วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563

วัดเยื้องคงคารมเมืองอ่างทอง ปลูกพืชผักแจกชาวบ้านฟรี


เมื่อวันที่ 24 ส.ค.2563 ที่บริเวณวัดเยื้องคงคารม หมู่ที่ 1 ตำบลเทวราช อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง พบว่าบริเวณรอบเขตของวัดที่รกร้างว่างเปล่าดูแล้วไม่เกิดประโยชน์ ทาง พระครูสังฆรักษ์สมพงษ์ จตฺตมโล (จัดตะมะโล) เจ้าอาวาสวัดเยื้อง มีแนวคิดที่จะใช้พื้นที่รกร้างว่างเปล่าทิ้งไว้ไม่เกิดประโยชน์ในเขตบริเวณวัด จึงลงมือทำการเกษตรปลูกผักสวนครัวร่วมกับลูกศิษย์ อาทิ พริก มะเขือ บวบ มะระ ตะไคร้ มะกรูด คะน้า มะละกอ และอื่น ๆ เพื่อทำการแจกจ่ายให้ชาวบ้านในพื้นที่มาเป็นเวลากว่า 30 ปี แล้ว          

ในช่วงที่มีเชื้อโควิด 19 ระบาด จึงได้สนองพระราชดำริของสมเด็จพระสังฆราช ตามโครงการปลูกผักสวนครัวจากวัดสู่ชุมชนตามหลักบวร โดยได้ขยายพื้นที่ของวัดที่มีอยู่ประมาณ 35 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ว่างเปล่าไม่เกิดประโยชน์ ทำการปรับหน้าดินร่วมกันเพาะปลูกพืชผักสวนครัวแจกจ่ายให้กับชาวบ้าน โดยมีความคิดว่า ไม่นั่งรอกิจนิมนต์ พระปลูกโยมเก็บเอาไปกินได้ ซึ่งได้ผลตอบรับจากชาวบ้านในพื้นที่เป็นจำนวนมาก          

จากการสอบถาม พระครูสังฆรักษ์สมพงษ์ เจ้าอาวาส เล่าให้ฟังว่า ทางวัดเยื้องคงคาราม ได้สนองพระราชดำริของสมเด็จพระสังฆราช ในช่วงของการแพร่ระบาดของเชื้อควิด 19 ตามโครงการปลูกผักสวนครัวจากวัดสู่ชุมชนตามหลักบวร โดยการปลูกผักสวนครัวเพื่อแจกจ่ายให้ชาวบ้านในพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อน แต่ก่อนหน้านี้ทางวัดได้ทำการปลูกผักสวนครัวแปลงเกษตรวิถีพุทธแจกจ่ายให้กับชาวบ้านอยู่แล้วมากว่า 30 ปี ในตอนแรกได้มีความคิดริเริ่มจากลูกศิษย์เพียงไม่กี่คน ร่วมกันลงมือใช้พื้นที่รกร้างว่างเปล่ารอบบริเวณวัด ปลูกพืชผักสวนครัวแจกจ่ายให้กับชาวบ้านและโรงเรียน ในช่วงหลังได้รับการตอบรับมีชาวบ้านและเด็กนักเรียนในพื้นที่ และชาวบ้านที่ทราบข่าว เข้ามาร่วมมือร่วมใจกันปลูกพืชผักสวนครัวเพิ่ม หลังจากมีโครงการของสมเด็จพระสังฆราชทางอาตมาจึงได้ปรึกษากับลูกศิษย์ ทำการลงมือปรับพื้นที่รอบบริเวณวัด โดยการขุดบ่อเพื่อเก็บกักน้ำ และทำการปลูกพืชผักสวนครัวเพิ่ม ซึ่งทางวัดมีโรงเรือนเพาะชำเอาไว้ใช้เพาะขยายพันธุ์พืชเอง          

ในส่วนของผลผลิตที่ได้ก็จะนำออกแจกจ่ายให้กับญาติโยมที่เข้ามาทำบุญในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ส่วนญาติโยมบางรายที่ต้องการซื้อเพราะเห็นว่าปลูกในพื้นที่ธรณีสงฆ์ ทางวัดก็เต็มใจที่จะขายให้ในราคาถูก เงินที่ได้จากการขายพืชผักสวนครัวก็จะเก็บไว้ชำระค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ที่เป็นหนี้ของสงฆ์ โดยมีชาวบ้านบางรายรับพืชผักของทางวัดไปขายในชุมชนในราคาถูก เพื่อนำเงินที่ได้มาบริจาคให้ทางวัดเพื่อใช้จ่าย          

นอกจากนี้ทางวัดยังได้ทดลองนำพันธุ์ต้นไม้ที่ปลูกอยู่แต่ละภาคของประเทศ อาทิ ทุเรียน อะโวคาโด อินทผลัม มาปลูกรอบบริเวณวัด โดยได้ทำการศึกษาว่าพันธุ์ไหนเหมาะที่จะนำมาปลูกในพื้นที่ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับคนในชุมชนมากที่สุด เพื่อแจกจ่ายให้กับชาวบ้านในชุมชนนำไปบริโภค อยู่ร่วมกันระหว่างวัด โรงเรียน และชุมชนอย่างมีความสุขกันต่อไป 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต

วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ "ปารายนวรรค...