วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2564

"อธิบดี พช." ควงผู้นำชุมชน "เอามื้อสามัคคี" ปลูกไม้ 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง เสริมแกร่งศก.ฐานราก



"อธิบดี พช." ลุย เอามื้อสามัคคี ปลูกไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง นำชุมชนพัฒนาพื้นที่ เสริมแกร่งเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนให้ยั่งยืน

วันที่ 30 มกราคม 2564  นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ร่วมกิจกรรม "เอามื้อสามัคคี"  ในโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” กิจกรรมเอามื้อสามัคคี โดยการปลูกต้นไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง จำนวน 360 ต้น ประกอบด้วย ต้นตาลโตนด ยางนา ตะเคียนทอง พะยอม กันเกรา ประดู่ มะฮอกกานี ไม้แดง และต้นอ้อย ในพื้นที่ 9 ไร่ พร้อมทั้งนายนิวัติ น้อยผางรองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และนายเสน่ห์ บุญสุข ที่ปรึกษาโดยมีนายวัฒนา เดียวสุรินทร์ พัฒนาการจังหวัดชัยนาท เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน และนายณรงค์ สังขะโห ประธานศูนย์ศึกษายางนาแก้หนี้แก้จน ให้การต้อนรับ ณ สวนป่า ท้าวอู่ทอง ตำบลหันคา อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท

ในการนี้ นายสุทธิพงษ์ กล่าวขอบคุณทุกท่านที่เข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครสมานสามัคคีของคนชุมชน ในกิจกรรม "เอามื้อสามัคคี"  ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ "โคก หนอง นา โมเดล"  โดยการทำดีด้วยการปลูกไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ซึ่งเป็นการน้อมนำในแนวทางตามหลักทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ที่พระองค์ทรงพระราชทานให้คนไทยและความมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน เป็นการจัดการพื้นที่อย่างเหมาะสม โดยหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ เนื่องจากในวิกฤตการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate chang) จากพฤติกรรมของมนุษย์ในการเบียดเบียนธรรมชาติเป็นอย่างมาก เราควรร่วมกันลดโลกร้อน โดยการใช้ถังขยะเปียก จากเศษอาหาร เพื่อเป็นปุ๋ยบำรุงดิน ในพื้นที่ตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงพระราชทานเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่มาให้พี่น้องประชาชนได้มาปฏิบัติในการดำรงชีวิตประจำวันให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถพึ่งพาตนเองได้  โดยเฉพาะปัจจัย 4 ในเรื่องอาหาร อาหารที่ปลอดภัยต่อการดำรงชีวิต เช่น การปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืนแก่พี่น้องประชาชน

นอกจากนี้ ได้ร่วมกันปลูกต้นตาลโตนดหรือโหนด ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ เรียกว่า Licuala spinosa Thunb เป็นไม้สกุลในวงศ์ปาล์ม เป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุยืน 80-100 ปี โตเต็มที่สูงได้กว่า 18- 25 เมตร หรือมากกว่า เริ่มให้น้ำตาล เป็นพืชที่ขึ้นได้บนดินทุกชนิด ทนแล้ง และน้ำท่วมได้ดี ไม่มีผลต่อพืชอื่นๆ รอบข้าง เช่น นาข้าว สวนผัก ซึ่งประโยชน์ของการปลูกต้นตาลนั้นสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด น้ำหวานจากงวงตาล สามารถนำมาเป็นน้ำตาลมะพร้าว ทำเครื่องดื่มที่ เรียกว่าน้ำตาลเมา เนื้อจากผลมีสีเหลืองสามารถใช้แต่งสีอาหาร อาทิ ขนมตาล ส่วน เมล็ดอ่อน กินเป็นอาหารหวาน ที่เรียกว่า ลอนตาล ใบตาล ก็ยังสามารถ ใช้มุงหลังคา ลำต้น ใช้ทำเสาหรือหลักต่างๆ ได้ นี่คือ ประโยชน์ของต้นตาลที่เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งต้น รวมถึง ต้นยางนา พะยูง ตะเคียนทอง พะยอมกันเกรา ประดู่ มะฮอกกานี และไม้แดง จะเห็นได้ว่า การปลูกไม้ 3 อย่าง แต่ให้ประโยชน์ 4 อย่าง ซึ่งได้ไม้ผลกินได้  ไม้ใช้สอย เช่น ทอผ้าและไม้ฟืน ไว้ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ให้พออยู่ พอกิน พอใช้ จะช่วยให้เกิดการฟื้นฟูระบบนิเวศดินและน้ำให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ ร่มรื่น และสร้างความสมดุลแก่ธรรมชาติอย่างยั่งยืน  

นายวัฒนา เดียวสุรินทร์ พัฒนาการจังหวัดชัยนาท กล่าวว่า ในการจัดกิจกรรมเอามื้อสามัคคีด้วยการปลูกต้นตาล เนื่องจาก โตนด คือ โคลน-ตมหรือดินโคลน เราจะพบตาลโตนด เป็นจำนวนมากในที่ลุ่มต่ำ น้ำท่วมขัง ที่นาข้าว ที่ห้วย หนอง คลอง บึง อย่างชัยนาทและเพชรบุรี ประกอบกับเป็นต้นไม้ที่มีอายุยาวนาน สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตามแนวพระราชดำริ โดยเราจะมีการปลูกต้นตาลโตนด เรียงแถวจำนวน 360 ต้น ในพื้นที่ 9 ไร่ เป็นการปลูกรอบที่ดิน โดยมีระยะห่าง 2 เมตร เพื่อเป็นกำแพงเป็นคิ้ว เป็นจอบ เป็นคันล้อมแห่งธรรมชาติที่งดงาม ในอนาคตเพียง 6 ปีเท่านั้น ในพื้นที่สวนป่าท้าวอู่ทอง ก็จะมีความงดงาม ประกอบด้วย ไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ในอ้อมกอดของต้นตาลโตนด 360 ต้น ซึ่งเป็นรูปแบบการทำเกษตรอินทรีย์และการสร้างชีวิตให้เกิดความยั่งยืน

นายณรงค์ สังขะโห ประธานศูนย์ศึกษายางนาแก้หนี้แก้จน กล่าวว่า  วันนี้ภูมิใจเป็นอย่างมาก ที่มีผู้สนใจเป็นจำนวนมากในการเข้าร่วมกิจกรรมเอามื้อสามัคคี โดยการปลูกไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ท่านได้มีการแนะนำ การเพาะปลูกต้นไม้แต่ละประเภท และมีการแบ่งโซนการปลูก ตามลักษณะของภูมิศาสตร์ เช่น ไม้ประเภทที่ 1 ปลูกในพื้นที่น้ำท่วมหรือพื้นที่ลุ่ม จะเป็นช่วง westland ช่วงรอบๆ คอบเป็นน้ำซึมจากนา จะต้องเป็นไม้ทนน้ำ คือ ต้นยางนา มะฮอกกานี กรันเกรา และตะเคียน ส่วนไม้ที่ 2 ปลูกพื้นที่ดอน ต้นประยูง ประดู่ ต้นค่า และตะเคียง ขึ้นบนและ ไม้ที่ 3 ปลูกคู่กับต้นกล้วยซึ่งนำมาปลูกจำนวน 65 ต้น โดยปลูกหลุมเดียวกัน ให้เป็นพี่เลี้ยงซึ่งกันและกัน ไม้จะกินน้ำจากกล้วย เสมือนแก้มลิง  กล้วยจะมีระยะเวลาอยู่ 3 ปี  โดยวันนี้ได้มีการใส่เชื้อเห็ดในทุกต้นเชื้อเห็ดระโงก ทำให้รากเติบโต แข็งแรง และในปีที่ 2 ก็สามารถนำเห็ดมารับประทานได้ต่อไป และเป็นเรื่องที่น่าดีใจ ที่วันนี้เราได้เตรียมพื้นที่ปลูกป่า ด้วยต้นไม้ตาลโตนด ซึ่งได้รับคำแนะนำจากท่านอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และในส่วนการปลูกต้นตาล ตาลโตนด จะปลูกรอบพื้นที่ทั้งหมด ระห่าง 2 เมตร แถวเดียว โดยให้ลึก 10 เซนติเมตรขึ้นไป โดยที่ห้ามให้ปลายหน่อหัก(จาวตาล) และปลูกที่ดีที่สุดใช้ระยะเวลา1 เดือน และงอกในดินอีก 6 เดือน เพื่อให้ต้นตาลโตนดมีความเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี ถือว่า ต้นตาลโตนดเป็นราชาแห่งท้องทุ่ง

นายสุทธิพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า "การเอามื้อสามัคคี เป็นกิจกรรมต้นแบบที่แสดงออกซึ่งความร่วมมือร่วมใจที่ดีงาม เช่นเดียวกับการลงแขกตามประเพณีดั้งเดิมของคนไทยมาเป็นกลวิธีในการขับเคลื่อน เพื่อประสานความสามัคคี เชื่อมโยงภาคีเครือข่ายต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน น้อมนำตามรอยศาสตร์พระราชา เพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) อย่างกลมกลืน เพราะมีเป้าหมายปลายทางที่สอดคล้องกัน ต่างมุ่งพัฒนาและสร้างความสมดุลในมิติสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลดีถึงการวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนให้แข็งแกร่ง  ทั้งนี้เชื่อมั่นว่าหากทุกครัวเรือนร่วมลงมืออย่างจริงจัง ความมั่นคง พออยู่ พอกิน พอใช้ และพอร่มเย็น ย่อมเกิดขึ้นได้ ดังบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียงตามศาสตร์พระราชา ชุมชน ท้องถิ่นจะเกิดสุขอย่างยั่งยืน มีพลังที่เข้มแข็ง พร้อมรับมือกับทุกสภาวการณ์ เป็นรูปธรรมดังคำกล่าวที่ว่า “แก้ได้ หายจน ชีวิตมั่นคง ครอบครัวมั่งคั่ง ชุมชนยั่งยืน” และเชิญชวนทุกท่านร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อมและน้อมนำหลักของพระองค์ท่านมาปฏิบัติ พร้อมร่วมรณรงค์เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตต่อไป อธิบดีพช. กล่าว


นักวิจัย"มจร"ขอความชัดเจน คำว่า วารสาร" ที่มีคุณภาพกับเป็นที่ยอมรับ" จาก "กพอ." ต่อเกณฑ์ตำแหน่งวิชาการใหม่

 


วันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2564  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่ 



พระมหาเกรียงศักดิ์ อินฺทปญฺโญ,ดร. นักวิจัยสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)  กล่าวถึงเรื่องเกณฑ์ใหม่ อว . ว่า ประกาศของ กพอ. สำหรับการร่างเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการระดับ ผศ. รศ. และ ศ. โดยไม่จำเป็นต้องตีพิมพ์ในวารสารที่อยู่ใน ฐาน TCI แต่เปิดกว้างให้ตีพิมพ์ในวารสารใดๆ ก็ได้ที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการของสาขานั้นๆ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง

จากประกาศ ผู้เขียนมีคำที่พึงพิจารณาอยู่ สองคำ คือ "วารสารที่มีคุณภาพ" และ "วารสารเป็นที่ยอมรับ" สองคำนี้ ต้องดูว่า กพอ. จะมีเกณฑ์อะไรที่บ่งบอกถึงวารสารคุณภาพ และเป็นที่ยอมรับ.  ซึ่ง ณ ปัจจุบัน มี TCI ที่พยายายามทำให้ชัดเจนเกี่ยวกับคุณภาพและการยอมรับในวารสารไทย แม้ยังมีข้อสงสัยในบางประเด็น โดยเฉพาะการพิจารณาคุณภาพวารสารในบริบทสังคมไทย

คุณภาพวารสารและการยอมรับ ณ ขณะนี้ ขึ้นอยู่กับว่าใครคือผู้กำหนด ใครคือผู้พิจารณา ที่ผ่านมา กพอ.ระบุให้ TCI เป็นผู้กำหนดเบ็ดเสร็จว่าวารสารใด มีคุณภาพและได้รับการยอมรับ  แต่คราวนี้ กพอ.เปิดกว้างให้มีผู้กำหนด "คุณภาพวารสาร" ซึ่งยังไม่ชัดว่าใครหรืออย่างไร? ซึ่งต้องรอระเบียบที่คงมีออกมาให้เห็นกันต่อไป

เมื่อมีการเปิดกว้างให้ผู้ชี้ขาด คุณภาพวารสาร คำถามคือ หน่วยงานเหล่านั้น จะสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและตรวจสอบคุณภาพวารสารได้อย่างไร ให้เป็นที่ยอมรับ เป็นไปได้หรือไม่ที่แต่ละมหาวิทยาลัย หรือ เครือข่ายมหาวิทยาลัย จะสามารถพัฒนาคุณภาพวารสารตนเองได้ โดยบูรณาการกระบวนการทำงานจาก TCI หรือกระบวนการพัฒนาคุณภาพวารสารจากฐานข้อมูลวารสารอื่นๆ พร้อมทั้งมีคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพวารสารด้วยตนเอง โดยมี ตัวชีวัดทางสังคมวิชาการ มาเป็นเกณฑ์ตัดสินถึงคุณภาพอีกชั้นหนึ่ง คือ ค่า Citation 

การกระจายผู้ตัดสินคุณภาพสู่มหาวิทยาลัย หรือเครือข่ายมหาวิทยาลัย ภายใต้ผู้ตัดสินใหญ่คือสังคมวิชาการ จะเป็นการทำงานในรูปแบบการกระจายผู้พิจารณาคุณภาพวารสารและจะเกิดบรรยากาศการเรียนรู้การพัฒนาคุณภาพวารสารในวงกว้างมากขึ้น

