วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ศาลอาญาพระโขนงเปิดอบรม "โมเดลไกล่เกลี่ยแนวพุทธ"



 แก่ผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศาลอาญาพระโขนงกว่า 50 รูป/คน พร้อมตั้งคณาจารย์ที่เป็นพระภิกษุหลักสูตรสันติศึกษา มจร ร่วมเป็นผู้ไกล่เกลี่ย 4 รูป


เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2563 ที่ศาลอาญาพระโขนง กรุงเทพมหานคร พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) รับนิมนต์จาก ดร.เชวง ชูศิริ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาพระโขนง เป็นวิทยากรนำเสนอกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามแนวพุทธให้แก่ผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศาลอาญาพระโขนง จำนวนกว่า 50 รูป/คน  

พระมหาหรรษากล่าวว่า กระบวนการไกล่เกลี่ยแนวพุทธมีจุดเด่นที่เน้นให้ผู้ไกล่เกลี่ยได้ไกล่เกลี่ยกับตัวเอง เพือจัดการความขัดแย้งเพื่อให้เกิดสันติภาพของตัวเองให้ได้ก่อน หลังจากนั้น จึงเข้าเริ่มต้นสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างคู่ความทั้งโจทย์และจำเลยที่กำลังเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง

 


"กระบวนการไกล่เกลี่ยแนวพุทธจึงเริ่มต้นจากพัฒนา และฟื้นฟูสติของคู่ความ เพื่อให้เกิดการตื่นรู้  และเท่าทันพร้อมทั้งจัดการอารมณ์ (Emotion Management) ทั้งชอบไม่ชอบ และโกรธเกลียดระหว่างกันในขณะที่กำลังเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง" พระมหาหรรษา กล่าวและว่า 

ก่อนเริ่มการไกล่เกลี่ยจึงมีการสวดมนต์และแผ่เมตตาร่วมกันระหว่างคู่ความก่อน เมื่ออารมณ์เย็นลงจะทำให้คู่ความฟังกันมากขึ้น จนสามารถค้นหาความต้องการที่แท้จริง จนพบทางออกแล้วนำไปสู้การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีงามผ่านการขอโทษจากหัวใจ 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลอาญาพระโขนงได้แต่งตั้งคณาจารย์ที่เป็นพระภิกษุจากหลักสูตรสันติศึกษา มจร ประกอบด้วยพระมหาหรรษา พระมหาดวงเด่น ฐิตญาโณ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท และพระมหาวีรศักดิ์ อภินนฺทเวที  ขณะนี้ได้ช่วยทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยคู่ความสำเร็จไปแล้วเกือบ 10 คดี นับเป็นศาลแรกที่แต่งตั้งพระภิกษุเข้าไปช่วยไกล่เกลี่ยคดีอาญาในศาล 


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"เจ้าคุณประสาร"มองคุณสมบัติของรัฐมนตรีที่จะมากำกับดูแลสำนักพุทธฯ

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือเจ้าคุณประสาร เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึงกรณีที่นายเศรษฐา ...