วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2563
พช.เร่งขับเคลื่อน"โคก หนอง นา โมเดล" เป็นศูนย์เรียนรู้ยามวิกฤตโควิด-19
อธิบดีพช.ประชุมทางไกลเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน 76 จังหวัดเร่งขับเคลื่อนพัฒนาพื้นที่ต้นแบบทฤษฎีใหม่ของรัชกาลที่ 9 ประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา โมเดล" เป็นศูนย์เรียนรู้นำประชาชนพ้นวิกฤต อธิการบดี สจล. เปิด 6 ปัจจัย ที่จะช่วยเอาชนะ "โควิด-19" ได้สำเร็จ!
วันที่ 18 เม.ย.2563 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน(พช.) กระทรวงมหาดไทย เป็นประธานประชุมผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกล (Video Conference) เพื่อมอบนโยบายการขับเคลื่อนหลักทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” เพื่อสื่อสารสร้างความรู้ความเข้าใจในการขับเคลื่อนงานฯ แก่เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน 76 จังหวัด และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน 11 แห่ง
ทั้งนี้ ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญในเรื่อง โคกหนองนา โมเดล ประกอบด้วย ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ผู้บุกเบิกการประยุกต์ทฤษฎีใหม่สู่โคกหนองนาโมเดล ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล อดีตคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบพื้นที่โคกหนองนาโมเดล รศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่ปรึกษากรมการพัฒนาชุมชน และนายเอก วรรณประทีป รองผู้อำนวยการ สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) มาร่วมให้แนวทาง หลักการ ในการขับเคลื่อนงานฯ ให้สามารถทำได้จริงอย่างยั่งยืน
นายสุทธิพงษ์ กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชนได้ดำเนินโครงการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดำเนินการใน 2 ระดับ คือ ระดับครัวเรือน รณรงค์ให้ทุกครัวเรือนปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร และระดับอาชีพ คือ การส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการที่ดิน เพื่อให้เกิดอาชีพที่ยั่งยืน โดยนำหลักทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ให้ประชาชนทุกหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 ครอบครัว ได้ดำเนินการเป็นแบบอย่างในการบริหารจัดการที่ให้มีการปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง ปลูกพืชอาหาร แหล่งน้ำ และที่อยู่อาศัย อย่างสมดุลให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้ประชาชนและชุมชนทุกแห่งสามารถผ่านพ้นวิกฤตต่าง ๆ ได้ โดยเฉพราะช่วงวิกฤตโควิด-19 โดยมีผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์มาช่วยให้ความรู้และร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยในส่วนกรมการพัฒนาชุมชนได้ดำเนินการ คือ โครงการพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบ จำนวน 33 จุด, โครงการพัฒนาอาชีพครัวเรือนต้นแบบฯ มีกลุ่มเป้าหมาย 1,500 คน จากผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง 1,100 คน และเครือข่ายเพิ่มเติมอีก 400 คน ซึ่งคนเหล่านี้จะกลายเป็นครูพาทำ หรือปราชญ์ชาวบ้านต่อไป กิจกรรมเอามื้อสามัคคี จัดทำคู่มือและสื่อการเรียนรู้มัลติมีเดีย และโปรแกรมสำรวจพื้นที่ ตรวจติดตามครัวเรือนต้นแบบ
