วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ขัดแย้งหนักหวิดวางมวยกลางสภาฯ! "ชวน" เรียก "สิระ -เต้" สยบศึกด่วน


วันที่ 21 สิงหาคม 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในเวลาประมาณ 12.00 น. บริเวณ ชั้น 2 อาคารัฐสภา ห้องทำงานของนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎรนั้น นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเดินทางกลับจากการแจ้งความดำเนินคดีกับนายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ ที่ปรากฏเป็นข่าวครึกโครมในช่วงเย็น เมื่อวานนี้ (20 ส.ค.) โดยได้เดินทางเข้ามาพบนายชวน เพื่ออธิบายถึงปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นและขอให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร สอบจริยธรรมนายมงคลกิตติ์ ด้วยโดยใช้เวลาคุยประมาณ 15 นาที ก่อนออกจากทำงานของนายชวน ปรากฏว่า นายมงคลกิตติ์ ยืนรอต่อคิวเพื่อเข้าพบนายชวน เช่นกันโดยทั้งคู่ได้มองหน้ากันแต่ไม่ได้มีการทักทาย หรือพูดคุยใดๆ โดยนายมงคลกิตติ์ ได้เข้าพบนายชวน ประมาณ 10 นาทีก่อนออกจากห้องไป          

จากนั้นเวลา12.30น. ที่รัฐสภา นายชวน ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีปัญหาความขัดแย้งระหว่างนายสิระ กับนายมงคลกิตติ์ ว่า บอกตรงๆมาภาพพจน์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ต้องแยกระหว่างคนหมู่ใหญ่กับ คน 2 คน ออกจากกัน อย่าเหมาว่าทุกคนในสภา จะมีสภาพแบบนี้ ตนตั้งใจว่าจะให้ทั้ง 2 คนได้พบกันและคุยกัน เพราะว่าถ้าไม่คุยกันจะยิ่งขัดแย้งกัน โดยนายสิระ ยืนยันว่าจะเรื่องส่งกรรมการจริยธรรม พอดีกับสัปดาห์ที่แล้ว เรากำลังประชุมกรรมการจริยธรรม เพื่อมอบให้นายนิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา ไปร่างระเบียบ วิธีปฏิบัติก็จะเป็นหนึ่งในเรื่องที่ รวมเอาไว้เพื่อเสนอคณะกรรมการจริยธรรมต่อไป          

นายชวน กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องความรุนแรง ขอร้องว่าอย่าให้เกิดขึ้น การขัดแย้งเรื่องวาจาไม่เป็นไร ค่อยว่ากันแต่เรื่องความรุนแรงอย่าให้เกิดขึ้น ตนพยายามที่จะเชิญทั้ง 2 ฝ่ายมาคุยกัน แต่ทั้งคู่ไม่ยอม มาคุยกัน โดยคนที่ยืนกรานว่าจะไม่ขอคุยคือนายสิระ ซึ่งทางฝ่ายของนายมงคลกิตต์ เองก็ไม่ต้องการเช่นกัน          

เมื่อถามว่า หากมีการต่อยหรือตีกันในสภาฯจริงๆจะมีบทลงโทษอย่างไรบ้าง นายชวน กล่าวย้ำว่า "บอกแล้วว่ายังไงก็อย่าให้เกิดขึ้น ผมคิดว่าดีที่สุดคือเอาคำพูดของแต่ละฝ่าย มารวบรวม เรียบเรียงว่าเริ่มต้นอย่างไร ใครเป็นผู้ก่อเรื่องขึ้นมาก่อน และเรื่องตามมาอย่างไร ส่วนเรื่องที่บอกว่าจะเอาให้ฟันร่วงหมดเลย เขาก็ยืนยันว่าเขาจะไม่ทำ" 

"สิระ"-"เต้"เผชิญหน้า!กลางสภาถามใครเริ่ม

ก่อนหน้านี้ที่อาคารรัฐสภา ชั้น 1 ระหว่างที่นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ ให้สัมภาษณ์พิเศษสื่อมวลชนอยู่ ได้เห็นนายสิระ เจนจาคะ ส.ส.พลังประชารัฐเดินเข้ามาพอดี จึงได้ปรี่เข้าไปหานายสิระ และจับแขนข้างขวาของนายสิระ ซึ่งนายสิระได้ขอให้ผู้ที่อยู่บริเวณดังกล่าว ช่วยบันทึกภาพไว้เป็นหลักฐานก่อนจะสะบัดมือออกทันทีและพูดว่า อย่ามาจับตน จับตัวตนไม่ได้ นายมงคลกิตติ์เป็นนักเลง        

