วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2562

"อธิการบดี มจร"นำคณะลงพื้นที่อุบลฯ ฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัย 15,000 ครัวเรือน



"อธิการบดี มจร"นำคณะลงพื้นที่อุบลฯ ฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัย 15,000 ครัวเรือน หลังจากตั้งศูนย์ช่วยเหลือระยะต้นตั้งแต่น้ำท่วมวันแรก ระยะกลางน้ำท่วมนิ่งแล้วและระยะยาวน้ำลดช่วยฟื้นฟู 

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2562 พระราชปริยัติกวี,ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วย พระเมธีธรรมาจารย์  รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา  ผู้บริหารและคณาจารย์ พระนิสิต นิสิต ลงพื้นที่วัดคูสว่าง อ.วารินชำราบ วัดคูเดื่อ วัดกุดคูณ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี เพื่อมอบถวายปัจจัยพระสงฆ์ วัด และมอบเงิน เครื่องอุปโภค บริโภค ให้ชาวบ้าน 15,000 ครัวเรือน

พระเมธีธรรมาจารย์ เปิดเผยว่า การลงพื้นที่ในครั้งนี้ยังมีวัตถุประสงค์สำคัญคือการระดมทุกภาคส่วนช่วยกันฟื้นฟูวัด บ้านและสถานที่ราชการให้มีสภาพกลับมาใช้งานได้ดังเดิม มหาจุฬาฯตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในวิทยาเขตอุบลราชธานี วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ และวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด ช่วยเหลือตั้งแต่น้ำท่วมวันแรก(ระยะต้น) ระยะกลาง (น้ำท่วมนิ่งแล้ว) และระยะยาว(น้ำลดช่วยฟื้นฟู)

"อนุโมทนาขอบคุณทุกท่าน ทุกองค์กรที่บริจาคเงิน สิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคผ่านทางมหาจุฬาฯ เงินและสิ่งของทุกอย่างได้นำมามอบให้ถึงมือผู้เดือดร้อนในพื้นที่ตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาคทุกประการ" พระเมธีธรรมาจารย์ ระบุ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หนังสือ: พุทธสันติวิธีกับทฤษฎีสัมพันธภาพยุคเอไอ: แนวทางการสร้างความสมดุลระหว่างเทคโนโลยีกับจิตวิญญาณ

คิดเขียนโดยดร.สำราญ สมพงษ์ - แชทจีพีที (เป็นกรณีศึกษา) สารบัญ บทนำ ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีเอไอ (AI) เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน การเ...