วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
กมธ.สภาฯยึดหลักสันติวิธี ลุยคุย 3 ฝ่ายแก้ขัดแย้งเหตุละเมิดฯแดนใต้
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมมุษยชนและการลอบประทุษร้ายประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ลงพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ระหว่างวันที่ 18-20 ก.ค.2563 เพื่อรับฟังความคิดเห็นภาคประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ ในกรณีการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ก่อเหตุรุนแรงที่กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน การประทุษร้ายและการบังคับบุคคลให้สูญหายของประชาชน การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทบกับการใช้สิทธิของประชาชน และเกณฑ์การประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ (พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2475 และ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548)
นายอาดิลัน อาลีอิสเฮาะ เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ เปิดเผยว่า "ทางคณะฯ ลงพื้นที่จังหวัดปัตตานีและยะลาในครั้งนี้ ได้ฟังความคิดเห็นของผู้ที่ทำงานภาคประชาสังคม ภาคประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมาย และเจ้าหน้าที่รัฐผู้ปฏิบัติหน้าที่ ทั้ง 3 วันนี้ทำให้เห็นสภาพปัญหาที่เกิดจากฐานความคิดของแต่ละฝ่ายยังไม่ได้อยู่ในระดับที่เท่าเทียมกัน"
"ทางเจ้าหน้าที่ภาครัฐก็หวังจะใช้กฎหมายในการดูแลความสงบของบ้านเมือง ทางภาคประชาสังคมก็ทำหน้าที่ตรวจสอบเป็นโซ่คล้องกลางระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชน แต่ยังขาดความไว้เนื้อเชื้อใจทางรัฐยังเห็นว่าเป็นตัวกลางที่คอยฉุดรั้งให้เกิดการทำงานที่ยากลำบากของเจ้าหน้าที่ ส่วนทางประชาชนก็ยังมีข้อร้องเรียนในเรื่องการถูกละเมิดฯ จากการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งการดำเนินการตามเจตนารมย์ในการใช้กฎหมาย ไม่ได้เป็นไปตามแนวคิดของการใช้กฎหมายในพื้นที่ขัดแย้ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังเป็นข้อขัดแย้งในพื้นที่ ซึ่งเราจะนำข้อมูลทั้งหมดมาประมวลผลและสรุปส่งต่อให้ กมธ.วิสามัญชุดใหญ่ จะนำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและมีข้อเสนอแนะเพื่อนำเสนอต่อฝ่ายรัฐบาลเพื่อจะมีข้อปรับปรุงแก้ไขในส่วนของระเบียบปฏิบัติข้อกฎหมายที่กระทบต่อสิทธิมนุษยชนและเพื่อความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย" นายอาดิลัน กล่าว
ดร.บุณณดา สุปิยพันธุ์ ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการฯ กล่าวว่า การลงพื้นที่รับฟังปัญหาในครั้งนี้ ได้ดำเนินการตามหลักสันติวิธี มีการเจรจาร่วมกับทุกฝ่ายด้วยความยุติธรรม และจะนำข้อมูลจริงทั้งหมดไปนำเสนอสู่การแก้ปัญหาให้ตรงจุด เพื่อขจัดปมความขัดแย้งและเป็นการลดข้อร้องเรียนที่เกิดจากการละเมิดสิทธิฯ และการบังคับใช้กฎหมายเพื่อสร้างสันติสุขให้กับคนในพื้นที่ต่อไป
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์
วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ สุน...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น