เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2563 นายสุชาติ สวัสดิ์ศรี ศิลปินแห่งชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ไม่ลืมประวัติศาสตร์ เท่าที่ผมทราบ ต้นทางของคำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" นั้นมาจาก "คานธี"
ทั้งนี้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่รัชกาลที่ 9 มีความคล้ายคลึงกัน กับ แนวคิดการพึ่งพาตนเองของมหาตมะ คานธี ที่ผ่านมามีการเปรียบเทียบ 2 แนวคิดนี้ในเวทีระดับประเทศหลายเวที และพบว่าแม้จะมีแนวคิดคล้ายกัน แต่มาจากพื้นฐานที่ต่างกัน
แนวคิดทางเศรษฐกิจของคานธี ประกอบด้วยแนวคิดหลัก 6 ประการ ดังต่อไปนี้
1. ระบบเศรษฐกิจจะต้องมีคุณธรรมกำกับ
2. แนวคิดเรื่องการจำกัดความต้องการ
3. แนวคิดเรื่องการใช้แรงงานเพื่ออาหาร
4. แนวคิดเรื่องการกระจายผลผลิตและเทคโนโลยี
5. แนวคิดเรื่องชุมชนและสังคมพึ่งตนเอง
6. แนวคิดเรื่องทรัสตีชิพ
ขณะที่ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้
1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
3. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น