วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2562
"จุรินทร์"เร่งช่วยประกันรายได้มันสำปะหลังรุดจ่ายเงินส่วนต่าง 1 ธ.ค.2562
วันที่ 27 ต.ค.2562 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นำ ประชุม 3 ฝ่ายเคาะประกันรายได้มันสำปะหลัง เดินหน้าช่วยเกษตรกรทั้งมาตรการหลักและเสริม โดยตั้งแต่เวลา 14.30-16.00 การประชุมหารือแนวทางการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสําปะหลัง ปี 2562/63 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน ณ ห้องประชุมเวสสุวรรณ ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติพัชรกิติยาภา สํานักงานเทศบาลนครอุดรธานี อําเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
ภายหลังการประชุมนายจุรินทร์ กล่าวว่า วันนี้ได้ร่วมกันกำหนดรายละเอียดของนโยบายประกันรายได้เกษตรกรมันสำปะหลัง มีมติให้ความเห็นชอบร่วมกันสำหรับการนับหนึ่งนโยบายประกันรายได้ดังนี้
ประการที่หนึ่งจะมีการประกันรายได้ที่กิโลกรัมละ 2.50 บาท ที่เชื้อแป้งที่ 15% ประการที่สอง ประกันรายได้ครัวละไม่เกิน 100 ตัน
ประการที่สาม ก็คือจะใช้เกณฑ์ราคาอ้างอิงเรื่องไปเป็นตัวกำหนดรายได้ที่ปรับเรื่องกำหนดตัวเลขส่วนต่างโดยจะใช้ราคาตลาดของราคาหัวมันสดที่ลานมันแป้งเฉลี่ยย้อนหลัง 30 วันเป็นตัวเลขราคาอ้างอิง
ประการที่สี่ เกษตรกรทุกรายสามารถเข้าร่วมโครงการได้โดยไปขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยขึ้นทะเบียนตามความเป็นจริงต้องแจ้งชัดเจนว่าปลุกมันกี่ไร่ จะเก็บเกี่ยวช่วงไหนอย่างไรตามความเป็นจริง ประการที่ห้า กำหนดจ่ายเงินส่วนต่างงวดแรกในวันที่ 1 ธันวาคม 2562 โดยจ่ายหกงวดในฤดูกาลผลิตปีนี้ ทุกเดือนจนหมดจำนวนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน และประการสุดท้าย วงเงินที่ใช้ร่วมกันประมาณ 9400 ล้านบาท
"ตั้งใจจะเอาเรื่องมาหารือวันที่ 11 พย.ก่อนเข้าประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2562 ตอนที่คณะรัฐมนตรี ไปประชุมสัญจรที่จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบก็จะสามารถจ่ายเงินส่วนต่างแรกในวันที่ 1 ธันวาคม 2562 " นายจุรินทร์ กล่าว
นอกจากนั้นนายจุรินทร์ กล่าวว่า และยังมีมาตรการเสริมสำคัญสำคัญอีกหลายประเด็นก็คือส่งเสริมให้มีการใช้มันสำปะหลังในประเทศมากขึ้นทั้งทำพลาสติกชีวภาพ ซึ่งประเทศของเราจะเดินไปในแนวทางนี้มากขึ้นเพื่อรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมรวมทั้งนำไปใช้ทำพลังงานในรูปแบบต่างๆเช่น เอทานอลเป็นต้น จะมีการเร่งรัดส่งผลิตภัณฑ์เอกชนเพื่อเร่งรัดส่งเสริมการส่งออกมันสำปะหลังของไทยไปในตลาดต่างประเทศ เช่น ที่ตนได้นำคณะเอกชนไปขายมันสำปะหลังที่จีน เมื่อไม่นานมานี้แล้วประสบความสำเร็จพอสมควรเพราะปีที่แล้วจีนนำเข้ามันจากประเทศไทย 3,000,000 ตัน แต่ที่ไปสามารถขายได้ 2,600,000 ตัน มูลค่าประมาณ 18,000 ล้านบาท
