วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2562
โฆษกรัฐเผยรัฐบาลยืนยันดูแลเศรษฐกิจฐานราก
โฆษกรัฐเผยรัฐบาลยืนยันดูแลเศรษฐกิจฐานราก รองรับความผันผวนโลก โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง มท.1ย้ำชัดมหาดไทยต้องมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก
วันที่ 17 ส.ค.2562 นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆที่รัฐบาลจะดำเนินการก็เพื่อรับมือกับความผันผวนของเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง และพยุงไม่ให้เศรษฐกิจไทยปรับตัวลดลงกว่าที่ควรจะเป็น
ทั้งนี้ เมื่อได้พิจารณามาตรการต่าง ๆ แล้วจะต้องเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด โดยเน้นที่การกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และต้องเพิ่มรอบการหมุนของเม็ดเงินกระจายไปยังกลุ่มต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มฐานรากซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ พร้อมกับเร่งแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่กำลังเกิดขึ้น เช่น ปัญหาภัยแล้ง และราคาพืชผลการเกษตร ซึ่งจะเชื่อมโยงกับแผนกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะต่อไปด้วย
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำเรื่องการพัฒนาโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง จะต้องดูแลประชาชนในระดับฐานราก ที่มีอยู่ 40% ของประชากรทั้งหมด เพื่อให้คนกลุ่มคนนี้เงยหน้าอ้าปากได้อย่างแท้จริง ควบคู่ไปกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เช่น ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่ส่งเสริมให้ภาครัฐและเอกชนร่วมกันลงทุน หรือ PPP ทำให้เกิดการจ้างงานคนในประเทศ ดึงดูดการลงทุน ส่งเสริมการท่องเที่ยว พร้อมทั้งยืนยันว่าการจัดทำงบประมาณปี 2563 จะไม่ละเลยเรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจน และการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้มีรายได้น้อยอย่างแน่นอน
มท.1ย้ำชัดมหาดไทยต้องมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก
อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 16 ส.ค.2562 ที่ห้องแกรนด์ไดมอนด์บอลรูม อาคารอิมแพ็คฟอรัม ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มอบนโยบายและบรรยายพิเศษ เรื่อง "กระทรวงมหาดไทยกับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก" โดยมีผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย ผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน พัฒนาการจังหวัด พัฒนาการอำเภอ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมรับฟังกว่า 1,000 คน
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยเป็นกลไกของรัฐบาล เนื่องจากมีโครงสร้างในระดับพื้นที่ ตั้งแต่ท้องถิ่น ท้องที่ และส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด อำเภอ ดังนั้น ทุกกระทรวงที่จะดำเนินนโยบายในระดับพื้นที่จะต้องผ่านโครงสร้างของกระทรวงมหาดไทยแทบทั้งสิ้น ดังนั้น บทบาทของพัฒนากรจังหวัด อำเภอจะต้องพัฒนาชุมชนในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง ฯลฯ จึงถือว่านักพัฒนากรคือ มือไม้ของรัฐบาลในส่วนภูมิภาค
พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวต่อว่า รัฐบาลได้กำหนดให้มียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งในด้านเศรษฐกิจฐานรากนั้นได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 และหลักประชารัฐคือ การมีส่วนร่วมของรัฐ เอกชน และประชาชน เป็นรากฐานในการกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
ดังนั้น นโยบายการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของกรมการพัฒนาชุมชน ต้องทำทั้งในส่วนของอำนาจหน้าที่ของกรมการพัฒนาชุมชน และช่วยสนับสนุนงานของรัฐบาลและกระทรวงอื่นๆ ที่ลงไปในพื้นที่ด้วย เช่น การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ otop และช่องทางจำหน่าย การขับเคลื่อนหมู่บ้านชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว การพัฒนาตลาดประชารัฐให้เป็นตลาดที่สะอาดและปลอดภัย ผ่านการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี โครงการตลาดประชารัฐ และการขับเคลื่อนภาคประชารัฐ (SE) หรือนโยบายของรัฐบาล เช่น การให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ การจัดการกองทุนต่างๆ ในพื้นที่ให้ประชาชนได้เข้าถึงอย่างเท่าเทียม เป็นธรรม และยั่งยืน การป้องกันและแก้ไขยาเสพติด เป็นต้น
ท้ายสุด พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา เน้นย้ำว่า ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของกระทรวงมหาดไทย คือ ต้องสร้างโอกาส สร้างความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม กระจายรายได้ และกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ตรงตามความต้องการของประชาชนและสภาพปัญหาของพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความสุขอย่างยั่งยืน
'สุวิทย์'มอบ สกสว.ถอดรหัสปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่ภาคปฏิบัติเป็นฐานคิดนำพาประเทศไปข้างหน้า
อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 14 ส.ค.2562 ที่โรงแรมสุโกศล พญาไท สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) จัดงานเวทีสาธารณะ “Wisdom Movement : ขับเคลื่อนอนาคตชุมชนไทยด้วยงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น” โดยมีนายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) กล่าวเปิดงานและนำเสนอนโยบาย “การวางรากฐานประเทศไทยสู่อนาคตด้วยงานวิจัย” ตอนหนึ่งว่า
ขณะนี้ประเทศไทยจะต้องกล้าคิดและก้าวต่อไป โดยการปรับเปลี่ยนประเทศด้วยภูมิปัญญาของฐานราก คือ ในทศวรรษที่ 3 ของการวิจัยท้องถิ่นมาถึงจุดที่จะต้องคิดถึงการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ ซึ่งในอนาคตที่ผ่านมาประเทศไทยติดกับดักมากมายทั้งเรื่องความยากจน ความเหลื่อมล้ำ รายได้ปานกลาง ทั้งนี้ ตนคิดว่าหัวใจสำคัญของปัญหาอยู่ที่ความไม่สมดุล ระหว่าง ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ความอยู่ดีกินดีทางสังคม สิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลาย และการปิดกั้นภูมิปัญญามนุษย์ เพราะฉะนั้น ที่ผ่านมาประเทศไทยจึงอยู่ในยุคที่พยายามทำให้ประเทศทันสมัย
จากนี้ ตนคิดว่าเรากำลังจะเปลี่ยนผ่านจากประเทศที่เน้นความทันสมัย เป็นประเทศที่เน้นความยั่งยืนเป็นสำคัญ สร้างความสมดุลในทุกภาคส่วนทั้งระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ มนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับเทคโนโลยี โดยเราจะต้องมีกรอบทางความคิดที่จะทำให้นำพาประเทศและโลกไปข้างหน้าได้ ซึ่งประเทศเรามีอยู่แล้ว คือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่จะเชื่อมโยงกับการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs) ของสหประชาชาติได้อย่างลงตัวและพอดี ดังนั้นหน้าที่สำคัญของ สกสว. คือ การถอดรหัสเรื่องนี้ออกมาให้ได้ เพื่อนำไปสู่เรื่องการบริหารจัดการ และการปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ครูติ๋วชูสกลนครเมืองพุทธธรรม เพื่อไทยเปิดตัวส่งชิงนายก อบจ.
"สกลนครดีกว่าเดิม" ເນື້ອເພງ : ດຣສົມພົງສ໌ ທຳນອງ - ຮ້ອງໂດຍ : suno คลิกฟังเพลงที่นี่ (Intro) แดนธรรมพุทธา สกลนครเมืองงาม โค ข้...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น