วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ดร.วันดีนำ"SPCG"ผงาดกรุงปารีส ยันรบ.หนุนพลังงานแสงอาทิตย์ มีแผนติดตั้งถึง 12,275 MW ปี 2037



ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ SPCG บรรยายงาน  OECD Forum on Green Finance and Investment ครั้งที่ 6 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 30-31 ตุลาคม 2562 โชว์พัฒนาการพลังงานแสงอาทิตย์ไทย ยันรัฐบาลมีแผนสนับสนุนติดตั้ง ถึง 12,275 MW ในปี 2037

ระหว่างวันที่ 30-31 ตุลาคม 2562 ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ได้รับเกียรติจากองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ( Organization Economics Corporation Development ) ร่วมประชุมและร่วมเวทีเสวนา โดยเฉพาะหัวข้อเสวนาเรื่อง Clean Energy Finance and Investment Mobilization in Emerging Market โดยมี Ms.Cecilia Tam,Team Leader , Clean Energy Finance and investment Mobilaization of OECD เป็นผู้ดำเนินการเสวนา ได้กล่าวว่า การให้การสนับสนุนทางแนวคิดการกำหนดนโยบายและการเงินแก่กลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา ในการขับเคลื่อนการใช้พลังงานสอาด นับเป็นปัจจัยสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้เกิดการลงทุน ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย 

ดร.วันดี กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความงดงามทางธรรมชาติ มีวัฒนธรรม มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2,000 ปี มีแหล่งทองเที่ยวมากมาย คนไทยต้อนรับนักท่องเที่ยวถึงปีละ กว่า 40 ล้านคน จึงขอเชิญชวนทุกท่านมาท่องเที่ยวเมืองไทยนอกจากนี้ยังเป็นประเทศผู้นำในเรื่องการพัฒนา เปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้พลังงาน จากปี 2009 มีพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งใช้เพียง 2 MW แต่ในปี 2019 มีการติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ถึง 4,000 MW และรัฐบาลมีแผนสนับสนุนให้มีการติดตั้ง ถึง 12,275 MW ในปี 2037 ทั้งนี้ไม่นับสวมการลงทุนเองในภาคเอกชน นับได้ว่าเป็นแบบอย่างของประเทศในกลุ่ม Asean ที่รัฐบาลให้ความสำคัญสำคัญในการออกนโยบาย มีการจัดทำแผนการใช้พลังงานหมุนเวียนทุกรูปแบบในอีก 20 ปีในอนาคต โดยมีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนและพลังงานทดแทนในอัตราส่วนกว่า 30% ของการใช้พลังงานรวม SPCG เป็นผู้บุกเบิกการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบ โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่เมื่อปี 2010 และจากความสำเร็จของการพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เชิงพาณิชย์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในประเทศไทย การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นที่ยอมรับให้เป็นส่วนหนึ่งของพลังงานที่สร้างความมั่นคงให้กับประเทศ

Mr.Tim Gould จาก IEA กล่าวว่า การมีพลังงานใช้อย่างพอเพียงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เพื่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่การรักษาสิ่งแวดล้อมก็มีความสำคัญยิ่งเช่นเดียวกัน ดังนี้การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การนำพลังงานหมุนเวียน มาใช้เพื่อเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันจึงมีประเทศที่กำลังพัฒนา อาทิ อินเดีย เวียดนาม หันมาผลักด้นกสรใช้พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลมอย่างมาก

Mr.Ole Thonke ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานจากประเทศเดนมาร์ก กล่าวว่า ประเทศเดนมาร์กในปัจจุบันมีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เพียง 0.6% และสนับสนุนให้ใช้พลังงานลมเพื่อลดการผลิตไฟฟ้าจากน้ำมัน ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ

Mr.Voung Thanh Long Executive Vice President,Bank for Investment and Development of Vietnam (BIDV) กล่าวว่าเวียดนามเป็นประเทศสวยงามกล่าวว่าประเทศเวียดนามเริ่มสนับสนุน การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนอาทิ พลังลม พลังงานแสงอาทิตย์ แต่มีนักลงทุนจำนวนมากให้ความสนใจในการลงทุนการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

Mr.Reynold Hermansjah from PT Infrastructure Finance ประเทศอินโดนีเซีย กล่าวว่า สถาบันการเงินในประเทศ
 ให้การสนับสนุนเงินลงทุนในด้านการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และรัฐบาลเริ่มให้ความสำคัญนำพลังงานทดแทนมาใช้ในพื้นที่เหมาะสม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...