วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
"อุทัย มณี" โปรดิวเซอร์รายการข่าวดัง เรียนป.เอก สันติศึกษา "มจร"
เมื่อวันที่ 5 ก.ค.2563 นายอุทัย มณี นักข่าว โปรดิวเซอร์ข่าวดัง เจ้าของคอลัมน์เกี่ยวกับพระสงฆ์ ได้เปิดเผยถึงสาเหตุทีสมัครเรียนระดับป.เอก หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยาว่า หลังจากได้รับคำชวนให้ไปเรียนสันติวิธีจากพระคุณเจ้ารูปหนึ่ง ซึ่งเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผู้เขียนคิดและตัดสินใจอยู่หลายวันว่า เรียนแล้วได้อะไร ทำไมต้องเรียน ในแง่ของผู้ลงทุนเสียเงินเรียนคำถามต่อไปก็คือว่า เรียนแล้วมันจะคุ้มกับเงินที่เสียไปแล้ว แล้วมันจะได้กำไรกลับมาหรือไม่ รวมทั้งเวลามีหรือไม่
ทำการบ้านสำรวจความคิดและความต้องการในตลาดอยู่หลายวัน สุดท้ายตัดสินใจสมัครเรียน ด้วยเหตุหลาย ๆ ประการแรก ในฐานะสื่อมวลชน คิดว่า “แนวทางสันติบนฐานของทฤษฎีความรู้ด้านนี้” น่าจะมีความสำคัญไม่น้อยต่อวิชาการ โลกเรา สังคมประเทศชาติเราที่มันปั่นป่วนและขัดแย้งอยู่ทุกวันนี้ “สื่อมวลชน” มีส่วนสำคัญไม่น้อย อันนี้ประเด็นที่หนึ่ง
ประการที่สอง คิดว่า วิชาการรัฐศาสตร์ วิชานิติศาสตร์ หรือแม้กระทั้งวิชาเศรษฐศาสตร์ วิชาเหล่านี้สอนให้ “ชนะคนอื่น” ประเภทไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็เอาด้วยกล แต่ไม่เคยให้สอนให้ “ชนะใจตัวเอง” เพราะไม่มีสันติอยู่ในจิต จึงคิดว่า โลกปัจจุบันน่าจะต้องการ นักสันติวิธีมากกว่า นักวิชาการอื่น ๆ พูดแบบอวย ๆ ตัวเอง แต่ความจริงก็คือ อยากรับผิดชอบโลกใบนี้ ร่วมกับนักสันติอื่น ๆ บ้างเพื่อลูกเพื่อหลานของเรา และในทางการวิชาชีพหลายสถาบันมหาวิทยาลัยก็ต้องการนักวิชาการด้านนี้ ร่วมทั้ง “ศาลยุติธรรม” ด้วย ที่ต้องการนักไกล่เกลี่ยในชั้นศาล ซึ่งปัจจุบันหานักสันติวิธียากยิ่ง
ประการที่สาม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นสถาบันเก่าที่เคยเรียนมา ผู้เขียนมีความคุ้นเคยกับคณาจารย์และเจ้าหน้าที่หลายท่านด้วยกัน จึงเดินเข้า – ออก เหมือนกับบ้านของตัวเอง ยิ่งไปอ่านบทความของ พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาสันติศึกษา ที่พระคุณเจ้าสรุปไว้อย่างน่าสนใจว่า สันติศึกษา ในความหมายที่แท้จริงแล้ว เป็นการศึกษา เพื่อพัฒนาให้สันติเกิดขึ้นในจิตใจและสังคม ผ่านกระบวนการศึกษาและพัฒนาใน 3 ด้าน ที่เรียกว่า "ไตรสิกขา"
(1) ศึกษาเพื่อพัฒนาพฤติกรรมอันได้แก่กายและวาจาปกติ หนักแน่นไม่หวั่นไหวดุจศิลา (อธิสีลสิกขา) มีศักยภาพและทักษะในการเสริมสร้างสังคมสันติสุข ทั้งการสื่อสาร การเป็นผู้นำ การไกล่เกลี่ย สมานใจคน การเป็นนักจิตอาสาช่วยเหลือคนอื่น เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทีมงานเป็นทีม และการออกแบบและสร้างกระบวนการยุติธรรมทางสังคม
(2) ศึกษาเพื่อพัฒนาจิตใจให้สงบเย็น จนเกิดการตื่นรู้ภายในแล้วออกไปสร้างสังคมแห่งการตื่นรู้ (อธิสีลสิกขา) สันติศึกษาจึงมีสติศึกษาเป็นฐาน ผ่านการเรียนรายวิชาสติภาวนาสำหรับวิศวกรสันติภาพ วิชาสันติภาวนาเสวนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นิสิตต้องผ่านการทำสติภาวนาเป็นระยะเวลา 45 วันของหลักสูตร
(3) ศึกษาเพื่อพัฒนาปัญญา เพื่อสร้าง Mindset และพัฒนาระบบคิดโดยการเปลี่ยนกระบวนทัศน์และมุมมองใหม่ (Paradigm) เพื่อให้สามารถบ่มเพาะปัญญาสันติ แล้วออกไปรับใช้ผู้อื่นด้วยการเสริมสร้างชุมชนและสังคมสันติสุข (Cultivating Wisdom Serving Peace) ผ่านการเรียนรู้ในรายวิชาพุทธสันติวิธี แนวคิดและทฤษฏีด้านสันติศึกษา และวิจัยชั้นสูงสำหรับการสร้างสันติภาพ
สรุปแล้ว สันติศึกษา จึงมีกระบวนการในการฝึกฝนและบ่มเบาะ 3 ขั้น คือ ปลุกปัญญาเพื่อสันติ ปลูกสติเพื่อสันติ ปรับพฤติกรรมทำงานรับใช้..เพื่อนมนุษย์อย่างสันติ
ผู้เขียนคิดว่า การปลุกปัญญาความดี เพื่อรับใช้เพื่อนมนุษย์อย่างสันติได้นั่นก็คือ ความเป็นมนุษย์ยอดคน..การจะเป็นยอดคนได้มิใช่เรื่องง่าย ๆ อย่างน้อยต้องต่อสู้กับใจตัวเองและสังคมที่พร้อมขัดแย้งได้ทุกเมื่อพอสมควร จึงขอสมัครเป็นหนึ่งในครอบครัว..วิศวกรสันติภาพ
cr.https://www.posttoday.com/dhamma/627676
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
"มจร"สีเขียวยุคAI! จัดกิจกรรม "รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม คืนขยะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"
กิจกรรม “รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างจริยธรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ด้วยหล...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น