วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562
16พันธมิตรโชวห่วยตบเท้าร่วมมือกระทรวงพาณิชย์ติดปีกร้านค้าโชวห่วยไทย
"วีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล" รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ หารือ 16 หน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สมาคมการค้า ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ซัพพลายเออร์ สถาบันการเงิน สถาบันการศึกษา และผู้ให้บริการ Application ข่าวดี! ทุกฝ่ายพร้อมร่วมมือกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงบพาณิชย์ในการขับเคลื่อนการพัฒนาร้านค้าโชวห่วยไทยทั่วประเทศ
เมื่อวันที่ 30 ต.ค.2562 นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อเช้านี้ (วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2562) ได้มอบหมายให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเชิญหน่วยงานพันธมิตร 16 หน่วยงาน เข้ามาประชุมหารือแนวทางการพัฒนาร้านค้าโชวห่วยร่วมกัน พร้อมทั้งกำหนดบทบาทและหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานพันธมิตรให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่าใครจะต้องทำอะไรบ้าง เน้นให้เห็นเป็นรูปธรรมสามารถจับต้องได้ และนำไปปฏิบัติได้จริง โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้านประกอบด้วย 1) ด้านการปรับภาพลักษณ์ร้านค้า 2) ด้านส่งเสริมการตลาดและบริการเสริมเพิ่มรายได้ 3) ด้านส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและฐานข้อมูลเพื่อบริหารจัดการร้านค้า
และ 4) ด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยสมาคมการค้าและซัพพลายเออร์ จะมาช่วยปรับภาพลักษณ์ร้านค้า ส่งเสริมการตลาดและบริการเสริมเพิ่มรายได้ สถาบันการศึกษาจะช่วยสร้างองค์ความรู้และสร้างทีมพี่เลี้ยงพัฒนาร้านค้า สถาบันการเงินจะเข้ามาสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ส่วนสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลและผู้ให้บริการ Application จะช่วยส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและฐานข้อมูลเพื่อบริหารจัดการร้านค้าให้มีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จะทำการเชื่อมโยงสินค้า SME สินค้า OTOP และสินค้าชุมชนจากท้องถิ่นเข้าไปจำหน่ายในร้านค้าโชวห่วยด้วย ซึ่งจะเป็นการเพิ่มช่องทางการขาย เพิ่มรายได้ให้กับผู้ผลิตสินค้าชุมชนอีกทางหนึ่ง อันจะส่งผลให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจฐานรากได้อย่างยั่งยืน บรรลุเป้าหมายตามแนวนโยบายของกระทรวงพาณิชย์และของรัฐบาลด้วย
“ร้านค้าโชวห่วย มีมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตาทวดของพวกเรา และอยู่คู่สังคมไทยมาอย่างยาวนาน เป็นธุรกิจพื้นฐานที่คนเริ่มหัดทำมาค้าขายต้องเคยทำ ก่อนที่จะขยายและแตกสาขาพัฒนาไปเป็นธุรกิจอื่นๆ จากข้อมูลการสำรวจของ The Nielsen Company (Thailand) ว่าในปี 2562 มีร้านค้าปลีกโชวห่วยทั่วประเทศ จำนวน 443,123 ร้าน แบ่งสัดส่วนเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 34% ภาคกลาง 22% ภาคเหนือ 16% ภาคใต้ 15% และกรุงเทพและปริมณฑล 13% แสดงให้เห็นถึงการกระจายตัวของธุรกิจในส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมธุรกิจท้องถิ่นของไทยให้เข้มแข็ง แต่ด้วยสภาวะการตลาดของธุรกิจค้าส่งค้าปลีกไทย ที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านรูปแบบการแข่งขัน การตลาด และพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาสั่งซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์มากขึ้น ประกอบกับร้านค้าโชวห่วยเองยังขาดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการที่เป็นระบบ เข้าไม่ถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัย ไม่มีการจัดทำบัญชีและภาษี ไม่มีทายาทรับช่วงต่อ ราคาสินค้าแข่งขันไม่ได้ เข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน อีกทั้งไม่มีช่องทางรายได้อื่น ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับร้านค้าขนาดใหญ่ได้ ดังนั้น ร้านค้าโชวห่วยในท้องถิ่นจึงต้องปรับตัวด้วยการจัดร้านให้เป็นระบบ นำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับรูปแบบการทำธุรกิจ เช่น เครื่อง POS มีโปรโมชั่นสนับสนุนจากซัพพลายเออร์ มีสินค้าชุมชนที่เป็นอัตลักษณ์ มีบริการเสริมเพิ่มรายได้ และขยายสู่ออนไลน์ จึงจะสามารถบริหารธุรกิจให้ Smart และเติบโตอย่างยั่งยืน”
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น