ก่อนที่นายมงคลกิตติ์ จะเดินตามนายสิระ แต่นายสิระได้พยายามเดินเลี่ยงหนี และขอให้ตำรวจสภามาพาตัวนายมงคลกิตติ์ออกไป และระบุว่าให้ภาพฟ้องคนทั้งประเทศว่า ส.ส.กระทำผิด นี่คือสภาอันทรงเกียรติ มาหาเรื่อง ขณะที่นายมงคลกิตติ์ สวนกลับว่า "ทำไมเวลาพูดไม่คิด ใครเป็นคนเริ่ม"  ทำให้นายสิระตอบกลับว่า คิดแล้ว และบอกว่าไม่ต้องมาพูดกับตน"          

นายสิระ เรียกร้องให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร ช่วยสั่งให้เจ้าหน้าที่ ดูแลความปลอดภัย เพราะเดินไปทางไหนถูกนายมงคลกิตติ์เข้ามาก่อกวน รังควาน คุกคาม ในระหว่างเข้ามาทำหน้าที่ในสภาฯ          

ด้าน นายมงคลกิตติ์ กล่าวว่า แทนที่นายสิระ จะมีสำนึกขอโทษ ในฐานะลูกผู้ชาย และตนไม่ได้ทำอะไรเพียงต้องการสอบถามว่าสิ่งที่นายสิระพูดคิดก่อนหรือไม่ ที่ต่อว่า และด่าผู้อื่นลับหลังหลายครั้ง ซึ่งตนไม่ชอบ ยืนยันไม่เคยด่าว่านายสิระ และไม่เคยเริ่มก่อน ปกติเวลามีไรเคลียร์กัน ตกลงกันไม่ได้ก็นอกห้อง ไม่ต้องเอาครูบาอาจารย์มาเกี่ยวหรือฟ้องผู้ใหญ่ ตนเป็นลูกผู้ชาย ปกติอ่อนน้อม เพียงแต่ว่าเจอคนมีการศึกษาเราก็มีการศึกษา มาว่าคนอื่นลับหลังไม่ใช่ลูกผู้ชาย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หากเกิดการชกต่อยกันขึ้นระหว่างนายสิระกับนายมงคลกิตติ์กลางสภาฯ เท่ากับว่าความขัดแย้งนั้นได้พัฒนาเป็นความรุนแรง  ซึ่งความรุนแรงนั้นมีทั้งโดยตรงและโดยอ้อม   ซึ่งรศ.ดร.โคทม  อารียา  ที่ปรึกษาศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธีมหาวิทยาลัยมหิดล  ได้นำเสนอตามกรอบความคิดของ"โยฮัน กัลตุง"  (Johan Galtung) โดยแบ่งเป็น 3  ระดับ คือ   ทางตรงหรือกายภาพ   เชิงโครงสร้าง   และเชิงวัฒนธรรม   ความรุนแรงทางกายภาพนั้นจะต้องมีผู้กระทำให้เกิดขึ้นทั้งทางกายและทางวาจา  

ส่วนความรุนแรงเชิงโครงสร้างหรือเชิงระบบจะไม่ปรากฏผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ มีลักษณะเป็นการขัดขวางไม่ให้มีการตอบสนองต่อความจำเป็นขั้นพื้นฐาน  การแบ่งชนชั้น ลัทธิเหยียดผิว ชาติพันธุ์ การทำลายตนเอง การทำลายชุมชน  และการทำลายรัฐ-ชาติ โดยรัฐประหาร การกบฏ การก่อการร้าย สงคราม ขณะที่ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมก็จะไม่ปรากฏผู้กระทำและผู้ถูกกระทำเช่นกัน โดยจะการถ่ายทอดออกมาเป็นความเกลียด ความกลัว อคติ ความเจ็บแค้น เป็นความรุนแรงทางศาสนา อุดมการณ์ ภาษา และศิลปะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต

วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ "ปารายนวรรค...