วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

"วราวุธ"โชว์ผลงาน 1 ปี 4 ไตรมาส ผ่านคลิปรวดเดียวครบจบใน 4 นาที

  

เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2563 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประธานคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์พรรคชาติไทยพัฒนา โพสต์วิดีโอความยาว 4.57 นาที ผ่านเฟซบุ้คเพจ TOP Varawut - ท็อป วราวุธ ศิลปอาชา บอกเล่าผลงานในโอกาส ครบรอบวาระ 1 ปี ที่เข้าทำงานในฐานะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

โดยใวิดีโอ ได้กล่าวถึงการทำงานตลอด 1 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่เข้ารับตำแหน่ง 22 กรกฏาคม 2562 จนถึง 22 กรกฎาคม 2563 ทั้งในด้าน การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม การยกเลิกใช้ถุงพลาสติก เพื่อลดขยะพลาสติกและขยะทะเล การแก้ปัญหาภัยแล้ง อุทกภัย นโยบายด้านการคุ้มครองสัตว์ป่าและผืนป่า เป็นต้น



นายวราวุธ กล่าวในวิดีโอว่า "สวัสดีครับ ผม ท็อป วราวุธ ศิลปอาชา กับเพจ Top Varawut วันนี้ เป็นเวลา 1 ปี พอดีแล้วนะครับ ที่ผมได้เข้ามาทำงานในตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เข้ามาทำงานรับใช้พี่น้องประชาชนและดูแลสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติของประเทศไทย ทีมงานได้ขอให้ผมทำ Challenge โดยการมาเล่าผลงานตลอด 1 ปีที่ผ่านมาให้กับแฟนเพจทุกคนฟัง ภายใต้โจทย์ 1 ปี 4 ไตรมาส เล่าผลงานให้ครบ จบใน 4 นาที เพื่อเป็นบรีฟสั้นๆให้สำหรับพี่น้องประชาชน ที่เพิ่งเข้ามาติดตามกันได้ไม่นาน ให้ได้ทราบว่า พวกเราชาวกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ทำงานอะไรกันไปบ้างในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมานะครับ  พร้อมแล้ว เริ่มกันเลยครับ

ปีที่ผ่านมา ผมเดินทางไปปฏิบัติภารกิจทั้งหมด 42 จังหวัด ตรวจเยี่ยม อุทยานแห่งชาติ 21 แห่ง เขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่า 4 แห่ง รวมระยะทางทั้งหมด 108,500 กิโลเมตร

เราผลักดัน “มาเรียมโปรเจคท์” เป็นมาสเตอร์แพลนเพื่อกำหนดทิศทางนโยบายต่างๆ ในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โครงการสำคัญที่เราตั้งใจมาก ก็คือโครงการ Everyday Say No To Plastic Bags  รณรงค์ยกเลิกใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว ส่งเสริมให้พี่น้องประชาชนหันมาพกถุงผ้า แทนการรับถุงพลาสติก สามารถลดการใช้ถุงพลาสติกไป 25,200 ล้านใบ น้ำหนักรวม 228,300 ตัน เราผลักดันยกร่างกฏหมาย แบนพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง 4 ชนิด ให้หายไปจากเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็น ถุงพลาสติกหูหิ้ว กล่องโฟม หลอดพลาสติก แล้วก็แก้วน้ำพลาสติก ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในปีหน้า

เราดำเนินการจัดเก็บขยะทะเล ร่วมกับเครือข่ายประชาชนชายฝั่ง  48 พื้นที่ 24 จังหวัด เก็บขยะทะเลไปได้กว่า 1,900,000 น้ำหนักรวม 91 ตัน ทำให้สามารถลดอันดับประเทศไทย ที่เป็นประเทศที่ปล่อยขยะลงทะเลมากที่สุด อันดับที่ 6 ของโลก ลดลง มาเหลือ อันดับที่ 10 

เราช่วยเหลือชีวิตเต่าทะเลเกยตื้น ได้ 165 ตัว โลมาและวาฬ 11 ตัว เราปล่อยสัตว์ป่าคืนสู่ธรรมชาติ 36 ชนิด 6,500 ตัว เพาะพันธุ์สัตว์ป่าอีก 27 ชนิด 4,300 ตัว

เราดำเนินคดีบุกรุกป่า ไปแล้ว 2,200 คดี คดีค้าไม้อีก 1,000 คดี ศาลตัดสิน ถึงที่สิ้นสุดแล้ว 652 คดี ตรวจยึดพื้นที่ป่าคืนรัฐได้ทั้งหมด 76,500 ไร่

สำหรับพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมที่ยึดคืนได้  เราปลูกฟื้นฟูไปแล้ว 126,000  ไร่ จัดเตรียมกล้าไม้ 100 ล้านกล้า รณรงค์ให้ประชาชนปลูกป่าไป 17,350,000 ต้น  ส่วนตัวผม ตลอดปีที่ผ่านมาปลูกไปทั้งหมด 65 ต้น เฉลี่ยเดือนละ 5 ต้น

