วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ต้นกล้า‘"ไทอาหม-ผาเก’" งอกใต้ต้นโพธิ์พุทธคยา

  


ต้นกล้า‘ไทอาหม-ผาเก’งอกใต้ต้นโพธิ์พุทธคยา หวังนำพระพุทธศาสนาเจริญในรัฐอัสสัม : สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาโทสันติศึกษา มจร รายงาน


เนื่องในโอกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ 60  พรรษา ในวันที่ 2 เมษายน 2558 ที่ผ่าน คนไทยได้กิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระองค์ท่าน ในจำนวนนั้นมีกิจกรรมที่คนไทยพุทธทั่วโลกนำบุตรหลานทั้งชายและหญิงบวชสามเณรและบวชศีลจาริณีหรือบวชชีพราหมณ์ถวายเป็นพระราชกุศลตามวัดต่างๆ ประกอบกับช่วงนี้เป็นช่วงปิดเทอมจึงเป็นโอกาสนำบุตรหลานเข้าวัดด้วยและกิจกรรมดังกล่าวได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้


นอกจากจะมีการบวชตามวัดในประเทศไทยแล้ว มีบางส่วนถือโอกาสนำพาบุตรหลานไปบวชที่เจดีย์พุทธคยาอันเป็นการสื่อเข้าใกล้พระพุทธเจ้าด้วย พร้อมกันนี้ได้เห็นภาพการบวชสามเณรของบุตรหลานที่เป็นคนเชื้อสายเดียวกับคนไทย(บางส่วน)ด้วย


              วันที่ 18 เม.ย.2558 เฟซบุ๊ก"วัดไทยพุทธคยา 935 งานเผยแผ่พระธรรมทูตอินเดีย-เนปาล"ได้โพสต์ภาพและข้อความโดยสรุปว่า "พระเทพโพธิวิเทศ(วีรยทฺโธ)หัวหน้าพระธรรมทูตไทยสาย อินเดีย-เนปาล เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา มอบหมายให้ พระครูนิมิตธรรมภินันท์(หลวงพ่อบุญเลิศ) เป็นอุปัชฌาย์บวชสามเณรภาคฤดูร้อนชาวอัสสัม  โครงการบวชสามเณรภาคฤดูร้อนชาวอินเดียรัฐอัสสัม ของพระอาจารย์สิริชัย ที่ได้มีการจัดบวชมาเป็นเวลาหลายปี ในแต่ละปีจะมีเด็กๆชาวอัสสัมมาของบวชหลายรูป


              ในปีนี้มีเด็กมาขอบวช 51 คน แต่อีก 4 คน มาไม่ทันบวชเพราะรถไฟไม่ยอมวิ่งจึงทำให้ไม่ได้เข้าบวชในครั้งนี้ ทำให้เด็กที่ได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ 47 รูป และจะปฏิบัติธรรมระหว่างวันที่ 18  เมษายน-17 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 โดยทางวัดไทยพุทธคยาจะดูแลน้ำปานะและอาหารเช้าที่อู่น้ำทุกวัน  โดยมีพระธรรมวังสะชาวรัฐอัสสัม พระภิกษุที่ประจำที่วัดไทยพุทธคยาเป็นพระพี่เลี้ยง


              ชาวอัสสัมนั้นคือคนไทอาหมและไทผาเกที่เดิมเป็นคนไทที่อพยพมาจากอาณาจักรเมาหลวงทางตอนใต้ของประเทศจีนข้ามเทือกเขาปาดไก่มาอยู่บริเวณแม่น้ำดาวผี ซึ่งปัจจุบันก็คือแม่น้ำพรหมบุตรของอินเดียนั่นเองก ษัตริย์พระองค์แรกคือพระเจ้าเสือก่าฟ้ามีชีวิตอยู่ในช่วง 700 ปีก่อนซึ่งตรงกับช่วงสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในยุคสุโขทัย"


              ได้ติดตามการเคลื่อนไหวคนไทที่รัฐอัสสัมมาระยะหนึ่งทางเฟซบุ๊กและเมื่อตอนที่เดินทางไปแสวงบุญตามสังเวชนียสถาน  4 ตำบลกับคณะนิสิตปริญญาโทสันติศึกษา มจร ได้สัมผัสกับพระที่เป็นคนไท  ทำให้รู้สึกว่าคนไทที่รัฐอัสสัมมีความสัมพันธ์กับอินเดียมากกว่าประเทศไทย โดยมีคนไทที่รัฐอัสสัมเข้ามาบวชและจำพรรษาอยู่ที่วัดในประเทศอินเดียหลายรูปและได้พยายามที่จะรื้อพื้นพระพุทธศาสนาในรัฐอัสสัม


              และเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 ที่ผ่านมา องค์ทะไล ลามะผู้นำทางจิตวิญญาณของชาวทิเบตได้เดินทางไปที่รัฐอัสสัมประเทศอินเดีย โดยประทับที่เมืองกุวาหตี (Guwhati) เป็นเวลา 5 วัน ร่วมงานเทศกาลศิลปะชาวธิเบต เพราะรัฐอัสสัมนี้มีคนชาติพันธุ์ไทหรือไตอาศรัยอยู่คือชาวไทอาหมมากพอสมควร นั่นก็แสดงว่าองค์ทะไล ลามะให้ความสำคัญกับรัฐอัสสัม  ทั้งนี้สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ http://www.komchadluek.net/detail/20140206/178351/ทะไลลามะเยือนถิ่นไทอาหมแนะสู้แบบสันติวิธี.html


              ขณะนี้คนไทอาหมกำลังรื้อฟื้นภาษาไทอาหมขึ้นมาใหม่เพราะว่าไม่ได้ใช้มาเป็นเวลานานหลายร้อยปีแล้ว  ซึ่งภาษาไทอาหมนั้นมีรากศัพท์ส่วนใหญ่ก็คล้ายกับคำไทย ขณะที่คนไทพาเกยังคงรักษาภาษาของต้นอยู่จนถึงทุกวันนี้ 


 การที่มีบุตรหลานคนไทที่รัฐอัสสัมเข้ามาบวชเช่นนี้คงจะทำให้พระพุทธศาสนาเจริญงอกงามในรัฐอัสสัมอย่างแน่นอน เพราะสามเณรคือหน่อเนื้อเหล่ากอ "ผู้สงบ สันติ"


https://www.komchadluek.net/news/lifestyle/204918


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต

วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ "ปารายนวรรค...