วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2562
คณะผู้แทนทูตลาวเข้าพบอธิการบดี"มจร" ปรึกษาร่วมมือจัดการศึกษาสงฆ์
คณะผู้แทนทูตลาวเข้าพบอธิการบดี"มจร" ปรึกษาร่วมมือจัดการศึกษาสงฆ์ ชื่นชมมหาจุฬาฯมีบทบาทด้านการศึกษาต่อคณะสงฆ์มีศิษย์เก่าสำเร็จการศึกษาระดับปริญญากลับไปพัฒนาบ้านเกิดหลายรุ่น
วันที่ 4 ต.ค.2562 พระโสภณวชิราภรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) นำผู้บริหารต้อนรับ นายวันไช นอระแสง ที่ปรึกษาการศึกษาและวัฒนธรรม พร้อมคณะผู้แทนเอกอัครราชทูตแห่ง สปป.ลาว ประจำประเทศไทย เข้าพบพระราชปริยัติกวี,ศ.ดร.อธิการบดี มจร เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับการจัดการศึกษา ในมหาวิทยาลัยสงฆ์ร่วมกันระหว่างไทยกับลาว ที่ห้องประชุม 401 อาคารสำนักงานอธิการบดี มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา
นายวันไช กล่าวว่า มหาจุฬาฯมีบทบาทด้านการศึกษาต่อคณะสงฆ์ สปป.ลาวเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีพระสงฆ์จากสปป.ลาว ได้เดินทางมาศึกษาที่ มจร ประเทศไทยจนสำเร็จระดับปริญญาแล้วกลับไปพัฒนาบ้านเกิดหลายรุ่น ทางกระทรวงการศึกษาและวัฒนธรรม สปป.ลาวจึงเห็นความสำคัญในการจัดการศึกษาให้มีมาตรฐาน มากยิ่งขึ้น
"เห็นได้จาก พุทธศาสตร์บัณฑิต (พธ.บ.) ศิษย์เก่า มจร ซึ่งเป็นผลผลิตของ มจร มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย กลับไปเป็นครู สอนทั้งสายปริยัติ และสายสามัญ ได้อย่างดีมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการอบรมเยาวชน และนำพุทธศาสนิกชน สปป.ลาว จัดกิจกรรมพัฒนาจิตใจในวาระวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ได้เป็นอย่างดี" นายวันไช กล่าว
พระราชปริยัติกวี กล่าวต้อนรับมีสาระสำคัญโดยสรุปว่า “...มจร ในฐานะมหาวิทยาลัยในทางพระพุทธศาสนา ยินดีต้อนรับ การจัดการศึกษา มจร เป็นมหาวิทยาลัยที่มีต้นทุนและจุดเด่นคือความรู้ด้านพระพุทธศาสนา เห็นว่า ปัจจุบันมีการสร้างนวัตกรรมด้านอื่นๆที่เป็นด้านเทคโนโลยีมีมาก และมีการพัฒนาไปไกลแล้ว แต่สิ่งที่ขาดอีกทั้งเป็นความสำคัญและจำเป็นที่ทุกคนควรมีคือการมีชีวิตที่สมดุล มีสัมพันธภาพที่ดีและให้ความอบอุ่นระหว่างกันซึ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้ไม่ได้
ดังนั้น จึงเป็นบทบาทของสถาบันการศึกษาสงฆ์ที่จะนำความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาที่บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่มาบริการวิชาการแก่สังคม ซึ่ง มจร ให้ความสำคัญและจัดการศึกษาเพื่อการนี้ มจร และ สปป. ลาว คงต้องมาช่วยกันตรงจุดนี้
อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาสำหรับพระสงฆ์ในต่างประเทศ เป็นความร่วมมือที่ผ่านมา อาทิ IBSC โดยท่านผู้อำนวยการได้มีส่วนคัดเลือกพระสงฆ์หรือนักศึกษาที่อาจเป็นกำลังสำคัญในอนาคตมาศึกษาที่ IBSC ด้วยตนเองที่เวียดนามและเมียนมาร์ ในทำนองเดียวกัน มจร และสปป.ลาว โดยผู้ที่เกี่ยวข้องอาจคัดเลือกพระสงฆ์ที่มีคุณสมบัติมาศึกษาและพัฒนาศักยภาพโดยตรงเป็นการเฉพาะเพื่อมาศึกษาและรับเอาบรรยากาศและสภาพแวดล้อมทางการศึกษาที่ มจร ก็ได้...”
จากนั้นคณะผู้บริหาร มจร ได้นำเยี่ยมสถานที่ห้องสมุดกงล้อพระพรหมบัณฑิต , ห้องเรียน Intelliget Mind ห้องสมุดศาตราจารย์พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ, และสำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ ก่อนเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
หนังสือ: หลักสูตรนักธรรมตรียุคเอไอ
คิดเขียนโดยดร.สำราญ สมพงษ์ - แชทจีพีที (เป็นกรณีศึกษา) สารบัญ 1. คำนำ ความสำคัญของการศึกษานักธรรมในสังคมไทย ความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัลแ...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น