วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ศรัทธาล้น! ทอดกฐินสามัคคีวัดมหาจุฬาลงกรณราชูทิศ "ม.สงฆ์ มจร"




ศรัทธาล้น! ทอดกฐินสามัคคีวัดมหาจุฬาลงกรณราชูทิศ "ม.สงฆ์ มจร" สมทบทุนสร้างศาสนสถาน พระสงฆ์นานาชาติจากจตุรทิศประกอบสังฆกรรม อธิการบดีเผยเป็นจิ๊กซอตัวสุดท้ายที่แสดงออกถึงการเป็นศูนย์กลางของการศึกษาพระพุทธศาสนาโลก 

วันที่ 26 ต.ค.2562 ที่ผ่านมา พระราชปริยัติกวี,ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เป็นประธานในพิธีถวายผ้าพระกฐินสามัคคีที่วัดมหาจุฬาลงกรณราชูทิศ  มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา มียอดบริจาคร่วมทั้งสิ้นประมาณ 12 ล้านบาท

พระราชปริยัติกวี ได้พูดถึง มจร และวัดไว้ว่า มหาวิทยาลัยมีนโยบายให้ มจร เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว เป็นแหล่งศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่ กราบไว้บูชา สักการะ และเป็นศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาระดับโลก ซึ่งวัดมหาจุฬาลงกรณราชูทิศ ถือเป็นจิ๊กซอตัวสุดท้าย ที่แสดงออกให้เห็นถึงการเป็นศูนย์กลางของการศึกษาพระพุทธศาสนาโลก




"มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สร้างขึ้นเพื่อดูแลด้านวิชาการ ส่วนวัดมหาจุฬา ได้สร้างขึ้นเพื่อดูแลด้านวิชาชีวิต เนื่องจากเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ซึ่งมหาวิทยาลัย และวัด ต้องรวมเป็นอนึ่งอันเดียวกัน" อธิการบดี มจร กล่าว

ขณะที่พระเทพปวรเมธี,รศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มจร ได้กล่าวถึงความเป็นมาของการสร้างศาลาการเปรียญซึ่งใช้เป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนาว่า ที่มาของการสร้างวัดมหาจุฬาลงกรณราชูทิศได้ดำเนินตามนโยบายพระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร.กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร สมัยดำรงตำแหน่งอธิการบดี   การสร้าง มจร ต้องสร้างวัดอยู่ภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นพระสงฆ์ จึงจำเป็นต้องทำสังฆกรรม ต้องมีที่อยู่จำพรรษา จึงเป็นนโยบายหลัก ต้องสร้างวัดในมหาวิทยาลัย จากนั้น ได้รับความเมตตาโดยพระพรหมมังคลาจารย์ หลวงพ่อปัญญา ได้ทำการสร้างอุโบสถ์กลางน้ำแต่ทะว่าสร้างเสร็จแล้ว ยังไม่ได้ดำเนินการยกเป็นวัด เนื่องจากยังสร้างอาคารต่างๆในมหาวิทยาลัยไม่สมบูรณ์ ต้องสร้างมหาจุฬาให้เกือบสมบูรณ์ก่อนจึงค่อยสร้างวัด การสร้างมหาจุฬาฯ




พระเทพปวรเมธี กล่าวต่อว่า บัดนี้ มจร เกือบจะครบเสร็จสมบูรณ์แล้ว สิ่งต่อไปที่จะทำคือการปลูกต้นไม้เป็นพื้นที่สีเขียว จากนั้นจึงดำเนินการสร้างวัด โดยขออนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย ด้วยพื้นที่ 53 ไร่เศษ และเสนอมหาเถรสมาคมให้ความเห็นชอบ ก็จะเป็นวัดที่สมบูรณ์ ถูกต้องตามกฎหมายในเร็วๆนี้





การสร้างวัดนั้น ไม่ได้แยกโฉนดที่ดินจากวัดมหาจุฬาฯและจำเป็นจะต้องขออนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย ในการสร้างวัด เพราะไม่ต้องการให้วัดแยกส่วนกับมหาวิทยาลัย ที่ดินได้มาจากผู้บริจาคสร้างวัด 15  ไร่ คือคุณทองเล็ก ไม้ตราวัฒนา

การสร้างศาลาการเปรียญในครั้งนี้ อาคารมีชื่อว่า ศาลาการเปรียญ ดร.อุไรศรี คนึงสุขเกษม ซึ่งมีที่มาของชื่อวัดมหาจุฬาลงกรณราชูทิศ แห่งนี้ ความหมายคือ สร้างวัดขึ้นเพื่ออุทิศถวายล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 




ศาลาหลังนี้มีต้นแบบอาคาร จากวัดนวมินทราชูทิศ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ได้รับการออกแบบโดย ศ.สมศักดิ์ ธรรมเวชวิถี และมี ดร.อุไรศรี เป็นเจ้าภาพในการสร้างศาลาหลังนี้ งบประมาณการก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งสิ้น 77  ล้าน มีระบบสาธารณูปโภคครบ สายไฟลงใต้ดิน และมี รศ.ดร.อุไรวรรณ เป็นเจ้าภาพสร้างหมู่กุฏิเจ้าอาวาส น้องสาวด้วยงบประมาณ 12  ล้านบาท ส่วนหมู่กุฏิ คือแม่ชีทองสุข นามเจ็ดสีและคณะงบประมาณ 12  ล้านบาทเช่นกัน จากนั้นจะจัดพื้นที่สีเขียวเป็นลานธรรม เพื่อตอบสนองพันธกิจ ด้านงานบริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนาแก่สังคม

พระเทพปวรเมธี กล่าวด้วยว่า ต่อมาดร.อุไรศรี คนึงสุขเกษม เจริญศรัทธาจึงได้ขอเป็นเจ้าภาพ สร้างพระพุทธนิมิตองค์ใหญ่ สูง 198  นิ้ว หน้าตัก 129  นิ้ว สร้างถวายไว้เป็นอนุสรณ์ ให้ได้กราบไหว้บูชา งบประมาณ สร้างพระพุทธรูป และ เครื่องใช้ในวัด จำนวน 5  ล้านบาท และคุณอริสา จะสร้างสะพานเชื่อมที่สระน้ำ ที่สามารถถ่ายภาพ เป็นแลนด์มาร์คของมหาวิทยาลัยและวัดได้ หมู่กุฏิจะขุดสระล้อมรอบ และส่วนสุดท้ายที่กำลังจะสร้างคือรั้วรอบบริเวณวัดมหาจุฬาลงกรณราชูทิศ ล็อกละ 3 หมื่นห้าพันบาท ยังรับเจ้าภาพ กำแพงหน้าวัด และประตูหน้าวัดเป็นทางเข้า หน้าอุโบสถ์กลางน้ำ เป็นลานธรรม นั่งสมาธิ สวดมนต์ เจริญศรัทธา นี่คือ ที่มาคร่าวๆ ของการสร้างวัดมหาจุฬาลงกรณราชูทิศ  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ธรรมะกับประชาธิปไตยไยห่วงใยสถาบันศาสนา

การวิเคราะห์ประชาธิปไตยในปริบทพุทธสันติวิธีชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ในระบอบประชาธิปไตย เพื่อลดความขัดแย้ง สร้างควา...