วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559



"พลิก สร้าง โอกาส"กลยุทธ"พศ."ชิงพื้นที่ข่าว 

            จากการไปร่วมงาน "โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการวางแผนและการดำนเนินงานประชาสัมพันธ์เชิงรุกอย่างมีประสิทธิ์ภาพ" จัดโดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ) ที่มี "พศจ." และเจ้าหน้าที่ร่วมงานเป็นจำนวนมาก  ที่โรงแรมรอยัลซิตี้วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๙  มีแนวคิดเชิงกลยุทธ คือ "พลิก สร้าง โอกาส"  เป้าหมายคือ "เผยแผ่"  โดยให้คำเหล่านี้อยู่ในรูปสามเหลี่ยม คือ คำว่า "เผยแผ่" อยู่ตรงกลาง  คำว่า "พลิก" อยู่ด้านบนของสามเหลี่ยม  คำว่า"สร้าง" อยู่ด้านซ้ายมือ และคำว่า "โอกาส" อยู่ด้านขวามือ  ซึ่งรูปสามเหลี่ยมนี้ล้อมรอบด้วยสี่เหลี่ยมจตุรัส ด้านบนเขียนว่า "สังวรปธาน" คือการเฝ้าระวัง"  ด้านซ้ายมือเขียนคำว่า "อนุรักขนาปธาน" คือการรักษาให้ยั่งยืน  ด้านขวามือเขียนคำว่า "ปหานปธาน" คือการแก้ไข  และด้านล้างเขียน "ภาวนาปธาน" คือการสร้างให้เกิดขึ้น

            จากรูปสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมนี้สามารถการบูรณาการเข้ากับทฤษฎีการสื่อสารจากวิทยากรให้ความรู้เข้ากับหลักธรรมได้ดังนี้  ที่ให้คำว่า "เผยแผ่" อยู่ตรงกลางเพราะว่า นักการสื่อสารหรือนักเผยแผ่จะต้องมีใจเป็นกลาง ถอดหัวโขนหรือต้นสังกัดออกแล้วมายืนอยู่ข้างนอกในฐานะผู้รับสารว่า จะทำให้เราทราบว่าต้องการอะไรกับเนื้อหาของสารหรือประเด็นนั้นๆอย่างไร ซึ่งก็ตรงกับหลักมัชญิมาปฏิปทาหรือสายสายกลาง

            คำว่า "พลิก"  ที่วางให้สัมพันธ์กับ "ปหานปธาน" ก็คือว่าเนื้อหาของสารที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาที่เป็นข่าวเชิงลบคือที่เรียกว่าอธิกรณ์นั้นคณะสงฆ์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องรีบดำเนินการให้ยุติโดยเร็วไม่ใช่ปล่อยให้ยืดเยื้อ และที่สัมพันธ์กับคำว่า "โอกาส" ก็คือว่า เมื่อมีข่าวเชิงลบนอกจากจะมีการแก้ข่าวหรือให้ข้อเท็จจริงแล้วจะต้องหาโอกาสพลิกแพลงนำเสนอข่าวสารที่ดีที่เป็นเชิงลบแนบในข่าวเชิงลบนั้นให้ได้ และต้องคิดว่าเมื่อมีข่าวเชิงลบนั้นถือเป็นโอกาส และต้องพลิกวิกฤติเป็นโอกาส ขณะที่วางคำว่า "สร้าง" สัมพันธ์กับคำว่า "ภาวนาปธาน" ก็คือว่าต้องสร้างข่าวดีแล้วนำออกมาเผยแผ่ให้มากๆ คือเอาน้ำดีสู้น้ำเสีย หรือรอจังหวะในการเผยแร่ จะเห็นได้ว่าหลักการหรือหลักธรรมของการเผยแผ่ก็สอดคล้องกับทฤษฎีการสื่อสาร

            นี้คือยุทธศาสตร์อาจจะตอบสนองความต้องการของนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติโดยต้องการให้สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติทำงานในเชิงรุกให้ทันกับยุคไทยแลนด์ ๔.๐  โดยต้องการให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและคณะสงฆ์จัดทำกลยุทธ ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี และแผนที่ดีเหมาะและปรับไปตามสภาพแวดล้อมได้ดี แล้วนำไปสู่การปฏิบัติจริง เพื่อรองรับยุคข้อมูลข่าวสารหลั่งไหลเข้าอย่างมากมาย สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญใหม่และการบริหารราชการแผนดินให้สอดรับกับยุคข้อมูลข่าวสารหลั่งไหลเข้าอย่างมากมาย

            ตัวอย่างที่หนึ่งที่การทำงานในเชิงรุกของนายสุวพันธุ์นั้นก็คือการกำหนดให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และสำนักงานส่งสเริมคุณธรรมจริยธรรม บูรณาการร่วมกันให้พัฒนาหมู่บ้านศีล ๕ ภายใต้โครงการประชารัฐ  เพื่อเป็นแนวทางของการสร้างสังคมไทยให้เกิดความปรองดอง  ซึ่งขณะนี้มหาเถรสมาคมได้เห็นชอบแล้ว

            จากนโยบายนายสุวพันธุ์และการดำเนินการของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติในการพัฒนาหมู่บ้านศีล ๕ ดังกล่าวก็คือสร้างความปรองดอง ให้เกิดสันติสุขขึ้นในสังคมไทยและสังคมโลก และนี้ก็เป็นที่มาหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เนื่องในวันสันติภาพโลก  หลักสันติศึกษา มจร  จึงได้จัดงานที่ มจร วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา  โดยพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง  ได้ส่งผู้แทนคือพลเอกอุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธี และปาฐกถาพิเศษโดย ศ.ดร.พระพรหมบัณฑิต อธิการบดี มจร นอกจากนี้ยังมีการมอบรางวัล "ลมหายใจแห่งสันติภาพ" แก่นักสันติภาพที่ทุ่มเทกายใจรับใช้ชุมชน ทั้ง 4 คน  คือ นายโจน จันได ร.ต.ต.วิชัย สุริยุทธ นายปัญญา โตกทอง และ ดร.เกษร วงศ์มณี รวมไปถึงการฟังลมหายใจจากนักการศาสนาและนักสันติภาพใน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ๔. เสขปริหานิยวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ๔. เสขปริหานิยวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ บทนำ พระไตรปิฎกเล่มที่ 2...