วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2559


รับมือวิกฤต7ประเด็นสังคมวาระประเทศ สสส. ชูพลังชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง เสริมความเข้มแข็งชุมชนสร้างสุขภาวะทุกมิติ กระตุ้นอปท. เตรียมพร้อมรองรับสังคมผู้สูงอายุ คุมเหล้า-บุหรี่  พัฒนาระบบอาหารชุมชน ดูแลเด็กปฐมวัยและเยาวชน และจัดการสิ่งแวดล้อม

วันที่ 14 กันยายน ที่อาคารอิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่นเซ็นเตอร์ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี  สำนกงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สน 3) เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่จัด เวทีสานพลังจัดการตนเอง เสริมความเข้มแข็งชุมชนท้องถิ่น สร้างสุขภาวะทุกมิติ ระหว่างวันที่ 14 – 16 กันยายน  2559 โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมกว่า 3,500 คน จากทั่วประเทศ


น.ส.ดวงพร  เฮงบุณยพันธ์  ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน สสส . กล่าวว่า การจัดเวทีสานพลังจัดการตนเองฯ ครั้งนี้เพื่อขยายแนวคิด แนวทางการดำเนินงาน และวิธีการเชิงเทคนิคของทั้ง 7 ประเด็นทางสังคม ซึ่งสอดคล้องกับภารกิจของ สสส. และเป็นปัญหาที่เป็นวาระของประเทศ ที่ได้จากการสรุปบทเรียนและการดำเนินงานประมวลผลร่วมกับข้อมูลทางวิชาการที่เกี่ยวข้องพัฒนาเป็นแนวทางการดำเนินการงานของแต่ละประเด็นที่สามารถปรับใช้ได้ในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ของสมาชิกเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ที่มีการดำเนินการจัดทำข้อมูลครอบคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 หลังคาเรือนในแต่ละเขตความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ 1. การควบคุมการบริโภคยาสูบ 2. การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และลดอุบัติเหตุจราจร 3. ระบบอาหารชุมชน 4. การพัฒนาระบบการดูแลเด็กปฐมวัยโดยชุมชนท้องถิ่น 5. การเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน 6. ระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่น 7. การจัดการสิ่งแวดล้อมและลดโลกร้อนโดยชุมชนท้องถิ่นเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการพัฒนาเป็นนโยบายสาธารณะระดับท้องถิ่นและเชื่อมโยงกับขบวนการขับเคลื่อนของทุกระดับ


“ระบบการดูแลผู้สูงอายุ เป็นประเด็นการทำงานที่มีผลเป็นรูปธรรมมากที่สุด โดยสสส.มีเป้าหมายให้ผู้สูงอายุทุกคนต้องได้เข้าโรงเรียนผู้สูงอายุตลอดชีพ ผู้สูงอายุที่ป่วย พิการ ติดเตียง ต้องได้รับการดูแลบ้านและที่สาธารณะต้องเอื้อให้ผู้สูงอายุมีอิสรภาพในการดำเนินชีวิต ซึ่งชมรมผู้สูงอายุ  อาสาสมัครช่วยเหลือดูแลเมื่อเจ็บป่วย กลุ่มช่างอาสา สามารถจัดการตนเองได้ และเป้าหมายในปี 2560 สสส.จะเชื่อมการทำงานกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ให้ระบบการดูแลผู้สูงอายุมีมาตรฐานยิ่งขึ้น”

น.ส.ดวงพร กล่าวต่อว่า สสส.และเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ทำงานภายใต้ 2 หลักการ คือ การพัฒนาโดยเอาพื้นที่เป็นฐาน และ ทุกนโยบายคำนึงถึงสุขภาวะ โดยมีเป้าหมาย 1 กระตุ้นและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้นำแนวคิดและแนวทางการดำเนินงานของแต่ละประเด็นไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ 2. พัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนท้องถิ่นและทีมงานให้มีความสามารถในการขยายผลการดำเนินงานให้ครอบคลุมกลุ่มประชากรเป้าหมายในพื้นที่ และ 3. เผยแพร่รูปธรรมนวัตกรรมการจัดการสุขภาวะโดยชุมชนท้องถิ่นอันนำไปสู่การขยายแนวคิดและวิธีการไปยังพื้นที่อื่นๆ และเชื่อมโยงกับวาระทางนโยบายของประเทศ


สำหรับภายในงาน มีการฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพ เช่น เทคนิคการคัดกรองผู้ติดเหล้าและทักษะการป้องกันอุบัติเหตุโดยชุมชน รูปแบบการปลูกผักและการจัดการบำรุงพันธุ์ การจัดทำหลักสูตรสำหรับโรงเรียนผู้สูงอายุ นอกจากนี้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์รูปธรรมจากพื้นที่ กิจกรรมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เฉพาะประเด็นของเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่  การจัดแสดงนิทรรศการ 7 โซน ประกอบด้วย โซนผู้สูงอายุ โซนเด็กปฐมวัย โซนแอลกอฮอล์ โซนอาหารชุมชน โซนระบบข้อมูล โซนรณรงค์ และโซนผลิตภัณฑ์ชุมชน กิจกรรมรณรงค์และขับเคลื่อนประเด็นการจัดการสุขภาวะชุมชนโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งของเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนะนำหนังสือนิยายอิงธรรมะ: พอสันติสุข

  เนื้อหาหนังสือนิยายอิงธรรมะ: พอสันติสุข บทนำ บทเกริ่นนำ: อธิบายถึงแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและความสำคัญในชีวิตประจำวัน แนะนำตัวละครหล...