วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2563
รายงาน"สุวิทย์"ยกหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แก้วิกฤติประเทศจากโควิด-19
รายงาน"สุวิทย์"ยกหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แก้วิกฤติประเทศจากโควิด-19 : ดร.มหาสำราญ สมพงษ์ รายงาน
ช่วงที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กำลังร่่างจดหมายเปิดผนึกที่จะเชิญมหาเศรษฐีไทยจำนวน 20 คนเพื่อมาร่วมมือกันฝ่าวิกฤติโควิด-19อยู่นั้น ช่วงเย็นของวันนี้(18 เม.ย.) นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ Dr. Suvit Maesincee" ความว่า "แนวทางการปรับตัวภายใต้ภาวะวิกฤตโควิด-19
จากที่เมื่อสัปดาห์ก่อน ทางคณะทำงานของผมได้นำรายงาน 2 ชิ้นของทาง McKinsey & Company มาถอดบทเรียนการรับมือกับโควิด-19 สรุปเรียบเรียงเป็นภาษาไทยไว้ ล่าสุดได้เพิ่มบทความอีก 1 ชิ้น “How to Restart National Economies during the Coronavirus Crisis" โดย McKinsey & Company (เดือนเมษายน 2563) ประกอบกับบทวิเคราะห์ของคณะทำงานของผมร่วมเข้าไปด้วยในชื่อ "ปรับเปลี่ยนเพื่ออยู่รอดในยุคโควิด-19"
เนื้อหาครอบคลุมมาตรการสำคัญที่แต่ละประเทศใช้ในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค เครื่องมือในการช่วยประเมินและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการดำเนินมาตรการที่เหมาะสมตามสถานการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรการเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการกลับมาเดินเครื่องเศรษฐกิจใหม่อีกครั้ง ตลอดจนนัยสำคัญที่ประเทศไทยสามารถนำมาปรับใช้ได้
สำหรับผู้ที่สนใจตามไฟล์นี้ https://bit.ly/2VbcB7q (https://drive.google.com/file/d/1o-0Nuw-z7zGba7TrFOCLV8LVvbVbfkob/view?fbclid=IwAR0p8MLYagrq_CFTAkTO_1HCqQQq4zRBDD-D7TpG1nT9mg_1fWpFhmCdLBI)
อย่างไรก็ตามตอนท้ายนี้ของรายงานได้สรุปว่า
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 14 เม.ย.2563 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าร่วมประชุม สุดยอดอาเซียนสมัยพิเศษ ว่าด้วยการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ผ่านระบบวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ โดยได้เสนอแนวคิดข้อที่ 4.ว่า "เสนอให้อาเซียนถอดบทเรียนและประสบการณ์จากการต่อสู้กับโควิด-19 เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับ ความท้าทายต่างๆ ที่อาจคุกคามชีวิตของประชาชนในอนาคต โดยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ และจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งจากภายในและการพึ่งพาตนเองของภูมิภาคในระยะยาวให้มากขึ้น" (https://www.banmuang.co.th/news/politic/188185)
และเมื่อวันที่ 27 มี.ค.2563 ที่ประชุมร่วมคณะกรรมการเพื่อกำหนดมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ซึ่งประกอบด้วย กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สมาคมธนาคารไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)โดยมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้เสนอว่า "ถือโอกาสใช้วิกฤตนี้สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น ในรูปแบบ "เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางพระราชดำริในรัชกาลที่ 9 เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจชาติ" (https://www.banmuang.co.th/news/politic/185643)