ด้าน ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ กล่าวว่า ในสถานการณ์วิกฤตในปัจจุบัน ทำให้คิดถึงในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่ทรงทุ่มเทพระวรกายทรงงานหนัก เพื่อหวังให้ชนบท เป็นที่พึ่งในยามวิกฤต แต่คนส่วนใหญ่มักไม่เชื่อ กลับทิ้งชนบทมาอยู่เมือง เพียงหวังจะมีเงินซื้ออาหารกิน สุดท้ายวันนี้โลกเจอวิกฤตแล้ว จึงเห็นความสำคัญของชนบทที่เป็นที่พึ่งทางอาหารได้ รวมทั้งการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ทั้งอาหารพอเพียง อากาศพอเพียง มีน้ำพอเพียง และมีที่อยู่อาศัยพอเพียง สามารถเป็นที่พึ่งพิงให้คนทั่วไปได้ กรมการพัฒนาชุมชน ได้ส่งเสริมการพึ่งพาตนเอง โดยขับเคลื่อนด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีทฤษฎีใหม่กว่า 40 ทฤษฎี โดยในครั้งนี้มุ่งไปที่ทฤษฎีใหม่
"วิธีปฏิบัติของเกษตรกรที่มีที่ดินจำนวนน้อย โดยเริ่มจากการจัดการที่ดินอย่างไร จะนำน้ำฝนที่ตกลงมาเก็บทั้งหมดได้อย่างไร ซึ่งกรมฯ กำลังมีโครงการขับเคลื่อนทฤษฎีใหม่นี้อยู่ โดยขอฝากถึงฟันเฟืองในการขับเคลื่อน นั่นคือ นักพัฒนาว่า หากจะเป็นนักพัฒนาชุมชนมืออาชีพได้ต้องแม่นยำในทฤษฎี หมั่นศึกษาพัฒนาตนเอง เพื่อสืบสาน รักษา และนำทฤษฎีไปต่อยอดได้ และอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญที่กรมฯ มีจุดเด่นอยู่แล้ว คือการประสานภาคีเครือข่ายมาร่วมทำงาน เพื่อให้การขับเคลื่อนมีพลัง อีกทั้งต้องมีตัวอย่างทำให้เห็น เพื่อให้ประชาชนเข้าใจและเห็นถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่ตนเอง เข้าไปพาชาวบ้านทำ ไปบอกเทคนิคว่าทำได้จริง อาทิ แนะนำวิธีเก็บน้ำ หรือ ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ผมเชื่อมั่นว่าหากชาวพัฒนาชุมชนร่วมใจกันนำพาชาวบ้านปฏิบัติอย่างจริงจัง เราจะมีป่าเกิดขึ้นทั่วประเทศอย่างมากมาย เราจะมีแหล่งน้ำกระจายอยู่ทั่วประเทศอย่างเพียงพอและยั่งยืน และเราจะมีความมั่นคงทางอาหารเกิดขึ้นอย่างแน่นอน" ดร.วิวัฒน์ กล่าว
ขณะที่ ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล ที่ปรึกษาอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ผู้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านสถาปนิก และช่วยในการออกแบบพื้นที่ กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชนจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงและการอบรมการออกแบบเชิงภูมิสังคมเพื่อการพึ่งตนเองและรองรับภัยพิบัติ โดยใช้ชุดความรู้ทฤษฎีใหม่ ผสมกับนวัตกรรมเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้ได้ผู้นำและเครือข่ายที่พร้อมจะนำผลสำเร็จไปขยายต่อ สร้างพลังในการขับเคลื่อน แบบเชื่อมโยงกัน จนสามารถพึ่งพาตนเองได้ ยึดหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ สร้างความมั่นคงในเรื่องอาหาร น้ำ และพลังงาน อาทิ 1 ไร่ ช่วยลดรายจ่าย, 3 ไร่ พึ่งพาตนเองได้ และ 5 ไร่ ช่วยสร้างรายได้ เป็นต้น โดยเป้าหมาย คือ มีศูนย์เรียนรู้ต้นแบบบริหารจัดการน้ำ ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง และจะทำให้สามารถปลูกป่าและเก็บน้ำได้มาก
อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ฝากเชิญชวนเจ้าหน้าที่และเครือข่ายให้เข้าร่วมเป็นสมาชิก Facebook กลุ่ม “ปลูกพืช ปลูกผัก ปลูกรัก กับ พช.” ซึ่งคำว่า กับ พช. คือพัฒนาชุมชนเป็นผู้ประสานร่วมกับทุกหน่วยงาน ทบวง กระทรวง กรม และเอกชน ขับเคลื่อนการสร้างความมั่นคงทางอาหาร การมีพืชผักสวนครัวที่ปลอดภัยทำอาหารกิน หรือทำให้คนไทยมีอาหารเป็นยา และมีความรักความสามัคคีในครอบครัว พร้อมช่วยกันแชร์ภาพความสุขแห่งการปลูกพืชผักสวนครัว หรือต้นไม้อื่น ๆ เพื่อเป็นแรงสั่นสะเทือนให้กับสังคมต่อไป
อธิการบดี สจล. เปิด 6 ปัจจัย ที่จะช่วยเอาชนะ "โควิด-19" ได้สำเร็จ!
