วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2559


มูลนิธิพลังงานฯจัดสัมมนาใหญ่ปลดล็อกพลังงานหมุนเวียนไทย ชี้ต้นทุนการผลิตพลังงานหมุนเวียนต่ำลงมากเป็นผลดีกับผู้ประกอบการ ด้าน “ดร.วันดี” ย้ำประสบความสำเร็จนำแสงอาทิตย์มาใช้เชิงพาณิชย์ เดินหน้าลุยโซล่ารูฟต่อ


               ที่โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ โดย มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม จัดสัมมนาหัวข้อ  “ปลดล็อคพลังงานหมุนเวียนไทย” เพื่อสนับสนุนงานตามนโยบายของภาครัฐทางด้านพลังงาน โดยเฉพาะการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนภายในประเทศให้เป็นไปอย่างแพร่หลาย โดยเชิญ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) และ นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ  รองประธานกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด

               ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์ ประธานมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “พลังงานหมุนเวียนไทยวันนี้” ว่า ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนลดต่ำลงมาก ในขณะที่ประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยเฉพาะลมและแสงอาทิตย์  ผลมาจากการพัฒนาด้านเทคโนโลยี  ขณะที่ แบตเตอรี่กักเก็บพลังงานก็มีต้นทุนต่ำลงเรื่อยๆ  ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาพลังงานหมุนเวียน ที่ไม่สามารถผลิตได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นผลดีต่อผู้ประกอบการ แต่รัฐบาลต้องกำหนดราคาพลังงาน ทั้งพลังงานหมุนเวียนและปิโตรเลียม และใช้ระบบประมูลแข่งขันด้านราคาในกรณีที่โครงการมีลักษณะที่คล้ายกัน เช่น แสงอาทิตย์ เป็นต้น

               ดร.วันดี บรรยายในหัวข้อ “Solar Energy... โอกาสของคนไทย” ว่า โครงการโซลาร์ฟาร์มของเอสพีซีจีเกิดขึ้นในสมัย ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เป็นรมว.พลังงาน ถือว่าได้เปิดศักราชใหม่ มีนโยบายด้านพลังงานหมุนเวียน  เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน เอสพีซีจีได้นำระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงมาพัฒนาในประเทศไทยสำเร็จครั้งแรกในปี พ.ศ.2553  พร้อมกับขายไฟในโครงการ โซลาร์ฟาร์ม โคราช 1 ให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และได้พัฒนาต่อยอด จนถึงปัจจุบัน ทำให้ บริษัทมี โซลาร์ฟาร์ม ที่พัฒนาแล้วถึง 36 โครงการ กำลังการผลิต 6-7 เมกะวัตต์ ต่อ 1 โครงการ และ ก้าวขึ้นเป็นผู้นำทางด้านระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์

               ทั้งนี้ เอสพีซีจีได้ต่อยอดธุรกิจจากการทำ โซลาร์ฟาร์ม สู่ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา  ซึ่งเป็นธุรกิจดาวรุ่งของบริษัท และมีความตั้งใจให้ประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยในปีแรกสามารถทำรายได้ได้ถึง 200 ล้านบาท ปี 2015  ทำรายได้ 400 ล้านบาท และเป้าหมายปี 2016 อยู่ที่ 800 ล้านบาท  มั่นใจว่า ธุรกิจจะเติบโต ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 30

               อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ โซลาร์ รูฟ ของบริษัทได้รับการยอมรับและเชื่อถือจากประชาชน ทั้งบ้านพัก  โรงงานอุตสาหกรรม สถาบันการเงินที่มีชื่อเสียง บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ได้มาติตตั้งแผงโซลาร์ รูฟเพื่อลดค่าใช้จ่ายในส่วนของการใช้ไฟฟ้า  โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรม เพราะปัจจุบันได้รับการสนับสนุนจากนโยบายของรัฐบาล ตามมาตรการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ให้ได้รับการ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ในสัดส่วนร้อยละ 50 ของเงินลงทุน ซึ่งมาตรการดังกล่าวมีผลบังคับใช้ถึงภายใน ปี 2560
           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนะนำหนังสือนิยายอิงธรรมะ: พอสันติสุข

  เนื้อหาหนังสือนิยายอิงธรรมะ: พอสันติสุข บทนำ บทเกริ่นนำ: อธิบายถึงแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและความสำคัญในชีวิตประจำวัน แนะนำตัวละครหล...