต้นๆของการแข่งขัน

ทั้งนี้ หม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวหลังจากที่ได้เยี่ยมให้กำลังใจเยาวชนและสอบถามถึงแนวโน้มในการคว้าเหรียญรางวัลของทีมฝีมือแรงงานไทยจากผู้เชี่ยวชาญและคณะทำงานของไทยว่า "ทีมไทยมีความพร้อมมากในการแข่งขันครั้งนี้ ซึ่งอาจจะสามารถคว้าเหรียญรางวัลมาได้เกินเป้าที่วางไว้ คือ มากกว่า 7 เหรียญทอง เพราะทราบมาว่าเยาวชนทำผลงานได้ดี คะแนนอยู่ในระดับต้นๆ ของการแข่งขัน ผลของการแข่งขันที่ออกมาในลักษณะนี้ก็เนื่องจากการที่ได้ร่วมเก็บตัวฝึกซ้อมกับหน่วยงานของเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาดังกล่าว



อีกทั้งผู้เข้าแข่งขันของเรามีสมาธิมากขึ้นไม่ตื่นเต้นเหมือนช่วงแรกๆ และมีพัฒนาการที่ดี อีกประการหนึ่งคือการที่เรามีรุ่นพี่ที่เคยผ่านประสบการณ์การแข่งขันมาเป็นเทรนเนอร์ให้น้องก็เลยทำให้ผลงานออกมาดี แต่ก็มีบางสาขาที่ผู้เข้าแข่งขันพบปัญหา ซึ่งก็กำลังหาทางแก้ไขร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งปัญหาที่คณะกรรมการตรวจพบจึงเป็นตัวแปรกับการให้คะแนนด้วย เพราะใช้ในการประมวลผลงานของแต่ละวัน เราก็ต้องยอมรับในผลคะแนนที่ได้ตามผลงาน สิ่งที่สำคัญคือเราต้องไม่มีความผิดพลาดหรือผิดพลาดน้อยที่สุด นั่นคือการเข้าใจในโจทย์และทำตามโจทย์อย่างถูกต้อง เพราะฉะนั้นระยะเวลาในการเก็บตัวฝึกซ้อม 6 เดือนที่ผ่านมา จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะหาจุดอ่อนของตัวเองและทำให้จุดอ่อนนั้นหายไป

สำหรับการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียนในครั้งนี้ ถือเป็นการยกระดับเยาวชนของประเทศไทยให้เป็นเยาวชนของอาเซียน ตามข้อตกลงของกลุ่มประเทศอาเซียนให้เทียบเท่ากับมาตรฐานโลก โดยใช้การแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียนเป็นบันได อีกทั้งต้องการให้ประเทศในกลุ่มสมาชิกที่ยังไม่ได้ส่งเข้าร่วมการแข่งขันในบางสาขาส่งเยาวชนเข้ามาแข่งขันให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งทางประเทศไทยยินดีที่จะเข้าไปฝึกหรือนำคนของประเทศนั้นเข้ามารับการฝึกฝีมือแรงงานที่ไทย" ปลัดกระทรวงแรงงานกล่าว

ด้านผู้เข้าแข่งขันสาขาประกอบอาหารที่เป็นอีกหนึ่งความหวังในการคว้าเหรียญรางวัลของไทยคือ นางสาวณัชชา แซ่โง้ว และนางสาวอัจฉรา ธนพลเสถียร กล่าวว่าในช่วงของการแข่งขันก็สามารถทำตามโจทย์ที่ให้มาได้ นั่นคือการทำขนมหวานและอาหารซีฟู้ดที่ต้องทำออกมาถึงสิบชิ้นและทุกชิ้นต้องเหมือนกันทั้งรูปร่างและรสชาติ เพราะได้ฝึกซ้อมมาอย่างดี ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงโจทย์ 30 % จากคณะกรรมการแต่ก็สามารถทำได้ดีเพราะเป็นสิ่งที่เราคาดการณ์มาก่อนล่วงหน้าอยู่แล้ว สำหรับอุปสรรคที่พบก็จะมาจากอุปกรณ์ที่เราไม่คุ้นเคยในการทำงาน จึงจำเป็นที่จะต้องปรับใช้อุปกรณ์ตามที่เจ้าภาพจัดให้ และคิดหาสิ่งอื่นมาทดแทนเพื่อทำให้ทันตามกำหนดเวลา อีกหนึ่งปัญหาที่พบคือเราอาจจะข้ามขั้นตอนในการทำงานไปบ้างแต่ก็สามารถกลับมาแก้ปัญหาได้อย่างดีลุล่วงไปได้ สำหรับการเตรียมพร้อมในการแข่งขันวันสุดท้าย ก็จะมีการเขียนแผน ทำจิตใจให้สบายแต่ต้องมีสติเพราะเป็นวันสุดท้ายแล้ว ส่วนผลงานที่ผ่านมาถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ คาดหวังว่าจะมีเหรียญติดมา



“อุเทน”ติงภาครัฐเกียร์ว่างจนน้ำถล่มหลายพื้นที่ เซ็งเตือนล่วงหน้าแต่ทำเก่งว่าเอาอยู่ ย้ำหลัก “หาที่ให้น้ำอยู่ หาทางให้น้ำไป” แนะหาทางส่งน้ำลงทะเลให้เร็วที่สุด เตือนอย่าคิดสู้โดยกั้นน้ำเดือดร้อนหนักกว่าเดิม

นายอุเทน ชาติภิญโญ หัวหน้าพรรคคนไทย ในฐานะอดีตประธานคณะกรรมการผันน้ำลงทะเลทางฝั่งตะวันออก กล่าวถึงสถานการณ์น้ำที่ส่งผลให้หลายจังหวัดต้องประสบปัญหาอุทกภัยว่า ก่อนหน้านี้ได้ออกมาแจ้งเตือนแล้วว่า ให้เจ้าหน้าที่เตรียมความพร้อมกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น ตามที่มีการพยากรณ์ว่าจะมีมรสุม มีพายุเข้าประเทศไทยติดต่อกัน 3-5 ลูก อีกทั้งจากการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate change ก็ทำให้ฝนตกช้ากว่าที่ควรจะเป็น อีกทั้งยังมีฤดูฝนที่ยาวกว่าในอดีต ที่สำคัญในเชิงพยากรณ์สภาพอากาศก็มีข้อบ่งชี้ว่าทุก 5-6 ปีจะมีปริมาณน้ำในที่มากกว่าปกติ เหมือนที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2554 จนสร้างความเสียหายอย่างมหาศาลมาแล้ว

นายอุเทน กล่าวต่อว่า การออกมากล่าวเตือนล่วงหน้าของตนไม่ได้ต้องการสร้างความตระหนก หรืออยากดังแต่อย่างใด เพียงแต่เห็นว่าเจ้าหน้าที่ยังขาดความพร้อมในการเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น อีกทั้งยังมีบางส่วนมองเป็นเรื่องเล่นๆ ในเชิงว่าเอาอยู่แน่นอน โดยไม่ดำเนินการให้ดีพอ ทั้งที่เคยแนะนำให้กรมชลประทานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเกาะติดปริมาณน้ำฝนและน้ำในเขื่อน รวมถึงคลองต่างๆไว้ล่วงหน้า แต่ก็ปล่อยให้น้ำเอ่อท่วมบ้านเรือนประชาชนตามที่ปรากฎในข่าว จึงอยากขอย้ำหลักคิดที่ตนเคยเป็นอดีตประธานคณะกรรมการผันน้ำลงทะเลฯเมื่อปี 2554 ด้วยการ " หาที่ให้น้ำอยู่ และหาทางให้น้ำไป " ซึ่งทางที่น้ำจะไปดีที่สุดคือ ทางทะเล ซึ่งเคยทำมาแล้วจนทำให้ฝั่งตะวันออกได้รับผล กระทบจากน้ำท่วมน้อยมาก ทั้งนี้รู้สึกเป็นห่วงที่เห็นหลายหน่วยงานพยายามตั้งท่าจะสู้กับน้ำ โดยการกั้นน้ำหรือระบายน้ำให้ลงในแม่น้ำ โดยเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งได้ส่งผลให้เกิดการท่วมแล้วในหลายจังหวัด และเกิดวิกฤติอีกหลายพื้นที่

 “เมื่อเกิดปัญหาความเดือดร้อนขึ้นกับประชาชน รัฐบาล หรือหน่วยงานภาครัฐ ไม่ควรคิดแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ใครที่สามารถทำอะไรให้เกิดประโยชน์ได้ก็ควรประสานงานกัน โดยส่วนตัวก็มีความยินดีในการให้คำแนะนำต่างๆ” นายอุเทน ระบุ