เราสนับสนุนประชาชนให้มีส่วนร่วมดูแลป่า ด้วยการจัดตั้งป่าชุมชนไป 11,300 แห่ง พื้นที่รวม 6,300,000 ไร่ จัดที่ดินทำกินในเขตป่าให้ประชาชน 52,000 ราย เนื้อที่ 687,000 ไร่ ส่งเสริมการปลูกไม้มีค่าไปแล้ว 56,200 ไร่ เพิ่มพื้นที่ป่าเศรษฐกิจอีกเกือบ 27 ล้านไร่

ด้านปัญหาภัยแล้ง เราช่วยเหลือเร่งด่วน ด้วยการสูบน้ำ 100 ล้านลูกบาศก์เมตร ให้พื้นที่เกษตรกรรม 200,000 ไร่ 400,000 ครัวเรือน และส่งน้ำสะอาดเพื่ออุปโภค-บริโภคอีก 31 ล้านลิตร ให้กับ 800,000 ครัวเรือน

ในระยะยาว เราพัฒนาแหล่งน้ำผิวดิน นอกเขตชลประทาน 600 แห่ง ปริมาณน้ำเก็บเพิ่มขึ้น 242 ล้านลูกบาศก์เมตร ช่วยพื้นที่เกษตรกรรมเพิ่มอีก 500,000 ไร่ เพื่อประชาชน 155,000 ครัวเรือน

เราเจาะบ่อบาดาล 2,000 แห่ง ในพื้นที่ภัยแล้ง ได้น้ำ 130 ล้านลูกบาศก์เมตร ช่วยประชาชนได้ 180,000 ครัวเรือน

เราเตรียมรับมือหน้าฝนปีนี้ ด้วยการฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งน้ำ 145 แห่ง เพื่อเก็บน้ำฝนปีนี้ ไว้ใช้ในปีถัดไป ซึ่งจะเพิ่มปริมาณน้ำกักเก็บได้อีก 160 ล้านลูกบาศก์เมตร ครอบคลุมพื้นที่การเกษตรอีก 186,000 ไร่ ประชาชนได้ประโยชน์เพิ่มอีก 70,000 ครัวเรือน

ในช่วงนำ้ท่วมปี 62 จากพายุโพดุล เราจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือใน 28 จังหวัด ช่วยชีวิตสัตว์เลี้ยง หมา แมว ที่ติดอยู่ในพื้นที่ ให้ได้มาพบเจ้าของหลังน้ำลด เราสูบน้ำออกจากพื้นที่นำ้ท่วมไป 16 ล้าน ลูกบาศก์เมตร แจกจ่ายน้ำสะอาดให้ผู้ประสบภัย 5 ล้านลิตร

เรานำหลักการ Universal Design มาเพื่อพัฒนาพื้นที่อุทยานแห่งชาติเป็นครั้งแรก เพื่อให้คนชรา คนพิการ ที่ต้องใช้รถเข็น สามารถเที่ยวชมธรรมชาติได้เหมือนคนทั่วไป เราปรับปรุงไปแล้ว 2 ที่ คือ น้ำตกเจ็ดสาวน้อย และ เขาใหญ่ และกำลังจะทำเพิ่มอีกในหลายแห่ง

เรานำแนวคิดเรื่องการจำกัดปริมาณนักท่องเที่ยว มาใช้เป็นกฏระเบียบ นำเทคโนโลยีมาใช้ในระบบการจองล่วงหน้า ผ่านแอพ QueQ สำหรับการท่องเที่ยวอุทยาน เพื่อควบคุมปริมาณนักท่องเที่ยว ไม่ให้ล้นเกินกว่าที่อุทยานจะรับไหว ที่สำคัญต่อไปนี้เราจะปิดอุทยานแห่งชาติทุกแห่ง เฉลี่ยปีละ 3 เดือน ให้ธรรมชาติได้พักฟื้นฟูตัวเอง

สืบเนื่องจาก Covid-19 เราเปิดโครงการจ้างงานให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ ทั้งหมด 16,500 คน งบประมาณ 445 ล้านบาท เพื่อมาช่วยงานด้านการฟื้นฟูป่าและแหล่งน้ำทั่วประเทศ

ด้านการแก้ปัญหาไฟป่าภาคเหนือ เราจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้า ระดมกำลังเข้าพื้นที่ 5,000 นาย จัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือประชาชน 805 เครือข่าย สามารถลดปริมาณ Hot Spot ลง ร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

เรื่องปัญหา Climate Change ประเทศไทยเรา ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ 58 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ ลดลง 16 % เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ไป 1 เท่าตัว ในปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้เรายังเร่งรัดการออกกฏหมายลูก 244 ฉบับ เพื่อรองรับและขับเคลื่อน นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 

เราได้พัฒนาฐานข้อมูล Big Data ทั้งเรื่องพื้นที่สีเขียวของประเทศ สถานการณ์ PM2.5 ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง และศักยภาพทรัพยากรน้ำในพื้นที่ภัยแล้ง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนดำเนินงานในปีถัดไป ให้สามารถดำเนินงานแต่ละโครงการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่างบประมาณจากภาษีประชาชน ที่ลงทุนไปให้ได้มากที่สุดครับ"


https://www.facebook.com/TOPVarawut/

https://web.facebook.com/TOPVarawut/videos/642663156344340/?notif_id=1596013227731898&notif_t=page_post_reaction

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์

  วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ สุน...