ขอบคุณ TCI ที่จุดประกายการพัฒนาวารสารไทย ขอบคุณความห่วงใย จาก กพอ.ต่อความหลากหลายทางวิชาการและการพัฒนาสังคมด้วยงานวิชาการ

"พระชัยชนะ" ทุบตู้บริจาคช่วยผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด จ.สมุทรสาคร


  

        เมื่อเวลา 9:30 น. วันที่ 30 ม.ค. ที่ วัดใหม่ชัยชนะ บ้านดอนหันโนนหินแห่ ต.โนนสะอาด อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น พระอาจารย์ชัยชนะ ภูริญาโณ เจ้าอาวาสวัดใหม่ชัยชนะ พร้อมด้วยญาติติธรรม และคณะศิษย์ยานุศิษย์ จัด "โครงการเราจะไม่ทิ้งกันและกัน" เพื่อช่วยเหลือผู้ถูกกักตัว กักบริเวณ ที่ประสบปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 โดยพระอาจารย์ชัยชนะ ได้ให้ ลูกศิษย์ ทำการทุบตู้บริจาค โครงการเราจะไม่ทิ้งกันและกัน ได้ยอดเงินบริจาค 22,521 บาท เพื่อนำไปสมทบในการจัดซื้อ เครื่องอุปโภคบริโภค เพื่อนำไปแจกจ่าย ให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ จากโรค covid-19 ดังกล่าว

          พระอาจารย์ชัยชนะ ภูริญาโณ เจ้าอาวาสวัดใหม่ชัยชนะ กล่าวว่า ขอเจริญพรไปยังญาติธรรม และคณะศิษย์ยานุศิษย์ วัดใหม่ชัยชนะทุกคน วันนี้ถือว่าเป็นวันหนึ่ง ที่ทางคณะศิษย์ยานุศิษย์ และญาติติธรรม พระเดชพระคุณ หลวงปู่มหาบุญทัน บุญญทันโต ได้ร่วมกันกับพี่น้องประชาชน เพื่อรวมพลังกายพลังใจ เพื่อทำถุงยังชีพจำนวน 2,000 ชุด เพื่อช่วยเหลือ ประชาชนที่โดนกักตัวหรือ ที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19

          ดังนั้นทางอาตมา และคณะศิษย์ยานุศิษย์ พร้อมด้วยญาติธรรม ได้ร่วมกันเพื่อส่งแรงใจ เพื่อส่งกำลังใจ ไปช่วยเหลือในเบื้องต้น และเป็นขวัญกำลังใจ เพื่อญาติธรรมทุกคน ที่ กำลังประสบ เจอสภาวะช่วงระบาดของโควิด -19 พระอาจารย์ขอเป็นกำลังใจให้ประชาชนทุกคน ขอให้ทุกคนจงอดทน ขอให้ทุกคนจงต่อสู้ ขอให้ทุกคนผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปให้ได้ และญาติมิตรธรรมทั้งหลายก็จะรวมใจไปช่วยเหลือ

          ในเบื้องต้น จะนำถุงยังชีพชุดแรกไปยังจังหวัดสมุทรสาคร โดยส่งไปถึงเช้าในวันที่ 2 กุมภาพันธ์นี้ และพระอาจารย์ก็จะได้นำถุงยังชีพส่วนที่เหลือไปยังจังหวัดสมุทรปราการ ,จังหวัดลพบุรี และอีกหลายๆจังหวัด ที่เจอสภาวะการณ์ เช่นนี้ บางคนก็ไม่มีงานทำ บางคนถูกกักตัว บางคนถูกกักบริเวณ ในสภาวะเช่นนี้ก็ค่อนข้างลำบาก

          พระอาจารย์จึงอยากขอเชิญชวนญาติพี่น้อง ทุกคนทุกหมู่เหล่า ได้มาแสดงถึงความห่วงใย ให้ทุกคนร่วมบริจาค เพื่อช่วยเหลือเพื่อนยามยาก โดยผ่านโครงการนี้ "โครงการเราจะไม่ทิ้งกันและกัน" พระอาจารย์เชื่อว่าคนไทยมีน้ำใจดีและมีความช่วยเหลือ ในสภาวะที่ เดือดร้อนจึงอยากจะขอกำลังใจจากทุกคน และจึงขอเชิญชวนญาติติธรรมทุกคน ทั่วประเทศ มารวมพลังกันอีกครั้งหนึ่ง เพื่อช่วยเหลือผู้ที่กำลังประสบ ปัญหาเกี่ยวกับภาวะ การแพร่ระบาดของโควิด - 19 ในครั้งนี้ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร จ.ระยอง และ จ.สมุทรปราการ 3 จังหวัดในเบื้องต้น ที่กำลังเดือดร้อนเป็นอย่างหนัก เพราะว่าเจอสภาวะโรคระบาด ก่อนคนอื่น เพราะว่ายังเป็นพื้นที่จำเป็นพื้นที่สีแดงอยู่

          ดังนั้นทางอาตมาจึงขอเดินบิณฑบาตข้าวสารอาหารแห้ง จะได้รวบรวมปัจจัยและสิ่งของ อาทิบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ข้าวสาร อาหาร ของแห้งทุกอย่าง เพื่อที่จะนำไปช่วยเหลือในเบื้องต้น พระอาจารย์จึงขอเชิญชวนญาติธรรมศิษย์ยานุศิษย์ทุกท่าน ขอให้พวกเรามาร่วมแรงร่วมใจกัน เพื่อมาช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในยามจำเป็น อาตมาก็ขอฝากศิษย์ยานุศิษย์ญาติติธรรมทุกคน ให้ทุกคนแสดงออกในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์เมื่อยามตกทุกข์ได้ยาก ขอให้ทุกคนได้ออกมาร่วมแรงร่วมใจ เพื่อสร้างพลังในการสู้วิกฤตโรคระบาด โควิด -19 ด้วยกัน โดยผ่านโครงการเราจะไม่ทิ้งกันและกัน พระอาจารย์ชัยชนะ ภูริญาโณ วัดใหม่ชัยชนะ ต.โนนสะอาด อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนจงอดทนและต่อสู้ เราจะฝ่าฟันอุปสรรคไปให้ได้          

เราจะขอเป็นกำลังใจให้กันตลอดไป ขอเชิญผู้ใจบุญร่วมบริจาคผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย 4 2 8 -0 3 9 9 778 , 4 2 8 - 0 3 9 9 7 8 6



 

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564

กมธ.ศาสนาฯสภาตั้งคณะทำงาน หนุนสร้างพุทธมณฑลทุกจังหวัด



เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2564 ดร.เพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล รองประธานกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า หลังจากมีประกาศในราชกิจจานุเบกษาในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการจัดขึ้นทะเบียนที่ดินของรัฐเพื่อให้ทบวงการเมืองใช้ประโยชน์  เพื่อจัดตั้งพุทธมณฑลเชียงราย ในวันที่ 11 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งมีการผลักดันเพื่อขอที่ดินเพื่อสถาปนาพุทธมณฑลมานานกว่า 50 ปี ทั้งนี้เพิ่งมาสำเร็จโดยการผลักดันและให้ความร่วมมือจากคณะกรรมาธิการการศาสนาฯ เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย ประชาชนจังหวัดเชียงราย ผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย กรมที่ดิน และเจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทย จนเป็นผลสำเร็จ โดยล่าสุดในที่ประชุมกรรมาธิการฯ ได้หารือว่าด้วย คณะรัฐมนตรี มีมติ เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2547 ให้มีพุทธมณฑลทุกจังหวัด 

ดังนั้นคณะกรรรมาธิการการศาสนาฯ จึงมีมติ ให้จัดตั้งคณะทำงานพุทธมณฑล โดยประกอบด้วย ผู้แทนจาก มหาเถรสมาคม , สำนักงานพระพุทธศานาฯ , กรมที่ดิน ,กรมป่าไม้ ,กรมธนารักษ์ , กรมอุทยาน , กรรมาธิการการศาสนาฯ และ อื่นๆ 

กมธ.ศาสนาฯสภาร่วมประชุม กก.บริหารงานบุคคลการศึกษาพระปริยัติธรรม



กมธ.ศาสนาฯสภาผู้แทนราษฎร  เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารงานบุคคลการศึกษาพระปริยัติธรรม ที่มีสมเด็จพระพุฒาจารย์เป็นประธาน พิจารณแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานบุคคลศึกษาพระปริยัติธรรม  

เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2564 เวลา 14.30 น. ที่สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร  กรุงเทพมหานคร  สมเด็จพระพุฒาจารย์  กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม  กรุงเทพมหานคร  เป็นประธานคณะกรรมการบริหารงานบุคคลการศึกษาพระปริยัติธรรม ครั้งที่ 1/2564   ซึ่งมีระเบียบวาระเรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานบุคคลศึกษาพระปริยัติธรรม, การพิจารณาแต่งตั้งรองประธานคณะกรรมการบริหารงานบุคคลการศึกษาพระปริยัติธรรม (กบป.) รวมถึง ร่างประกาศ กบป. เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลการศึกษาพระปริยัติธรรม  โดยมีกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร  ได้เข้าร่วมประชุมด้วย

ในการนี้สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้ให้โอวาทความว่า ที่ผ่านมาการศึกษาของพระไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากทางราชการ เพราะลักษณะการศึกษานั้นอาศัยพระสงฆ์ที่มีกุศลเจตนาสูงในการจัดขึ้นมา เพราะฉะนั้นการที่ทุกๆ ท่านทุกๆ คนได้มาร่วมกันในการประชุมเพื่อบริหารงานบุคคลในวันนี้นั้นเท่ากับเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้การศึกษาพระปริยัติธรรมให้เกิดความมั่นคง เกิดความเจริญรุ่งเรืองแก่วัดวาอาราม แก่พระสงฆ์ และแก่พระพุทธศาสนาของเราด้วย งานส่วนนี้ทำให้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรมนี้สำเร็จครบสมบูรณ์ทุกประการ ในการที่จะบริหารงานการศึกษาพระปริยัติธรรมเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของพระศาสนาสืบไป

ด้านพระเทพเวที เจ้าวาสวัดสังเวชวิศยาราม รักษาการเจ้าคณะ ภาค 6 กล่าวว่า พ.ร.บ. การศึกษาพระปริยัติธรรมฉบับนี้ นับเป็น พ.ร.บ. ฉบับประวัติศาสตร์ที่จะเข้ามาช่วยพลิกโฉม การศึกษาของคณะสงฆ์...ในพ.ร.บ. ได้มีการบัญญัติ การอุดหนุนงบประมาณในการจัดการศึกษาของคณะสงฆ์ครอบคลุมทั้งหมด ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เชื่อแน่ว่า ถ้ามีการบริหารจัดการได้ดี มีประสิทธิภาพ มีงบประมาณสนับสนุนเพียงพอและเหมาะสม จักเป็นเหตุให้การบริหารจัดการการศึกษาพระปริยัติธรรม วิชาการทางพระพุทธศาสนาให้ มั่นคง ยั่งยืน อันนำไปสู่ความเจริญ มั่นคง ยั่งยืน ของพระพุทธศาสนา นั่นเอง

ดร.เพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล รองประธานกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ทางกรรมาธิการฯ พร้อมผลักดันทุกงานเกี่ยวกับงานศาสนาตามอำนาจหน้าที่ ทั้งนี้ได้ติดตามเรื่อง พ.ร.บ.พระปริยัติธรรมอย่างใกล้ชิด ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญของพุทธศาสนาในประเทศไทย

ดร.ณพลเดช มณีลังกา ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการด้านการปราบปรามยาเสพติดและการบังคับใช้กฎหมาย สภาผู้แทนราษฎร ที่ร่วมคณะด้วย กล่าวว่า ในฐานะที่เคยบวชที่วัดบวรนิเวศวิหาร   มีสมัยหนึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชฯ พระองค์ที่ 10 พระองค์ท่านก็ได้ใช้วิธีการแก้ปัญหาประเทศอย่างครบวงจรโดยใช้วัดเป็นศูนย์กลางความรู้ มีหลักการพัฒนาคนให้ "เป็นผู้เป็นคน"  รู้จัก "ผิดชอบชั่วดี"  พระองค์ใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือนในการขยายหลักสูตร สิ่งนี้สามารถแก้ปัญหายาเสพติด ปัญหาความยากจน ปัญหาประชาชนไม่มีความรู้ได้เป็นอย่างดี 

ดร.ณพลเดช กล่าวด้วยว่า เมื่อวันที่ 27 ม.ค.2564 ที่ผ่านมาตนได้เข้ากราบได้เข้ากราบสมเด็จพระวันรัต กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าวาสวัดบวรนิเวศวิหาร  สมเด็จได้ให้โอวาทได้อย่างจับจิตถึงประโยชน์ของการช่วยเหลือประเทศชาติด้วย พ.ร.บ. การศึกษาพระปริยัติธรรม ดังนี้.... 

