วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

'สมคิด' ชม 'พิธา'! กลางสภาถกนโยบายรบ. นี่คือการเมืองวิถีอารยะ ดีกว่าดราม่าชี้หน้าด่ากัน



'สมคิด'ชม'พิธา'! เวทีถกนโยบายรบ. นี่คือการเมืองวิถีอารยะ ดีกว่าดราม่าชี้หน้าด่ากัน   : สำราญ สมพงษ์ รายงาน 

จบลงไปแล้วสำหรับการประชุมรัฐสภาในวาระการแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลโหม แม้นบรรยากาศการให้ความสนใจของคอการเมืองและบุคคลทั่วไปจะมุ่งไปที่การโต้คารมณ์ การโต้เถียง และกริยาอาการของพล.อ.ประยุทธ์ แทนที่จะสนใจเนื้อหาสาระถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาของประเทศ

ตามที่ได้ติดตามการอภิปรายทั้ง 2 วันกับอีก 3 คืน ประเด็นที่สนใจติดตามเป็นพิเศษคือการแก้ปัญหาภัยแล้ง การแก้ปัญหาภาคเกษตร โดยตั้งความหวังไว้ว่าจะมีเนื้อหาที่นำศาสตร์พระราชามาประยุกต์โดยเฉพาะอย่างคิดแนวคิดโคก หนองนาโมล และการทำเกษตรผสมผสานแนวเกษตรอินทรีย์ วิธีการแก้ปัญหาที่เป็นกระบวนการ ต้องบอกว่าผิดหวัง พร้อมกันนี้ประเด็นที่สนใจก็คือการนำเทคโนโยลีอย่างเช่น ดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ IOT 5G เป็นต้นมาเป็นฐานในการพัฒนาประเทศโดยมีคุณธรรมเป็นพื้นฐาน แม้ว่าจะมีอยู่บ้างแต่ก็ไม่สามารถเชื่อมโยงกันเป็นระบบที่ชัดเจน

ประเด็นที่สนในนั้นได้รับคำตอบอยู่บ้างจากการอภิปรายของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคอนาคตใหม่ อันดับแรกเลยคือยกตัวอย่างเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ ทำน้ำหมักจุลทรีย์เอง บริหารจัดการน้ำเอง รวมกลุ่มกันสามารถผลิตข้าวและขายได้เกวียนละ 3 หมื่นบาท ทำให้ชีวิตครอบครัวเขามีความสุข ลูกหลานที่เข้ามาทำงานในกรุงเทพฯก็เดินทางกลับ แต่จำนวนเกษตรกรอย่างนี้มีเพียง 1 เปอร์เซนต์เท่านั้น  ดังนั้นถามคือรัฐบาลจะให้ความสำคัญกับเกษตรกรกลุ่มนี้อย่างไร

พร้อมกันนี้นายพิธาต้องการให้รัฐบาลผลักดันกัญชาเพื่อการแพทย์ให้เป็นจริง เพราะว่าตนก็ใช้กัญชาเพื่อการแพทย์ตั้งแต่อายุ 15 ปี เพราะเป็นโรคลมชัก และต้องป้องกันการผูกขาด

ทั้งนี้นายพิธา กล่าวว่า นโยบายที่รัฐบาลนำเสนอคือนโยบายที่เคยเขียนมาแล้วเมื่อ 10 -30 ปีที่ผ่านมา และที่ระบุว่าจะแก้ไขปัญหาเกษตรกรโดยกำหนดเป็นวาระเร่งด่วนอาจเป็นไปไม่ได้ หากขาดการแก้ไขใน 5 ขั้นตอนโดยเรียงลำดับ คือ 1.แก้ไขเรื่องที่ดินปัจจุบันเกษตรกรที่เช่าที่ดินเพื่อทำเกษตร คิดเป็น 45 เปอร์เซ็นต์ของเกษตรกรทั้งหมด ดังนั้นสิ่งที่จะปลดล็อคได้ คือ การออกมาตรการฉุกเฉินและรัฐต้องยุติข้อพิพาทที่เกิดขึ้นกับประชาชนเรื่องที่ดิน ที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน ซึ่งมีข้อพิพาทว่าด้วยการบุกรุกพื้นที่ป่า รวมถึงรับรองสิทธิชุมชน 

2.แก้ปัญหาหนี้สิน โดยชาวนากว่า 40 เปอร์เซ็นต์ พบอัตราการเป็นหนี้ที่สูง โดยเฉพาะหนี้นอกระบบ ดังนั้นต้องแก้ไขผ่านระบบเครดิตทางเลือก 3.ประกันราคาพืชผลเกษตรและยาฆ่าแมลง 4.ใช้นวัตกรรมและการแปรรูป เพื่อเพิ่มราคาของสินค้าเกษตร และ 5.ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยประชาชนและเกษตรกร
          