ทั้งนั้นเกี่ยวกับแนวคิดในการพัฒนาประเทศจะตั้งอยู่บนฐานกรอบความคิดใดนั้น ผู้เขียนได้เสนอแนวคิดไว้ในบทความชิ้นแรกบนถนนน้ำหมึกเรื่อง "การบริโภคจีเอ็มโอตามทรรศนะชาวพุทธ" ที่เขียนในนาม"มหาเนชั่น"เผยแพร่ผ่านทางหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจเมื่อปี 2542 และเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์คมชัดลึกเมื่อปี2557 (https://www.komchadluek.net/news/lifestyle/194484) ความบางส่วนว่า
"ขณะนี้(2542) คนในรัฐบาลก็ออกมาโฆษณาว่า ได้แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจถูกทางแล้ว เศรษฐกิจเริ่มฟื้นแล้ว แต่ก็สงสัยว่าที่บอกว่าถูกทางนั้นถูกทางแบบไหน หรือว่าตามแบบที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารโลก หรือรวมถึงประเทศสหรัฐได้กำหนดไว้ หรือว่ารัฐบาลได้มีการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตามวิถีทางของคนไทย ที่มีหลักที่แข็งแรงอยู่แล้วตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเสนอแนวทางของหลักปรัชญาเศรษฐกิจเพียงพอหรือเศรษฐกิจทฤษฎีใหม่
การพัฒนาประเทศตามหลักเศรษฐศาสตร์ของฝรั่งนั้น คือการผลิตเพื่อการบริโภค โดยมีจุดมุ่งหมายเพียงแค่ความพอใจ ไม่ได้คำนึงถึงว่าการบริโภคนั้นเกิดผลที่แท้จริงคืออะไร ผลที่แท้จริงที่ชีวิตต้องการคืออะไร การที่มนุษย์บริโภคนั้นเพื่ออะไร คนบริโภคเพื่อได้คุณภาพชีวิต แล้วคุณภาพชีวิตคืออะไร การที่ร่างกายของเราต้องการอาหารมาหล่อเลี้ยง ทำให้เกิดกำลังวังชา ความแข็งแรง และซ่อมแซมร่างกาย อันนี้คือความต้องการคุณภาพชีวิต
ดังนั้น การบริโภคอาหารคือการทำให้ได้มาซึ่งคุณภาพชีวิต ความพอใจกับการได้คุณภาพชีวิต อันไหนเป็นการบริโภคที่ตรงกว่า แต่การบริโภคของคนไม่น้อยเพื่อรสเอร็ดอร่อย คำกล่าวข้างต้นในย่อหน้านี้ เป็นคำกล่าวของท่านเจ้าประคุณพระธรรมปิฎก (ประยุทธ ปยุตโต-ปัจจุบันพระพรหมคุณาภรณ์-2542และปัจจุบันปี2563คือสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์) ในหนังสือ "ทางออกจากระบบเศรษฐกิจที่ครอบงำสังคมไทย" ซึ่งเดิมชื่อ "เศรษฐศาสตร์ตามแนวทางพุทธศาสตร์" ที่ปาฐกถาที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 10 มิถุนายน 2531
ท่านเจ้าประคุณพระธรรมปิฎก ได้ชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของการบริโภคของมนุษย์ แตกต่างกัน บางคนบริโภคเพื่อต้องการคุณภาพชีวิต ซึ่งเป็นคุณค่าแท้ของการบริโภค แต่บางคนบริโภคเพื่อสนองความต้องการ เช่นการโก้หรู ความเอร็ดอร่อย ซึ่งเป็นคุณค่าเทียม ซึ่ง การบริโภค 2 ลักษณะ จะมีผลทางด้านเศรษฐกิจต่างกัน หากเป็นการบริโภคเพื่อสนองความต้องการตามแบบเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันนี้ การสนองความต้องการก็ไม่รู้จบ แต่การบริโภคตามแบบชาวพุทธ จะต้องมุ่งที่ความพอดีหรือความสมดุล คือการที่ได้สนองความต้องการคุณภาพชีวิต
แล้วพฤติกรรมของการบริโภคของคนไทยเป็นอย่างไร ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณค่าแท้หรือคุณค่าเทียม เป็นไปตามแนวทางของชาวพุทธหรือไม่ เพราะหากคนไทยยังไม่รู้คุณค่าของการบริโภคที่แท้จริงแล้ว ต่อให้ 10 จีเอ็มโอ ก็คงไม่สามารถผลิตที่สนองความต้องการได้ และพฤติกรรมการบริโภคนี้จะเป็นตัวชี้การพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน
ถ้าหากประเทศไทยพัฒนาตามแนวทางของหลักพระพุทธศาสนาแล้ว ประเทศไทยจะไม่ประสบกับปัญหาวิกฤติทุกด้านอย่างนี้ พิจารณาจากหลักธรรมพื้นฐานที่ยังประโยชน์ให้เกิดขึ้น 4 ประการ ที่เรียกว่า "ทิฏฐธัมมิกัตถะ" คือ การขยันหมั่นเพียร รู้จักใช้ปัญญาประกอบวิชาชีพ เมื่อได้ทรัพย์สินมาก็ต้องรู้จักรักษา ต้องมีเพื่อนที่ดี และต้องรู้จักความพอดี
แต่การพัฒนาประเทศของไทยที่ผ่านมานั้น ไม่ได้ใช้หลักธรรม 4 ประการนี้ให้สมบูรณ์จะเห็นได้ว่า พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี มีความขยันในการพัฒนาประเทศ พัฒนาเศรษฐกิจเจริญเติบโต แต่ไม่รู้เท่าทัน จึงทำให้เป็นเศรษฐกิจฟองสบู่ และรัฐบาลต่อมาไม่ว่าจะเป็นนายชวน หลีกภัย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี ไม่รู้จักรักษาทรัพย์สินที่ พล.อ.ชาติชาย หาไว้ โดยวางมาตรการป้องกัน ไม่รู้จักความพอดี หลงตัวเอง กู้เงินต่างประเทศเข้ามามาก ในที่สุด เศรษฐกิจฟองสบู่ก็แตกสมัย พล.อ.ชวลิต เป็นนายกรัฐมนตรี จนอยู่ไม่ได้
เวลานี้นายชวนเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ก็ยังหาทิศทางในการพัฒนาเศรษฐกิจถูกต้องไม่พบ ทั้งๆ ที่ในหลวงก็ทรงเสนอแนวทางให้ แต่รัฐบาลนี้ก็ไม่ให้ความสำคัญ ดูอย่างเม็ดเงินกู้มิยาซาวาเป็นตัวอย่าง แทนที่จะนำเงินไปส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงหรือเศรษฐกิจชุมชน กลับนำเงินไปแจกประชาชนเท่านั้นแล้วบอกว่าได้บรรลุวัตถุประสงค์แล้ว
ท่านเจ้าประคุณพระธรรมปิฎก ได้เสนอทางออกของสังคมไทยมาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ได้เคยวิเคราะห์สังคมชาวอเมริกาว่า มีสภาพเป็นอย่างไร ได้วางหลักการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนตามแนวทางพระพุทธศาสนา อย่างเช่น หนังสือทางออกจากระบบเศรษฐกิจที่ครอบงำ หรือเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ การศึกษาเครื่องมือพัฒนาที่ต้องพัฒนา ทางออกของสังคมไทย ซึ่งเป็นผลงานปี 2531 เมืองไทยจะวิกฤติถ้าคนไทยมีศรัทธาวิปริต ปี 2537
ท่านเจ้าประคุณพระธรรมปิฎก ได้สรุปแนวทางการพัฒนาประเทศที่ถูกต้องจะต้องมองไกล คิดไกล ใฝ่สูง อันได้แก่ การคำนึงถึงส่วนรวม ยึดธรรมเป็นสำคัญ และจะทำให้คนไทยมีท่าทีต่อผลผลิตที่เกิดจากจีเอ็มโออย่างไร"
ที่ยกมานี้เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาแก้วิกฤติของประเทศที่เกิดจากไวรัสโควิด-19 ว่าจะนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นฐานจริงมากน้อยเพียงใด หรือเป็นเพียงลมปากอย่างเช่นยุคที่ผ่านมา แต่ในภาคปฏิบัติอย่างเช่น นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ได้น้อมนำและรุจหน้าไปหลายจังหวัดแล้ว ซึ่งวันที่ 18 เม.ย.นี้ก็ ได้จัดการประชุมผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกล (Video Conference) มอบนโยบายการขับเคลื่อนหลักทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา โมเดล"
https://www.banmuang.co.th/news/politic/188832
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
เพลง: สู้เด้อนาง
ເນື້ອເພງ : ດຣສົມພົງສ໌,ai ທຳນອງ - ຮ້ອງໂດຍ : suno คลิกฟังเพลงที่นี่ (Verse 1) สู้เด้อนาง อย่าท้อใจ ชีวิตนี้ แม้สิยากไร้ ฝันยังใหญ่ จงสร้างสร...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น