"เรื่อง พ.ร. บ.การศึกษาพระปริยัติธรรม จะเป็นประโยชน์กับประเทศชาติ เป็นประโยชน์กับประเทศชาติก็หมายความว่าพระไปเอาเด็กที่ด้อยโอกาสมาเรียน ไม่ว่าจะเป็นเด็กเช่น เด็กต่างจังหวัดหรือเด็กที่พ่อแม่ยากจน พระท่านก็เก็บมาบวชเณร พอเด็กได้บวชเรียนเด็กก็จะได้ประโยชน์เมื่อเด็กมีความรู้มีความสามารถ และสามารถออกมาทำงานได้ หากเด็กนั้นไม่อยากบวชต่อก็สามารถสึกออกมานำความรู้ตอนที่ได้บวชเรียนไปทำงานเพื่อเป็นประโยชน์กับประเทศชาติได้ หากพระไม่เก็บมาบวชเรียนเด็กพวกนี้ที่ส่วนใหญ่เป็นเด็กด้อยโอกาสไม่ได้เรียนหนังสือ ตอนเป็นเด็กยังสามารถอยู่กับพ่อแม่ได้แต่พอโตขึ้นต้องดิ้นรนหาเลี้ยงตัวเอง เมื่อไม่มีความรู้หากไปสมัครงานที่ไหนเขาก็ไม่รับ พอไม่มีงานทำแต่ต้องดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอด เด็กก็อาจจะต้องไปลักเล็กขโมยน้อย เริ่มติดยาเสพติด เริ่มคบคนพาล ทำให้เกิดปัญหาสังคม

รัฐบาลจะต้องเสียงบประมาณส่วนนี้ไปอีกเท่าไหร่ หากเอางบประมาณในส่วนนี้มาให้พระไปเก็บเด็กเหล่านี้มาจะช่วยชาติเราจะได้อีกเท่าไหร่ประเด็นนี้จะต้องพูด หากมีงบประมาณต้องเาส่วนนี้มาช่วยให้เด็กได้มาบวชเรียน จะดีกว่าเด็กที่อยู่กับที่บ้านอีกเท่าไหร่ อาตมาพูดเสมอว่าถ้าเราทำโรงเรียนให้ดี เราไม่ต้องไปวิ่งหาเด็กมาบวชเรียน ผู้ปกครองเขาจะเอามาให้เอง ควรให้เขาวิ่งมาหาเราเอง ไม่ใช่เราวิ่งไปหาเขา ตรงนี้จะเกิดขึ้นได้ก็เพราะว่าพระจัดการโดยมีงบประมาณให้จัดการให้มีคุณภาพ จึงจะเห็นได้ว่างบประมาณตรงนี้ไม่ใช่เป็นประโยชน์กับพระแต่เป็นประโยชน์กับประเทศชาติ

หากพระเก็บเด็กเหล่านี้มาส่วนหนึ่งก็ช่วยชาติได้ส่วนหนึ่ง ถ้าพระไม่จัดการเลยประเทศชาติจะต้องเสียงบประมาณไปจัดการกับเด็กเหล่านี้อีกเท่าไหร่ สรุปคืองบประมาณตรงส่วนนี้ไม่ใช่ว่าพระอยากได้แต่เราเอามาทำประโยชน์ หากตอนนี้รัฐบาลมีงบประมาณจำกัด งบตรงส่วนนี้ฝ่ายพระก็เอาน้อยหน่อยก็ได้ไม่เป็นไร เราเห็นใจเขาเขาเห็นใจเรา เราก็ต้องเห็นใจรัฐบาลด้วยเหมือนกัน อยากให้มองเห็นประโยชน์ตรงส่วนนี้ ส่วนตัดลดงบประมาณหากมีเหตุมีผลไม่เป็นไรเราไม่ได้ดื้อดึง เราก็รู้ว่าประเทศเงินมีน้อยยิ่งช่วงนี้มีปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ขอเพียงตัดอย่างมีเหตุผล ไม่ใช่ตัดงบประมาณส่วนนี้โดยมองว่าพระอีลุ่ยฉุยแฉก ขอให้เอาความจำเป็นร่วมกันเป็นหลัก" 

ด้านนายสิทธา มูลหงษ์ ผู้ตรวจราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เปิดเผย เป็นงานที่ทุกคนทุ่มเทในการเตรียมเอกสารและการจัดเตรียมงบประมาณที่จะต้องสอดคล้องกับกฎหมาย เพื่อให้เป็นผลสัมฤทธิ์เป็นประโยชน์กับคนไทยโดยรวม

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2564

"บวร"ใช้งบฯมูลนิธิวัดอินทารามขุด! "โคกหนองนา ดร.หลวงพ่อแดงโมเดล"



เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2564  เฟซบุ๊กพระครูพิศิษฏ์ประชานาถ. ดร. หลวงพ่อแดง นันทิโย ได้โพสต์ข้อความว่า ดร.หลวงพ่อแดงพา รก,พช.และคณะไปดูแปลงที่ดินวัดอินทารามที่จะทำประโยชน์รูป "บวร" บ้านวัดราชการ ทำโคกหนองนา ดร.หลวงพ่อแดงโมเดล มิต้องใช้งบจากรัฐใช้งบประมาณจากมูลนิธิวัดอินทาราม คิดได้แล้วลงมือทำ ดีกว่าคิดไว้ในสมุดจดเอาไว้เผลอๆตายก่อนก็ยังไม่ได้ทำ ทำแล้วได้แค่ผลประโยชน์วัดอย่างเดียวไม่ ทำแล้วประชาชนและส่วนราชการมามีส่วนร่วมด้วย และมีส่วนช่วยกันคิด 

ช่วยกันตัดสินใจ ช่วยกันลงมือทำเอา (แต่ปากทำไม่เอา) ช่วยกันแก้ปัญหา และในที่สุดรอบร่วมกันรับผลประโยชน์ ทำให้ "บวร" แอปปี้ อยู่ดีมีสุข มั่งมีศรีสุข สุขกายและสุขใจเทอญฯ.....ขออนุโมทนาสาธุ

อดีตนายกสมาคมอบต.ยันผู้สูงอายุไม่ผิด! รับเบี้ยงยังชีพซ้ำซ้อน เหตุเป็นความผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ


 

อดีตนายกสมาคมอบต.ยันผู้สูงอายุไม่ผิด! รับเบี้ยงยังชีพซ้ำซ้อน เหตุเป็นความผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ไม่ใช่เป็นความผิดของเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่น  เสนอรัฐบาลมีมติครม.นิรโทษกรรมเพื่อประโยชน์ของผู้สูงวัย

วันที่ 29 มกราคมพ.ศ.2564  เวลา 08.30 น. ที่อาคารรัฐสภาเกียกกาย นายนพดล  แก้วสุพัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคพลังท้องถิ่นไท อดีตนายกสมาคมอบต.แห่งประเทศไทย กล่าวถถึงเรื่องการจะเรียกคืนเงินจากผู้สูงอายุ ที่รับสิทธิซ้ำซ้อนกับสิทธิอื่นๆ ว่า เกี่ยวกับเรื่องนี้ตน เห็นว่าผู้สูงอายุที่ได้รับเงินไปไม่มีความผิดแต่อย่างใด แม้ในความผิดฐานแจ้งความเท็จทั้งไม่ต้องคืนเงินด้วยและท้องถิ่นยังจะต้องทำข้อมูลและต้องจ่ายเงินเบี้ยผู้สูงอายุต่อไปจนกว่าผู้รับเงินไปจะเสียชีวิต 

นายนพดล กล่าวต่อว่า กรณีดังกล่าวเป็นความผิดของเจ้าหน้าที่รัฐแต่มิใช่เจ้าหน้าที่ของท้องถิ่นเนื่องจากปัญหาดังกล่าวเกิดจากระเบียบของกระทรวงมหาดไทยโดยเจ้าหน้าที่ที่ผิดพลาดหรือบกพร่องในเรื่องนี้คือเจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยเองที่เป็นคนชงเรื่องออกระเบียบ เหตุผลคือระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในข้อที่ 6 ซึ่งออกมาเมื่อปี พ.ศ. 2548 ไม่ได้กำหนดห้ามผู้สูงอายุซึ่งได้รับเงินอื่นจากรัฐที่ยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพจากท้องถิ่น

และฝ่ายเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเองเมื่อได้รับคำขอดังกล่าวก็ไม่มีอำนาจยกเหตุดังกล่าวที่ระเบียบไม่ได้กำหนดไว้มาปฏิเสธสิทธิ์ของผู้สูงอายุ เพราะการจะปฏิเสธสิทธิ์ของประชาชนจะต้องมีระเบียบกฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนดังนั้นในปี 2548 ผู้สูงอายุที่ได้รับสิทธิ์อื่นอยู่แล้วก็มีสิทธิ์ยื่นคำขอรับเบี้ยผู้สูงอายุซึ่งเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นก็มีอำนาจจ่ายได้ ต่อมาปี 2552 กระทรวงมหาดไทย ออกระเบียบแก้ไขระเบียบนี้ โดยกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติเพิ่มเติม ว่าห้ามจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุกับผู้ได้รับสิทธิ์อื่นอยู่แล้ว จึงมีปัญหาว่าผู้สูงอายุซึ่งรับสิทธิ์ฯที่ไม่ขาดคุณสมบัติตามระเบียบในปี 2548 และรับเบี้ยผู้สูงอายุมาแล้วจะกลายเป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามระเบียบที่แก้ไขในปี 2552 หรือไม่ และเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่นจะระงับสิทธิ์ตั้งแต่วันที่ระเบียบใหม่แก้ไขบังคับหรือไม่ 

ถ้าพิจารณาประเด็นชัดเจนอยู่ในบทเฉพาะกาล ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยที่แก้ไขใหม่เมื่อปี 2552 โดยในข้อ 17 ระบุว่า มิให้กระทบสิทธิ์ของผู้สูงอายุตามระเบียบฉบับเดิมและให้ถือว่าผู้สูงอายุดังกล่าวได้เป็นผู้ลงทะเบียนและยื่นคำขอถูกต้องตามระเบียบใหม่ นั้นหมายความว่าระเบียบที่แก้ไขใหม่ ไม่ได้ห้ามเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นไปตัดสิทธิ์การรับเบี้ยผู้สูงอายุดังกล่าว ถ้าเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นไปตัดสิทธิ์ก็อาจจะถูกฟ้องร้องฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 โดยสรุปก็คือตามประเด็นที่เป็นข่าวเรื่องนี้ กรมบัญชีกลางหรือหน่วยงานที่ส่งให้ท้องถิ่นเรียกเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุคืน ต้องดูระเบียบให้ชัดเจนก่อน

นายนพดลกล่าวต่อว่า เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงมหาดไทยที่ออกมาให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ผู้เสนอออกระเบียบไม่สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติสำหรับเรื่องเบี้ยผู้สูงอายุตามข่าวตนเห็นว่าเป็นที่ชัดเจนว่า นอกจากจะเรียกเงินคืนไม่ได้แล้วยังต้องจ่ายเบี้ยยังชีพดังกล่าวให้กับผู้สูงอายุซึ่งรับสิทธิ์ฯถูกต้องมาแต่แรกแล้วและต้องจ่ายต่อไปจนกว่าจะเสียชีวิต ถ้าจะถามหาความผิดของเจ้าหน้าที่ควรไปเอาความผิดกับเจ้าหน้าที่ผู้เป็นคนเสนอระเบียบให้กระทรวงมหาดไทย ออกระเบียบนี้มามากกว่าที่จะมาความผิดกับผู้ปฏิบัติ คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

นายนพดลยังได้ตั้งข้อสังเกตว่า ปัจจุบันการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นงานที่ท้องถิ่นได้จัดทำทะเบียนฐานข้อมูลผู้สูงอายุตามเกณฑ์ ตามที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงมหาดไทยกำหนด ส่วนการจ่ายเงินส่วนใหญ่จะมีการโอนโดยตรง โดยกรมบัญชีกลางเป็นผู้โอนตรงและมีท้องถิ่นบางแห่งขอตรงกับสำนักงบประมาณและกรมบัญชีกลางก็จะโอนจ่ายตรงกับผู้สูงอายุ แต่ว่าเงินในส่วนนี้กลับต้องมานับเป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ไม่ได้รับความร่วมมือกับหน่วยงานที่จ่ายเงินตามสิทธิ์อื่น ซึ่งไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกันได้ เห็นว่างานนี้เป็นการใช้งบประมาณในเรื่องของเงินอุดหนุนทั่วไปที่มีวัตถุประสงค์โดยนับเป็นรายได้ของท้องถิ่นและเป็นเรื่องยุ่งยากให้กับท้องถิ่นจำนวนมาก ควรที่จะให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดำเนินการเองทั้งหมด ทั้งในเรื่องการจัดทำข้อมูล การขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุจะดีกว่า ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นไปแล้วทางรัฐบาล ควรจะมีมติครม.นิรโทษกรรมหรือหาทางออกที่เป็นประโยชน์กับผู้สูงอายุที่รับเบี้ยยังชีพไปแล้วจะดีกว่า

ขุดแล้ว!"โคกหนองนา-ธ.น้ำใต้"ปรางค์กู่ อำเภอที่เคยแห้งแล้งที่สุด

 


ขุดแล้ว!"โคกหนองนา-ธ.น้ำใต้"ปรางค์กู่ อำเภอที่เคยแห้งแล้งที่สุด ผอ.สันติศึกษา"มจร"เล็งกระตุ้นเยาวชนสนใจเกษตรทางรอด

วันที่ 28 มกราคม 2564  พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา และผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เปิดเผยว่า ทำอย่างไร?  โรงเรียนจึงจะหันมาสนใจโคกหนองนาเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในชุมชนฐานราก

คำถามนี้ ได้ฝากถึงผู้อำนวยการโรงเรียนสองแห่ง คือ นายชินพงศ์ พิมจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบึงกะโพธิ์ และนางสาวินี พิมพ์จันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านพอก ที่สละเวลาอันมีค่าเดินทางมาแลกเปลี่ยนมุมมองการพัฒนาเกษตรผสมผสานตามแนวทางโคกหนองนาและธนาคารน้ำ เพื่อนำเยาวชนให้หันกลับมาสนใจเกษตรทางรอด อันจะสร้างความมั่นคงทางอาหารให้แก่ครอบครอบครัวและชุมชนอย่างยั่งยืน