จากผลการอภิปรายของนายพิธาดังกล่าวส่งผลให้ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ลุกขึ้นชื่นชมรวมถึงนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ที่ระบุว่า นับเป็นนักการเมืองรุ่นใหม่เป็นอนาคตของชาติ นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทยก็เป็นเพื่อนกันเคยทำงานร่วมกัน จึงยินดีที่จะทำงานร่วมกับพรรคเพื่อไทย โดยระบุว่า ตนนั้นไม่มีพรรคมีแต่พวก

ทั้งนี้สามรถติดตามการอภิปรายของการอภิปรายของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้ที่ https://youtu.be/u957HV0gTKk และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้ที่ https://youtu.be/EGA3SwojTz8 และที่นายสมคิดชมนายพิธาได้ที่ https://youtu.be/GAtU1R-3KIA

เข้าใจว่านายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ มีพื้นฐานการทำวิจัยและการรายงานผลเป็นอย่างดี ซึ่งบรรยากาศการเมืองไทยลักษณะเช่นนี้ทำให้มีความหวัง 


เห็นแสงปลายสภาทำใจหวัง

ไม้ใกล้ฝั่งนับวันจะจางหาย
ทำอวดเก่งไม่กี่วันม้วยมลาย
มิต้องหมายไม่มีผู้สืบเจตนา



อย่างไรก็ตามเจ้าของเฟซบุ๊กนันทวิทย์ จักสาน เกษตรกรผู้ปลดแอก ได้เพิ่มเติมความเห็นดังนี้

สืบเนื่องจากการอภิปรายนโยบายรัฐบาล ผมว่าคุณทิมมาถูกทางมากกว่ารัฐมนตรีหลายๆกระทรวงรวมกัน ผมเชื่อว่าคุณทิมได้ทำการบ้านมาไม่น้อย แต่น่าเสียดายอาจจะยังไม่ครอบคลุมทั้งหมด เพราะเวลาอาจจะกระชั้นเกินไป และหากฟังเพียงเท่านี้ หากได้เป็นรัฐมนตรีขึ้นมา อาจวางนโยบายผิดพลาด จึงขออนุญาตเพิ่มข้อมูลให้ดังนี้ 
กระะดุม5เม็ดของคุณทิม พิธา
1. เม็ดที่ 1 ปัญหาที่ดิน: 90% ของที่ดินถือครองโดยคนเพียง 10% ซึ่ง 75% เป็นคนไทยที่ไม่มีโฉนดเป็นของตนเอง และชาวนา 45% ยังต้องเช่าที่ดินอยู่ ทำให้ไม่สามารถเข้าสู่ระบบทุนนิยมได้
#เพิ่มเติม 
1.1.ยังมีที่ดินที่รัฐปล่อยให้นายทุนเช่า สัมปทาน ออกกฎหมายให้ถือครองแบบพิเศษซึ่งรัฐได้ผลตอบแทนน้อยมาก ที่สามารถจัดสรรให้ประชาชนผู้ยากไร้ แต่ต้องจัดสรรให้แบบมีเงื่อนไข 
1.2.ยังมีเกษตรกรที่มีที่ดินที่เข้าไม่ถึงสาธารณูปโภคพื้นฐาน แหล่งน้ำ ไฟฟ้า เพื่อใช้ดำรงชีพและทำการเกษตร
1.3.ยังมีเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ภัยพิบัติซ้ำซาก ทั้งน้ำท่วม ภัยแล้ง ไม่เคยได้รับการแก้ไข
1.4ทั้งGAPและอินทรีย์ การขอรับรองมาตรฐานสามารถทำได้โดยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบรับรองความถูกต้องการถือครองที่ดินให้

2. เม็ดที่ 2 ปัญหาหนี้สิน: หากเกษตรกรอยู่ในวงจรหนี้สิน สิ่งแรกที่จะนึกถึงคือการรีบใช้หนี้ให้ได้ และทำให้ติดลูปปลูกพืชซ้ำๆ เดิมๆ จนเป็นปัจจัยกดดันราคา
#เพิ่มเติม
2.1เกษตรกรที่มีที่ดินส่วนหนึ่งมียอดหนี้เกินวงเงินทรัพย์สินอยู่แล้ว จึงเข้าไม่ถึงเงินกู้ในระบบ
2.2เกษตรกรส่วนหนึ่งติดแบล็คลิสก์ทำให้เข้าไม่ถึงแหล่งเงินกู้
2.3เกษตรกรส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงเงินที่รัฐจัดลงไปให้ผ่านช่องทางต่างๆ เช่นงบพัฒนาจังหวัดผ่านหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตร พัฒนาชุมชน หรือแม้กระทั่งงบผ่านธนาคารออมสิน กรุงไทย ธกส.SME. เพราะติดที่ข้าราชการหรือผู้นำท้องที่ท้องถิ่น พนักงานรัฐหรือพนักงานธนาคาร
สิ่งเหล่านี้นำพาเขาเข้าสู่หนี้นอกระบบ

