วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สภา มธ.แถลงเชื่อมั่นแนวทางหารือแบบสันติวิธี - กมธ.ชี้ปฏิรูปยธ.-แก้รธน.สร้างสมานฉันท์


เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2563 สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มีการประชุมเพื่อรับฟังรายงานของคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ในวันที่ 10 สิงหาคม 2563 โดยสภามหาวิทยาลัยได้มีข้อสรุปจากการประชุมดังนี้ 1. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยืนยันในจุดยืนของการเป็นสถาบันการศึกษาที่สนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 2. มหาวิทยาลัยยอมรับในสิทธิเสรีภาพและการแสดงออกของนักศึกษาภายใต้ขอบเขตแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย 3. คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอรับไปดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงทั้งหมดอย่างรอบด้านเพื่อชี้แจงให้สังคมได้ทราบต่อไป4. มหาวิทยาลัยจะพยายามป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงในมหาวิทยาลัย โดยเชื่อในแนวทางการปรึกษาหารือกันแบบสันติวิธี 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แนวคิดสันติวิธีหลักๆมี  3 สำนักคือ สำนักสันติวิธีในฐานะเป็นเครื่องมือจัดการความขัดแย้ง  สำนักสันติวิธีในฐานะเป็นฐานของการเรียกร้องความต้องการโดยปราศจากความรุนแรง และสำนักพุทธสันติวิธี ที่เน้นการสร้างสันติภายใน เพราะมีหลักธรรมที่ตรงกับธรรมนูญของยูเนสโกที่ว่า "สงครามและสันติภาพเกิดขึ้นที่ใจของมนุษย์"  เป็นสำคัญ และพระพุทธเจ้าตรัสว่า "นาหํภิกฺขเวโลเกน วิวทามิ"  แปลความว่า "ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตย่อมไม่ขัดแย้งกับชาวโลกแต่ชาวโลกย่อมขัดแย้งกับเรา ธรรมวาทีย่อมไม่ขัดแย้งกับใครๆ ในโลก"    

เพราะหากทุกคนรักสงบมีความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ก็ไม่จำเป็นต้องทำ "สิทธิสัญญาสงบศึก"   เพราะทำสนธิสัญญาสงบศึกแล้วพากันละเมิด จึงควรหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ก่อให้เกิดสงคราม ด้วยการเริ่มจัดการกับสงครามภายในใจของเราเอง ดับสงครามภายใน เพื่อป้องกันสงครามภายนอก"   และรู้จักเลือกคบกัลยาณมิตร สร้างเครือข่ายพระพุทธศาสนามีพุทธธรรมอยู่หมวดหนึ่ง ชื่อว่า "มงคลสูตร"  คือเคล็ดลับการสร้างความสุขความเจริญ  สูตรแห่งความสำเร็จข้อแรกของพระพุทธเจ้าคือ "ต้องหลีกเลี่ยงคนพาล สังสรรค์บัณฑิต"   แล้วโลกให้คำสัญญากับการสร้างสันติภาพภายในมากน้อยเพียงใด

อย่างไรก็ตามสามารถสรุปแนวคิดสันติวิธีในการแก้ปัญหาความขัดแย้งดังนี้ (1) การจัดการความขัดแย้งโดยวิธีทางการทูตเชิงสันติ สามารถจำแนกสันติวิธีตามแนวนี้ได้  4 วิธี กล่าวคือ การเจรจา การไต่สวน   การไกล่เกลี่ย  และการประนีประนอม (2) การจัดการความขัดแย้งโดยวิธีทางกฎหมายเชิงสันติ  สามารถจำแนกสันติวิธีตามแนวนี้ได้  3 วิธี กล่าวคือ อนุญาโตตุลาการ กระบวนการทางศาล  และกระบวนการออกกฎหมาย   (3) ทางเลือกเชิงสันติอื่น ๆ  ตามที่มักจะมีการใช้ในโลกนี้ ประกอบด้วย การหลีกเลี่ยง หรือการถอนตัว การเผชิญหน้า  การโน้มน้าว   การสนับสนุน การบังคับและการผลักดัน การโอนอ่อนผ่อนตามหรือทำให้ราบรื่น  การร่วมมือกัน หรือการแก้ปัญหา และการมีส่วนรวม ทั้งนี้สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ในหลักสูตรสันติศึกษาตามมหาวิทยาลัยต่างๆ 

