วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2563
ฟังกันหน่อยคนกันเอง! "ดร.กนก"หวดไม้เรียวสู้ภัยโควิด-19 การสื่อสารภาครัฐไม่ตอบโจทย์
วันที่ 16 เม.ย.2563 ศ.ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาสะท้อนเสียงของชาวบ้านต่อการปฏิบัติงานของรัฐบาลในช่วงสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ดังนี้
1. การประกาศ และคำสั่งของทางรัฐบาลนั้น ขาดความสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตทั่วไปของประชาชนในหลายพื้นที่ เช่น พื้นที่ชนบท (ต่างจังหวัด) พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น โดยเฉพาะกับบุคคลที่มีรายได้น้อย ทำงานหาเช้ากินค่ำ หรือเป็นบุคคลฐานล่าง (ยากจน) ที่อาศัยอยู่ทั้งในตัวเมือง และชนบท อาทิ
1.1 คนยากจนในหมู่บ้านอันห่างไกล พวกเขาอยากได้อาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตมากกว่าเงิน เพราะการเดินทางที่ยากลำบาก แถมเสี่ยงติดเชื้อไวรัส รวมไปถึงราคาสินค้าที่ปรับตัวสูง หรือบางอย่างอาจขาดตลาดไม่มีวางจำหน่าย
1.2 สำหรับคนหาเช้ากินค่ำ ที่อาศัยอยู่ในตัวเมือง การที่ถูกคำสั่งให้ต้องอยู่บ้าน นั่นก็หมายถึง การหยุดทำมาหากิน ขาดรายได้ ขาดเงินในการประทังชีวิต ถ้าใครไม่มีเงินเก็บ สถานการณ์ในตอนนี้ต้องบอกว่า น่าเป็นห่วงมาก
1.3 ความไม่ชัดเจนในมาตรการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งของทางรัฐบาล ซึ่งผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ (ตามที่รัฐบาลระบุ) ยังไม่สามารถสื่อสารสร้างความเข้าใจร่วมกันกับประชาชนได้ แล้วปล่อยให้ปัญหาและความเดือดร้อนของประชาชนผ่านไปเสมือนไม่ใช่ธุระสำคัญของตน
2. การสื่อสารและการแถลงข่าวจากทางรัฐบาล และหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ยังไม่ตอบโจทย์ในเรื่องการสร้างความเข้าใจ และความใส่ใจที่จะเกิดขึ้นต่อการรับรู้ของประชาชน
2.1 การสรุปสถานการณ์ของการแพร่ระบาด สำหรับผมถือว่า ในส่วนนี้เป็นการสื่อสารที่สำคัญ ชัดเจน และทำได้อย่างสมบูรณ์
2.2 การรายงานความคืบหน้าในการทำงานของรัฐบาลและหน่วยราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ว่าได้ทำอะไรไปแล้วบ้างในแต่ละวันนั้น ยังเป็นคำถามอยู่ว่า ควรเอาเวล ตรงส่วนนี้มาสร้างความเข้าใจต่อประเด็นความเดือดร้อนของประชาชนในด้านต่างๆ จะมีประโยชน์กว่าหรือไม่
นอกจากนี้ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยังได้ให้ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงาน ฝากไปยังรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 3 ประเด็น คือ
1. การออกมาตรการแก้ไขปัญหาไวรัสโควิด-19 รัฐบาลต้องกระจายอำนาจการสั่งการไปยังจังหวัด หรือท้องถิ่น ให้ทำหน้าที่ในการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัส ในฐานะศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินระดับจังหวัด หรือท้องถิ่น เพราะหน่วยงานราชการระดับจังหวัด หรือท้องถิ่นนั้น จะสามารถรับรู้และเข้าใจบริบทของพื้นที่และสภาพปัญหาที่แท้จริงของประชาชนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี โดยส่วนกลางหรือศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินระดับประเทศ ควรเป็นพื้นที่กลางในการให้แนวทางและการสนับสนุนในด้านต่างๆ เมื่อได้รับการร้องขอเท่านั้น
2. การสื่อสารจากทางรัฐบาล ควรเน้นข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน สั้นกระชับ และเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง (ซ้ำๆ กันบางประเด็นที่สำคัญ) เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบกันอย่างทั่วถึง ครบถ้วนในเนื้อหา และเกิดความเข้าใจที่ตรงกัน โดยเฉพาะมาตรการบรรเทาปัญหาและความเดือดร้อนของประชาชนจากผลกระทบของคำสั่งภาครัฐ ควรจำแนกแยกเฉพาะตามกลุ่มปัญหา ตามกลุ่มอาชีพ ไล่เรียงกระบวนการเยียวยากันไปเป็นข้อๆ จากนั้นก็ทำการเผยแพร่ซ้ำไปยังกลุ่มเป้าหมายอย่างเข้มข้น
3. การแก้ไขปัญหาวิกฤตที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เป็นเรื่องธรรมดาที่มาตรการหรือคำสั่งที่ออกมาจะเกิดข้อผิดพลาดได้ (เพราะถ้าไม่มีข้อผิดพลาดเลย จะกลายเป็นเรื่องผิดปกติ) ดังนั้น เมื่อเกิดข้อผิดพลาดแล้ว ขอให้รีบแก้ไข และจัดการกับปัญหาหรือข้อผิดพลาดนั้นให้ลุล่วงไป อย่าแบกปัญหาไว้ เพราะไม่ยอมรับว่าเป็นข้อผิดพลาด ท้ายที่สุด ความเสียหายจะมากมายกว่าเดิมหลายเท่า
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
เพลง: สู้เด้อนาง
ເນື້ອເພງ : ດຣສົມພົງສ໌,ai ທຳນອງ - ຮ້ອງໂດຍ : suno คลิกฟังเพลงที่นี่ (Verse 1) สู้เด้อนาง อย่าท้อใจ ชีวิตนี้ แม้สิยากไร้ ฝันยังใหญ่ จงสร้างสร...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น