วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2562

“สาธิต”ชูแผนยกระดับการแพทย์แบบ Genomics Thailand รองรับ EEC



วันที่ 4 ต.ค.2562 ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข บรรยายพิเศษ เรื่องเปิดแผนภาครัฐเตรียมรับมือขยายเมือง ในงานEEC next มหานครการบิน“ฮับ”โลจิสติกส์ แห่งอาเซียน ว่า ในการพัฒนาพื้นที่ EEC สามารถทำได้หลายมิติ โดยเฉพาะ 2 เรื่องหลักคือ 1.การดึงอุตสาหกรรมใหม่ระดับโลกมาลงทุน และถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่คนไทย ในด้านการสาธารณสุข คือ การแพทย์ที่แม่นยำโดยใช้ข้อมูลทางพันธุกรรมหรือการแพทย์จีโนมิกส์เพื่อนำไปสู่การบริการรักษา และ 2.การพัฒนาให้ผู้คนใน EEC มีวิถีชีวิตที่ดีขึ้นด้วย หนึ่งในการพัฒนาเพื่อวิถีชีวิตที่ดีคือ การยกระดับการบริการสาธารณสุข 

จากความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 ถึงแผนปฏิบัติการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทย (Genomics Thailand) พ.ศ. 2563-2567 และอนุมัติให้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) เป็นหน่วยงานกลางและมีโครงสร้างองค์กรเพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ โดยมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานหลัก และอนุมัติให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) พร้อมจัดทำโครงการพัฒนาศูนย์บริการทดสอบทางการแพทย์จีโนมิกส์ในพื้นที่ EEC เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป เพื่อเปิดให้การตรวจทดสอบข้อมูลพันธุกรรมคนไทยทั้งประเทศ โดยมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีระดับสูง และเกิดการสร้างงานเพิ่มสำหรับคนไทย 

ดร.สาธิต กล่าวด้วยว่า ประมาณการณ์ประชากร ปี 2580 พื้นที่ จ.ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา จะเพิ่มขึ้นรวมกว่า 6 ล้านคน จึงจำเป็นการเตรียมการให้มีการบริการรองรับคนจำนวนที่มากขึ้นและเป็นการบริการที่มีคุณภาพภายใต้แผนการยกระดับการบริการสาธารณสุขในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นเร่งด่วนในยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี จำนวน 14 โครงการ ภายใต้หลักการ 3 ด้าน ได้แก่  ด้านเครือข่ายเดียวระบบเดียว จัดระบบข้อมูลประจาตัวของประชากรทุกประเภทใน EEC ให้ใช้ได้ กับหน่วยบริการทั้งรัฐและเอกชน กำหนดความจำเป็น/ความต้องการในการบริการแต่ละประเภทให้ชัดเจน และกำหนดพื้นที่มีความ  ด้านรัฐเอกชนร่วมกัน ส่งเสริมให้หน่วยบริการรัฐมีความสามารถทางธุรกิจที่ไม่แสวงกำไร โดยสนับสนุนการลงทุน/ร่วมลงทุน บริการให้ครอบคลุมประชากรทุกกลุ่มเป้าหมายใน EEC ทั้งผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ ประกันสังคม  ด้านเครือข่ายเดียวระบบเดียว ทำงานเป็นเครือข่ายระหว่าง รพ.ภาครัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและภาครัฐอื่นๆ รวมทั้งรพ.เอกชนโดยแบ่งหน้าที่ และพื้นที่ดำเนินการให้ชัดเจน รวมถึงการปรับปรุงกฎระเบียบที่จำเป็น เพื่อใช้ในพื้นที่ EEC แล้วจึงขยายไปทั่วประเทศ เช่น กฎระเบียบค่าตอบแทน, การจ้างงานหรือจ้างคนแบบใหม่ และการพัฒนาต่างๆ ในพื้นที่ EEC เป็นการเรียนรู้ที่จะประยุกต์ใช้และขยายผลไปพื้นที่อื่นๆ หรือทั่วประเทศในโอกาสต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หนังสือ: ไวยากรณ์ภาษาบาลียุคเอไอ

คิดเขียนโดยดร.สำราญ สมพงษ์ - แชทจีพีที (เป็นกรณีศึกษา)  สารบัญ 1. คำนำ ความสำคัญของภาษาบาลีในโลกปัจจุบัน บทบาทของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการพัฒ...