วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563
อาหารพระทำ! พระพุทธานุญาตยามบิณฑบาตเสี่ยงภัยโควิด-19
อาหารพระทำ! พระพุทธานุญาตยามบิณฑบาตเสี่ยงภัยโควิด-19 : ดร.มหาสำราญ สมพงษ์ สาขาวิชาสันติศึกษา มจร รายงาน
การระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อชาวโลกเป็นวงกว้าง รวมถึงพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ทำให้จะต้องปรับวิถีศาสนกิจจากที่เคยปฏิบัติมาเพราะไม่เช่นนั้นพระสงฆ์ก็จะกลายเป็นพาหะของโรคได้ เพราะว่าไวรัสโควิด-19สามารถติดต่อง่ายและรวดเร็วมาก
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้แสดงความเป็นห่วงว่า "ถึงการใส่บาตรพระก็เป็นจุดอันตราย เหมือนกัน ทั้งพระสงฆ์และคนใส่บาตรก็อันตราย การทำวัตรของพระสงฆ์ ก็เช่นกัน"
แม้ว่าปรากฏภาพพระสงฆ์ออกบิณฑบาตจะสวมหน้ากากอนามัยรวมถึงสวม "เฟส ชิลล์" (face shield) เป็นการป้องกันเผลอมือจับใบหน้า แต่การเว้นระยะห่างทางสังคมหรือ Social Distancing ยังไม่ได้ เพราะว่าระยะห่างที่ปลอดภัยคือต้องห่างกัน 1-2 เมตรขึ้นไป
เมื่อการออกบิณฑบาตมีความเสี่ยงแต่การติดและแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นอย่างกว้างขวาง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย การประกอบอาชีพ การดำเนินชีวิตประจำวัน และฐานะทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดความยากลำบากในหมู่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย หรือตกอยู่ในภาวะที่ต้องปรับรูปแบบการดำรงชีวิตอย่างกะทันหัน
พร้อมทั้งทรงพระดำริว่า วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนคู่กับสังคมไทยมานับแต่โบราณตราบจนปัจจุบัน วัดไม่เพียงแต่เป็นที่พำนักของพระภิกษุสามเณร แต่ยังเป็นสถานสาธารณสงเคราะห์ของชุมชนด้วย จึงสมควรที่จะให้วัดที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะอนุเคราะห์ประชาชนผู้ประสบความยากลำบาก ดำเนินภารกิจตามบทบาทหน้าที่ที่ดำรงอยู่นับแต่อดีตกาล จึงมีพระบัญชาโปรดให้ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พิจารณาสั่งการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ให้ประสานงานกับวัดทั่วราชอาณาจักรซึ่งมีศักยภาพเพียงพอ จัดตั้งโรงทาน ช่วยเหลือผู้ประสบความยากลำบากในสถานการณ์โรคระบาด
เมื่อวัดจัดโรงทานเช่นนี้ก็จะทำให้พระสงฆ์ออกบิณฑบาตงดการออกบิณฑบาตและเป็นการลดความเสี่ยงได้ทางหนึ่ง อย่างเช่นที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีโรงครัวประกอบอาหารถวายผู้บริหาร คณาจารย์ พระนิสิตทั้งชาวไทยและต่างประเทศประมาณ 2-3 พันรูป จากเดิมที่ฉันล้อมวง ก็ปรับเปลี่ยนวิธีเป็นการฉันในบาตร และมีการจัดระเบียบให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
แต่หากวัดใดไม่มีศักยภาพหากพระสงฆ์ไม่ออกบิณฑบาตแล้วจะดำรงชีพอย่างไร จะประกอบอาหารฉันเองได้หรือไม่
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2563 เพจ "จ. เขมจิตต์" ได้โพสต์ภาพพระภิกษุและสามเณรกำลังประกอบอาหารเพื่อฉัน พร้อมข้อความว่า "เพื่อมิให้ลำบากโยมมาส่งภัตตาหารทุกวัน ใช้มาตรการส่งครั้งเดียวอยู่ได้ 7 วัน เพื่อความปลอดภัยและสบายใจ จากนี้ก็ต้องฝึกทำอาหารเช้ากันเอง"
พร้อมยก "พระพุทธานุญาต" ความว่า พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค 2 เล่ม 5 ข้อ 51
... [51] ก็โดยสมัยนั้นแล พระนครราชคฤห์บังเกิดทุพภิกขภัย คนทั้งหลายนำเกลือบ้าง น้ำมันบ้าง ข้าวสารบ้าง ของควรเคี้ยวบ้าง มายังอาราม ภิกษุทั้งหลายให้เก็บของเหล่านั้นไว้ข้างนอก สัตว์ต่างๆ กินเสียบ้าง พวกโจรลักเอาไปบ้าง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บไว้ ณ ภายในได้
.....กัปปิยการกทั้งหลายเก็บอามิสไว้ข้างในแล้ว หุงต้มข้างนอก พวกคนกินเดนพากันห้อมล้อม
.....ภิกษุทั้งหลายไม่พอใจฉัน แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้หุงต้มในภายใน
.....ในคราวเกิดทุพภิกขภัย พวกกัปปิยการกนำสิ่งของไปเสียมากมาย ถวายภิกษุเพียงเล็กน้อย
.....ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้หุงต้มเอง ....ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอามิสที่เก็บไว้ในภายในที่อยู่ ที่หุงต้มในภายในที่อยู่ และที่หุงต้มเองฯ"
ดังนั้น หากศึกษาพระวินัยปิฎกจะได้ทราบว่ามีพระพุทธบัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์และสามเณรมีชีวิตรอดในสถานการณ์ต่างๆได้ เพราะจะมีข้อยกเว้นในบ้างกรณีไว้ รวมถึงประชาชนทั่วไปก็สามารถประยุกต์ใช้ได้ อย่างเช่นการเว้นระยะห่างก็มีกำหนดในพระไตรปิฏกอย่างเช่นคำว่า "ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง" ก็ถือในสถานที่ๆเหมาะสมนั้นเอง ก็เข้าได้กับคำว่า "Social Distancing" รวมถึงการยืนระยะห่างมีการสนทนากับสตรีเพศเป็นต้น
ขณะเดียวกันชาวพุทธในฐานะที่เป็นอุบาสกอุบาสิกาที่มีความเข้าใจ ก็จะจัดหาแมสก์ถวายพระสงฆ์ก็ถือว่าเป็นการได้บุญตามกาลที่มีอานิสงส์มากเหมือนกับเทศกาลถวายสลากภัตร หรือจัดเตรียมสิ่งของที่เหมาะถวายพระเป็นต้น
จากประมวลเหตุการณ์การปรับตัวของพระสงฆ์จะได้ว่าพระท่านปรับตัวได้ดีพอสมควร ดังนั้น ญาติโยมที่ยังไม่ปรับตัวก็ควรจะดูพระสงฆ์เป็นตัวอย่าง อย่างเช่นการรณรงค์อยู่บ้านเพื่อชาติเป็นต้น ก็มีการโพสต์ในสื่อออนไลน์ต่อว่า "จะอยู่บ้านหรือว่าจะอยู่ในโลง"
Cr.https://www.banmuang.co.th/news/education/186126
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
เพลง: กลิ่นธรรม
ເນື້ອເພງ : ດຣສົມພົງສ໌ ທຳນອງ - ຮ້ອງໂດຍ : suno คลิกฟังเพลงที่นี่ (Verse 1) ยามเช้าแสงทองจับขอบฟ้า ไอหมอกบางพัดพาเบา ๆ หอมกลิ่นบุปผา…อาบใจ...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น