นอกจากตลาดจีนแล้วไปตลาดอินเดียเนื่องจากอินเดีย เริ่มที่จะไม่ใช้พลาสติกจริง เพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยต่อไปนี้จะต้องใช้วัตถุดิบทางชีวภาพโดยเฉพาะมันสำปะหลังมาทำถุงพลาสติก และทำหีบห่อ โดยอินเดียมีประชากร 1,300 ล้านคน โดยต้องใช้สิ่งเหล่านี้ทดแทนพลาสติกมหาศาลถือเป็นโอกาสที่ดีอย่างยิ่งสำหรับผู้ส่งออกมันสำปะหลังไทยแล้วจะไปบุกตลาดตุรกีและนิวซีแลนด์ เนื่องจากสองประเทศนี้มีความต้องการใช้อาหารสัตว์จำนวนมากแต่ยังไม่รู้ที่ใช้มันสำปะหลังไปทำเป็นอาหารสัตว์ โดยจะเชิญผู้ผลิตอาหารสัตว์ของตุรกีและนิวซีแลนด์มาดูงานการทำด้วยมันสำปะหลังของไทย รวมทั้งตลาดเกาหลีและตลาดอื่นๆเป็นต้น
และจะเร่งรัดเรื่องการนำเข้ามันสำปะหลังจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อให้มันสำปะหลังราคาตกโดยไม่จำเป็น ต้องมีมาตรการภายในดำเนินการต่อไปให้มีผลอย่างเป็นรูปธรรม กับรอติดตามภาวะมันสำปะหลังในประเทศที่จะออกมาตรการเสริม เช่น ชะลอการขุด หรือชดเชยการขุด มาตรการอื่นๆที่จะช่วยส่งเสริมการผลิตต่อไปเป็นต้น ต่อมาคือสถานการณ์มันสำปะหลังทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศจำเป็นที่จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด จึงเป็นที่มาถึงได้ทำตามความเห็นของภาคเอกชนที่จะจัดตั้งวอร์รูมมันสำปะหลังเพื่อติดตามอย่างใกล้ชิดและเสนอทางออกเพื่อประโยชน์ของเกษตรกรมันสำปะหลังไทยต่อไปด้วย
วันนี้ตนได้มอบให้กรมการค้าภายใน เป็นเจ้าภาพเชิญภาคเอกชน เกษตรกร กระทรวงเกษตร ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดมาร่วมกันหามาตรการในการหาเครื่องมือเพื่อทำให้การขายหัวมันสดของเกษตรกรและการรับซื้อหัวมันสดของภาคเอกชนมีการกำหนดราคาที่เป็นธรรมของทั้งสองฝ่ายโดยลดการใช้ดุลยพินิจเพื่อกำหนดราคาตามความประสงค์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งให้น้อยที่ที่สุดโดยให้กรมการค้าภายในไปหารือร่วมกันและสรุปมาว่าจะมีกลไกอะไรที่ทำให้เป็นธรรม
สุดท้ายคือเรื่องโรคใบด่างในมันสำปะหลังซึ่งทุกฝ่ายกังวลจะมีผลกระทบต่อปริมาณการผลิตมันสำปะหลัง โดยครม.มติอนุมัติเงิน 248 ล้านบาทให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปเร่งรัดทำเรื่องการกำจัดโรคใบด่าง วันนี้ได้ไปเร่งรัดให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและให้มารายงานให้คณะกรรมการทราบในวันที่ 11 พฤศจิกายน เช่นเดียวกัน เพื่อให้ผลผลิตเพียงพอสำหรับการใช้ในปีนี้และปีหน้า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับคณะของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ในวันนี้ ร่วมกับ นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับคณะจากกระทรวงเกษตรกระทรวงพาณิชย์ ยายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ตัวแทนเกษตรกร และภาคเอกชน คือ เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้อง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น