วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2562
"ชวน"พร้อมจับเข่าคุยทุกกลุ่มแก้ รธน.เน้นสร้างสรรค์ ไม่หักด้ามพร้าด้วยเข่า
วันที่ 29 ต.ค.2562 นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฏร กล่าวถึงที่ภาคประชาสังคมจะมายื่นเรื่องต่อสภาเพื่อให้แก้รัฐธรรมนูญว่า ตนยินดีที่จะหารือกับทุกคณะ เพราะถือว่าเป็นประโยชน์ ซึ่งขณะนี้มี 2-3 คณะ ส่วนคณะของนายโคทม อารียา ผู้อำนวยศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี ยังไม่ได้นัดวันที่จะมาพบ เพียงแต่เป็นข่าวเท่านั้น ส่วนกลุ่มอื่นตนนัดไว้สัปดาห์ก่อน แต่ฝ่ายผู้นัดไม่ว่าง แต่ละคนจะได้มารับรู้รับทราบ และหากมีอะไรที่เป็นประโยชน์ก็ยินดีให้ความร่วมมือและรับฟัง ซึ่งตนคิดว่าแต่ละฝ่ายคงมีความคิดเห็นที่สอดคล้องกันได้ในบางเรื่อง เช่นความคิดเรื่องประชาธิปไตย ก็คงไม่ต่างกันมากนัก ฉะนั้นความคิดเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญก็สามารถทำความเข้าใจกันได้ว่าในสภาไปถึงไหนแล้ว เพราะเมื่อเปิดสมัยประชุมมา ญัตติเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็จะเข้าสู่สภาเป็นเรื่องแรก ฉะนั้นก็จะได้คุยกันว่าเบื้องต้นขณะนี้เขาพยายามหาทางที่จะวางแนวว่าทำอย่างไรให้รัฐธรรมนูญนี้สามารถแก้ได้ ส่วนแก้อะไรนั้นยังไม่พูดถึง
“ผมคิดว่าการคิดอย่างนี้เป็นการคิดในเชิงสร้างสรรค์ แบบไม่หักด้ามพร้าด้วยเข่า เช่นยกเลิกรัฐธรรมนูญไม่เอานั่นเอานี่ ซึ่งไม่ถึงขนาดนั้นแต่โดยบทรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันทำได้ยาก จึงต้องหาทางว่าจะทำอย่างไรให้สามารถเป็นได้”
ขณะที่นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญของภาคประชาชน ที่ยึดแนวทาง วิชาการนำการเมือง โดยให้กลุ่มนักวิชาการเป็นหัวหอกในการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด เพราะกลุ่มนักวิชาการเป็นกลุ่มที่ไม่มีผลประโยชน์ทางการเมืองแอบแฝง สังคมจะได้ไม่หวาดระแวงว่ามีวาระซ่อนเร้นเพื่อกลุ่มของตัวเอง ซึ่งผิดกับการเคลื่อนไหวของนักการเมือง หรือพรรคการเมือง ที่จะตกเป็นเป้าโจมตีของฝ่ายไม่เห็นด้วยว่าทำเพื่อประโยชน์ของนักการเมืองหรือพรรคการเมืองเท่านั้น ทำให้ขาดการยอมรับและเสียงสนับสนุนจากสังคมโดยทั่วไป ที่มองภาพนักการเมืองในทางลบ ดังนั้นอยากให้นักการเมืองเคลื่อนไหวเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในเวทีรัฐสภาจะเป็นการเหมาะสมที่สุด โดยการขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่กำลังจะตั้งขึ้นในสมัยประชุมสมัยที่จะถึงนี้ เพราะมีสัดส่วน ส.ส.จากทุกพรรคการเมืองเข้าร่วมเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้ด้วย ส่วนการเคลื่อนไหวภายนอกสภา ก็ให้เป็นบทบาทของกลุ่มเครือข่ายภาคีเพื่อรัฐธรรมนูประชาธิปไตย ที่จะต้องเคลื่อนไหวคู่ขนานกับการเคลื่อนไหวในรัฐสภาไปจนประสบผลสำเร็จ
ถ้าให้นักการเมืองหรือพรรคการเมืองตั้งเวทีเคลื่อนไหวในภูมิภาคต่างๆ เหมือนที่ผ่านมา ก็สุ่มเสี่ยงกับการถูกฝ่ายต่อต้านหยิบยกเอาประเด็นบางเรื่องมาเป็นเหยื่อทางการเมือง และขยายผลสร้างแรงต่อต้านขึ้นมาได้ เช่น กรณีวาทกรรม รัฐธรรมนูญเฮงซวยทุกมาตรา หรือการพูดถึงมาตรา1สามารถแก้ไขได้ เหล่านี้เป็นต้น ดังนั้นเพื่อขจัดความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นในสังคม แต่ละฝ่ายควรจะแบ่งบทบาทการเคลื่อนไหวให้สอดคล้องกับอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนจะดีกว่า เพื่อเป้าหมายที่สูงสุดคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ธรรมะกับประชาธิปไตยไยห่วงใยสถาบันศาสนา
การวิเคราะห์ประชาธิปไตยในปริบทพุทธสันติวิธีชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ในระบอบประชาธิปไตย เพื่อลดความขัดแย้ง สร้างควา...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น