วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2562

"อุตตม" ยัน "ชิมช้อปใช้" เกิดประโยชน์ทั้งประเทศ ไม่ใช่แค่ 13 ล้านคน


  
วันที่ 27 ต.ค.2562 นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เผยผ่านเฟซบุ๊กถึงมาตรการดระตุ้นเศรษฐกิจว่า  มีหลายคำถามเกิดขึ้นมากมายกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 โดยเฉพาะมาตรการ "ชิมช้อปใช้"  ซึ่งขณะนี้เป็นช่วงเริ่มต้นในระยะที่ 2 เพื่อให้เกิดการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย การท่องเที่ยวในระบบเศรษฐกิจฐานรากอย่างต่อเนื่อง
    
โดยการการดำเนินมาตรการนี้ของรัฐบาล มีประโยชน์จากมาตรการระยสั้นคือ การกระตุ้นเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายของปี ผ่านการจับจ่ายใช้สอยในพื้นที่ของชุมชนจังหวัดต่างๆ ด้วยการท่องเที่ยว การซื้อสินค้าและบริการ ผ่านผู้ได้รับสิทธิ์จำนวน 13 ล้านคน 

โดยจากคาดการณ์ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เม็ดเงินที่อัดฉีดลงไปจำนวน 1.3 หมื่นล้านบาท จะก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเม็ดเงินประมาณ 5-6 เท่าในระบบเศรษฐกิจ ผ่านร้านค้า ผู้ประกอบการรายย่อย วิสาหกิจชุมชน โฮมสเตย์ กว่า 1.7 แสนราย ซึ่งสอดคล้องกับการประเมินของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยที่ คาดว่าจะมีเม็ดเงินหมุนลงสู่ระบบเศรษฐกิจฐานราก 2-3 หมื่นล้านบาท 
    
ภาพของการหมุนเวียนเม็ดเงินในระบบ เริ่มต้นจาก ผู้มีสิทธิ์ 13 ล้านคน ใช้สิทธิ์ในร้านค้าประเภท "ชิมช้อปใช้"  ซึ่งก็คือ ร้านอาหาร OTOP ร้านค้าชุมชน วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการายย่อย ที่พัก โฮมสเตย์ รวมทั้งสิทธิ์จาก Cash back 15-20% ในกระเป๋า 2 

โดยเม็ดเงินนี้จะพุ่งเป้าตรงไปสู่ชุมชน ซึ่งเป็นหัวใจของเศรษฐกิจฐานราก ผ่านภาคแรงงาน ภาคบริการ ภาคการผลิต ซึ่งได้แก่ ชาวบ้าน เกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา ที่จะจับจ่ายใช้สอยในครัวเรือนผ่าน สินค้าอุปโภค บริโภค ไปสู่ภาคการผลิต ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ เม็ดเงินจากโรงงานจะกระจายไปยัง แรงงานและครอบครัว ก่อนที่จะหมุนกลับไปที่ ร้านค้า ร้านอาหารในชุมชนอีกครั้ง เป็นเช่นนี้ประมาณ 5-6 รอบการหมุนเวียน หรือมากกว่านั้น
   
และก่อนที่เม็ดเงินจากระบบการหมุนเวียนจะกลับมายังภาครัฐผ่านระบบภาษี ซึ่งถือเป็นงบประมาณส่วนหนึ่งของรัฐ ที่จะใช้ในการกำหนดนโยบายและโครงการเพื่อการพัฒนาประเทศ และคุณภาพชีวิตของประชาชน

ดังนั้น มาตรการ "ชิมช้อปใช้"  จึงไม่ใช่การแจกเงินเพื่อให้ผู้มีสิทธิ์จำนวนเพียงแค่ 13 ล้านคนได้รับประโยชน์เพียงเท่านั้น แต่หมายถึงการเชื่อมโยงภาคเศรษฐกิจฐานรากทั้งประเทศ ร่วมกับโครงการต่างๆของรัฐบาลต่อจากนี้ที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึงในทุกกลุ่มและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั้งประเทศ ด้วยการใช้จ่ายเงินงบประมาณทุกบาทอย่างคุ้มค่าที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...