วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2563

รองโฆษก ปชป.แนะรัฐทำแคมเปญรณรงค์เข้มข้นลดการระบาดโควิด-19



วันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2563   นางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวว่าจากการที่ตนเองได้ติดตามการสื่อสารข้อมูลของภาครัฐในประเด็นที่มีความเกี่ยวโยงกับสถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด-19 มาอย่างต่อเนื่องพบว่าหลังจากมีการตั้ง “ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19” ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานฯ และมีการแต่งตั้งโฆษกฯ ประจำเพื่อรายงานสถานการณ์ความคืบหน้า พบว่าการสื่อสารข้อมูลเป็นไปอย่างมีระบบมากขึ้น มีการให้ข้อมูลสม่ำเสมอ ทันท่วงที ช่วยลดความกังวล สงสัย แบ่งประเด็นที่ชัดเจนว่าใคร พูดอะไร ในรูปแบบ One Single Message แตกต่างจากก่อนหน้านี้ที่ประชาชนมีความสับสนเรื่องข้อมูลข่าวสารมาก เพราะมีผู้พูดหลายคนและข้อมูลไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 

แต่อย่างไรก็ตามในฐานะที่เป็นผู้มีประสบการณ์ทำงานด้านสื่อสารการตลาด ส่วนตัวนางดรุณวรรณ ยังมีความเห็นว่า ประชาชนยังขาดการตระหนักถึงความสำคัญของการอยู่บ้าน เพื่อช่วยในการหยุดการแพร่กระจายของเชื้อ และพบว่าประชาชนบางส่วนยังมีการรวมตัวกันในที่ต่าง ๆ ตามข่าวที่ปรากฏผ่านสื่อมาอย่างต่อเนื่อง จึงมีข้อเสนอให้รัฐจัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งมาจัดทำแคมเปญการสื่อสารแบบบูรณาการเพื่อสร้างการตระหนักอย่างทั่วถึง และครอบคลุมในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เพราะปัจจุบันสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ได้แพร่กระจายไปทั่วแล้ว การสื่อสารจึงต้องเพิ่มระดับความเข้มข้นมากขึ้นกว่าเดิม 

ดังนั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการสื่อสารอย่างทั่วถึงและครอบคลุม จึงเสนอให้รัฐทำแคมเปญการรณรงค์ในเชิงการป้องกัน ที่มากไปกว่าการแถลงข่าวเพื่อเป็นการอัพเดทสถานการณ์รายวัน โดยแยกเป็นรายประเด็นที่สำคัญ ๆ อาทิ การใส่ Mask ทุกครั้งในการออกจากบ้านและหากจำเป็นต้องไปอยู่ในพื้นที่สาธารณะ การใช้หน้ากากผ้าเพื่อใช้ในการป้องกัน การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) การล้างมือบ่อย ๆ ด้วยเจลแอลกอฮอล์เพื่อฆ่าเชื้อ การให้ความร่วมมือในการอยู่บ้าน ไม่ออกจากบ้านหากไม่จำเป็น รวมถึงการปฏิบัติตัวเมื่อต้องอยู่ในที่สาธารณะ พื้นที่ต่าง ๆ เช่นในลิฟท์ ในรถโดยสารสาธารณะ เพื่อไม่ให้ตัวเองเป็นผู้แพร่เชื้อหรือรับเชื้อโดยไม่รู้ตัว 

ทั้งนี้สามารถรณรงค์โดยการใช้ผู้มีอิทธิพลทางความคิด (Influencer) ในแขนงต่าง ๆ เช่นศิลปิน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นักกีฬาที่มีชื่อเสียง มาช่วยรณรงค์เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและนำไปสู่การปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง มีการผลิตสื่อที่เข้าใจง่ายเพื่อเผยแพร่ในช่องทางต่าง ๆ แบบบูรณาการครบทุกประเภทเพื่อให้เข้าถึงคนทุกกลุ่มแบบอย่างต่อเนื่อง ทั้งสื่อแบบดั้งเดิม คือโทรทัศน์ วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์  สื่อใหม่เช่นสื่อออนไลน์ เครือข่ายโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ทีวีดิจิตัล เป็นต้น รวมถึงสื่อที่จะช่วยในการเข้าถึงคนในพื้นที่ห่างไกลได้อย่างมีประสิทธิภาพที่หลายคนอาจมองข้ามไป เช่น เสียงตามสายในชุมชน วิทยุชุมชน และบางครั้งอาจต้องใช้การสื่อสารทางตรงผ่านสื่อบุคคลที่เป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจเช่นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ เป็นผู้ให้ข้อมูล เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการร่วมมือกันกับภาครัฐเพื่อช่วยลดการระบาด  

ทั้งนี้ หากรัฐมีการสื่อสารข้อมูลอย่างครอบคลุมและทั่วถึง รวมถึงใช้การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในภาวะวิกฤตที่เดินมาอย่างถูกทางแล้ว และมีการจัดทำแคมเปญการรณรงค์เพิ่มเติมเพื่อสร้างการตระหนักรู้ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ก็จะมีส่วนช่วยลดอัตราการแพร่ระบาดของเชื้อได้เป็นอย่างดี และนำไปสู่การลดความเข้มข้นของการใช้มาตรการเพื่อควบคุมโรคได้ตามลำดับ

ในขณะเดียวกันยังอยากฝากให้บุคคลสาธารณะ ที่ยังจำเป็นต้องปฏิบัติงานในพื้นที่ต่าง ๆ ช่วยกันเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตัวเพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อด้วยเช่นกัน เช่น สื่อมวลชนที่ทำหน้าที่รายงานข่าวเหตุการณ์ในพื้นที่สาธารณะ นักการเมือง ข้าราชการ หรือผู้ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่และมีการเผยแพร่ข่าวสารผ่านสาธารณะไปสู่สายตาประชาชน

"การณรงค์โดยใช้การสื่อสาร จะมีประสิทธิภาพได้ต้องเกิดขึ้นพร้อมกันทั้งสองส่วนคือ บุคคลสาธารณะที่ต้องปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่าง และประชาชนที่ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญในการร่วมมือกับรัฐ ขอให้ทุกคนเสียสละความสะดวกสบาย เพื่อตนเองและส่วนรวมในช่วงที่ประเทศชาติมีวิกฤต เพื่อช่วยให้ผ่านพ้นสถานการณ์ที่เลวร้ายนี้ไปได้โดยเร็ววัน"  นางดรุณวรรณ กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพลง: อัมพสักขรเปตวัตถุบอกธรรม

  เพลง: เปรตบอกธรรม ทำนอง: เพลงช้า แนวธรรมะสะเทือนใจ (ท่อน 1) กลางเวสาลี ณ เมืองใหญ่ พระอัมพสักขระตรัสถามไถ่ เปรตเปลือยผู้ทุกข์ทน เหตุใดเล่า...