ส่วนตัวของท่านผู้อำนวยการทั้งสองนั้น สนใจโครงการโคกหนองนามาเป็นทุนเดิม เพียงแต่ที่ผ่านมานั้นได้ทำแบบไม่เติมยศ ด้วยหมายมุ่งจะพัฒนาโครงการนี้แบบเต็มยศจึงมาศึกษาจากสถานที่จริง เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ของท่านเองต่อไป เมื่อเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้จึงมีพลังและเกิดแรงบันดานใจที่จะกลับไปพัฒนาโครงการโคกหนองนา

ความจริงแล้ว เมื่อผู้อำนวยการเห็นความสำคัญของเกษตรผสมผสานตามแบบโคกหนองนา จึงเป็นมงคลต่อครูและนักเรียนจำนวนมาก ที่จะได้รับการขยายผลไปสู่การบูรณาการกระบวนการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ เพื่อที่จะทำให้นักเรียนได้ตระหนักรู้และเห็นคุณค่าของเกษตรผสมผสานแทนที่จะเน้นปลูกพืชเชิงเดี่ยว 

ยิ่งกว่านั้น เด็กๆ จะได้เรียนรู้ระบบนิเวศวิทยาผ่านน้ำ ดิน พืชป่า และอาหาร เป็นต้น ว่ามีคุณค่าและความสำคัญต่อชีวิตอย่างไร อีสานไม่ได้แห้งแล้งเพราะธรรมชาติซ้ำเติมมาแต่เดิม หากแต่กลุ่มคนจำนวนมากตัดไม้ทำลายป่า ดิน และผืนน้ำ  หลายคนตัดไม้ออกจากผืนนาเพราะกลัวต้นไม้จะทำลายการเติบของต้นข้าว ผลตามมาคือแดดที่เผาดิน จนขาดความชุ่มชื่น จนกลายเป็นความแห่งแล้งที่แผดเผาตัวเองในที่สุด

อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ที่ได้เคยชื่อว่าเป็นอำเภอที่แห้งแล้งที่สุด ก็มาจากหนึ่งในตัวแปรเหล่านั้น หากนักเรียนชั้นประถมศึกษา และมัธยมศึกษาหันมาสนใจศึกษาตัวแปรดังกล่าว โดยมีผู้บริหารและครูคอยกระตุ้น เชื่อว่าในที่สุดจะเกิดผลจากบวกต่อการพัฒนา แล้วเมื่อนั้น ดิน น้ำ ป่า และอาหาร จะมีความอุดมสมบูรณ์ในที่สุด

"เอนก"ตั้งพระพรหมบัณฑิตที่ปรึกษาอนุกก. พิจารณาเกณฑ์ตำแหน่งวิชาการ เน้นผลงานชุมชนไม่เน้นตำราหรืองานวิจัย



วันที่ 28 มกราคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเอนก  เหล่าธรรมทัศน์ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประธาน ก.พ.อ. ลงนามประกาศคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อพิจารณาเกณฑ์การกำหนดตำแหน่งศาสตาจารย์ รองศาสตราจารย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ที่ไม่อาศัยงานตำราหรืองานวิจัย โดยมีพระพรหมบัณฑิต, ศ.ดร. (ป.ธ.9, ศ.,ดร.,ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์, อัคคหาบัณฑิต) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ประธานศูนย์พระปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์ไทย ประธานศูนย์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก เป็นที่ปรึกษา มีศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานอนุกรรมการ โดยมีอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร ร่วมเป็นอนุกรรมการด้วย โดยประกาศในวันที่ 27 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา         

โดยอนุกรรมการมีหน้าที่พิจารณาเกณฑ์ในการกำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ที่ไม่ใช้ตำราหรืองานวิจัย แต่ใช้ผลงานที่ทำให้แก่พื้นที่หรือชุมชน หรือใช้ผลงานในการนำหลักศาสนาและปรัชญามาชี้นำวิชาการหรือชีวิตในทางโลก หรือใช้ผลงานศิลปะ หรืองานสร้างสรรค์มาแทน 




กมธ.ศาสนาฯถกเงินเยียวยาโควิดพระ "กรณ์ มีดี"เผยติดที่สภาพัฒน์ฯ





กมธ.ศาสนาฯถกเงินเยียวยาโควิดพระ "กรณ์ มีดี"เผยติดที่สภาพัฒน์ฯ แถมโยนกลองก.คลัง ป้ายยาหมอพระมีสิทธิ์ลงทะเบียบ"เราชนะ"   

วันที่ 28 มกราคม 2564 นายกรณ์ มีดี หัวหน้าพรรคแผ่นดินธรรม เลขาธิการสมาพันธ์ชาวพุทธแห่งประเทศไทย ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ การศาสนา ศิลปวัฒนธรรม เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว"นายกรณ์ มีดี" ความว่า จากผลโควิดระบาดต้นปี 63 ในไทย คนไทยทั้งประเทศได้รับผลกระทบมหาศาล ไม่เว้นกระทั้งพระ

คนไทยที่ได้รับผลกระทบ และลงทะเบียนทัน ได้เงินเยียวคนละ 5,000 ต่อเนื่อง 3 เดือน แต่พระ ออกบิณฑบาตไม่ได้ เจอผลกระทบเต็มๆ จึงมีเสียงเรียกร้องให้เยียวยาพระด้วย สำนักพุทธฯ เลยเสนอขอเงินเยียวยาพระ องค์ละ 100 บาท/วัน ครม.อนุมัติ เป็น 60 บาท/องค์/วัน เป็นระยะเวลา 60 วัน ชาวบ้าน ได้เงินครบนานแล้ว 

แต่พระยังไม่ได้เลย

หลายคน หลายฝ่ายงง ว่า ทำไม จนวันนี้ ทราบแล้วครับ ว่าติดตรงไหน

วันนี้ ผมในฐานะที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ได้เข้าร่วมประชุม  วันนี้คณะกรรมาธิการ ได้เชิญหลายหน่วยงานมาตอบคำถาม และมีผู้มาประกอบด้วย

1.นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ในฐานะที่กำกับสำนักพุทธฯ)  2.สำนักพุทธฯ 3.กรมการศาสนา 4.สำนักงบประมาณ 5.สภาพัฒน์ฯ

เพิ่งรู้ จากการตอบของ ผู้แทนสภาพัฒน์ฯ ที่ทุกคนฟังแล้วอึ้งกับเหตุผล จึงรู้แล้วว่า ที่พระยังไม่ได้เงิน “เพราะสภาพัฒน์ฯ “

เขาอ้างว่าไง รู้ไหม

1.พระจำนวนมากได้เงินค่านิตยภัตน์ และเบี้ยคนชราอยู่แล้ว

2.จะให้เงินต้องโอนเข้าบัญชีโดยตรง แต่ถ้าทำเช่นนั้นก็จะไม่เหมาะสม

3.พระมีปัจจัยสี่ สมบูรณ์ บริบูรณ์ดีอยู่แล้ว ไม่ต้องเยียวยา

4.อบต.อบจ.เทศบาล ก็มีงบเยียวยาให้อยู่แล้ว

สรุป จึงยังไม่ให้ แต่ก็ตอบเพิ่มว่า โครงการเราชนะที่จะลงทะเบียนพรุ่งนี้ พระสามารถลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ได้ พอสภาพัฒน์ตอบเสร็จ ทัวร์ลงทันที อาทิ รัฐมีคำสั่งไม่ให้ อบต. อบจ. เทศบาล เอาเงินให้พระ จะซื้อเทียนถวายสักแท่งยังทำไม่ได้เลย เห็นว่าพระได้นิตยภัตน์ ก็เลยไม่ต้องเยียวยาใช่ไหม พระที่ได้เงินค่านิตย์ภัต นั้นเฉพาะเจ้าอาวาส พระหนุ่มเณรน้อย เขาได้กันที่ไหน

รู้ไหม ผมเป็นผู้แทนฯ ไปที่ไหนก็โดนถามว่า เมื่อไหร่พระจะได้รับเงินเยียวยา ผมก็ตอบว่า ครม. อนุมัติแล้ว ยังไงก็ได้ แต่รอหน่อย สภาพัฒน์มาตอบอย่างนี้ ผมจะตอบพระและชาวบ้านอย่างไร  มติ ครม. ไม่มีผลบังคับเหรอ ไม่มีความหมายเหรอ สภาพัฒน์ จะไม่ทำตามก็ได้เหรอ และอีกจิปาถะ ที่ทัวร์ลง ส่วนผมยกมือขอร่วมถล่ม แต่ประธานไม่อนุญาตให้พูด เลยอดพูด 

ได้แต่ฟังกรรมาธิการขอให้ สภาพัฒน์ไปเคลียร์ สภาพัฒน์ ก็ยังโบ้ยให้ กระทรวงการคลัง  กรรมาธิการเลยซัดไปว่า เดี๋ยวคลังก็ถามสภาพัฒน์อีก สภาพัฒน์ควรตั้งเรื่องเสนอไปเลย สภาพัฒน์ ไม่ตอบอะไรเพิ่ม จึงจบลงตรงนี้

สรุป ที่พระยังไม่ได้เงินเยียวยา เพราะติดที่สภาพัฒน์ นี่เอง จนบัดนี้ สภาพัฒน์ ก็ยังมีทีท่าว่าจะไม่ให้ วังเวงเลยครับ งานนี้ สงสัย พระเป็นเพียงประชากรชั้นสองของประเทศเท่านั้น เหมือนที่รัฐธรรมนูญทุกฉบับเขียนไว้ ก็ต้องติดตามต่อไปครับ


วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2564

กรมหม่อนไหมส่งเสริมเกษตรกรผลิตถั่งเช่าไหมไทยปลอดภัย



กรมหม่อนไหมพัฒนาองค์ความรู้แก่เจ้าหน้าที่และเกษตรกร ต่อยอดงานวิจัยการผลิตถั่งเช่าไหมไทยตามหลักวิชาการอย่างปลอดภัย เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารป้อนสู่ตลาดคนรักสุขภาพ 

เมื่อวันที่ 28 ม.ค.2564  นายปราโมทย์ ยาใจ อธิบดีกรมหม่อนไหม เปิดเผยว่า ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ (ศมม.เชียงใหม่) ได้จัดฝึกอบรมหลักสูตร "การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไหมไทยเพื่อผลิตเป็นถั่งเช่าไหมไทย" ให้แก่เจ้าหน้าที่และเกษตรกรโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริฯ บ้านขุนแตะ ณ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ต.หนองควาย อ.แม่เหียะ จ.เชียงใหม่ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไหมไทยเพื่อผลิตเป็นถั่งเช่าไหมไทยแก่เจ้าหน้าที่และเกษตรกร ให้สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการผลิตถั่งเช่าไหมไทย สร้างรายได้ สร้างอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ โดยดำเนินการภายใต้มาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และประกาศของคณะกรรมการโรคติดต่อของจังหวัดเชียงใหม่อย่างเคร่งครัด     

 ทั้งนี้การผลิตถั่งเช่าไหมไทย เป็นความสำเร็จจากการศึกษาวิจัย ระหว่างกรมหม่อนไหม ร่วมกับคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ เมื่อปี 2556 และได้รับอนุสิทธิบัตรการผลิตถั่งเช่าไหมไทย เมื่อปี 2558  โดยการผลิตถั่งเช่าไหมไทยนั้น เป็นการนำผลผลิตจากไหม (ดักแด้ไหมไทย) มาเพิ่มมูลค่าโดยแปรรูปเป็นถั่งเช่า เรียกว่าถั่งเช่าไหมไทย เป็นเห็ดที่เจริญบนดักแด้ไหม ประกอบด้วยสารสำคัญหลายชนิด เช่น อะดีโนซีน (Adenosine) คอร์ไดเซปิน (Cordycepin) และสารหลายชนิด มีสรรพคุณทางยา ช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรง มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง กระตุ้นภูมิคุ้มกัน เพิ่มการไหลเวียนของเลือด อีกทั้งยังสามารถป้องกันรังสี UVB และช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้ 

 เพื่อเป็นการตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค กรมหม่อนไหมได้ร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลัน และพิษเรื้อรังในหนู พบว่าสามารถบริโภคด้วยปริมาณ 5,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนัก นอกจากนี้ การบริโภคอย่างต่อเนื่องในปริมาณ 1,100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักต่อวัน พบว่าไม่มีผลต่อสุขภาพและอวัยวะต่าง ๆ ของหนูที่ทดสอบแต่อย่างใด ดังนั้น ถั่งเช่าไหมไทยจึงเหมาะสมที่จะต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารป้อนสู่ตลาดผู้รักสุขภาพ

  ส่วนการที่จะดูว่าถั่งเช่านั้นๆ เป็นถั่งเช่าแท้หรือปลอม ดูได้จากค่าวิเคราะห์คอร์ไดซิปินกับอะดีโนซินเป็นหลัก ซึ่งแหล่งซื้อขายถั่งเช่าในเมืองไทยขณะนี้ส่วนใหญ่ขายถั่งเช่าสีทองและถั่งเช่าหิมะบ้างบางแห่ง โดยจำหน่ายเป็นแคปซูล และชาถั่งเช่า ทั้งนี้ ในประเทศไทยมีฟาร์มเพาะเลี้ยงถั่งเช่าสีทองอยู่หลายแห่ง แต่ส่วนใหญ่เป็นการเพาะเลี้ยงบนอาหารอื่นที่ไม่ใช่หนอนไหม หรือดักแด้ไหม เช่น เลี้ยงบนข้าวกล้อง หรือข้าวสาลี หรือข้าวบาร์เล่ย์ ซึ่งถั่งเช่าที่ผลิตจากดักแด้ไหมนั้นจะมีราคาสูงกว่าถั่งเช่าที่ผลิตจากอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดอื่น

