วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559
'มจร'จัดโครงการบริหารจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรมในประชาคมอาเซียน แนะนำหลักขันติธรรมลดขัดแย้งทางศาสนา
ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๙ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) จัดการประชุมสัมมนาตามโครงการบริหารจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรมในประชาคมอาเซียนด้วยหลักขันติธรรม ที่ มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา โดยวันที่ ๑๓ กันยายนนี้พระศรีคัมภีรญาณ รองอธิการบดี มจร ฝ่ายวิชาการ กล่าวว่า ประเทศไทยเรามีความหลากหลายทางวัฒนธรรมในภูมิภาคต่างๆ เราต้องเรียนรู้จะอยู่ร่วมกัน ซึ่งในอดีตมีการดูถูกเหยียดหยามกัน ในภาคต่างๆ นำไปสู่การแตกแยกเกิดความขัดแย้งกัน ความขัดแย้งในสังคมไทยปัจจุบัน ก็เกิดมาจากการดูถูกกัน เราต้องเรียนรู้ความหลากหลายทางวัฒนธรรม นอกจากในประเทศจะมีความหลากหลาย เราจึงระวังการอยู่ร่วมกัน ซึ่งในระดับอาเซียนยิ่งมีความหลากหลาย เราต้องมีกิจกรรมแบบนี้บ่อยๆ ให้มีทุกศาสนามาพูดคุยกัน ในพหุวัฒนธรรมในความหลากหลาย
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร ได้บรรยายความว่า เรื่องขันติธรรมกำลังเป็นที่ยอมรับในสังคมอาเซียน ซึ่งยูเนสโกได้ยกเรื่องขันติธรรมมาเป็นตัวขับเคลื่อน ตัวประสานในการอยู่ร่วมกัน
พระมหาหรรษา กล่าวต่อว่า ย้อนนึกถึงแนวคิดของนายซามูเอล ฮันติงตัน นักวิชาการรัฐศาสตร์ทรงอิทธิพล ผู้เขียนหนังสือเรื่อง “The Clash of Civilizations” ที่กล่าวว่า "ต่อไปจะเกิดการปะทะกันทางวัฒนธรรมกันอย่างรุนแรง " ซึ่งตอนนี้เราก็เห็นชัดแล้ว มีการปะทะกันระหว่างศาสนาคริสต์และอิสลามทางวัฒนธรรม ซึ่งในวัฒนธรรมของศาสนาพุทธเป็นปัจเจกบุคคล เริ่มต้นจากตัวบุคคลส่งผลต่อสังคม มีการยืดหยุ่นสูงมาก แต่วัฒนธรรมของชาวมุสลิมจะมีความเข้มแข็ง ซึ่งตอนนี้วัฒนธรรมการกินขยายไปทั่วไปก็มีความแตกต่าง จึงมีการปะทะกันทางวัฒนธรรม เราจะอยู่ร่วมกันอย่างไรในท่ามกลางความหลากหลาย ในประเทศสิงคโปร์มีความหลากหลายในด้านศาสนามากมีถึง ๑๒ ความเชื่อ แต่สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติ รัฐบาลสิงคโปร์เป็นห่วงมากในเรื่องนี้จึงออกกฎหมายเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันระหว่างศาสนาเพื่อไม่ให้ศาสนาใดโจมตีศาสนาอื่นๆ