กมธ.ชี้ปฏิรูปยธ.-แก้รธน.สร้างสมานฉันท์ 

นายชวลิต วิชยสุทธิ์ รองประธานกรรมาธิการกฎหมายหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยนชน สภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการศึกษาการปฏิรูปทบทวนและแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กล่าวถึงข้อสังเกตในรายงานของคณะกรรมาธิการ มีทั้งหมด 9 ข้อประกอบด้วย การให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนและแก้ไขรัฐธรรมนูญ การนิโทษกรรมนักโทษคดีการเมือง และอาญาที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม รักษาบรรยากาศความปรองดองสมานฉันท์ การให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับสื่อ เรื่องการเยียวยา การแสดงความรับผิดชอบด้วยการขออภัยต่อสังคม ข้อสังเกตเกี่ยวกับกองทัพ และข้อสังเกตเรื่องการชุมนุมและสิทธิการชุมนุม          

ดังนั้น สำคัญคือ ประเทศไทยกำลังได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์โควิด-19 หากประชาชนไม่มีความสามัคคีปรองดอง จะไม่สามารถผ่านวิกฤตินี้ไปได้ อย่างไรก็ตาม กรรมาธิการได้ดำเนินการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองให้สอดคล้องรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศ เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายหลักของรัฐบาล ดังนั้นรัฐบาลสามารถยิบยกผลการศึกษาชิ้นนี้ไปดำเนินการได้ทันที          

นายชวลิต ยังกล่าวว่า ผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการ และอนุกรรมาธิการ ไม่ได้หยิบยกเรื่องการชุมนุมของนักศึกษามาร่วมพิจารณาเนื่องจาก การชุมนุมของนักศึกษาเกิดขึ้นภายหลังจากได้รับความเห็นชอบให้นำรายงานดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร อีกทั้งสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อมารับความคิดเห็นของนักศึกษาโดยเฉพาะอยู่แล้ว นอกจากนี้ รัฐบาลยังสามารถรับข้อเรียกร้องดังกล่าวเองได้โดยตรงด้วย

สภาถกข้อเสนอนิรโทษฯจุดปรองดอง 

ขณะที่รัฐสภามีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พิจารณารายงาน "แนวทางการสร้างความปรองดอง สมาน ฉันท์ของคนในชาติ"  ตามที่คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร เสนอมา มีสาระสำคัญคือ การเสนอแนวทางสร้างความปรองดอง โดยการให้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน หรือแก้ไขรัฐธรรม นูญให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ไม่มีการสืบทอดอำนาจ และการเสนอนิรโทษกรรมเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองตั้งแต่ปี2548-ปัจจุบัน เฉพาะคดีที่มีมูลเหตุจากแรงจูงใจทางการเมือง ไม่รวมคดีอาญา ความผิดตามมาตรา112 และคดีทุจริต โดยเสนอให้ออกเป็นพ.ร.ก.หรือร่างพ.ร.บ. ตลอดจนการเสนอให้กองทัพวางตัวเป็นกลาง ไม่ใช้อิทธิพลกดดันนโยบายรัฐบาล 

ส.ส.ได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับรายงานฉบับดังกล่าว อาทิ นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายว่ารายงานเล่มนี้แทบไม่มีประโยชน์ ตราบใดที่ฝ่ายบริหาร กองทัพ ยังไม่เข้าใจต้นเหตุปัญหา แบ่งประชาชนเป็นคนชังชาติกับคนรักชาติ โดยเฉพาะผบ.ทบ.ควรทบทวนตัวเอง เรื่องวุฒิภาวะที่พูดเหน็บแนมประชาชน สะท้อนจิตสำนึกที่ต้องปรับปรุง ผู้มีอำนาจควรหยุดยัดเยียดความเกลียดชังให้เกิดความแตกแยกไปมากกว่านี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต

วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ "ปารายนวรรค...