วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

แล้งหนัก! พระพุทธองค์สื่อสารพญาปลาช่อนบรรเทาทุกข์ประชา



จากเหตุการณ์แล้งอย่างหนักในหลายจังหวัดทั่วประเทศไทย แม้ว่ารัฐบาลได้ดำเนินการบรรเทาทุกข์ชาวบ้านโปรยฝนหลวงอย่างต่อเนื่อง แต่ชาวบ้านก็ยังทำพิธีกรรมขอฝนอย่างเช่นแห่นางแมว หรือทางภาคเหนือที่บริเวณสะพานข้ามลำน้ำร่องห้า ช่วงถนนพหลโยธิน ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา พระครูวิสุทธิปัญญารัตน์ เจ้าอาวาสวัดร่องห้า พร้อมประชาชนชาวตำบลบ้านต๋อม 5 หมู่บ้าน  ทำพิธีสืบชะตาลำน้ำร่องห้า และพิธีเจริญพุทธมนต์ขอฝน

พระครูวิสุทธิปัญญารัตน์ เปิดเผยว่า ประเพณีการสืบชะตาลำน้ำร่องห้าและประเพณีการเทศนาธรรมพญาปลาช่อน หรือที่ทางเหนือเรียกว่า “ เต๊ดธรรมปล๋าก่อ “ เป็นสิ่งที่ประชาชนชาวเหนือยึดถือปฏิบัติกันมาช้านาน ซึ่งทางตำบลบ้านต๋อมทั้ง 5 หมู่ ก็เช่นกัน ได้ยึดถือปฏิบัติต่อๆกันมา แต่จะทำพิธีเฉพาะในปีไหนฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล หรือเกิดเหตุเภทภัยแล้งมากกว่าปกติ 

ทั้งนี้สำหรับนิทานชาดกพญาปลาช่อนนั้นมีความว่า ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด เราไม่หวงเราไม่อด หมดเดี๋ยวก็มา ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ที่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล ทรงปรารภการบันดาลให้ฝนตกทั่วเมือง เรื่องมีอยู่ว่า …

ในสมัยนั้น ทั่วทั้งแคว้นโกศลเกิดภัยแล้งฝนไม่ตกหลายเดือน ข้าวกล้าเหี่ยวแห้ง สระน้ำแห้งขอดเหลือแต่โคลนตม ปลาตายเกลื่อนกลาด ฝูงนก ฝูงกาบินว่อน ชาวเมืองสาวัตถีและฝูงสัตว์เกิดเดือดร้อนกันไปทั่ว แม้น้ำในสระวัดเชตวันก็เหือดแห้งเช่นกัน ปลากระเสือกระสนหนีตายเข้าไปในเปลือกตม

รุ่งเช้า พระพุทธองค์ ได้ทรงตรวจดูสรรพสัตว์ ทรงเห็นความเดือดร้อนนั้นแล้ว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อสรรพสัตว์ หลังจากเสด็จกลับมาจากบิณฑบาตแล้ว ได้ประทับยืนอยู่ที่บันไดสระในวัดเชตวัน ตรัสเรียกพระอานนท์ให้นำผ้าอาบน้ำมาถวายพระองค์ ด้วยมีพระประสงค์จะสรงน้ำในสระ แม้พระอานนท์จะทูลว่าน้ำในสระมีแต่ตม ไม่มีน้ำมิใช้หรือ ก็ทรงตรัสว่า ” อานนท์ ธรรมดากำลังของพระพุทธเจ้าใหญ่หลวงนัก เธอจงนำเอาผ้าอาบน้ำมาเถิด ” พระเถระได้นำผ้ามาถวายแล้ว พระพุทธองค์ทรงนุ่งผ้าด้วยชายข้างหนึ่ง ทรงคลุมพระสรีระด้วยชายข้างหนึ่ง ประทับยืนที่บันไดตั้งพระทัยว่า เราจักสรงน้ำในสระ