"ทางตะวันตกมองว่า สิทธิมนุษยชน เป็นเครื่องมือสันติวิธี แต่ทางตะวันออก พระพุทธเจ้า คือ "ขันติ สติ สันติ" ฐานคิดในโอวาทปาฎิโมกข์ พระพุทธเจ้าขึ้นต้นด้วยขันตี ปรมัง ตโปติติกขา เป็นการประกาศจุดยืนของพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าประกาศเรื่องขันติธรรม เพื่อให้ศาสนาพราหมณ์เข้าใจว่า การบำเพ็ญตบะอยู่ที่ความอดทน ความอดทนมี ๒ ประการ คือ อดทนภายใน เป็นการอดทนต่อกิเลส และ อดทนภายนอก เป็นการอดทนต่อความลำบาก ในการไปรับใช้เพื่อนมนุษย์ ฉะนั้น หัวใจสำคัญคือ ความอดทน หัวใจของตบะ คือ อดทนต่อกิเลส ขันติจึงเป็นสะพานไปหาพระนิพพาน ขันติเกิดเมื่อใด สันติเกิดเมื่อนั้นการไม่พูดร้ายการไม่ทำร้าย มาจากหลักโอวาทปาฎิโมกข์ ต้องมีความอดทนเพื่อในการอยู่ร่วมกัน เรามีสำคัญ ๔ คำ (Key words) คือ ขันติธรรม + การบริหารจัดการ พหุวัฒนธรรม + เพื่ออยู่ในอาเซียน เมื่อมีความหลากหลายจะอยู่ร่วมกันอย่างไร" ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร กล่าวและว่า
โดยเฉพาะประเทศไทยก็มีหลายชาติเชื้อไทย และชาติอื่นๆ มีอีกเท่าไหร่ในเชื้อชาติ ซึ่งเดิมทีไม่มีหมู่บ้าน แต่อยู่เป็นชุมชน สอดคล้องกับพระไตรปิฎกในอัคคัญสูตร ในการกินข้าวสาลี จึงเป็นที่มาว่า "โลภมากก็ลามก" จึงมีการตั้งคนกลุ่มหนึ่งขึ้นมาแบ่งพืชเกษตร คือ กษัตริย์ เรียกว่า ราชา บุคคลใดที่ทำให้คนอื่นพอใจ เรียกว่า ราชา จึงมีการแบ่งพื้นที่ เรียกว่า ขัตติยะ พื้นฐานของมนุษย์มีความกลัว จึงมีการจับกลุ่มกันแน่น เช่น ชาวพุทธในอินเดีย ที่ใดมีน้อยมันจะจับกลุ่มเพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ ประเทศใหญ่ๆ ไม่ต้องไปจับกับใครเพราะมีความยิ่งใหญ่พอ เมื่อจับกลุ่มจึงแยกกันโดยภูมิศาสตร์ แตกแยกกันโดยวัฒนธรรม แตกต่างทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง กลุ่มถูกการกระทำจากลัทธิล่าอาณานิคม จึงต้องรวมกันเพื่อการอยู่รอด จึงมีการตั้งประชาคมอาเซียนเพื่อการต่อรอง แต่จะอยู่ร่วมกันอย่างไรในความเป็นพหุวัฒนธรรม
พระมหาหรรษา กล่าวต่อว่า จึงต้องมีการจับมือกัน + 3 คือ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น คำถาม ทำไมนายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกามาประเทศลาว เพราะประเทศจีนบุกลาวเป็นอย่างมาก ให้ผลประโยชน์มากมาย จึงนำมาซึ่ง +6 เพราะถ้ามีกลุ่มก็สามารถเจรจาต่อรองกับประเทศอเมริกาได้ ในพหุวัฒนธรรมในอาเซียนมีประเทศอินโดนีเชียมีคนที่พูดกันมากถึง ๑๐๐ ภาษา แค่ภาษาเรื่องเดียวก็เป็นประเด็นแล้ว ความเชื่อเรื่องพิธีกรรม อย่าลืมว่าผีมาก่อนศาสนาพุทธ ประเพณีแต่ละประเทศ ความสัมพันธ์หลากหลาย พฤติกรรมที่คาดหวังที่หลากหลาย ค่านิยมที่มีความแตกต่าง จริงๆ ศาสนาน่าจะเป็นเครื่องมือในการอยู่ร่วมกัน แต่ตอนนี้ศาสนากลับมาเป็นเครื่องมือในการทำร้ายกัน ตีความเพื่อรักษาชาติพันธุ์ อาศัยศาสนาเป็นตัวกระตุ้นในการรักษาชาติพันธุ์ อุดมการณ์ของตนเอง ดังนั้น " ศาสนาจึงเป็นอาวุธที่อันตรายเพราะภายใต้ความเชื่อศรัทธาของผู้คน
"ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีได้กล่าวกับอาตมาว่า วัฒนธรรมใช้เชิงบวกและเชิงลบก็ได้ นายโอบามาใช้วัฒนธรรมในการประสานสร้างความสัมพันธ์ เพราะเป็นการลงทุนน้อยได้กำไรสูงมากเพียงผู้นำแค่เคารพ เรียนรู้ วิถีวัฒนธรรมที่แตกต่าง เราสามารถดึงเอาวัฒนธรรมไปสร้างประโยชน์ แต่วัฒนธรรมเอาไปทำโทษก็ได้ บุคคลที่ฉลาดต้องสามารถนำวัฒนธรรมมาเป็นตัวเชื่อมสร้างการอยู่ร่วมกัน เราต้องเคารพในสิ่งที่เขาเคารพ ถือว่าเป็นการใช้วัฒนธรรมในการสร้างความรัก เราจะใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมอย่างไร วัฒนธรรมจึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก อะไรที่เขายกย่อง ที่เขามี เขาเป็น อย่าไปดูถูกวัฒนธรรมใดๆ แม้แต่โรฮินญา บางกลุ่มไม่เอาเลย คนที่มีความต่างเราจะทำอย่างไรในท่ามกลางความต่าง" ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร กล่าวและว่า
อย่าลืมเราเป็นมนุษย์ เราจะมองหน้าพ่อได้ไหม เพราะพระพุทธเจ้าออกแบบมาเพื่อไม่ใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ คำว่า "ตาต่อตา ฟันต่อฟัน ตาบอด ฟันหัก" ไม่ว่าจะเป็น "ในฟิลิปปิน เมียนม่าร์" ความต่างจะนำมาไปสู่การฆ่าทำร้ายกัน ซึ่งสีในอาเซียน สีแดง คือ ความกล้าหาญ ความมก้าวหน้า คือ มีความอดทน ความอดทนเป็นทุบกำแพงสร้างสะพาน สีขาว คือ ความบริสุทธิ์ จริงใจต่อกัน น้ำเงิน คือ สันติภาพและความมั่นคง มั่นคงในชีวิต มั่นคงในทรัพย์สิน สีเหลือง คือ ความเจริญรุ่งเรือง เป็นเป้าหมายสุดท้าย เป็นรวงข้าว โดยใช้ขันติธรรมเป็นสะพาน จากพหุวัฒนธรรมสู่ขันติธรรม เป็นตัวเชื่อม ขันติธรรมไม่ใช่ปิดปากเงียบ กดทับ แต่ต้องมีความอดทน
เราเห็นคนมุสลิมมีความอดทนได้ไหม เพราะมีความแตกต่างจากเรา คนมุสลิมเห็นพระมีความอดทนได้ไหม ทำอย่างไรจะอดทนต่อกันได้ UNESSO เน้นย้ำว่า เคารพ ยอมรับ ตระหนักรู้ในคุณค่า ความแตกต่างทางวัฒนธรรม ต้องมีเคารพในความต่าง มันคือความสวยงาม มีคนนับถือศาสนาอื่น แล้วมีความสนใจในเรื่องสมาธิ ถามว่าต้องเปลี่ยนศาสนาหรือไม่ คำตอบคือ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนศาสนา เพราะ สมาธิเป็นสมบัติของคนที่ต้องการความสุข และความรับผิดชอบซึ่งยึดมั่นในหลักสิทธิมนุษยชนและความหลากหลาย ประชาธิปไตย ร่วมปกป้อง รักษา ดูแล เอาใจใส่ต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรม ศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ศาสนาอย่าไปเปลี่ยนวัฒนธรรมของใครๆ ศาสนามีหน้าที่ในการส่งเสริมวัฒนธรรม ตอนนี้เรากำลังเอาศาสนาไปครอบงำวัฒนธรรม จึงทำให้เกิดความขัดแย้ง อย่าให้ศาสนามาครอบงำเพื่อไปทำลายวัฒนธรรมใดๆ
