วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559



พิเชฐยก3ฉากเปลี่ยนผ่านประเทศ ชี้ชาติรอด ประชาชนอยู่ได้ด้วยนวัตกรรม 

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า เด็กที่เกิดและเติบโตในยุคนี้จะต้องมีการปรับตัวให้ทันโลก เนื่องจากมีหลากหลายมิติที่ไม่สามารถมองข้ามได้เพราะมันคือความเป็นความตายและความอยู่รอดของเศรษฐกิจ วันนี้เรามาตั้งหลักดูว่า ในอีก 3-4 ปี ข้างหน้าประเทศไทยจะเป็นอย่างไร และจะสร้างภูมิคุ้มกันให้ประเทศไทยได้อย่างไรจึงจะสามารถพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน ได้โดยไม่รู้สึกแปลกแยก ช่วงเวลานี้เป็นเป็นช่วงเวลาที่เราทุกคนต้องเลือกว่าจะบินต่อไปให้สูงหรือว่าจะไปพะวักพะวงอยู่กับทิฐิหรือปัญหาแบบเดิมอยู่

ดร.พิเชฐ กล่าวว่า การได้มีโอกาสทำงานในรัฐบาลตลอด 2 ปีที่ผ่านมา เห็นว่ารัฐบาลสามารถปรับเปลี่ยนได้หลายสิ่งบนอุปสรรคหลายอย่าง ที่ยังคงซ่อนอยู่ใต้พรม ตอนนี้รัฐบาลกำลังรื้อพรมเพื่อดูว่ามีอะไรที่ยังติดขัดเป็นปัญหา เพื่อที่จะแก้ไขให้ได้ในช่วงเวลาที่เหลืออยู่นับจากนี้ เราจึงเห็นความร่วมมือของหลายกระทรวง หลายหน่วยงานได้ร่วมสร้างปรากฎการณ์ที่ไม่เคยเป็นคือการทำงานในรูปของประชารัฐ โดยความร่วมมือของรัฐบาล เอกชน และภาคประชาสังคม ประคับประคอง พยุงให้ประเทศเดินต่อไปได้


นอกจากนี้ ดร.พิเชฐ ยังได้ยกตัวอย่างการกำหนดซีนนารีโอ แพลนนิ่ง หรือ ฉากทัศน์ ของประเทศไทย ที่ได้ทำงานร่วมกับสถาบันคลังสมองของชาติ ศูนย์คาดการณ์เทคโนโลยีเอเปค และสํานักงานนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) เมื่อหลายปีก่อน โดยได้จัดทำภาพอนาคตประเทศไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งก็คือปี 2562 ที่เป็นไปได้มากที่สุด 3 แบบ คือ 1. เกาเหลาไม่งอก 2. น้ำพริกปลาทุ และ 3.ต้มยำกุ้งน้ำโขง  โดยฉากแรก เกาเหลาไม่งอก เปรียบได้กับภาวะที่เรายินดีกับสิ่งที่ประเทศกำลังเผชิญ หรือชาเฉยกับสิ่งเหล่านั้น แล้วปล่อยให้เกิดสงครามกลางเมือง หากเลือกแบบนั้น วันนี้เราจะไม่มีสีหน้าแบบนี้ ประเทศชาติคงตึงเครียดไปทุกระบบ ทั้งสังคม วัฒนธรรม ลุกลามไปถึงเศรษฐกิจจากฐานรากจะพังพินาศ


สถานการณ์ที่ 2 คือ น้ำพริกปลาทู หรือเปลี่ยนได้กับยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่มี 3 เสาหลักเป็นส่วนประกอบสำคัญ ได้แก่ สังคมไทยที่เต็มไปด้วยนวัตกรรม ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และพัฒนาเพื่อให้เกิดความยั่งยืน  โดยการใช้เทคโนโลยีมาเชื่อมโยงเป็นความยั่งยืนที่เกิดจากภายใน สถานการณ์ที่ 3 คือ ต้มยำกุ้งน้ำโขง เราไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่เรามีเครือข่ายเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน หรือที่เรียกว่า  CLMVT ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนามและไทย ให้พัฒนาไปพร้อม ๆ กัน แบบไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

“ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้องตั้งหลัก ตั้งโจทย์ให้ถูกทาง เราจะไม่มุ่งส่งออกพืชผลทางการเกษตรเป็นอันดับ 1 แต่ในทางกลับกันเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา ยังคงยากจน แต่เราจะมุ่งแปรรูปเพิ่มมูลค่าผลผลิตและส่งออก เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูง เกษตรกรอยู่ได้ เหมือนเช่นที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ผลักดันให้เกิดโครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร ก็เพื่อตอบโจทย์ดังกล่าว และเป็นหนึ่งโครงการของรัฐบาลที่จะทำให้มูลค่าทางเศรษฐกิจภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร เติบโตอย่างก้าวกระโดด” รมว.วิทยาศาสตร์ฯ กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"วิเคราะห์ โลภสูตร-โทสสูตร-โกธสูตร-โมหสูตร

    ช่วยเขียนบทความทางวิชาการ เรื่อง "วิเคราะห์ โลภสูตร-โทสสูตร-โกธสูตร-โมหสูตร  ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่  17  ขุ...