 "กรมหม่อนไหมยังคงพัฒนาการผลิตถังเช่าโดยคำนึงถึงกระบวนการผลิตที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และความปลอดภัยด้านสุขภาพเป็นสำคัญ ควบคู่ไปกับการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่เกษตรกรรายย่อย เพื่อให้เป็นอีกหนึ่งอาชีพทางเลือกที่สามารถสร้างงานสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชน ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างผลิตภัณฑ์แปรรูปหม่อนไหมที่เป็นเอกลักษณ์แล้ว ยังสอดคล้องกับนโยบายตลาดนำการผลิตอีกด้วย" นายปราโมทย์ กล่าว

อย่างไรก็ตามสำหรับ ผู้สนใจสามารถ สอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักวิจัยและพัฒนาหม่อนไหม โทรศัพท์ 0 2558 7924-6 ต่อ 404 หรือ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ 05 3114 096-7 

ปชป.เลือดไหลออก! "วิทูรย์"ร่อนจม.ลาออก โวย "จุรินทร์-เฉลิมชัย" ตัดโอกาสทำงาน



เมื่อวันที่ 28 ม.ค.2564  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 26 ม.ค. นายวิทูรย์ นามบุตร อดีตส.ส.อุบลราชธานี อดีตรองหัวหน้าพรรคภาคอีสาน และอดีตรมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ยื่นใบลาออกจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ โดยนายวิทูรย์ได้เขียนความในใจส่งเข้าไปในไลน์เพื่อนส.ส.ปชป.บางส่วนที่ใกล้ชิดโดยมีใจความว่า 

"เป็นนักการเมืองมา30 ปี ตั้งใจว่าจะอยู่พรรคประชาธิปัตย์พรรคเดียวไม่เปลี่ยนแปลง แต่ถึงวันนี้ได้ไตร่ตรองทบทวนแล้ว เลยตัดสินใจลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ด้วยเหตุผลดังนี้คือ

1.การเลือกตั้งครั้งล่าสุด ขณะนั้นตนยังเป็นรองหัวหน้าพรรค ควรจะได้ลงบัญชีรายชื่อลำดับต้นๆ แต่พรรคให้อยู่ลำดับที่ 40 ซึ่งรู้อยู่แล้วว่าไม่มีทางได้เป็น สส.

2 .ตนไม่มีที่ยืน และไม่มีตำแหน่งอะไรที่พรรคมอบให้ ตนอายุ 62 ปียังมีไฟ ยังอยากทำงานการเมืองต่อไป และเชื่อว่าคนอุบลราชธานี ยังให้โอกาสเลือกพวกเรา

3 .นายจุรินทร์ ลักษณวิศิฏฐ์  หัวหน้าพรรค และนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาเฉลิมชัย  เคยตกลงกับตนว่าจะให้เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีสุดท้ายก็ไม่ได้เป็น

4 .หัวหน้าและเลขาธิการพรรค เคยรับปากว่าจะให้ นายวุฒิพงศ์ นามบุตร  ส.ส.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นหลานชาย เป็นประธานคณะกรรมาธิการเกษตร แต่สุดท้ายก็ใช้มติโหวตในที่ประชุมพรรค โดยทั้งสองคนไม่ได้ช่วยอะไรผลโหวตก็เป็นที่รู้กันว่าส.ส.ส่วนใหญ่ซึ่งเป็นคนใต้ นายวุฒิพงศ์เลยได้เป็นเพียงแค่ประธานคณะกรรมาธิการหนี้สิน

5 .ด้วยเหตุผลดังกล่าว ถือว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ให้ความสำคัญกับ สส .อีสาน

6 .นายวุฒิพงศ์และตนจะไปอยู่พรรคใดก็เชื่อว่าประชาชนคนอุบลฯยังจะให้โอกาส

7 .ตนยังจะเป็นนักการเมืองต่อไป โดยไปสังกัดพรรคอื่นที่เขาให้เกียรติและให้โอกาสทำงานการเมืองต่อไป

"ผมยังรักและคิดถึงเพื่อนๆที่ยังอยู่พรรคประชาธิปัตย์และหวังว่าจะได้ทำงานร่วมกัน แม้จะอยู่คนละพรรค บุคคลที่ผมให้เกียรติ เกรงใจ เคารพนับถือมากที่สุด คือท่านชวน หลีกภัย เคารพและศรัทธาไม่เปลี่ยนแปลงครับ" นายวิทูรย์ระบุ 

พช.ตั้งพระเสียดายแดด! กุนซือแก้จนตามแนวพอเพียง



วันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2564 เฟซบุ๊กพระครูวิมลปัญญาคุณ ศรีแสงธรรม ได้โพสต์ข้อความว่า บทบาทที่ปรึกษาคณะกรรมการอำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรมการพัฒนาชุมชน  

ประชุมออนไลน์ 27 มกราคม 2564 

การประชุมคณะกรรมการอำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

การประชุมรับฟังความคิดเห็นของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคส่วนต่างๆที่ได้ให้เกียรติเป็นชุดคณะกรรมการอำนวยการ (ศจพช.) ของฝ่ายกรรมการและเลขานุการ ที่ประกอบด้วย 3 หน่วยงานหลักคือ กรมการพัฒนาชุมชน( พช.) / สภาพัฒน์ (สศช.) / ศูนย์เทคโนโลยีอิเลคทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ของคณะกรรมการชุดใหญ่ระดับประเทศ (ศจพ.) ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 347/2563 ลงวันที่ 30 ตุลาคม พศ. 2563 เรื่อง “จัดตั้งศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” (ศจพ.) 

โดยท่าอธิบดี สุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ได้ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมผ่านระบบวิดีทัศน์ทางไกล ( VDO Conference)

"ผกก.ป่าตอง"สอบจบป.เอกสันติศึกษา"มจร" เสนอโมเดลไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นสอบสวนเชิงพุทธ


เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2564  หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา พระปราโมทย์  วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มจร เลขาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร  เปิดเผยว่า วันนี้(27ม.ค.) มีการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์ของ พ.ต.อ. ธีรพันธ์ นิธิภณยางสง่า ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นนิสิตปริญญาเอก รุ่น 1  สาขาวิชาสันติศึกษา มจร เรื่อง "การพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยชั้นสอบสวนโดยพุทธสันติวิธี : ศึกษากรณีพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรป่าตอง"  ซึ่งมีพระมหาหรรษา ธัมมหาโส เป็นผู้อำนวยการหลักสูตร 

โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการทำงานด้านไกล่เกลี่ยระดับสากลและการไกล่เกลี่ยเชิงพุทธ ประกอบด้วย นายอดุลย์ ขันทอง   อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งพระโขนง และนายปรัชญา อยู่ประเสริฐ  อดีตผู้พิพากษาศาลหัวหน้าศาลประจำสำนักประธานศาลฎีกา อาจารย์พิเศษประจำหลักสูตร เป็นกรรมการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์ สะท้อนเติมเต็มให้งานวิจัยมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นเพราะเป็นความหวังของประชาชนที่มีความขัดแย้งแทนที่จะมุ่งขึ้นสู่ศาล แต่ข้อขัดแย้งของประชาชนจบในระดับสอบสวน ลดความขัดแย้งในสังคม คำถาม กระบวนการไกล่เกลี่ยชั้นสอบสวนโดยพุทธสันติวิธีควรมีกระบวนการอย่างไร ถือว่าเป็นงานวิจัยที่เป็นความหวังของตำรวจในยุคปัจจุบัน  

สอดรับกับหลักสูตรสันติศึกษา มจร มีแผนนโยบายวิจัยการไกล่เกลี่ยเชิงพุทธโดยตั้งคำถามวิจัยว่าหน้าตาการไกล่เกลี่ยเชิงพุทธควรจะเป็นอย่างไร? โดยหลักสูตรเตรียมงบเพื่อการวิจัยพร้อมระดมผู้เชี่ยวชาญการไกล่เกลี่ยแบบสากล ผู้เชี่ยวชาญการไกล่เกลี่ยแบบพุทธ มาร่วมเสนอแนวทางในกระบวนการไกล่เกลี่ยตามแนวพุทธ ซึ่งเป็นอัตลักษณ์รูปแบบการไกล่เกลี่ยตามแนวทางพระพุทธศาสนา พร้อมยกระดับเปิดหลักสูตรระดับปริญญาเอกในสาขาวิชาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเชิงพุทธ        

วิชาที่สำคัญในการพัฒนาคือ สติสำหรับไกล่เกลี่ย สิ่งที่พึงตระหนัก คือตาบอดคลำช้าง ควรจะคลำช้างทั้งตัวอย่าคลำเฉพาะขาเท่านั้น ความขัดแย้งจึงต้องมองให้รอบด้าน บทบาทสำคัญของผู้ไกล่เกลี่ยจะต้อง 1)มีความเป็นกลาง 2)ไม่เป็นผู้ตัดสิน 3)เชื่อมต่อการเจรจาของทั้งสองฝ่าย 4)สร้างทางเลือกต่างๆ ในการยุติข้อพิพาท 5)รับผิดชอบต่อกระบวนการ 6)ที่มาของอำนาจในการไกล่เกลี่ย ถือว่าเป็นความยินยอมของคู่ความ อำนาจที่แท้จริงอยู่ที่ข้อความทั้งสองฝ่าย ปัจจัยในความไม่สำเร็จในการไกล่เกลี่ยมิใช่อยู่ที่ผู้ประนีประนอมเท่านั้นแต่มีหลายปัจจัย เช่น ด้านเวลา ผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องมี 3 ทักษะ คือ People ทักษะเกี่ยวกับคน Process ทักษะด้านกระบวนการ Problem-solving ทักษะอื่นมองปัญหาแยกออกจากคน ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดเชิงบวก  

พระปราโมทย์ กล่าวด้วยว่า ดังนั้น จึงเริ่มแล้วสำหรับการไกล่เกลี่ยของตำรวจ เป็นการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นสอบสวนด้วยเครื่องมือพุทธสันติวิธียกระดับมาตรฐานทั่วประเทศ งานวิจัยสันติศึกษาจึงเป็นฐานการคลี่คลายความขัดแย้งในสถานีตำรวจเมื่อประชาชนเกิดข้อพิพาท พร้อมยกระดับบริการคนทำงานการไกล่เกลี่ยด้วยการเตรียมเปิดปริญญาเอกสาขาวิชาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเชิงพุทธเพื่อตอบโจทย์สังคมสันติสุขต่อไป 

โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง! พระราชปริยัติกวี เป็นพระเทพวัชรบัณฑิต

 


วันที่ 27 มกราคม 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า 



"พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ พระราชปริยัติกวี เป็น พระเทพวัชรบัณฑิต ปริยัติศาสนกิจดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี พระราชาคณะชั้นเทพ สถิต ณ วัดปากน้ำ พระอารามหลวง กรุงเทพมหานคร มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ ๕ รูป คือ พระครูปลัด ๑ พระครูวินัยธร ๑ พระครูสังฆรักษ์ ๑ พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฎีกา ๑"


พระเทพวัชรบัณฑิต,ศ.ดร. ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา

พระเทพวัชรบัณฑิต ชาตภูมิ นามเดิมว่า สมจินต์ วันจันทร์  เกิดเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2503 ณ ตำบลโคกกลาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์


การบรรพชาและอุปสมบท

พ.ศ. 2525 หลังจากที่สอบได้ ป.ธ.7 ก็ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดปากน้ำ โดยมีพระธรรมธีรราชมหามุนี ปัจจุบันคือ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายานามว่า สมฺมาปญฺโญ


การศึกษา/วิทยฐานะ

พ.ศ. 2514 นักธรรมชั้นเอก วัดเสาไห้ สำนักเรียนคณะจังหวัดสระบุรี

พ.ศ. 2528 เปรียญธรรม 9 ประโยค สำนักเรียนวัดปากน้ำ กรุงเทพฯ

พ.ศ. 2531 ศึกษาศาสตรบัณฑิต (มัธยมศึกษา), มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

พ.ศ. 2534 พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พระพุทธศาสนา), มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พ.ศ. 2537 Ph.D. (Pali & Buddhist Studies), BHU, India


การปกครองคณะสงฆ์

ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดปากน้ำ 

งานด้านการศึกษา

พ.ศ. 2527 - ปัจจุบันเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ณ สำนักเรียนวัดปากน้ำ กรุงเทพฯ

พ.ศ. 2537 เป็นเจ้าหน้าที่ประจำกองวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พ.ศ. 2538 เป็นรักษาการผู้อำนวยการกองวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พ.ศ. 2540 เป็นผู้อำนวยการกองวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พ.ศ. 2540 เป็นรักษาการรองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พ.ศ. 2541 เป็นรักษาการคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พ.ศ. 2541 เป็นคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (วาระที่ 1)

พ.ศ. 2545 เป็นคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (วาระที่ 2)

พ.ศ. 2549 เป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (วาระที่ 1)

พ.ศ. 2553 เป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (วาระที่ 2)

พ.ศ. 2557 เป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (วาระที่ 3)

พ.ศ. 2557 เป็นรักษาการผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ (รูปแรก)

กรรมการและเลขานุการสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการประจำวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พ.ศ. 2558 เป็นเลขานุการแม่กองบาลีสนามหลวง