“มหาดไทย” เดินหน้าสร้างโรงเรียนคุณธรรม ยกโรงเรียนคุณธรรมมูลนิธิรัฐบุรุษเป็นต้นแบบ ผลิตข้าราชการครูสังกัด อปท.พร้อมนำไปปลูกฝังเยาวชนสร้างชาติ ติวเข้มคิดทำ-ทำดี สร้างความดีเป็นสากล แนะเร่งพัฒนาต่อยอดสู่การเป็นต้นแบบให้จังหวัด เตรียมเดินสายสร้างโรงเรียนคุณธรรมทั่วประเทศ


วันที่ 26 ก.ย. นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รุ่นที่ 2 ปีงบประมาณ 2559 ณ โรงแรมทาวน์ อิน ทาวน์ กรุงเทพฯ

รองปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวแสดงความชื่นชมคณะผู้บริหารและคุณครูทุกท่าน ที่ได้ให้ความสำคัญและสละเวลามาเข้าร่วมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ และเห็นว่าการเสริมสร้างและส่งเสริมคุณธรรมแก่นักเรียนเป็นการปลูกฝังการทำความดีที่มีความเป็นสากล สามารถดำเนินการร่วมกันได้ทุกศาสนา เพราะอยู่บนพื้นฐานของการคิดดี ทำดี ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน อยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข ซึ่งทุกศาสนามีหลักการเช่นเดียวกัน

“สิ่งสำคัญที่สุดคือผู้บริหารและครูที่เข้ารับการอบรม จะนำประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับใช้และพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ที่โรงเรียน โดยในระยะต่อไปผู้บริหารกระทรวงมหาดไทยจะไปเยี่ยมชมที่โรงเรียนว่าได้มีการดำเนินการให้เป็นรูปธรรมอย่างไรบ้าง และหากโรงเรียนมีศักยภาพเพียงพอ ก็สามารถพัฒนาสู่โรงเรียนคุณธรรมต้นแบบของจังหวัด สามารถแนะนำถ่ายทอดสู่โรงเรียนอื่นเป็นเครือข่ายวิทยากรครูคุณธรรมต่อไป”นายสุทธิพงษ์กล่าว



             
โครงการฝึกอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รุ่นที่ 2 จัดขึ้นโดย สำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (สำนักงาน ก.ถ.) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะและสร้างธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานให้แก่บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยผู้เข้ารับการอบรมประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน และข้าราชการครูที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในโรงเรียนสังกัด อปท. พื้นที่จังหวัดภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ รวมทั้งสิ้น 111 คน


อย่างไรก็ตาม โครงการรุ่นที่ 2 กลุ่มภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ดำเนินการในระหว่างวันที่ 26 - 27 กันยายน 2559 ณ โรงแรมทาว์น อิน ทาว์น กรุงเทพมหานคร โดยการฝึกอบรมมีทั้งการบรรยายพิเศษให้ความรู้ และมีการตอบข้อซักถามเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมถึงจัดให้มีการศึกษาดูงานและฝึกปฏิบัติทดลองสอน ณ สถานที่จริง ที่โรงเรียนบ้านบัวมล (เจริญราษฎร์อุทิศ) เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นโรงเรียนคุณธรรมต้นแบบของมูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559

“สมคิด”ดึง“ภาคประชาสังคม”ร่วมกระตุ้นเศรษฐกิจ 

“สมคิด” ทิ้งทวนไตรมาส 4 ดึง “ภาคประชาสังคม” ร่วมกระตุ้นเศรษฐกิจ สสส.ชง 5 โมเดล “ประชารัฐเพื่อสังคม” จูงใจเอกชนจ้างงานคนพิการ-ดูแลผู้สูงอายุ ตั้งเป้าสร้างรายได้หมุนเวียน 1 พันล้านบาท

               เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2559 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) จัดเวที “ประชารัฐเพื่อสังคม” เพื่อผนึกกำลังภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตด้านต่างๆ โดยมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมจากหลากหลายหน่วยงานกว่า 100 คน เข้าร่วม ณ ห้องวิมานสุริยา โรงแรมดุสิตธานี โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส กล่าวบรรยายพิเศษเรื่อง “ภาคีธุรกิจ เพื่อการพัฒนาประเทศไทย” ว่า แนวทางประชารัฐเป็นการเปลี่ยนวิธีคิดครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งภาคเอกชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมเป็นกลไกทำงานเพื่อประโยชน์ของประเทศได้ อาทิ การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เด็ก และเยาชน

               ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า นโยบายประชารัฐตลอด 1 ปีที่ผ่านมาเป็นไปได้ดีมาก แต่ส่วนใหญ่เป็นไปในด้านเศรษฐกิจ ตนจึงได้หารือร่วมกับ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส อยากให้มีการเริ่มต้นนโยบายประชารัฐด้านสังคมอย่างจริงจัง ซึ่งมีหลายเรื่องที่ภาคเอกชน สามารถเข้ามาร่วมผลักดันไปได้ เช่น การผลักดันการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐ อาทิ กระทรวงการคลัง กระทรวงสาธารณสุข แต่หากให้เฉพาะหน่วยงานดูแลก็มีกำลังน้อย ในขณะที่ภาคเอกชนมีกำลัง มีเครื่องมือ จึงอยากให้เข้ามามีส่วนร่วม ในครั้งนี้จึงเป็นการรับฟังข้อมูลจากภาคประชาสังคมที่จะช่วยเสนอประเด็นที่ภาคเอกชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการผลักดันเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ในขณะที่ภาครัฐจะร่วมสนับสนุน อาทิ ให้มีมาตรการทางภาษีสนับสนุนกรณีการจ้างงานผู้สูงอายุ เป็นต้น

               นพ.พลเดช ปิ่นประทีม เลขาธิการ สช. กล่าวว่า ประชารัฐเป็นกระบวนการทำงานแบบสานพลังระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชน ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาประเทศและชุมชนท้องถิ่น ในช่วง 1 ปี ของการขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานรากของรัฐบาล ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าภาคธุรกิจและภาคประชาสังคมไทย มีศักยภาพและความพร้อมที่จะเข้ามาช่วยเหลือและร่วมมือกับภาครัฐในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ดังนั้น ประชารัฐเพื่อสังคม จึงเป็นการขยายบทบาทความร่วมมือการพัฒนาจากประเด็นเศรษฐกิจสู่ประเด็นการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต


               ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่าในการประชุมนี้ได้มีการนำข้อมูลตั้งต้นของกิจกรรมความร่วมมือด้านสังคมที่จะประสานภาครัฐ ประชาสังคมและเอกชนได้ มาเป็นจุดตั้งต้นในการประสานความร่วมมือ ได้แก่ 1.การพัฒนาสุขภาวะเด็กปฐมวัย 2.การจ้างงานคนพิการ 3. การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 4.การลดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ และ 5.การสร้างเครือข่ายเพื่อการแก้ปัญหาในพื้นที่ โดยให้ภาคเอกชนเข้ามาสนับสนุนกิจกรรม ร่วมบริหารจัดพื้นที่และชุมชนใกล้เคียง อาทิ ภาคธุรกิจเข้ามาสนับสนุนการจ้างงานคนพิการเพื่อทำงานสาธารณประโยชน์ใกล้บ้านในอัตรา 1 ต่อ 100 ตาม ม.33 หรือส่งเสริมอาชีพคนพิการตาม ม. 35 พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีคนพิการ 1.9 ล้านคน ลงทะเบียน 1.56 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้พิการไม่มีงานทำ 46% หรือ 352,859 ล้านคน หากภาคเอกชนเข้าร่วมสนับสนุนจ้างงานผู้พิการได้ตามเป้าอย่างน้อย 10,000 คน จะทำให้เกิดการสร้างรายได้ถึง 1 พันล้านบาท

               “ปัจจุบันผู้สูงอายุ 34% มีรายได้ต่ำกว่าเส้นยากจน หรือ 2,572 บาทต่อคนต่อเดือน และปัจจุบัน 1 ใน 10 ถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพัง ทำให้ในอนาคตรัฐจะต้องจัดสวัสดิการรักษาพยาบาลและการดูแลเพิ่มขึ้นเป็น 18 ล้านล้านบาท ในส่วนนี้ภาคเอกชนสามารถเข้ามาร่วมพัฒนาธุรกิจหรือระบบบริการเพื่อการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน พัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุได้ หรือในประเด็นการป้องกันอุบัติเหตุภาคเอกชน สามารถกำหนดมาตรการความปลอดภัยในนิคมอุตสาหกรรม สถานประกอบการและโรงงาน อาทิ มาตรการสวมหมวกนิรภัย 100% มาตรการเมาไม่ขับ มาตรการคาดเข็มขัดนิรภัย เป็นต้น โดยภาคประชาสังคมจะเป็นจุดจัดการในพื้นที่ เชื่อมโยงและประสานเครือข่ายในระดับชุมชน ติดตามการปฏิบัติงาน และเตรียมความพร้อมให้ในกลุ่มต่างๆ อาทิ ผู้พิการ ครอบครัว และชุมชน ซึ่งเหล่านี้เป็นพื้นที่มีการเตรียมดินไว้แล้ว หากมีความร่วมมือจากภาคเอกชน ไปร่วมกันลงแรงเพาะปลูกต่อในพื้นที่นั้น เมล็ดพันธุ์เหล่านั้นก็จะงอกงามได้เร็วขึ้น และเกิดประโยชน์ที่ยั่งยืนต่อการพัฒนาประเทศ” ดร.สุปรีดา กล่าว

               นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานหอการค้าไทย และประธานสภาหอการค้าไทย กล่าวว่า ในส่วน 5 ประเด็นที่ นำเสนอมีความเป็นไปได้สูง ในการที่ภาคธุรกิจจะเข้ามาเป็นกลไกร่วมพัฒนาขุมขน สร้างความเข้มแข็งในพื้นที่ ในส่วนกลุ่มมิตรผลได้ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายทำงานกับ สสส. โดยเฉพาะประเด็นการจ้างงานผู้พิการมาแล้วหลายปี และเชื่อว่าหากสร้างกลไกสนับสนุนให้องค์กรเอกชนที่เข้มแข็งได้รับรู้วิธีการก็จะเกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น ที่ผ่านมากลุ่มมิตรผล ได้ร่วมกับ สสส.จ้างงานผู้พิการในพื้นที่ 77 คน ผลออกมาดีมาก โดยผู้พิการสามารถเข้าไปทำงานใน อบต.และ อบจ. ก็จะช่วยได้มาก และสร้างงานให้เอกชนได้

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2559


เว็บวัดไม่การเคลื่อนไหวไม่มีข้อมูลอัพจะทำอย่างไร 

              ปัจจุบันนี้เห็นมีเว็บไซต์หรือหน่วยงานเกี่ยวกับศาสนาออกมาเป็นจำนวนมาก แต่หากขาดข้อมูลอัพขึ้นก็ไม่มีความหมาย หรือมีข้อมูลแต่ไม่สามารถเรียบเรียงให้คนอื่นให้เข้าใจง่ายๆ ก็ไม่มีความหมายอีกเช่นกัน ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการฝึกหัดเหมือนกับแต่งกระทู้ ขณะเดียวกันปัจจุบันนี้มีผู้รับจ้างเขียนบทความ ข่าว รายงาน มีอยู่เป็นจำนวนมาก(รวมถึงผมด้วย)  เพราะการเขียนบทความ  เป็นช่องทางทำเงินที่ง่ายที่สุุด ที่สำคัญงานเขียนบทความเป็นงานที่ ลงทุนน้อยแต่มีโอกาสรวยได้  บางคนรับเงินจากการเขียนบทความขายปีหลักล้านบาท เด็กบางคนอายุสิบกว่าๆ ก็สามารถเขียนบทความ รับงานเขียนหารายได้เสริมได้แล้ว ดังนั้นหากสนใจก็ติดต่อมาได้
              นอกจากนี้บทความดังกล่าวสามารถลงประกาศขายในเว็บไซต์ต่างๆ เช่น Thaiseoboard.com, Fruityjob.com  อุปกรณ์ช่วยในการเขียนคือแท็บเล็ตพีซีโดยเฉพาะระบบ Android จะเหมาะที่สุด เพราะสะดวกในการพกพา  ใช้งานกับคีย์บอร์ดภาษาไทยทั้งนอกและในได้ ขณะเดียวกันแบตเตอรี่ใช้งานได้นานเกิน 8 ชั่วโมงก็มี เลือกขนาด 10 นิ้ว กล้องหน้า 5 ล้านพิกเซ่ล เป็นอย่างน้อยจะดีมาก และยังสามารถเพิ่ม SD Card ได้อีกด้วย
              อย่างไรก็ตามผู้ที่มีความสามารถในการเขียนบทความหรือเขียนหนังสือนั้นยังสามารถทำเป็นอีบุ๊กวางขายตามเว็บต่างๆได้อีกด้วย   เพราะมีซอฟต์แวร์สำหรับสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  เช่น Adobe FrameMaker, Adobe PageMaker, Adobe InDesign, Adobe Acrobat, Adobe Acrobat Capture, The Read in Microsoft Reader add-in for Microsoft Word, The Palm Ebook, Studio authoring tool, DesktopAuthor, FlipAlbum http://www.slideshare.net/P0nGNaTeE/4-Tool โปรแกรมที่ใช้จัดการควบคุมระบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น Adobe Content Server 3, Microsoft Digital Asset Server, Palm, Retail Encryption Server Software เป็นต้น ขณะที่เป็นโปรแกรมที่ใช้อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบที่บริษัทผลิต ส่วนใหญ่จะดาวน์โหลดได้ฟรีจากอินเทอร์เน็ต เช่น อะโดบี รีดเดอร์ (Adobe Reader), Minecraft Sever, Sony Vegas Reader และ DNL Reader เป็นต้น
              จะเห็นได้ว่าผู้ที่มีความสามารถนั้นไม่มีวันตาย แต่ก็อยู่ที่ว่าบทความเรานั้น ลึกแตกต่างกว่าคนอื่นหรือไม่ เพราะเชื่อแน่ว่าหุ่นยนต์เครื่องสมองกลทั้งหลายไม่เหนือกว่าสมองมนุษย์อย่างแน่นอน เพราะสมองกลก็มาจากสมองมนุษย์

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559


"อุดมเดช"ชื่นชมมหาจุฬาฯดึงต่างศาสนาร่วมงานวันสันติภาพสากล หวังเป็นแรงผลักดันสร้างสันติภาพช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้เกิดสันติสุข
           
             วันพุธที่ 21 กันยายน 2559 ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)   อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  พลเอกอุดมเดช สีตะบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม  เป็นประธานเปิดงานวันสันติภาพสากล ที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หรือ มจร  โดยในปีนี้ ทาง มจร จัดกิจกรรมภายใต้คอนเซ็ปต์ "ลมหายใจแห่งศาสนา ลมหายใจแห่งสันติภาพ" โดยมี พระราชวรเมธี รองอธิการบดี มจร ฝ่ายบริหาร และพระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดี มจร  ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาระดับปริญญาโทและเอก  ให้การต้อนรับ


             พลเอกอุดมเดช กล่าวว่า รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้รับเกียรติให้มาเป็นประธานในการเปิดงานวันสันติภาพโลก ที่ มจร อันเป็นสถาบันการศึกษาที่มุ่งเน้นเรื่องการสร้างความสันติให้คงอยู่ในสังคม วันที่ 21 กันยายนของทุกปีเป็นวันสันติภาพสากล ซึ่งองค์การสหประชาชาติได้กำหนดไว้ เพื่อให้ประชาชนในแต่ละประเทศทั่วโลกได้ร่วมรำลึก และรณรงค์เพื่อให้เกิดความร่วมมือและการดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสันติภาพกันทั่วโลก ทุกวันที่ 21 กันยายน จะเป็นวันที่ระฆังสันติภาพ ซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติจะดังขึ้น


ต้องการเห็นประชาชนคนไทยอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

             "ระฆังที่สร้างขึ้นจากเหรียญที่เด็กๆ ทั่วโลกร่วมกันบริจาค เพื่อต้องการเห็นความสันติ ไม่มีความรุนแรง และเป็นอนุสรณ์ที่จะเตือนให้ระลึกถึงความสูญเสียจากสงคราม ซึ่งสอดคล้องกับคำสั่งของหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ ที่ต้องการเห็นประชาชนคนไทยอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เกิดความสุขสงบในทั่วทุกพื้นที่ดังที่ผู้กล่าวรายงานได้แจ้งไว้ อันต้องการที่จะกระตุ้นให้องค์กรทุกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรทางการเมือง องค์กรรัฐ หรือองค์กรทางศาสนา และสถาบันการศึกษาได้ร่วมกันสร้างความเข้าใจให้กับสมาชิกในสังคมทุกหมู่เหล่าให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสอดรับกับพันธกิจของสมาคมสภาสากล" พลเอกอุดมเดช กล่าวและว่า


             การที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นศูนย์รวมของผู้บริหาร ศิษย์เก่า นิสิต องค์กรหน่วยงานภาคีเครือข่ายด้านสันติศึกษา และประชาชนจากหลากหลายแหล่งที่มาและสาขาอาชีพ ให้การตอบรับและจัดงานวันสันติภาพสากลนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมงานได้แสดงความร่วมมือร่วมใจในการจัดกิจกรรมต่างๆ อันจะนำไปสู่การแบ่งปันประสบการณ์ และการสร้างสันติภาพในหลากหลายสาขาอาชีพ และเกิดการสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาตนเองเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ เป็นการสืบต่อลมหายใจแห่งสันติภาพเพื่อให้สังคมส่วนรวมได้เกิดสันติสุขต่อไป