ทันใดนั้นเอง แท่นศิลาอาสน์ของท้าวสักกะก็แสดงอาการร้อน ท้าวเธอทราบเรื่องนั้นแล้วจึงบัญชาให้วลาหกเทวราชเจ้าแห่งฝน บันดาลฝนให้ตกทั่วแคว้นโกศลโดยไม่ขาดสายครู่เดียวเท่านั้น น้ำก็เต็มสระ ท้วมถึงบันไดสระ พระพุทธองค์ทรงลงสรงน้ำในสระแล้ว ทรงครองผ้าสองชั้นสีแดง คาดรัดประคต ทรงครองสุคตจีวร เฉวียงพระอังสะ เสด็จประทับในพระคันธกุฎี

ในเวลาเย็น พวกภิกษุประชุมกันในธรรมสภายกเรื่องพระพุทธองค์ทรงบันดาลให้ฝนตก ด้วยพระกรุณาในชาวเมืองและสรรพสัตว์ขึ้นมาสนทนากัน พระพุทธองค์จึงได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกดังนี้ว่า…
   
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ที่ห้วยแห่งหนึ่ง มีเถาวัลย์รกรุงรัง พระโพธิสัตว์เกิดเป็นปลาช่อนตัวหนึ่ง อาศัยอยู่ในห้วยนั้น สมัยนั้น เกิดภัยแล้งฝนไม่ตกเช่นเดียวกัน ฝูงปลาต่างดิ้นรนเอาชีวิตรอดด้วยเปลือกตม ฝูงนกการุมจิกกินหมู่ปลา ปลาช่อนนั้นเห็นความพินาศของหมู่ญาติ จึงทำสัจกิริยาให้ฝนตกด้วยการแหวกออกจากเปลือกตม มองดูอากาศแล้วบันลือเสียงแก่เทวราชปัชชุนนะว่า "หมู่ปลาเดือดร้อนมาก ข้าพเจ้ารักษาศีลไม่เคยกินปลาด้วยกันตลอดชีวิต ด้วยความสัตย์นี้ขอท่านจงให้ฝนตกลงมาเถิด ”
แล้วกล่าวคาถาว่า 

"ปัชชุนนเทพ ท่านจงคำรณคำรามให้ฝนตกมา    ทำลายขุมทรัพย์ของฝูงกา ทำฝูงกาให้ได้รับความเศร้าโศก และช่วยปลดเปลื้องข้าพเจ้าและหมู่ญาติ ให้พ้นจากความเศร้าโศกเถิด"  ฝนห่าใหญ่จึงตกลงมาช่วยชีวิตสัตว์ให้รอดพ้นจากความตายได้ นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า คุณของศีลสามารถช่วยเหลือชีวิตของผู้อื่นให้รอดพ้นจากความตายได้

มีประเด็นที่น่าพิจารณาก็คือว่า สมัยก่อนนั้นระบบการสื่อสารไม่เจริญอย่างเช่นปัจจุบันการแห่นางแมวก็เป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่ชาวบ้านต้องการจะสื่อสารให้กับผู้มีอำนาจหรือมีหน้าที่ในการบริหารจัดการน้ำได้รับทราบและดำเนินการแก้ไขเยียวยาให้ตรงจุด

หรือเนื้อหาตามนิทานชาดกนั้นขอสังข้อสังเกตก็คือว่า การที่พระพุทธองค์พระพุทธองค์ทรงลงสรงน้ำในสระที่ไม่มีน้ำนั้นก็เป็นวิธีการสื่อสารไปยังผู้ปกครองประเทศได้ทราบดำเนินการแก้ไขเช่นเดียวกัน และแสดงให้เห็นว่าพระพุทธองค์นั้นไม่ทรงเพิกเฉยต่อความทุกข์ของสัตว์โลกเลย พร้อมกันนี้พระพุทธองค์นั้นทรงประสุติ ตรัสรู้ และปรินิพพานในป่า และป่าคือที่มาของน้ำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพลง: ไทยใหญ่ใจแกร่ง

ເນື້ອເພງ :: #ດຣສົມພົງສ໌,ai ທຳນອງ: - ຮ້ອງໂດຍ #suno   คลิกฟังเพลงที่นี่ (Verse 1) ไทยใหญ่ใจใหญ่พิทักษ์ถิ่น มิหวังลิ้นกลืนกินถิ่นใครเขา รักษาสั...