พ.ศ. 2561 อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


งานวิชาการ

ผลงานแปลและแต่งหนังสือทางวิชาการ : พัฒนาการแห่งพุทธจริยศาสตร์, พัฒนาการแห่งความคิดแบบอินเดียโบราณ , กรรมและการเกิดใหม่, พุทธทัศนะเบื้องต้น, ปรัชญาแห่งนาคารชุน, พระพุทธศาสนามหายาน,พระพุทธศาสนามหายาน : พัฒนาการและสารัตถธรรม, พุทธปรัชญา : สาระและพัฒนาการ, คัมภีร์วิมุตติมรรค, ลังกาวตารสูตร, บูรณาการพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างพลังบริหาร


ผลงานการเรียบเรียง : คู่มือปฐมสมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัย, คู่มือการเรียนการสอน วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.5, ประมวลการสอนธรรม โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน, พระพุทธศาสนาในจีน ทิเบต เวียดนาม ญี่ปุ่น, กฎแห่งความรัก (ปรัชญาความรักในพระพุทธศาสนา)

บทความทางวิชาการ : บทวิเคราะห์วัชรยาน ตอนที่ 1-5 (บทความทางวิชาการ), นาคารชุนกับปัญหาว่าด้วยกาล ภาวะและอภาวะ, แนะนำพระวินัยปิฎก, ปรัชญามาธยมิกะ, สืบค้นตรรกวิทยาในพระไตรปิฎกและวรรณกรรมพระพุทธศาสนา, วิพากษ์ทางสายกลางของอริสโตเติลกับมัชฌิมาปฏิปทาในพระพุทธศาสนาเถรวาท, พระวินัย : กฎเกณฑ์และคุณค่าทางสังคม กำเนิดและพัฒนาการแห่งพระพุทธรูป, สถานการณ์ฯ พระพุทธศาสนาในโลกปัจจุบัน, เจดีย์ในพระพุทธ-ศาสนา, นิพพาน : อัตตาหรืออนัตตา, วิพากษ์แนวคิด : พระพุทธศาสนาสำหรับโลกหลังยุคใหม่, พระพุทธศาสนาแบบธิเบต : วิเคราะห์มันตระ “โอม มณี ปัทเม หูม”, ทัศนะเกี่ยวกับการศึกษาของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) : วิเคราะห์จากหนังสือ “ทางสายกลางของการศึกษาไทย”, พระพุทธศาสนากับมังสวิรัติ, พุทธวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยกรอบแห่งอธิกรณ-สมถะ 7 : ศึกษาแนวการประยุกต์ใช้สัมมุขาวินัย เยภุยยสิกาวินัย,  การจัดการศาสนาและวัฒนธรรมในอุษาคเนย์เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ, ความเข้มแข็งของสถาบันสงฆ์ ปริมาณหรือคุณภาพ, อานิสงส์ของการบริจาคอวัยวะตามหลักพระพุทธศาสนา:กรณีการบริจาคไต, ทางสายกลาง: วิธีบริหารจัดการชีวิตสู่ความสุขตามหลักพระพุทธศาสนา, ศึกษาวิเคราะห์แก่นธรรมจากชาดก

เอกสารประกอบการสอน : พุทธปรัชญา, วิชาปรัชญาจีนและญี่ปุ่น, วิชาจริยศาสตร์

งานวิจัย : การศึกษาวิเคราะห์หลักจริยศาสตร์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา, พจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, บูรณาการพุทธธรรมเพื่อเพิ่มพลังบริหาร

บรรณาธิการ : มหาบัณฑิตสัมมนา : บทความสัมมนาทางวิชาการ, พระพุทธศาสนากับวิทยาการโลกยุคใหม่


ตำแหน่งทางวิชาการ

พ.ศ. 2542 เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา สังกัดคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

พ.ศ. 2548 เป็นรองศาสตราจารย์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา สังกัดคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

พ.ศ. 2559 เป็นศาสตราจารย์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา สังกัดคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

เกียรติคุณ

พ.ศ. 2546 รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา (เสาเสมาธรรมจักร) ประเภทส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนา สาขาการแต่งหนังสือทางพระพุทธศาสนา

สมณศักดิ์

พ.ศ. 2528 มีสมณศักดิ์ทางวิชาการเปรียญธรรม 9 ประโยค ที่ พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ

พ.ศ. 2551 โปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ที่ พระศรีคัมภีรญาณ 

พ.ศ. 2559 โปรดพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชปริยัติกวี ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

26 มกราคม พ.ศ. 2564 โปรดพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพวัชรบัณฑิต ปริยัติศาสนกิจดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี 

(หมายเหตุ ขอบคุณข้อมูลประวัติจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี) 

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2564

"หมอธีระวัฒน์" ชื่นชมนายกฯหญิงเยอรมัน "เธอคือผู้นำสุภาพสตรีของโลกใบนี้"



เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลัง เพจ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ Dr. Suvit Maesincee ได้โพสต์ข้อความพร้อมภาพประกอบเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 ความว่า 

"นักการเมืองในอุดมคติที่มีอยู่จริง

วันก่อนผมได้โพสท์บทความสั้นๆ แต่จับใจของพระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ ที่พูดถึง “อำนาจเป็นเรื่องชั่วครั้งชั่วคราว” พร้อมกับภาพประกอบเป็นรูปประธานาธิบดี Donald Trump อำลาทำเนียบขาว

วันนี้ผมได้เจอบทความพูดถึงการอำลา นาง Angelika Merkel นายกรัฐมนตรีเยอรมัน  ในโอกาสลงจากตำแหน่ง สะท้อนให้เห็นว่า  

...ท่านเป็น "นักการเมืองในอุดมคติที่มีอยู่จริง"  

ผมมองว่า Angelika Merkel เป็นนักการเมืองที่ไม่ได้เข้ามา "เล่นการเมือง" แต่เป็นนักการเมืองที่สร้างตำนาน เป็นหนึ่งในผู้ร่วมเขียนหน้าประวัติศาสตร์โลก สมกับเป็น “รัฐบุรุษ” ให้กับเยอรมันครับ!!"  

ต่อมาวันนี้(27ม.ค.) เพจ "ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha" ของ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ได้ก็ได้โพสต์ชื่นชมว่า  

Germany bid farewell to Merkel with six minutes of warm applause. The Germans elected her to lead them, and she led 80 million Germans for 18 years with competence, skill, dedication and sincerity.

นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของ เยอรมนี : ลักษณาการสูงสุดยอด คืนสู่สามัญ ใช้ชีวิตที่เรียบง่ายในขณะที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สี่ สมัย  เธอและสามี ทำงานบ้านเอง ไม่มีคนรับใช้ ใดๆ  เธออยู่ในอพาร์ตเมนต์ก่อนขึ้นรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และอยู่เรื่อยมา และยังอยู่ต่อไปหลังลงจากตำแหน่งในปีนี้ (2021) เธอไม่มี เครื่องบินส่วนตัว เรือยอร์ท รถยนต์ส่วนตัว  เธอยังคงสวมเสื้อผ้าชุดเดิมๆ ตลอดที่ดำรงตำแหน่ง 18 ปี เธอตอบผู้สื่อข่าวว่า "ฉันเป็นลูกจ้างรัฐบาล ไม่ใช่นางแบบ"  

อังเกลา แมร์ เคิล : นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของเยอรมนี สตรีที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก เธอได้รับฉายาว่า นายกฯ หญิงเหล็ก (Eiserne Kanzlerin) นักวิจารณ์จำนวนมากเปรียบเธอเป็นผู้นำแห่งโลกเสรี 

เธอคือ ผู้นำสุภาพสตรีของโลกใบนี้ 

ทั้งนี้นาง Angelika Merkel ประกาศจะลงจากตำแหน่งในการเลือกตั้งทั่วไปของเยอรมนีที่จะมีขึ้นในเดือนกันยายนนี้   และเมื่อวันที่ 16 มกราคมที่ผ่านมา  นายอาร์มิน ลาสเชต มุขมนตรีรัฐนอร์ทไรน์-เวสต์ฟาเลิน วัย 59 ปี ที่มีแนวคิดเป็นกลางทางการเมือง ได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคคริสเตียนเดโมแครต(ซีดียู)คนใหม่ สืบต่อจากนาง Angelika Merkel



"มจร-มมร-คณะสงฆ์" ร่วมกับภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ สช.,สสส., สปสช.และสธ. พร้อมทั้งภาคประชาชน และThai PBS ร่วมหารือแนวทางความร่วมมือในการสื่อสารให้กำลังใจและช่วยเหลือแรงงานเมียนมาร์  ในจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดอื่น

เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม 401 สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระเทพเวที  รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต เป็นประธานเปิดการประชุมปรึกษาเรื่อง “การขอร่วมมือ มจร -มมร และภาคีเครือข่ายเยียวยาผู้ประสบภัยจากโควิด -19”            

นายแพทย์ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.)ได้ชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการสานพลังความร่วมมือในการสื่อสารให้กำลังและช่วยเหลือแรงงาน Myanmar จังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดอื่น ๆ             

ส่วน นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้เสนอภาพรวมของสถานการณ์การควบคุม ป้องกันการระบาดของโควิด-19 (ระลอกใหม่) ทำให้ที่ประชุมได้รับทราบสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ต่อจากนั้น นายชูวงศ์ แสงคง เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ ได้นำเสนอกิจกรรมต่าง ๆ ที่เครือข่ายได้ดำเนินการร่วมกับภาคีเครือข่ายพื้นที่ ทำให้เห็นถึงความร่วมมือและแนวทางในการดำเนินการกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน          


ด้าน นายสมเกียรติ จันทรสีมา จากองค์กรกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ( Thai PBS ) ได้เสนอแนวทางและช่องทางในการสื่อสารด้วย

จากนั้น นายแพทย์ปรีดา แต้อารักษ์ ศูนย์ปฏิบัติการรวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติสู้ภัยโควิด-19 (ศรค.) ได้นำเสนอแผนงาน รวมพลังพลเมืองตื่นรู้ ช่วยชาติสู้ภัยโควิด-19(ระลอกใหม่)โดยชี้ให้เห็นถึงสภาพปัญหาที่กำลังเผชิญ และเสนอแผนทั้งระยะเร่งด่วนเพื่อการควบคุมการระบาด ระยะฟื้นฟู เยียวยา และระยะยาวเพื่อการลงทุนเชิงโครงสร้างและพัฒนาระบบนโยบายด้านแรงงานข้ามชาติ โดยมีกลยุทธ์สำคัญ คือ เปิดพื้นที่การมีส่วนร่วม ภาคสังคมหนุนเสริมภาครัฐ เน้นความรวดเร็วและกิจกรรมเชิงรูปธรรม ในพื้นที่เป้าหมายที่มีการระบาด โดยร่วมประสานดำเนินการทุกภาคส่วนเพื่อลดอคติไม่ให้เกิดสังคมตีตรา ไม่ตื่นกลัว เข้าใจไม่ต่อต้าน นำคนเข้าระบบบริการและดูแลคุณภาพชีวิต ควบคุมการระบาดในชุมนุม สร้างความรู้และความตระหนักในการแลกเปลี่ยนบทบาทการดำเนินการงานของส่วนงาน         

พระมหาประยูร โชติวโร ผู้อำนวยการกองกิจการนิสิต มจร ได้นำเสนอภารกิจของกองกิจการนิสิต สำนักงานอธิการบดี ในส่วนของการบริการวิชาการแก่สังคมของ มจร ใน 6 ด้านสำคัญ คือ           

(1) งานเผยแผ่ธรรมะทางวิทยุ-โทรทัศน์และอินเตอร์เน็ต  (2) การปฏิบัติธรรม (3) พระสอนศีลธรรมในโรงเรียน จำนวน 18,000 รูป (4) การบรรพชา และอบรมเยาวชน จำนวน 300 หน่วยอบรม/ต่อปี ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2523 – ปัจจุบัน  (5) นิสิตปฏิบัติศาสนกิจ 1,800 รูปต่อปีการศึกษา (6) โครงการพื้นที่เฉพาะ เช่น พระธรรมจาริก 36 อาศรม ใน 8 จังหวัด/ส่งเสริมคุณภาพชีวิตพื้นที่เขตชายแดน/โรงงาน เป็นต้น ร่วมถึงได้นำเสนอกิจกรรมที่คณะสงฆ์ และองค์กรภาคีเครือข่ายได้ร่วมสนับสนุนทั้ง สสส. สปสช. สช. และอปท. เช่น การจัดทำและขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ,การพัฒนากลไกประสานงานหลักประกันสุขภาพวิถีพุทธบูรณาการอย่างมีส่วนร่วม เพื่อเพิ่มการรับรู้และการเข้าถึงบริการสุขภาพ,โครงการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในระบบสุขภาพเพื่อสังคมสุขภาวะผ่านกลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และโครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พระนิสิตปฏิบัติศาสนกิจสู่การสร้างสังคมสุขภาพ     

โดยชี้ให้เห็นว่าเป็นการดำเนินการภายใต้นโยบาย 3 (MCU FOCUS) ของอธิการบดี มจร คือ (1) Learning Community (ชุมชนแห่งการเรียนรู้) (2) Academic Service (บริการวิชาการแก่สังคม) (3) Buddhist Innovation for Mental and  Social development (นวัตกรรมเชิงพุทธเพื่อการพัฒนาจิตและสังคม)      

อย่างไรก็ตามได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถิตินิสิตต่างประเทศในปีการศึกษา 2563 ว่า มีจำนวนนิสิตทั้งหมด 1,294 รูป จาก 28 สัญชาติ โดยแยกเป็นส่วนกลาง จำนวน 838 รูป และส่วนภูมิภาค จำนวน 456 รูป แยกตามระดับการศึกษา (1) ระดับปริญญาตรี จำนวน 950 รูป/คน (2) ระดับปริญญาโท จำนวน226รูป/คน (3)ระดับปริญญาเอก จำนวน 118 รูป/คน          