ขณะที่ ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ได้ถอดบทเรียน "6 ข้อ" จากสิ่งที่ได้เรียนรู้ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 พร้อมให้กำลังใจทุกภาคส่วนร่วมมือกันผ่านพ้นวิกฤติโควิด-19 ผ่านการปฏิบัติหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มความสามารถ และร่วมกันนำสิ่งที่มีอยู่ออกมาช่วยเหลือสังคมให้ผ่านวิกฤตครั้งนี้
ศ.ดร.สุชัชวีร์ กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกที่ดำเนินมาระยะหนึ่ง และมีผู้ติดเชื้อเกินสองล้านคน ทำให้มีกรณีศึกษาจำนวนมาก ทั้งประสบการณ์ การต่อสู้ทั้งของต่างประเทศ และทั้งของประเทศไทย การลองผิดลองถูก เพราะไม่เคยมีใครเจออภิมหาไวรัสแบบนี้มาก่อนในช่วงชีวิต จึงสามารถลำดับกระบวนการต่อสู้ของมนุษย์โลกกับไวรัสโควิด-19 ที่เรียนรู้กันมาต่อเนื่อง ดังนี้
1.ต้องสู้โดย "Social Distancing"
เพราะโควิด-19 ติดต่อจากคน-สู่-คน ได้รวดเร็ว ทางการสัมผัส ใกล้ชิดจึงต้องสู้โดย "Social Distancing"ไม่ให้เจอกัน ไม่อยู่ใกล้กัน ปิดห้างร้านที่มีคนจอแจ ปิดที่ทำงาน ให้คนทำงานที่บ้าน "Work from Home"เมื่อคนไม่เจอคน ความเสี่ยงลด อัตราการติดเชื้อก็น่าจะลดลง
2. ต้องสู้โดย "ยกระดับศักยภาพทางการแพทย์"
เพราะ "โควิด-19" เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ทำลายปอด ยิ่งคนติดเชื้อมาก ป่วยมาก เครื่องมือดูแลช่วยชีวิต เช่น เครื่องช่วยหายใจในยามฉุกเฉิน หากคนป่วยมากเกินกำลัง โดยเฉพาะในต่างจังหวัดจึงต้องสู้โดย "ยกระดับศักยภาพทางการแพทย์"จึงมีนวัตกรรมเครื่องช่วยหายใจฉุกเฉินขนาดเล็ก ใช้ยามฉุกเฉิน เมื่อมีความจำเป็น โดยมันสมองคนไทย ที่คนไทยสนับสนุน เพื่อช่วยชีวิตคนไทย
3. ต้องสู้โดย "มีอุปกรณ์ป้องกันให้ครบ"
แน่นอนว่า "บุคลากรทางการแพทย์" คือ นักรบแนวหน้า เป็นผู้มีความเสี่ยงสูง หากเป็นอะไรไป ประเทศไทยจะขาดกำลังพล และจะยิ่งยุ่งยากฉะนั้นเกมนี้ เราจึงต้องสู้โดย "มีอุปกรณ์ป้องกันให้ครบ"ทั้งหน้ากากอนามัย ทั้งหน้ากากN95 ทั้งชุดป้องกันPPEหรือPersonel Protective Equipment ให้แก่ทีมแพทย์ โดยทุกคนต้องช่วยกันจัดหาสนับสนุน
4. ต้องมี "ชุดตรวจ" ออกมาให้มาก มี "แล็บตรวจ" ให้เยอะ
ที่ผ่านมาพบว่า ผู้ติดเชื้อจำนวนไม่น้อย ไม่แสดงอาการป่วย หรือกว่าจะแสดงอาการก็ผ่านไปหลายวัน ปัญหา คือ เราจะไม่รู้ว่าเอาเชื้อไปติดใครบ้าง ไปทำงาน ก็แพร่ที่ทำงาน ยิ่งอยู่บ้าน ก็ติดคนในครอบครัว หากเป็นเช่นนี้ การทำ Social DistancingหรือWork from Homeก็ไม่ได้ผล จึงต้องสู้โดย "การตรวจเชื้อ" ให้มากที่สุดในกลุ่มเสี่ยง แต่ทั้งนี้ ก็เป็นเรื่องยากที่จะชี้ชัดว่า ใครคือกลุ่มเสี่ยง ต้องมีชุดตรวจออกมาให้มาก มีแล็บตรวจให้เยอะ จึงจะช่วยได้
5. ต้องมีระบบป้องกันที่สมบูรณ์
ยิ่งต้องตรวจคนจำนวนมาก บุคลากรทางการแพทย์ก็ยิ่งเสี่ยงมาก จึงต้องมีระบบป้องกันที่สมบูรณ์โดยเฉพาะชุดปกติมันป้องกันไม่เพียงพอ ขาดแคลนด้วยจึงต้องสู้โดย สร้าง "ห้องความดันบวก"ครอบคนตรวจ เชื้อไม่เข้ามา เวลาตรวจโรคในพื้นที่นอกอาคาร ที่โล่งแจ้ง คนตรวจปลอดภัย และสร้าง"ห้องความดันลบ"กรณีพื้นที่ปิดในโรงพยาบาล ครอบผู้มีความเสี่ยง กักเชื้อไม่ให้ออกมา แล้วทำลายเชื้อ คนตรวจปลอดภัย
6."วัคซีน" คือ "ทางออก"
เป็นที่ทราบกันดีว่า โควิด-19 ไม่จบง่ายๆ ตราบใดที่ยังไม่มี "วัคซีน" และการทำวัคซีนที่ได้ผลจริงๆ อาจใช้เวลาเป็นสิบปีก็ได้ แม้จะลดขั้นตอน ช่วยกันทำงานแบบขนาน แบ่งงานกัน ไม่มีใครกั๊กความรู้ ไม่มีใครเห็นแก่ตัว ไม่เก็บไว้ทำคนเดียว ก็ยังต้องใช้เวลา ดังนั้น ถือว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็น "เกมยาว"ที่ไทยต้องเผชิญ ห้ามประมาท ห้ามเบื่อ ห้ามท้อ ห้ามเลิก ต้องช่วยกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากที่กล่าวมา ข้อ 1 ถึง 5 เราคนไทยช่วยกันทำแล้ว โดย สจล. ได้จัดตั้งศูนย์รวมนวัตกรรมสู้โควิด-19"KMITL GO FIGHT COVID-19"ศูนย์ที่ทำหน้าที่การศึกษา คิดค้น วิจัย และพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อใช้ป้องกันการแพร่ระบาด และรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น ไม่ว่าจะเป็นการประดิษฐ์เครื่องช่วยหายใจแบบฉุกเฉินขนาดเล็ก ในราคา5,000 - 10,000บาท ซึ่งอยู่ระหว่างการผลิตและส่งมอบให้กับโรงพยาบาล และหน่วยงานที่ต้องการ ห้องแยกโรคความดันลบ (Negative Pressure Room) ตู้ตรวจเชื้อ (Swab Test)แบบความดันบวก และแบบความดันลบ เป็นต้น
"เรามั่นใจว่าคนไทยจะชนะเกมส์ยาวนี้ ต้องอดทนสู้ แล้วเราจะรอดไปด้วยกัน"ศ.ดร.สุชัชวีร์กล่าวทิ้งท้าย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
เพลง: สู้เด้อนาง
ເນື້ອເພງ : ດຣສົມພົງສ໌,ai ທຳນອງ - ຮ້ອງໂດຍ : suno คลิกฟังเพลงที่นี่ (Verse 1) สู้เด้อนาง อย่าท้อใจ ชีวิตนี้ แม้สิยากไร้ ฝันยังใหญ่ จงสร้างสร...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น