"วิทยานิพนธ์เป็นจุดเริ่มต้นในการทำงานเพื่อมนุษยชาติ เรามาคุยเรื่องขันติธรรมในมหาจุฬา อย่านำศาสนาไปครอบงำวัฒนธรรม แต่ศาสนาต้องส่งเสริมวัฒนธรรม ประเทศที่มีความหลากหลายมากทางวัฒนธรรม คือ สิงคโปร์ เราควรไปศึกษาเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง ผมไปจังหวัดปัตตานีไปพูดคุยกับคนที่มีความหลากหลาย เพราะเหตุใดเราจึงต้อง รักและถนุถนอมกันและกัน เหตุผลแจ้งชัดว่า เราอยู่คนเดียวในโลกนี้ไม่ได้ เรายังต้องเกี่ยวข้องามพันธ์ และเรายังต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน และที่สำคัญ คือ เราต่างก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน ที่วิทยาลัยสงฆ์ปัตตานี จึงต้องรักษาฐานชาวพุทธและสร้างศาสนิกสัมพันธ์" พระมหาหรรษา กล่าวและว่า
เวลาเราประชุมเราสนใจแต่ผู้นำศาสนา ไม่สนใจอนาคตของพระพุทธศาสนาเลย หมายถึงไม่สนใจเยาวชนอาเซียน จึงเกิดยุวอาเซียนเพื่อศาสนาและวัฒนธรรมภาษา เราทำหน้าที่ในการเชื่อม โจทย์ คือ เมื่อคุณจะครอบครัวเดียวกัน คุณจะทำอย่างไร เริ่มจากการคุยกันจะเปิดพื้นที่ของแต่ละคน เพื่อจะเอาตัวรอดในท่ามกลางความแตกต่าง เราต้องให้คนลงสู่วิถีชีวิต ถ้าไม่ลงสู่วิถีชีวิตได้แค่ตัวหนังสือเท่านั้น ให้เขาเรียนรู้วัฒนธรรมร่วมกัน คุณคือครอบครัวเดียวกันของโลกใบนี้ เราไม่ควรทิ้งใครไว้ข้างหลัง
"ทำไมพระพุทธเจ้าจึงสอนขันติธรรม สอนให้เรามีความอดทนต่อความแตกต่าง เวลาออกไปเผยแผ่ต้องมีความอดทน เพราะโลกใบนี้ขึ้นอยู่กับลมหายใจของเรา ลมหายของเราคือลมหายใจของโลก เราเป็นลมหายใจเดียวกันของโลกใบนี้ ทุกศาสนาเป็นลมหายใจเดียวกัน เราจึงไม่มีทางแตกแยกกันได้เลย หลวงพ่อพุทธทาสกล่าวว่า ทำไมเราถึงจะรักคนอื่น เพราะเราในโลกคนเดียว โลกนี้มีศาสนาเดียวไม่ได้ โลกนี้ต้องมีครบทุกศาสนา จึงฝากว่า คุณต้องศึกษาศาสนาของตนเองให้ได้ คุณต้องศึกษาศาสนาของคนอื่นด้วย เพราะจะต้องอยู่กับคนศาสนาอื่น และวัตถุนิยมจะเป็นคนตัวทำลายวัฒนธรรม จึงระวังจะตกเป็นทาสของวัฒนธรรม สรุป ทำไมเราจึงต้องรักคนอื่น เพราะเราไม่สามารถอยู่คนเดียวได้ เราจึงต้องเคารพวัฒนธรรมของคนอื่น"
.....................................
(หมายเหตุ : ขอบคุณภาพและข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Pramote Od พระปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
"วิเคราห์ ทิฏฐิสังยุตต์ มูลปัณณาสก์ ทุติยเปยยาล - นวาตสูตร
"วิเคราห์ ทิฏฐิสังยุตต์ มูลปัณณาสก์ ทุติยเปยยาล - นวาตสูตร - เนวโหตินนโหติตถาคตสูตร - รูปีอัตตาสูตร - อรูปีอัตตาสูตร -รูปีจอร...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น