3. เม็ดที่ 3 สารเคมี การประกันราคา: เกษตรกรต้องใช้สารเคมีในการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตไปขายใช้หนี้ เรื่องการนำเข้าสารเคมี "จนกลายเป็น ในน้ำมียา ในนามีหนี้"
#เพิ่มเติม 
3.1เราต้องยอมรับก่อนว่าการทำเกษตรอินทรีย์มีต้นทุนที่สูงกว่าการทำเกษตรเคมี มีความยากและซับซ้อนมากกว่า ไหนจะทำแนวกันชน ไหนจะต้องทำปัจจัยการผลิตเอง ไหนจะต้นทุนการผลิตที่หายาก 
3.2เมื่อผลิตแล้วจะขายที่ไหน ขายยังไง บริโภคยังอยากได้ผักสวย ในราคาต่ำ และต้องการปริมาณที่มากอย่างสม่ำเสมอ 
3.3สารทดแทนสารเคมีมีให้เลือกน้อยและมีราคาสูง 
3.4ปราชญ์อินทรีย์ส่วนใหญ่ไม่ได้มีรายได้แค่ทางเดียว จึงมักพูดว่าผลิตเท่าไหร่ก็ไม่พอ เพราะมีหน่วยงานพาออกหน้าออกงานบ่อย ดังนั้นคนเหล่านี้จึงควรจะต้องเป็นแม่ข่ายพาชาวบ้านในชุมชนให้รอดไปด้วย อย่าทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพราะงบรัฐจะวิ่งเข้าคนพวกนี้ตลอด

4. กระดุมเม็ดที่ 4 นวัตกรรม: การแปรรูปสินค้าเกษตร โดยเฉพาะกัญชามีคุณค่ามากกว่ามูลค่า และห่วงว่าคนไทยต้องนำเข้ากัญชา และมีทุนใหญ่ผูกขาดผลประโยชน์ คำถามคือจะผลักดันกัญชาทางการแพทย์ให้เป็นเบอร์หนึ่งของเอเชียได้อย่างไร 
#เพิ่มเติม
4.1การสร้างนวัตกรรมควรเริ่มตั้งแต่ในมหาวิทยาลัย ปีสองปีสุดท้ายให้คิดทำธุรกิจจากนวัตกรรมหรือการพัฒนาชุมชน หลังจากเรียนจบ ธุรกิจตัวไหนไปได้ก็ให้จัดงบสนับสนุนผ่านSME เพื่อพัฒนาจากฐานราก
4.2การพัฒนาธุรกิจควรเป็นในรูปแบบคลัสเตอร์ ร่วมพัฒนาไปด้วยกัน โตไปด้วยกัน ไม่ใช่ซื้อมาจากเกษตรกรราคาต่ำแล้วนำมาสร้างผลิตภัณฑ์ สร้างแบรนด์ขายในราคาสูง
4.3การทำธุรกิจควรมีแผนธุรกิจที่ชัดเจน ทำได้จริง มีพี่เลี้ยงที่เชี่ยวชาญทางธุรกิจคอยช่วยเหลือ

5. กระดุมเม็ดที่ 5 การท่องเที่ยวเชิงเกษตร: หลายคนต้องการพัฒนาตัวเองจากผู้ผลิต เป็นผู้ให้บริการเกษตรเชิงท่องเที่ยว แต่ติดปัญหาที่กระดุมเม็ดที่ 1 เหมือนเดิม 
5.1ชุมชนควรมีแผนชุมชน ธรรมนูญชุมชน คนอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้ พึ่งพาเกื้อกูลกัน
5.2สิ่งที่ต้องพึงระวังคือ เมื่อชาวบ้านมีที่ดิน มีเอกสารสิทธิ์ ก็เอาเข้ากู้ แล้วก็วนเป็นวังวนเดิมๆอีก

หมายเหตุ1. ส่วนเพิ่มเติมอาจปนๆกันไปทั้งข้อเสนอแนะ ข้อโต้แย้ง ข้อควรระวัง และอาจอยู่ปนๆกันในหลายข้อ เพราะจริงๆแล้วกระดุมทั้ง5อยู่ในเสื้อตัวเดียวกัน หรือทั้งหมดเป็นเรื่องเดียวกันนั่นเอง
หมายเหตุ2.ส่วนเพิ่มเติมนี้มาจากสิ่งที่ผมลงทำงานจริงกับชาวบ้าน ซึ่งยังไม่ครอบคลุมทุกประเด็นแน่นอน และอาจขัดแย้งกับในแต่ละพื้นที่ เพราะบริบทแต่ละที่ไม่เหมือนกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพลง: ไทยใหญ่ใจแกร่ง

ເນື້ອເພງ :: #ດຣສົມພົງສ໌,ai ທຳນອງ: - ຮ້ອງໂດຍ #suno   คลิกฟังเพลงที่นี่ (Verse 1) ไทยใหญ่ใจใหญ่พิทักษ์ถิ่น มิหวังลิ้นกลืนกินถิ่นใครเขา รักษาสั...