ประทับใจเห็นตัวแทนจากต่างศาสนามาอยู่ร่วมกัน

             รมช.กลาโหม ยังกล่าวอีกว่า รู้สึกประทับใจที่ได้เห็นตัวแทนจากศาสนาต่าง ๆ ทั้ง พุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู ซิกข์ มาอยู่ร่วมกัน และมีความมุ่งมั่นเดียวกันคือ ทำอย่างไรให้สันติสุขเกิดขึ้นในสังคม ทั้งประเทศไทย และทั่วโลก และวันนี้ นับเป็นโอกาสดีที่ได้มารับทราบถึงความร่วมมือในการหาหนทางนำไปสู่การแก้ปัญหา ทำให้สังคมเกิดความสงบ และดีใจที่ มจร มีหลักสูตรสันติศึกษา มีหลักสูตรดีๆ แบบนี้ ให้ทั้งพระสงฆ์ และฆราวาส ได้มาศึกษาให้เกิดความเข้าใจ เพราะศาสนาจะเป็นแกนหลักในการนำพาความสงบสุขให้เกิดขึ้นในประเทศ ทำให้ผมได้รับทราบกระบวนการสร้างสันติภาพ


             "ต้องยอมรับว่าผมเป็นทหารจะใช้กำลังในการปฏิบัติงานเป็นพื้นฐาน แต่เพราะหน้าที่ ซึ่งการแก้ปัญหาความขัดแย้งในการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนนั้น คือ ความเข้าใจ  โดยนำหลักของศาสนาทุกศาสนามาประยุกต์ใช้อย่างจริงจัง งานสันติภาพสากลในครั้งนี้ ผมขอชื่นชมเป็นอย่างยิ่งในการจัดงานครั้งนี้" พลเอกอุดมเดช กล่าว



             นายสุรพล สุยะพรหม รองอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป มจร กล่าวรายงานความว่า วันที่ 21 กันยายนของทุกปี ได้ถูกกำหนดให้เป็นวันสันติภาพสากล โดยองค์การสหประชาชาติในครั้งนั้นจัดขึ้นเพื่อขอให้ประชาชนทุกประเทศหยุดยิง หยุดใช้ความรุนแรงกันทั่วโลก และหยุดการทำสงครามตลอดทั้งวัน  เป็นวันที่มุ่งเน้นให้ชาวโลกซึ่งมีความแตกต่างทางด้านศาสนา ภาษา วัฒนธรรม สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข สอดรับกับคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 49/2559  เรื่อง มาตรการอุปถัมภ์และคุ้มครองศาสนาในประเทศไทย ที่กระตุ้นให้องค์กรศาสนาและสถาบันการศึกษาด้านศาสนา ร่วมสร้างความเข้าใจและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข  และสอดรับกับพันธกิจของสภาคมสภาสากลวิสาขบูชาโลก ที่มุ่งเน้นกระบวนการการสร้างสันติภาพในหมู่มนุษยชาติ


การจัดงานสอดรับกับพันธกิจวิสาขบูชาโลก

             "มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในฐานะที่เป็นสถาบันการศึกษาด้านศาสนาตามคำสั่งดังกล่าว จึงได้จัดงานวันสันติภาพโลกประจำปี 2559  ขึ้นภายใต้หัวข้อเรื่อง “ลมหายใจแห่งศาสนา ลมหายใจแห่งสันติภาพ” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการสร้างสันติภาพ และสนับสนุนให้กำลังใจนักสันติภาพจากหลากหลายสาขาอาชีพ รวมถึงการส่งเสริมปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกให้แก่ผู้เข้าร่วมงานในการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคมและประเทศชาติ" รองอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป มจร กล่าวและว่า

             การเรียนเชิญผู้นำศาสนามาพูดคุยถึงหลักคิดและแนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานทุกท่านได้เข้าใจและเรียนรู้ถึงความแตกต่างที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความสงบสุขร่วมกัน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญของวัฒนธรรมสันติภาพ โดยเริ่มต้นจากความสงบภายในจิตใจของแต่ละบุคคล และนำไปสู่การตระหนักรู้จักตนเอง สามารถใช้ปัญญาเป็นเครื่องชี้นำทางในการขจัดทุกข์และสร้างสันติสุขให้แก่ตนเอง จนสามารถแบ่งปัน และขยายไปสู่สากลต่อไป

             พระราชวรเมธี กล่าวในการปาฐกถาความว่า หลักสูตรสันติศึกษา มจร เป็นโครงการเล็กแต่มากด้วยพลังในการทำงานรับใช้เพื่อนมนุษย์ ขณะนี้รัฐบาลคณะสงฆ์กำลังดำเนินการส่งเสริมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล5 ซึ่งไม่จำกัดแค่ศาสนาพุทธเท่านั้น เพราะหลักศีล5 ถือเป็นคุณธรรมพื้นฐานของชีวิตและเมื่อทุกศาสนามีการนำหลักศีล5 ไปปฏิบัติจะก่อให้เกิดเป็นคุณธรรมสากลส่งผลให้เกิดสันติภาพขึ้นในโลกได้ เพราะหลักศีล 5 นั้นจะสอนในเรื่องการไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ลักขโมย ไม่ทุจริต  ไม่ลุ่มหลงในกามารมณ์ซึ่งจะเป็นหลักประกันครอบครัวให้เกิดความสุข  ไม่พูดปดซึ่งก่อให้เกิดความแตกแยก ทั้งยังสอนให้ไม่เข้าไปข้องเกี่ยวกับของมึนเมาของเสพติด จะเห็นได้ว่าหลักศีล 5 ไม่ขัดกับหลักของทุกศาสนา และจะช่วยให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข



 


       การจัดงานครั้งนี้ยังได้มีการมอบรางวัลสันติภาพให้แก่นายโจน จันใด หรือโจน บ้านดิน นางเกษร วงศ์มณี หรือหมอหน้อย สาธารณสุขอำเภอหล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ผู้ดำเนินการโครงการโรงพยาบาล 2 บาท ร้อยตำรวจตรีวิชัย สุริยุทธ หรือดาบวิชัย อดีตข้าราชการตำรวจที่ปลูกต้นไม้นับล้านต้น และนายปัญญา โตกทอง ประธานกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์และสวัสดิการชุมชนตำบลแพรกหนามแดง จ.สมุทรสงครามด้วย  อีกทั้งยังได้จัดทำหนังสือ"ลมหลายใจแห่งสันติภาพจากแนวคิดแห่งสันติภาพสู่วิถีแห่งการปฏิบัติ" ซึ่งประมวลจากความรู้สึกของนิสิตปริญญาโทและเอก ที่ได้สัมผัสวิถีแห่งสันติภาพทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติในการสร้างสันติภาพภายใน เผยแผ่แก่ผู้ร่วมงานด้วย



โจน จันใด:โลกนี้ไม่มีคำว่า"สันติภาพ"

       นายโจน จันใด กล่าวว่า เรามักจะเอาสุขภาพไว้หลังสุด วันที่ลูกไปโรงเรียนวันแรก ลูกร้องไห้ เพราะต้องการความรักความผูกพันธ์จากพ่อแม่ เราคือขี่ข้าชั้นดีนี่เอง เราไม่เคยแสวงหาความจริง แต่แสวงหาบริโภค แม่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ "แม่ธรณี" ที่เราเหยียบย่ำ เราต้องการขายแม่เพื่อไปซื้อของบริโภค เราทำลายแม่ธรณี แม่มีขนคือ ป่า เราพยายามเผาป่า แม่ธรณีจึงไม่สามารถเลี้ยงลูกได้อีก เพราะแม่เจ็บปวดมาก แม่ไม่มีอะไรให้เราแล้ว แต่ก่อนเดินไปทางไหน ก็มีอาหารทาน จึงทำให้แม่แผ่นดินไหว ต่อไปคือ "แม่คงคา" ที่หล่อเลี้ยงชีวิต เราขยันทำงานมากกว่า ๘ ชั่วโมงเพื่อเงินแต่สุขภาพของเราแย่ บนโลกใบนี้มีน้ำมากแต่เราซื้อน้ำดื่ม น้ำเป็นวิกฤติที่รุนแรงมากๆ และ "แม่โพสพ" คือ อาหาร เรามีการตกแต่งพันธุ์ต่างๆ แม่ทุกข์แม่เจ็บป่วย เรามีการแย่งกันไม่คิดจะแบ่งปันกัน