ในจำนวนทั้งกล่าวมีนิสิต Myanmar จำนวน 560 รูป ซึ่งมีองค์กรพระนิสิตชาวพม่า(MCU Myanmar Student Monks Organization) ทำหน้าที่บริหารกิจการงานต่างๆ นอกจากนี้ยังมีชมรมนิสิตตามกลุ่มชาติพันธุ์ของนิสิตประมาณ 5 ชมรม      

หลังจากนี้ ผู้แทนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)คือ นางสาวยอดขวัญ รุจนกนกนาถ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการสนับสนุนงบประมาณให้โครงการต่าง ๆ ดำเนินงานในส่วนของการจัดทำสื่อสร้างองค์ความรู้และการขับเคลื่อนงานสร้างสุขภาวะในระดับพื้นที่ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการสื่อสารในประเด็นดังกล่าว

การนี้ นายแพทย์ประจักษวิช เล็บนาค จาก สปสช. ได้กล่าวถึงบทบาทของ สปสช.ในการร่วมดำเนินงานกับคณะสงฆ์มาโดยลำดับโดยได้ชี้ให้ถึงบทบาทสำคัญของคณะสงฆ์ในการช่วยขับเคลื่อนงานภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และคณะสงฆ์มีต้นทุนทางสังคมมากสามารถจะช่วยสื่อสารกับประชาชนได้เป็นอย่างดี         

ในส่วนของผู้แทนองค์กรสงฆ์พระราชเมธีกรรมการและเลขานุการฝ่ายปกครองพระมงคลธรรมวิธาน, รองอธิการบดีฝ่ายกิจการคณะสงฆ์ มมร และ พระมงคลวชิรากร กรรมการและเลขานุการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม ต่างอนุโมทนากับภาคีเครือข่าย และเห็นด้วยกับแนวทางในการดำเนินการตามมาตรการต่าง ๆ ที่รัฐกำหนด ต่างชี้ให้เห็นถึงความสำคัญเกี่ยวกับการสื่อสารประชาสัมพันธ์ทั้งในกลุ่มของพระสงฆ์เองเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง และสามารถร่วมทำหน้าที่สื่อสารให้กำลังและช่วยเหลือแรงงาน จังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดอื่น ๆโดยบูรณาการความร่วมมือกิจกรรมต่างๆ เช่น การผลิตสื่อ สื่อประชาสัมพันธ์และองค์ความรู้จาก สสส. และช่องทางการสื่อสารหรือการเเผยแพร่ของ Thai PBS แนวทางการดำเนินการที่ขับเคลื่อนโดยพระนิสิตชาวเมียนมาร์ซึ่งใช้ฐานความเชื่อหรือต้นทุนศรัทธาเป็นตัวกลางการสื่อสารจากรัฐไปยังแรงงานพม่า เพิ่มความเชื่อใจ อุ่นใจ เสริมกำลังใจและลดการระบาด นอกจากนี้ยังร่วมถึงการใช้เสียงตามสาย,สายด่วนคอลเซนเตอร์ หรือเทศน์ออนไลน์ โดยดำเนินการตามช่องทางหรือมาตรการที่รัฐกำหนด  

อย่างไรก็ตาม การสำคัญนี้ที่ประชุมได้เห็นร่วมกันเพื่อดำเนินการใน 3 ประเด็น คือ     

(1) การกำหนดกลไกความร่วมมือในการดำเนินการร่วมกันงานของหน่วยงานด้านองค์กรศาสนา ด้านสุขภาพ ด้านสังคม และด้านการสื่อสาร     

(2) การพัฒนาศักยภาพพระนิสิตด้านสุขภาพ ด้านมาตรการรัฐที่เกี่ยวข้อง ด้านการสื่อสารและการให้คำปรึกษา     

(3) สร้างเครือข่ายการสื่อสาร เครือข่ายความร่วมมือทั้งการกระจายสื่อ (ที่มีอยู่แล้วและผลิตใหม่) ร่วมผลิตสื่อเฉพาะที่สื่อสารโดยพระนิสิตเมียนมาประการสำคัญคือสื่อประชาสัมพันธ์และองค์ความรู้จากสสส.และช่องทางการสื่อสารหรือการเเผยแพร่ของThai PBS



หลังจากนั้น คณะผู้บริหารที่เข้าร่วมประชุมนำโดย พระเทพเวที รองอธิการบดีฝายกิจการนิสิต และนายแพทย์ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้นำคณะเข้าพบพระราชปริยัติกวี อธิการบดี มจร เพื่อรายงานผลการประชุมและรับฟังข้อคิดความเห็นจากอธิการบดี มจร ในการดำเนินการต่อไป

ผู้แทนทูตสหรัฐนำคณะพบคณะทีมสร้างไทย "หญิงหน่อย"ยินดีได้"ไบเดน"เป็นปธน.วิถีปชต.



เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 เพจคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ Sudarat Keyuraphan ได้โพสต์ข้อความว่า วันนี้ดิฉันพร้อมด้วย คณะทีมสร้างไทย คุณโภคิน พลกุล คุณวัฒนา เมืองสุข คุณต่อพงษ์ ไชยสาสน์ คุณเทพฤทธิ์ สีน้ำเงิน คุณธิดา ยิ่งเจริญ ให้การต้อนรับ มร.เจมส์ แอล. เวย์แมน รักษาการรองหัวหน้าคณะผู้แทน และที่ปรึกษาฝ่ายการเมืองประจำสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย พร้อมคณะผู้แทนสถานทูตสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ให้เกียรติเดินทางมาเยี่ยม โดยได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนและปรึกษาหารือกันในหลายประเด็น ที่สถาบันสร้างไทย

การพบปะครั้งนี้เป็นการพูดคุยระหว่างกลุ่มสร้างไทย และผู้แทนสถานทูตสหรัฐฯเป็นครั้งแรก หลังจากการตั้งกลุ่มสร้างไทย เป็นการสนทนาทั่วไป เกี่ยวกับสหรัฐฯหลังการเลือกตั้ง และสถานการณ์ด้านการเมืองของไทย โดยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมประชาธิปไตยให้แข็งแรง เพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในชาติ สถานการณ์โควิด-19 การค้าการลงทุน ที่ต้องเน้นความร่วมมือแบบพหุภาคี การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน การร่วมผลักดันข้อตกลงปารีสเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ตลอดจนความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐฯกับไทย



ก่อนหน้านี้ดิฉันได้ทำจดหมายแสดงความยินดีไปยังประธานาธิบดีโจ ไบเดน ต่อชัยชนะในการเลือกตั้ง

และวันนี้ดิฉันได้แสดงความยินดีกับชาวอเมริกันที่ได้ใช้ประชาธิปไตยในการแสวงหาทางออกของประเทศ เพราะประชาธิปไตยคือเครื่องมือเดียวที่จะสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวให้กลับคืนสู่อเมริกาอีกครั้ง

ในส่วนประเทศไทยอันเป็นที่รักของเราดิฉันก็เชื่อว่าเราจำเป็นที่จะต้องมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นของประชาชนและเพื่อประชาชนโดยเร็ว เพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างความเท่าเทียมและให้โอกาส #คนตัวเล็ก ที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ตั้งแต่เกษตรกรจนถึงผู้ประกอบการSMEs และผู้ประกอบการรุ่นใหม่อย่าง Startup ได้สามารถแข่งขันกับคนตัวโตอย่างมหาเศรษฐีและเจ้าสัวทั้งหลาย ด้วยกติกาและโอกาสที่ทัดเทียมกัน ไม่ใช่ถูกกีดกันกดขี่อย่างที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ และนี่คือนโยบายของ #กลุ่มสร้างไทย ที่จะขอเป็นตัวแทน และสู้เพื่อพี่น้อง #คนตัวเล็ก ทั่วทั้งประเทศ

ดร.หลวงพ่อแดงมอบผ้าห่มกันหนาว 150 ผืน ชาวเขาเผ่าลัวะแม่สายเชียงราย


เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 เพจพระครูพิศิษฏ์ประชานาถ. ดร. หลวงพ่อแดง นันทิโย ได้โพสต์ข้อความว่า มอบผ้าห่มกันหนาว บ้านหนองน้ำพุ ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย 

พระครูพิศิษฏ์ประชานาถ (ดร.หลวงพ่อแดง) รองเจ้าคณะอำเภออัมพวา รองประธานหนกลาง สมัชาพระสงฆ์ผู้ขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล วัดอินทราราม จ.สมุทรสงคราม สนับสนุนผ้าห่มจำนวน 150 ผืน โดยมีพระครูสุวิชานสุตสุนทร เจ้าอาวาสวัดบ้านจ้อง เป็นผู้แทนส่งมอบความสุขเพื่อให้ชนเผ่าลัวะที่อาศัยตามแนวชายแดน อ.แม่สาย จ.เชียงรายอากาศหนาวมาก ได้รับผ้าห่มได้ผ่อนคลายหนาว ทำให้ชาวเขาเผ่าลัวะปลื้มปิติยินดีใจมากๆๆๆ สาธุๆๆๆอนุโมทามิ 


ขณะที่เฟซบุ๊กพระดร.อรุณเมธี พุทธิภัทโท ได้โพสต์ข้อความว่า อนุโมทนา​เอา​บุญ​ถวายผ้าห่มคลายหนาวแก่พระธรรม​จาริก​บนดอย​ 4​ วัด/อาศรมบนดอย 

.... วันนี้นอกจากนำผ้าห่มไปมอบแก่ชาวบ้านแล้ว​ ได้นำผ้าห่มไปถวายพระธรรม​จาริก​ที่เผยแผ่พระพุทธ​ศาสนาอยู่​บน​ดอย​ตามหมู่บ้านชนเผ่า​ วันนี้ถวายไป​ 4​ วัด​ คือ​ วัดธรรม​จาริก​บ้านห้วยทราย​ ศูนย์​ปฏิบัติ​ธรรม​ไร่หลบภัย​ วัดธรรม​จาริก​บ้านผาผึ้ง​ วัดธรรม​จาริก​บ้านนายางดิน​ วัดธรรม​จาริก​บ้านโม่งหลวง​ ตำบลกองแขก​ อำเภอ​แม่แจ่ม​ จังหวัด​เชียงใหม่ 

....นอกจากนั้นได้ถวายค่าใช้จ่ายในการจัดปฏิบัติ​ธรรม​ ณ​ ศูนย์​ปฏิบัติ​ธรรม​ไร่หลบภัย​ กับพระอาจารย์​สมจันทร์​  ในนามโครงการ​พระธรรม​จาริก​ จำนวน​ 20,000​ บาท ....อนุโมทนา​​บุญ​กัน

"พงศ์พร"ยังนั่งหัวโต๊ะ! ประชุมกก.จริยธรรมประจำ พศ.



เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564  เพจสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้โพสต์ข้อความว่า "วันอังคารที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๓๐ น. พันตำรวจโท พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ทีปรึกษาสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการจริยธรรมประจำสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ ณ ห้องประชุมสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ชั้น ๓ อาคารหลวงพ่อวัดปากน้ำหลังที่ ๑ ตำบล ศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม"

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2564

อธิบดีกรมป่าไม้เตรียมเสนออนุมัติ! สำนักสงฆ์ใช้พื้นที่ป่าไม้ฟรี 15 ไร่ 30 ปี ตามมิติ ครม.


เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 เวลา 08.00 น. ที่กรมป่าไม้ ดร.เพชรวรรต วัฒนพงศ์ศิริกุล รองประธานคณะกรรมาธิการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ,ดร.นพดล แก้วสุพัฒน์ ที่ปรึกษากรรมาธิการศาสนาฯ , ร.ต.ต.สิริชัย ตุลยสุข ที่ปรึกษากรรมาธิการศาสนาฯ , นายธัชกร แต้ศิริเวช ที่ปรึกษากรรมาธิการศาสนาฯ , ดร.ณพลเดช มณีลังกา อนุกรรมาธิการศึกษาพิจารณาพุทธศาสนาและศาสนาอื่นๆ , นายสัมพันธ์ เสริมชีพ อนุกรรมาธิการศึกษาพิจารณาพุทธศาสนาและศาสนาอื่นๆ , นายมิตร โพติยะ นิติกรชำนาญการรัฐสภา และตัวแทนคณะกรรมาธิการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม เข้าพบปะและอวยพรปีใหม่นายอดิศร นุชดำรงค์ อธิบดีกรมป่าไม้

ดร.นพดล ได้กล่าวขอบคุณเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ที่อำนวยความสะดวกในการดำเนินการให้สำนักสงฆ์ใช้ที่ป่าจำนวน 15 ไร่ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563 เกี่ยวกับมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหากรณีที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ก่อนได้รับอนุญาต สำหรับในกรณีของสำนักสงฆ์ที่อยู่ในพื้นที่ป่าไม้มากก่อน 

"ก่อนหน้านี้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้ทำเอกสารเพื่อขอใช้พื้นที่จากกรมป่าไม้เป็นที่เรียบร้อย ดังมีระยะเวลาสิ้นสุดภายในวันที่ 18 ธ.ค.2563 ที่ผ่านมา โดยก่อนมีการสิ้นสุด สำนักพุทธงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้แจ้งให้สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด (พศจ.) ดำเนินการยื่นเอกสารต่อกรมป่าไม้ โดยนายสิปป์บวร แก้วงาม ลงนาม" ดร.นพดล กล่าว