       คำว่า สันติภาพ เกิดขึ้นได้ยากเพราะมีการแย่งทรัพยากรมากองไว้แล้วตายจากมันไป มีสักคนที่ทำงานดูแลแม่ธรณี แม่คงคา แม่โพสพ นี่คือสงครามยุคใหม่ เพราะเราทำลายธรรมชาติ จะเกิดสันติภาพได้อย่างไร ? เรามาสร้างสวรรค์อยู่ก่อนตายดีกว่า ด้วยการพัฒนาดิน ปลูกผลไม้ สวรรค์ที่สร้างได้ในโลกใบนี้ เราตายไปจะไปถึงสวรรค์หรือเปล่า เราสะสมทรัพยากร มากกว่า สะสมเงิน เป็นการกลับมาเยียวยาแม่ ไม่เผา ไม่ใช้สารเคมี ถ้าแม่อุดมสมบูรณ์นั่นคือ การสร้างสันติภาพ โลกนี้ไม่มีคำว่า สันติภาพ เเต่เราต้องสร้างสันติจากตัวเรา เราไม่สามารถสร้างสันภาพให้กับโลก แต่เราสามารถสร้างสันติภาพให้กับตนเองได้  " ชีวิตต้องง่าย ถ้ามันยาก แสดงว่าเดินผิดทาง"


 จบป.๔ก็สามารถทำงานวิจัยชุมชนได้

             นายปัญญา โตกทอง ประธานกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์และสวัสดิการชุมชนตำบลแพรกหนามแดง จังหวัดสมุทรสงคราม กล่าวว่า ปัญหาของผมคือน้ำมีความขัดแย้งทางน้ำจืดน้ำเค็ม จนเป็นศัตรูกัน ผมจบแค่ป.๔ แต่ฝึกการวิจัยในการร่วมกันภายในชุมชนสังคม จึงสร้างชุมชนเข้มแข็งผ่านการวิจัย เพราะมีความขัดแย้งกันระหว่างข้าราชการกับชาวบ้าน ซึ่งหวังดีแต่ไม่เข้าใจชาวบ้าน มีปัญหาการใช้น้ำระหว่างน้ำเค็มกับน้ำจืด มีการมองกัน เป็นศัตรู ร่างกายแข็งแรงแต่จิตใจอ่อนแอ ไม่มองปัญหาเป็นศัตรู " เป็นศัตรูกัน มองหน้ากันไม่ติด" ต้องสกัดความรู้ออกมาจากคนในชุมชน คนที่ออกแบบประตูน้ำจบ ป. ๓ ครึ่ง เป็นภูมิปัญญาของคนในชุมชน จึงมีคำกล่าวว่า " มังกรต่างถิ่น หรือ จะสู้งูดินบ้านเรา" แต่ต้องเป็นงูดินที่ต้องดิ้น งูที่เรียนรู้ตลอด ในหลวงตรัสว่า "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา " แต่ภาครัฐไม่เข้าถึง ไม่เข้าใจ จะพัฒนาได้อย่างไร ทำให้คนในชุมชนเกิดความขัดแย้ง 


             นางเกษร  กล่าวว่า พยายามสร้างสัมพันธภาพกับชาวบ้าน ข้อมูลต้องตรงกัน สัมพันธภาพต้องดีจากการทำงานร่วมกัน เราจึงมีการบริหารความขัดแย้งเป็นวงกลมความขัดแย้ง สร้างกติกาทางสังคม ข้อตกลงร่วมกัน ฉะนั้นเราต้องสร้างสัมพันธภาพกับชุมชนเพื่อสร้างสันติสุข เราต้องพลิกแผ่นดินจากคนเล็กๆ จากเรื่องเล็กๆ แต่ทรงพลังอันยิ่งใหญ่


ผอ.หลักสูตรสันติศึกษาย้ำศาสนามีหน้าที่สร้างสะพานแห่งความรัก 

             พระมหาหรรษา กล่าวว่า เครื่องมือสำคัญที่เชื่อมสมานให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขที่สุด คือ ศาสนา  เพราะถ้าทุกคนปฏิบัติตามหลักของศาสนาของตนเองอย่างจริงจัง เชื่อว่าโลกนี้จะเต็มด้วยสันติภาพ เพราะศาสนาเป็นฐานของความดี และศาสนาทุกศาสนาตั้งขึ้นเพื่อสันติสุข ฉะนั้น สังคมพหุวัฒนธรรม ศาสนามีหน้าที่ทำลายกำแพงแห่งความหวาดกลัวและเกลียดชัง สร้างสะพานแห่งความรักและความเข้าใจเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข



             พระมหาหรรษา กล่าวด้วยว่า การจัดงานครั้งนี้นอกจากเป็นการสร้างสะพานแห่งความรักและความเข้าใจระหว่างศาสนาแล้ว ยังเป็นการสะท้อนวิถีชีวิตของบุคคลที่ทำมีลมหายใจแห่งสันติภาพมีลมหายใจเพื่อบุคคลอื่น 4 ด้านด้วยกันคือนายโจน จันใด เป็นผู้มีลมหายใจแห่งสันติภาพที่สะท้อนออกมาจากดินเพราะเป็นบุคคลที่เห็นคุณค่าของดิน นายปัญญา โตกทองเป็นผู้มีลมหายใจแห่งสันติภาพที่สะท้อนออกมาจากน้ำเพราะเป็นบุคคลที่เห็นคุณค่าของน้ำใช้วิธีการวิจัยชุมชนแก้ปัญหาน้ำจืดน้ำเค็ม  ร้อยตำรวจตรีวิชัย สุริยุทธ เป็นผู้มีลมหายใจแห่งสันติภาพที่สะท้อนออกมาจากต้นไม้เพราะเป็นบุคคลที่เห็นคุณค่าของต้นไม้ เนื่องจากไม่มีต้นไม่จึงส่งผลให้เกิดปัญหาภัยแล้ง ขณะที่หมอหน้อยเป็นผู้มีลมหายใจแห่งสันติภาพที่สะท้อนออกมาจากชุมชนเพราะเป็นบุคคลที่อุทิศตนเพื่อชุมชน และสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมจากโครงการ 2 บาทช่วยส่งเสริมสุขภาพ ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และมุ่งแก้ปัญหาโครงสร้างด้านการบริการสาธารณสุขโดยให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมด้วยการทำประชาคม


วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

สกว.จับมือศูนย์มานุษฯเผยแพร่งานวิชาการ


สกว.ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร พัฒนาองค์ความรู้ และการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยในสาขามานุษยวิทยาและสาขาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการจัดกรรมทางวิชาการทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม ผ่านการเผยแพร่ความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ

              20กันยายน 2559 ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และ ดร.โสมสุดา ลียะวณิช ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ความรู้จากงานวิจัยในเชิงวิชาการ ณ ห้องประชุมศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรฯ

              ผู้อำนวยการ สกว. เปิดเผยว่า สกว.ได้สนับสนุนงานวิจัยมาตั้งแต่ปี 2536 จนเกิดผลงานวิจัยจำนวนนับหมื่นโครงการ ทั้งในส่วนของการสร้างองค์ความรู้ใหม่ งานวิจัยและพัฒนา และงานวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น สกว.จึงมีแนวทางการผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย 5 ด้าน ซึ่งในส่วนของการใช้ประโยชน์เชิงวิชาการนั้น เป็นการนำองค์ความรู้จากผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น วารสารระดับนานาชาติ ระดับชาติ หนังสือ ตำรา บทเรียน ไปใช้ประโยชน์ด้านวิชาการ การเรียนรู้ การเรียน การสอน ในวงนักวิชาการและผู้สนใจ รวมถึงการวิจัยต่อยอดหรือการนำไปสู่ผลิตภัณฑ์และกระบวนการเสริมสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยี  

              สำหรับความร่วมมือกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ในการทำงานด้านวิชาการครั้งนี้ จะนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ และการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยในสาขามานุษยวิทยาและสาขาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการจัดกรรมทางวิชาการทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม ผ่านการเผยแพร่ความรู้ในรูปแบบการจัดพิมพ์หนังสือ นิทรรศการ การจัดประชุมวิชาการ การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ รวมถึงการทำวิจัยร่วมกัน และพัฒนานักวิจัย

              การทำงานชิ้นแรกภายใต้บันทึกความร่วมมือดังกล่าว คือ การยกระดับความรู้จากงานวิจัยเรื่อง “โครงการการอนุรักษ์พิธีกรรมและการแต่งกายในการฟ้อนกลองตุ้มจังหวัดอุบลราชธานี” โดย ดร.คำล่า มุสิกา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งเป็นผลงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่ได้ร่วมกับชาวบ้านสืบค้นรวบรวมภูมิปัญญาพื้นบ้านที่เกือบจะสูญหายไปแล้วจากแผ่นดินอีสาน เพื่อสืบทอด ฟื้นชีวิตให้พิธีกรรม และผลักดันให้กลายเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดอุบลราชธานีที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน


              ขณะที่ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ระบุว่าความร่วมมือกันครั้งนี้จะเป็นการสังเคราะห์ความรู้จากงานวิจัยชาวบ้าน ให้เกิดเป็นองค์ความรู้ในเชิงวิชาการ การเรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัย อ้างอิงได้ทางวิชาการ และสานสัมพันธ์ท้องถิ่นกับสถาบันการศึกษาให้เกิดการเกื้อกูลกันทางวัฒนธรรม ซึ่งการยกระดับความรู้ในเชิงมานุษยวิทยาทางวัฒนธรรมนี้นับเป็นความเชี่ยวชาญของศูนย์มานุษยวิทยาที่จะได้มาร่วมกันทำงานในระยะต่อไป โดยคาดว่าจะเกิดผลรูปธรรม ได้แก่ 1. ชุดความรู้จากกระบวนการวิจัยโครงการวิจัยเรื่องการอนุรักษ์พิธีกรรมและการแต่งกายในการฟ้อนกลองตุ้มจังหวัดอุบลราชธานี 2. โมเดลทางการจัดการพิธีกรรมพื้นบ้านอีสานเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงวิชาการ 3. ชุดหนังสือเพื่อเผยแพร่ความรู้ในเชิงวิชาการสู่การเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย โดยเชื่อมต่อกับห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social lab) ในชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานีต่อไป


              ด้าน ดร.คำล่า มุสิกา นักวิจัย สกว. กล่าวว่า ได้ศึกษาพิธีกรรมและการแต่งกายในการฟ้อนกลองตุ้มของชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อให้ชุมชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ตลอดจนหากระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน สถานศึกษา หน่วยงานต่าง ๆ และผู้สนใจทั่วไป เพื่อสร้างความตระหนักในคุณค่าและความภาคภูมิใจของคนในชุมชน ให้ร่วมสืบสานเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม พิธีกรรม และการแต่งกายในพิธีกรรมดังกล่าว ซึ่งผลจากงานวิจัยสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการนำไปใช้ประโยชน์และต่อยอดอย่างกว้างขวางในการเผยแพร่ต่อสาธารณชน เช่น การแสดงเสียงสีเสียงในงานแห่เทียนเข้าพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี การแสดงพิธีเปิดและปิดงานสัปดาห์สุขภาพจิต ประจำปี 2552 งานเลี้ยงผู้ร่วมประชุมทางวิชาการ เป็นต้น ตลอดจนการเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชน และเว็บไซต์ www.guideubon.com ซึ่งเป็นเว็บไซด์ที่รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ของจังหวัดอุบลราชธานีไว้อย่างครบถ้วน  นอกจากนี้ยังมีการใช้ประโยชน์ในด้านงานวิชาการในการผลิตเอกสารคำสอนเพื่อเผยแพร่ไปยังโรงเรียน 109 แห่งที่แจ้งความจำนงไว้

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

“เยาวชนไทย”พร้อมเต็มร้อยประลองฝีมือช่างระดับอาเซียน


ระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ส่ง 34 ตัวแทนเยาวชนไทย เข้าร่วมการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 11 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 21 – 29 กันยายน 59 

หม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า การแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียนเป็นกิจกรรมหนึ่งของประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน เพื่อร่วมมือกันพัฒนาฝีมือแรงงานในระดับภูมิภาคให้ทัดเทียมกับระดับนานาชาติโดยประเทศสมาชิกได้กำหนดให้จัดแข่งขันทุก 2 ปี ปีนี้ประเทศมาเลเซียเป็นเจ้าภาพ จัดแข่งขันใน 25 สาขาอาชีพ มีเยาวชน 276 คน เข้าร่วมแข่งขัน สำหรับประเทศไทยส่งเยาวชนเข้าร่วมการแข่งขัน 34 คนใน 17 สาขา สาขาละ 2 คน

สำหรับวัตถุประสงค์ของการแข่งขัน คือ ต้องการพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพ ปรับค่านิยมการทำงานของเยาวชน และแรงงานฝีมือ รวมทั้งส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกร่วมมือกันทั้งในด้านการศึกษา ด้านทักษะอาชีพ แลกเปลี่ยน การเรียนรู้ นำเทคนิคและประโยชน์ที่ได้จากการแข่งขันไปใช้ในการประกอบอาชีพ นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม องค์กรนายจ้างและลูกจ้าง สถานศึกษาวิชาชีพต่างๆ และเป็นเวทีที่สร้างการยอมรับในความเป็นเลิศด้านฝีมือ ซึ่งจะช่วยพัฒนาแรงงาน รุ่นใหม่ให้มีฝีมืออยู่ในระดับสูง


รูปแบบที่ใช้ในการแข่งขัน จะเป็นแบบแข่งขันครั้งล่าสุดของ จากการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ หรือ World Skills ที่ผู้เชี่ยวชาญจากภาคอุตสาหกรรมชั้นนำของประเทศสมาชิก จะช่วยกันออกแบบ ปรับปรุงแก้ไขทุกครั้งที่มีการแข่งขัน ให้สอดคล้องเทคโนโลยีล่าสุดและความต้องการแรงงานของตลาดโลก ถ้าผู้เข้าแข่งขันสามารถทำแบบทดสอบได้ ก็จะสามารถทำงานในสถานประกอบการได้เช่นกัน เท่าเป็นวิธีที่ช่วยให้เยาวชนในกลุ่มประเทศอาเซียนได้ฝึกฝนฝีมือให้ทันกระแสโลกอยู่เสมอ

หม่อมหลวงปุณฑริก กล่าวด้วยว่า สำหรับเยาวชนทุกคน มีความพร้อมเต็มร้อยในการแข่งขันนี้ เพราะได้รับการเก็บตัวฝึกซ้อม เป็นเวลา 6 เดือน ในสถาบันการศึกษา และ สถานประกอบกิจการชั้นนำ มีคณะอนุกรรมการเทคนิคการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน ในแต่ละสาขา ผู้แทนจากสถานศึกษา สถานประกอบการและผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมกันวางแผน กำกับดูแลการเก็บตัวฝึกซ้อม

“ปีนี้เรามีความคาดหวังว่า สาขาเทคโนโลยีงานเชื่อม สาขาบริการอาหารและเครื่องดื่ม สาขาประกอบอาหาร สาขาแต่งผม สาขาการบำรุงเครื่องจักรกล CNC (ทีม) สาขาระบบอัตโนมัติอุตสาหกรรม(ทีม) สาขาเมคคาทรอนิกส์(ทีม) สาขากราฟิกดีไซน์ สาขาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ชนิดเคลื่อนที่ (ทีม) สาขาเทคโนโลยีระบบทำความเย็น และสาขาออกแบบและเขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์ จะได้รับรางวัลจากการแข่งขันครั้งนี้ และคาดว่าไทยน่าจะได้อย่างน้อย 7 เหรียญทอง นอกจากนี้ในอีก 2 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียนครั้งที่ 12 ด้วย” ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวในตอนท้าย



"พลิก สร้าง โอกาส"กลยุทธ"พศ."ชิงพื้นที่ข่าว 

            จากการไปร่วมงาน "โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการวางแผนและการดำนเนินงานประชาสัมพันธ์เชิงรุกอย่างมีประสิทธิ์ภาพ" จัดโดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ) ที่มี "พศจ." และเจ้าหน้าที่ร่วมงานเป็นจำนวนมาก  ที่โรงแรมรอยัลซิตี้วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๙  มีแนวคิดเชิงกลยุทธ คือ "พลิก สร้าง โอกาส"  เป้าหมายคือ "เผยแผ่"  โดยให้คำเหล่านี้อยู่ในรูปสามเหลี่ยม คือ คำว่า "เผยแผ่" อยู่ตรงกลาง  คำว่า "พลิก" อยู่ด้านบนของสามเหลี่ยม  คำว่า"สร้าง" อยู่ด้านซ้ายมือ และคำว่า "โอกาส" อยู่ด้านขวามือ  ซึ่งรูปสามเหลี่ยมนี้ล้อมรอบด้วยสี่เหลี่ยมจตุรัส ด้านบนเขียนว่า "สังวรปธาน" คือการเฝ้าระวัง"  ด้านซ้ายมือเขียนคำว่า "อนุรักขนาปธาน" คือการรักษาให้ยั่งยืน  ด้านขวามือเขียนคำว่า "ปหานปธาน" คือการแก้ไข  และด้านล้างเขียน "ภาวนาปธาน" คือการสร้างให้เกิดขึ้น

            จากรูปสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมนี้สามารถการบูรณาการเข้ากับทฤษฎีการสื่อสารจากวิทยากรให้ความรู้เข้ากับหลักธรรมได้ดังนี้  ที่ให้คำว่า "เผยแผ่" อยู่ตรงกลางเพราะว่า นักการสื่อสารหรือนักเผยแผ่จะต้องมีใจเป็นกลาง ถอดหัวโขนหรือต้นสังกัดออกแล้วมายืนอยู่ข้างนอกในฐานะผู้รับสารว่า จะทำให้เราทราบว่าต้องการอะไรกับเนื้อหาของสารหรือประเด็นนั้นๆอย่างไร ซึ่งก็ตรงกับหลักมัชญิมาปฏิปทาหรือสายสายกลาง

            คำว่า "พลิก"  ที่วางให้สัมพันธ์กับ "ปหานปธาน" ก็คือว่าเนื้อหาของสารที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาที่เป็นข่าวเชิงลบคือที่เรียกว่าอธิกรณ์นั้นคณะสงฆ์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องรีบดำเนินการให้ยุติโดยเร็วไม่ใช่ปล่อยให้ยืดเยื้อ และที่สัมพันธ์กับคำว่า "โอกาส" ก็คือว่า เมื่อมีข่าวเชิงลบนอกจากจะมีการแก้ข่าวหรือให้ข้อเท็จจริงแล้วจะต้องหาโอกาสพลิกแพลงนำเสนอข่าวสารที่ดีที่เป็นเชิงลบแนบในข่าวเชิงลบนั้นให้ได้ และต้องคิดว่าเมื่อมีข่าวเชิงลบนั้นถือเป็นโอกาส และต้องพลิกวิกฤติเป็นโอกาส ขณะที่วางคำว่า "สร้าง" สัมพันธ์กับคำว่า "ภาวนาปธาน" ก็คือว่าต้องสร้างข่าวดีแล้วนำออกมาเผยแผ่ให้มากๆ คือเอาน้ำดีสู้น้ำเสีย หรือรอจังหวะในการเผยแร่ จะเห็นได้ว่าหลักการหรือหลักธรรมของการเผยแผ่ก็สอดคล้องกับทฤษฎีการสื่อสาร

            นี้คือยุทธศาสตร์อาจจะตอบสนองความต้องการของนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติโดยต้องการให้สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติทำงานในเชิงรุกให้ทันกับยุคไทยแลนด์ ๔.๐  โดยต้องการให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและคณะสงฆ์จัดทำกลยุทธ ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี และแผนที่ดีเหมาะและปรับไปตามสภาพแวดล้อมได้ดี แล้วนำไปสู่การปฏิบัติจริง เพื่อรองรับยุคข้อมูลข่าวสารหลั่งไหลเข้าอย่างมากมาย สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญใหม่และการบริหารราชการแผนดินให้สอดรับกับยุคข้อมูลข่าวสารหลั่งไหลเข้าอย่างมากมาย

            ตัวอย่างที่หนึ่งที่การทำงานในเชิงรุกของนายสุวพันธุ์นั้นก็คือการกำหนดให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และสำนักงานส่งสเริมคุณธรรมจริยธรรม บูรณาการร่วมกันให้พัฒนาหมู่บ้านศีล ๕ ภายใต้โครงการประชารัฐ  เพื่อเป็นแนวทางของการสร้างสังคมไทยให้เกิดความปรองดอง  ซึ่งขณะนี้มหาเถรสมาคมได้เห็นชอบแล้ว

            จากนโยบายนายสุวพันธุ์และการดำเนินการของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติในการพัฒนาหมู่บ้านศีล ๕ ดังกล่าวก็คือสร้างความปรองดอง ให้เกิดสันติสุขขึ้นในสังคมไทยและสังคมโลก และนี้ก็เป็นที่มาหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เนื่องในวันสันติภาพโลก  หลักสันติศึกษา มจร  จึงได้จัดงานที่ มจร วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา  โดยพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง  ได้ส่งผู้แทนคือพลเอกอุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธี และปาฐกถาพิเศษโดย ศ.ดร.พระพรหมบัณฑิต อธิการบดี มจร นอกจากนี้ยังมีการมอบรางวัล "ลมหายใจแห่งสันติภาพ" แก่นักสันติภาพที่ทุ่มเทกายใจรับใช้ชุมชน ทั้ง 4 คน  คือ นายโจน จันได ร.ต.ต.วิชัย สุริยุทธ นายปัญญา โตกทอง และ ดร.เกษร วงศ์มณี รวมไปถึงการฟังลมหายใจจากนักการศาสนาและนักสันติภาพใน


สารวันสันติภาพสากลของเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ

เนื่องในวันสันติภาพโลก  หลักสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ได้จัดงานที่ มจร วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา  โดยพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง  ได้ส่งผู้แทนคือพลเอกอุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธี และปาฐกถาพิเศษโดย ศ.ดร.พระพรหมบัณฑิต อธิการบดี มจร นอกจากนี้ยังมีการมอบรางวัล "ลมหายใจแห่งสันติภาพ" แก่นักสันติภาพที่ทุ่มเทกายใจรับใช้ชุมชน ทั้ง 4 คน  คือ นายโจน จันได ร.ต.ต.วิชัย สุริยุทธ นายปัญญา โตกทอง และ ดร.เกษร วงศ์มณี รวมไปถึงการฟังลมหายใจจากนักการศาสนาและนักสันติภาพในเวทีสันติเสวนา 

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2559


เครือข่ายชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่-สสส.เปิดตัวเว็บไซต์ชอปปิงผลิตภัณฑ์ชุมชน www.hcspopping.org ช่วยสร้างรายได้ชุมชน ช่วยลดปัญหาการว่างงาน และสร้างสังคมสุขภาวะเข้มแข็ง เผยผลิตภัณฑ์มีหลากหลาย ผ้าพื้นเมือง ข้าวออร์แกนิก สินค้าสุขภาพ พร้อมติวพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ อบรมเทคนิคขายของออนไลน์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า

น.ส.ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) กล่าวว่า สสส.และเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ได้ร่วมกันเปิดตัวเว็บไซต์ www.hcshopping.org ซึ่งมาจากคำว่า healthy community หมายถึงสังคมชุมชนของคนรักสุขภาพ เพื่อเป็นช่องทางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น โดยจะทำหน้าที่เป็นตลาดเพื่อใช้ระบายสินค้าของชุมชน ด้วยระบบการตลาดแบบออนไลน์ (digital market)

โดยมีสินค้าหลัก 6 หมวด คือ 1. ผ้าพื้นเมือง ที่เป็นสินค้าจากภูมิปัญญา ซึ่งมีหลากหลาย ประกอบด้วย ผ้าไหม ผ้าคราม ผ้าไทยทรงดำ ผ้าไทใหญ่ ผ้าปากะญอ ผ้ามัดหมี่ และ ผ้าบาติค/ปาเตะ  2. ข้าว/โรงสี  ซึ่งเป็นสินค้าจากการเกษตรยั่งยืน เช่น ข้าวสารหลากสายพันธุ์ ขนมที่แปรรูปจากข้าว 3.สินค้าแปรรูป ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิตและวัสดุในพื้นที่ เช่น หน่อไม้ดอง แหนมหมู ส้มปลา ถั่วตัด ข้าวเกรียบจากผลไม้ 4.สินค้าสุขภาพ เพื่อการพึ่งตนเองของชุมชน เช่น สมุนไพรรักษาสุขภาพ และของใช้ที่ผลิตจากสมุนไพร 5.สินค้าหัตกรรม จากภูมิปัญญาและแรงงานของชุมชน เช่น กระเป๋าสานจากไม้ไผ่ จากสายป่าน กระเป๋าผ้า กระเป๋าจากวัสดุเหลือใช้ 6. พืชผักผลไม้ ตามฤดูกาล เช่น กล้วยหอม ลองกอง และส้มโอ ซึ่งผลิตภัณฑ์มาจากเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ที่เป็นสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กว่า 2,500 แห่ง ทั่วประเทศ โดยที่สมาชิกจะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ในการจัดการสินค้านำมาลงเว็บไซต์


“เวลาลงไปในพื้นที่แล้วพบว่า สินค้าที่มีคุณภาพหลายตัวของชุมชนนั้น มักเป็นสินค้าที่กระจายไม่ออก ขายไม่ได้ ทำให้คิดกันไปเองว่า สินค้าชุมชนไม่มีคุณภาพ หรือขายไม่ดีเพราะทำสินค้าเหมือนกันหมด ทั้งที่ความจริงแล้วสินค้าส่วนใหญ่คุณภาพดี และไม่เหมือนกันเสมอไป เช่น กล้วยฉาบถึงแม้จะเป็นกล้วยฉาบเหมือนกัน แต่รสชาติความอร่อยไม่เหมือนกัน”


น.ส.ดวงพร กล่าวต่อว่า สสส. ร่วมพัฒนาองค์ความรู้ในการจัดการตนเองด้านเศรษฐกิจ ของชุมชนท้องถิ่นในเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ด้วยการส่งเสริม ยกระดับ และพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีรูปแบบ และอัตตลักษณ์เฉพาะ ตามทรัพยากรและภูมิปัญญาของท้องถิ่นสามารถสร้างงาน สร้างรายได้ ลดปัญหาการว่างงาน และการย้ายถิ่นฐานของคนในชุมชนได้ ส่งผลให้ครอบครัวและชุมชน มีความอบอุ่นและเกื้อกูลกัน  อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มช่องทางและโอกาสในการจำหน่ายสินค้าให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคจึงมีแนวคิดในการพัฒนาศักยภาพของนักชาการชุมชนท้องถิ่น  ซึ่งประกอบด้วยนักพัฒนาชุมชน นักวิเคราะห์ นักการศึกษาและอื่นๆ  ให้มีการพัฒนาศักยภาพด้านการตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สินค้าสินค้าให้มีคุณภาพ จะสามารถเป็นกลไกหลักในการช่วยกลุ่มองค์กรด้านเศรษฐกิจทั้งอาชีพหลัก อาชีพเสริม สินค้าตามภูมิปัญญาและวัฒนาธรรม สามารถสร้างมูลค่าและเข้าถึงผู้บริโภคได้


วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559


ทูตไทยประจำอินเดียถวาย๗๐๐,๐๐๐ รูปี ร่วมสร้างพุทธอุทยาน ห้องรับรองพิเศษ ที่สนามบินเมืองคยา

วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๙  ที่ The Royal Thai Monastery Kushinagar วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ รายงานว่า พระเทพโพธิวิเทศ หัวหน้าพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย-เนปาล เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา พร้อมด้วย นายชลิต มานิตยกุล เอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี ได้ร่วมเป็นประธานเปิดการประชุมทีมประเทศไทย (คณะกรรมการบริหาร สอท.) ครั้งที่ ๖/๒๕๕๙ ที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี โดยมีวาระการประชุม อาทิเช่น ผลการนำคณะผู้ประกอบการธุรกิจยางอินเดียเยือนประเทศไทย ที่ผ่านมา , การจัดสัมมนา SMEs ไทยสู่ตลาดภารตะ อินเดีย , การเตรียมรับเสด็จเยือนอินเดียอย่างเป็นทางการของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, การพบปะแลกเปลี่ยนระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงไทย-อินเดีย , การจัดถวายผ้ากฐินพระราชทานวัดไทยในอินเดีย , กิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ ๗๐ ปี ความสัมพันธ์ไทย-อินเดีย และ การพิจารณางบช่วยสร้างถนน สร้างสะพานเส้นทางแสวงบุญพุทธคยา - ราชคฤห์ เป็นต้น


ในการนี้หัวหน้าพระธรรมทูตอินเดีย-เนปาล ได้อนุโมทนาขอบคุณท่านเอกอัครราชทูตที่นิมนต์คณะพระธรรมทูตอินเดียเข้ามาประชุมรับทราบงานร่วมกับทางการไทย เพื่อประสานมือระหว่างฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายสงฆ์สู่การพัฒนางานให้ก้าวสู่งขึ้นไปอีกระดับ ซึ่งท่านเจ้าคุณอินเดียได้แนะนำวิธีการทำงานกับคนอินเดียจากประสบการณ์ การใช้ชีวิตอยู่ในอินเดียมากว่า ๓๐ ปี ดังนี้

"อินเดียคือเมืองพระ อินเดียมีพระมาก พระคือผู้ประเสริฐ ดังนั้นจึงควรร่วมใช้พลังของพระจนเกิดพลังความดี เกิดประโยชน์ เกิดผลกำไรกลับคืนไปพัฒนาสู่แผ่นดินไทย"

"อินเดีย คือ เมืองที่องค์พระราชาส่งผู้แทนพระองค์ คือ ท่านเอกอัครราชทูตและข้าราชการสถานทูต มาปฏิบัติหน้าที่ต่างพระเนตรพระกรรณดูแลพสกนิกรชาวไทยในอินเดีย สร้างความสัมพันธ์อันดี และ นำสิ่งดี ๆ กลับเข้าสู่ประเทศไทยของเรา"

"การเดินทางมาแสวงบุญที่อินเดีย อย่ามองว่าเป็นการนำเงินออกมาให้อินเดีย เพราะแท้ที่จริง คือ การมานำพลังคุณธรรมความดีกลับเข้าสู่ประเทศไทย เป็นการลงทุนที่ค้มค่า มากกว่าการเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก"

"พระธรรมทูตมีหน้าที่นำธรรมะสู่สาธุชน สร้างศรัทธาดูแลชาวพุทธให้เกิดคุณความดีจากพุทธภูมิกลับไปพัฒนาประเทศให้ได้ผลมากที่สุด"

"ศาสนกิจ ราชกิจ ธุรกิจ ต้องปฏิบัติควบคู่กันไปทั้งฝ่ายพระธรรมทูตและบ้านเมือง สานสามัคคีความดี ความสำเร็จ ความเจริญก็ ไม่หนีไปไหน เช่น การมาไหว้พระที่อินเดียนั่งการบินไทย ทำบุญวัดไทย พัก-รับประทานอาหารวัดไทย ปัจจัยไม่หายไปไหนมีแต่จะกลับคืนสู่ประเทศไทย"

ทั้งนี้ท่านเจ้าคุณอินเดีย ได้กล่าวอนุโมทนากับท่านเอกอัครราชทูต ที่มีศรัทธาได้ออกบวชภายในแดนพุทธภูมิ ณ พระอุโบสถ วัดไทยพุทธคยา เป็นพุทธบูชา เพื่อศึกษาเรียนรู้พระพุทธศาสนาในเชิงลึก ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่าอนุโมทนายินดีกับข้าราชการระดับสูงของประเทศไทยที่มีน่าที่ดูแลแผ่นดินอินเดียโดยตรง

และในโอกาสนี้ ท่านเอกอัครราชทูต ได้ถวายจตุปัจจัย จำนวน ๗๐๐,๐๐๐ รูปี เพื่อร่วมสร้างพุทธอุทยาน ห้องรับรองพิเศษ ที่สนามบินเมืองคยา โดยวัดไทยพุทธคยา และ ทางการอินเดีย ได้ลงนามร่วมมือเพื่อพัฒนาสนามบินคยาให้มีมาตรฐานดีงามยิ่งขึ้นไป


วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559

เปิดตัว เครื่องตรวจหาสารพันธุกรรมโรคติดเชื้อ ในงานไทยแลนด์แล็บ 2016 เผยสามารถตรวจได้ทั้ง ซิก้า เมอร์ส อีโบล่า ไข้หวัดใหญ่  ไข้เลือดออก  รู้ผลใน 1 ชม.

ในงาน ไทยแลนด์ แล็บ อินเตอร์เนชั่นแนล 2016  ที่จะจัดมีขึ้นระหว่างวันที่ 21-23 กันยายน 2559 ณ ไบเทค บางนา โดยจะมีการนำเสนอเทคโนโลยี เครื่องมือและบริการสำหรับห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ มากที่สุดในอาเซียน โดยหนึ่งในเครื่องมือที่นำมาจัดแสดงคือเครื่องตรวจหาสารพันธุกรรมของโรคติดเชื้อ (UltraFast LabChip Real-time PCR G2-4) โดยเครื่องดังกล่าว สามารสามารถตรวจหาสารพันธุกรรมของโรคติดเชื้อ เช่น ไวรัสซิกา เมอร์ส อีโบลา ไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น โดยใช้หลักการตรวจวิเคราะห์ทางอณูชีววิทยา โดยใช้เทคโนโลยีแล็บชิพ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะ เป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว มีความแม่นยำสูง สามารถรายงานผลการติดเชื้อได้ภายในเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง อีกทั้งยังมีขนาดเล็กเคลื่อนย้ายได้ง่าย จึงสามารถสำหรับนำไปใช้กับหน่วยตรวจเคลื่อนที่ได้อีกด้วย นับเป็นเทคนิคล่าสุดทางห้องเเล็บการเเพทยย์ และโอกาสเติบโตของเเล็บการเเพทย์

สำหรับงาน ไทยแลนด์ แล็บ อินเตอร์เนชั่นแนล 2016 นั้น ปีนี้จัดภายใต้แนวคิด “ที่สุดเทคนิควิธีการด้านเครื่องมือทางห้องปฏิบัติการฯ แห่งอาเซียน” ประกอบด้วย ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายชั้นนำกว่า 300 บริษัท 1,300 แบรนด์สินค้า 9 พาวิลเลียนจาก 35  ประเทศทั่วโลก และงานประชุมสัมมนาจากผู้ทรงคุณวุฒิ  ทั้งในและต่างประเทศ กว่า 160 หัวข้อ คาดว่าจะมีผู้ชมงานกว่า 9,200  คนจาก 40 ประเทศทั่วโลก โดย ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะเป็นประธานในพิธีเปิดในวันที่ 21 กันยายน 2559

"มจร"สีเขียวยุคAI! จัดกิจกรรม "รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม คืนขยะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"

กิจกรรม “รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างจริยธรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ด้วยหล...