ดร.เพชรวรรต กล่าวเสริมว่า  ตนต้องขอบพระคุณอธิบดีกรมป่าไม้อีกครั้งที่มีแนวคิดที่จะเสนออนุมัติให้สำนักสงฆ์ที่ขึ้นทะเบียนตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563 นั้น ไม่ต้องชำระเงินอัตราค่าปลูกป่าทดแทนในอัตราไร่ละ 10,960 บาทต่อไร่ ในระยะเวลา 30 ปี หากลองคิดดูจะต้องให้วัดป่าที่อยู่ตามต่างจังหวัดต้องหาเงินจำนวน 164,400 บาท นั้นคงเป็นการยากไม่รู้ต้องทอดผ้าป่าอีกกี่ปี สิ่งนี้จะเป็นคุณูปการต่อพระพุทธศาสนายิ่ง ทั้งนี้อธิบดียังแนะนำหากสำนักสงฆ์ใดที่มีพื้นที่เกินกว่า 15 ไร่ก็สามารถขอพื้นที่เพิ่มตามมาตรา 19 ในโครงการพระสงฆ์ดูแลป่าไม้ แต่ในความคิดของตนอยากจะให้ขอตามความเหมาะสมและดูศักยภาพของสำนักสงฆ์ที่จะสามารถดูแลและพัฒนาพื้นที่และประชาชนได้ หากสามารถบริหารได้ดี จะเป็นมิติใหม่ที่ดีและสร้างศีลธรรมให้กับสังคม เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการแก้ปัญหาศีลธรรมและลดคดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้เป็นอย่างดี

บั้นปลายชีวิต"สุวิทย์"ปลีกการเมือง บวชเรียนบาลีจำที่วัดเขาใหญ่



วันที่ 24 มกราคม พ.ศ.2564 เพจ Suwit Khunkitti ของพระสุวิทย์ คุณกิตติ อดีตประธานที่ปรึกษาพรรคกิจสังคม อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน ส.ส.ขอนแก่น 7 สมัย อดีตรองนายกรัฐมนตรี เคยดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีในหลายกระทรวงทั้งกระทรวงยุติธรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี) ได้โพสต์ข้อความว่า   

"อตฺโถ อกฺขรสญฺญาโต" 

เนื้อความทั้งปวง รู้ได้ด้วยอักษร

...ข้าพเจ้าจักเพียรเรียนบาลี

ใช้ร่างกายพ่อแม่มีมอบให้

ใช้แรงเรี่ยวเคี่ยวแต่ศรัทธาไทย

เรียนพระธรรม บุญให้ “บูชาธรรม”

                                        สิโลกธิติ

กราบขอบพระคุณหลวงพี่มหาโตน อตฺถธร ปธ 3 วัดบวรฯ พระอาจารย์ มหาเพิ่มพูน สุขเวสก (สุขเวศก์) ปธ 9 และคณะพระอาจารย์จากสำนักเรียนวัดโมลีฯ ที่ขักชวนให้เรียนบาลี เพื่อจะได้เข้าใกล้พระพุทธเจ้าและเข้าถึงพระธรรม 

พระสุวิทย์ จำอยู่ที่วัดมกุฏคีรีวัน เขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

พระหนุนนักเรียนร.ร.วัดสาลีโขภิตาราม ปลูกผักปลอดสารพิษ สร้างความมั่งคงทางอาหาร

 


วันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2564  เฟซบุ๊กPhraMaha Adun Moonphol ได้โพสต์ข้อความว่า 

 

ชื่อโครงการ : โครงการเศรษฐกิจพอเพียงปลูกผักปลอดสารพิษทางอาหารของนักเรียนโรงเรียนวัดสาลีโขภิตาราม

โดย: พระมหาอดุลย์ อาสโถ

ประชากร : นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-6

ปัญหา : เพื่อลดการใช้จ่าย ของ นักเรียนผู้มีรายได้น้อย ลดการใช้จ่ายและมีเงินออมเพื่อการศึกษาในอนาคต ซึ่งมีหลักการและเหตุผลเพื่อการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการระบบอาหารในโรงเรียน เกษตรในโรงเรียนเป็นการดำเนินการ เพื่อแก้ปัญหาการขาดอาหารเช้า และอาหารกลางวันให้กับนักเรียน 

ทฤษฎี : โดยมีการปลูกผัก การเลี้ยงปลา เป็นการส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการนำเกษตรอินทรีย์มาใช้ในระบบการผลิตอาหารของโรงเรียน มีการพัฒนาทักษะส่วนบุคคล การพัฒนาศักยภาพของเด็กนักเรียนให้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถในการจัดการอาหารในโรงเรียน ชุมชน และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคตามกลุ่มวัยเด็ก วัยเรียน วัยทำงานและวัยผู้สูงอายุ มีการสร้างพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะทั้งพื้นที่ที่บ้าน โรงเรียน สถานที่ทำงาน ศาสนสถาน พื้นที่สาธารณะ และชุมชน เพื่อเป็นการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านการเกษตร และสร้างเจตคติที่ดีด้านสุขภาวะต่อเด็กในโรงเรียน และผู้ปกครองในชุมชน อาหารที่มีคุณภาพและความ

ปลอดภัยเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งต่อการดำรงสุขภาวะที่ดีของประชาชน

ผลลัพท์และเป้าหมาย : เพื่อให้นักเรียนวัดสาลีโขถิตาราม ได้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมเกษตร ปลูกผักไว้กินเองเพื่อมีผักที่ปลอดสารพิษ ทั้งเมื่อเช้าและมื้อเที่ยง

ผลลัพท์ที่ได้ :  โรงเรียนได้วัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรม นักเรียนได้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรม และจัดการอาหารเช้าและอาหารกลางวันในโรงเรียน  โรงเรียนได้แก้ปัญหาการขาดอาหาร มีการปลูกผักยกแคร่ การเพาะเห็ด การเล้ยงไก่ เลี้ยงปลา เป็นการส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรอินทรีย์มาใช้ในระบบอาหารของโรงเรียน

ครูและนักเรียนมีความรู้ ทักษะ ความสามารถในการจัดการอาหารในโรงเรียน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค มีการสร้างพื้นที่ต้นแบบสุขาวะในโรงเรียน สถานที่ทำงาน และชุมชน เป็นการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านการเกษตร โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการระบบและการทำเกษตรในโรงเรียน


วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2564

วิจารณ์สนั่น! พศ.ไม่มีเงินเยียวยาพระจากภัยโควิด แต่มีงบฯปรับปรุงเตาเผาศพวัดละ 1.5 ล้าน





วันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2564  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้ประกาศรายชื่อวัดที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโครงการก่อสร้างปรับปรุงเตาเผาศพปลอดมลพิษประจำปีงบประมาณ 2564 ทั่วประเทศจำนวน  50  วัด โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนวัดละ 1,500,000 บาท รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 75,000,000 บาท สำหรับรายชื่อจำนวน 50 วัด โดยสามารถติดรายชื่อได้ที่ http://thebuddh.com/?p=49641 ส่งผลให้มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเว็บไซต์ http://www.alittlebuddha.com/ ได้ตั้งข้อสังเกต ว่า NEW NORMAL สำนักพุทธฯเข้าสู่ยุคใหม่ ไม่มีเงินเยียวยาค่าอาหารพระ แต่มีเงินจ่ายทำเตาเผาศพทั่วประเทศ เตาละ 1,200,000 บาท จ่ายรวดงวดเดียว 60 ล้าน มหาศาลเลย โดยสามารถติดตามรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ alittlebuddha

"สิปป์บวร"เผยพศ.เล็งชงมส. พิจารณาปมพระถูกฆ่าขณะเดินจงกรม



วันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2564 นายสิปป์บวร แก้วงาม ผู้ตรวจราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) และปรึกษาคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร  กล่าวว่า จากที่มีการเผยข่าวพระสงฆ์ถูกฆาตรกรรมขณะจงกรม ทราบชื่อว่า พระสุริยา วงค์สมบัติ อายุ 45 ปี สำนักสงฆ์บ้านป่าผึ้ง ต.ห้วยยาง อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ นั้นถือเป็นคดีสะเทือนขวัญคณะสงฆ์และชาวพุทธ พศ. ได้ประสานไปสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดชัยภูมิ(พศจ.) ให้ดำเนินการช่วยเหลือเบื้องต้นแล้ว 

โดยให้ประสานเจ้าคณะปกครองสงฆ์ ในการจัดการพิธีศพทำบุญอุทิศส่วนกุศล และประสานและให้ความร่วมมือกับ เจ้าหน้าที่ตำรวจตามกรอบอำนาจหน้าที่ ทั้งนี้ได้วางมาตรการการป้องกันสำหรับความปลอดภัยและให้ความมั่นใจสำหรับพระสงฆ์ที่ปฏิบัตศาสนกิจในพื้นที่ต่างๆ โดย พศ. จะนำเรื่องดังกล่าวแจ้งที่ประชุม มส.พิจารณาวางมาตรการป้องกัน และสร้างแนวปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติศาสนกิจของพระสงฆ์  

นายสิปป์บวร  กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้การจัดการงานศพพระ ตนได้ประสานกับ ผู้อำนวยการ พศจ.ได้รายงานข้อมูลว่า ทางคณะร่วมกับประชาชนในพื้นที่ร่วมกันจัดการบำเพ็ญกุศลศพ และกำหนดฌาปนกิจในวันนี้ และหากเข้าหลักเกณฑ์ที่จะช่วยเหลือญาติของพระที่ถึงแก่มรณภาพได้ ก็จะประสาน ให้ พศจ.ชัยภูมิ จัดส่งหลักฐานขอสนับสนุนเงินกองทุน"วัดช่วยวัด"ต่อไป

เปิดอบรมพระวิปัสสนาจารย์รุ่นที่ ๔๙ วัดสุวรรณประสิทธิ์ เสริมเทคนิคไกล่เกลี่ยเชิงพุทธ


วันที่ ๒๔ มกราคม   ๒๕๖๔  พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร.  อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา  วิทยากรต้นแบบสันติภาพ พระวิปัสสนาจารย์แห่งประเทศไทยรุ่นที่ ๓๐ และเลขานุึการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยว่า รับนิมนต์เป็นวิทยากรกระบวนการฝึกอบรมพระวิปัสสนาจารย์รุ่นที่ ๔๙  ณ ศูนย์วิปัสสนาเคลื่อนที่แห่งประเทศไทย วัดสุวรรณประสิทธิ์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นหลักสูตรระยะยาว ๓ เดือน ประกอบด้วย การพัฒนาด้านวิปัสสนากรรมฐาน ๑ เดือน ด้านทฤษฎีในพระไตรปิฎก ๑ เดือน และด้านทักษะการปฏิบัติการสื่อสารธรรมเป็นวิทยากรต้นแบบ นักเทศน์ นักบรรยาย นักปาฐกถาธรรม ๑ เดือน ในฐานะศิษย์เก่ารุ่นที่ ๓๐ ผ่านมา ๑๙ ปี ได้เตรียมมาเติมเต็มเครื่องมือให้พระวิปัสสนาจารย์เพื่อนำต่อยอดในการสื่อสารธรรมในยุคปัจจุบันต่อไป       

โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็น พระสงฆ์ สามเณร แม่ชี อุบาสก อุบาสิกาจากทั่วประเทศ ภายใต้โครงการพระวิปัสสนาจารย์แห่งประเทศไทย ในหัวข้อ วิทยากรต้นแบบ : การสื่อสารธรรมะอย่างไรให้โดนใจคนยุคดิจิทัล โดยวิทยากรต้นแบบสันติภาพรุ่นที่ ๖ จะได้ลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติจริงในการเป็นวิทยากรกระบวนการ ซึ่งจะมีวิทยากรชั้นนำให้การประเมินเพื่อการพัฒนาให้ยิ่งขึ้นต่อไป โดยวิทยากรสามารถแบ่งออกเป็น ๓ ระดับ ประกอบด้วย      

๑) สุตมยวิทยากร เป็นวิทยากรที่สื่อสารเพียงระดับการบรรยาย ปาฐกถา เน้นการบรรยาย มีสื่อพาเวอร์พ้อยส์ เป็นการเน้นผู้บรรยายเป็นศูนย์กลาง ผู้ฟังได้เพียง ๕ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เพราะได้เพียงความรู้ นั่งฟังเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เป็นเพียงวิทยากรเสพ          

๒) จินตามยวิทยากร เป็นวิทยากรที่ใช้กระบวนการเรียนรู้ให้ผู้ฟังคิดวิเคราะห์ แบ่งกลุ่มระดมสมองร่วมกันแล้วนำเสนอ จากประเด็นที่กำหนดให้ หรือศึกษากรณีตัวอย่างแล้วช่วยกันวิเคราะห์ หาทางออกร่วมกันตามโจทย์วิทยากรกำหนด เป็นวิทยากรกึ่งเสพกึ่งสร้าง ลักษณะเชิงบูรณาการ        

๓) ภาวนามยวิทยากร เป็นวิทยากรกระบวนการที่ออกแบบการเรียนรู้ที่มีส่วนร่วม ค้นหาความต้องการและ Needของผู้ฟัง เน้นผู้ฟังเป็นศูนย์กลาง ลงมือปฏิบัติ การออกแบบกิจกรรมทำหน้าที่เป็น Fa ผู้เข้าอบรมร่วมสัมผัสการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นวิทยากรสร้าง สร้างกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียน  ในระหว่างการฝึกอบรม ๑-๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ จึงสัมผัสกับวิทยากรที่มีเครื่องมือที่หลากหลาย ประกอบด้วย   

วันที่ ๑ ของการฝึกอบรม วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔  เวลา  ๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น.  หัวข้อ  บทบาทพระสงฆ์กับการเผยแผ่ธรรมในฐานะวิทยากรสันติภาพและเทคนิคการไกล่เกลี่ยโดยพุทธสันติวิธี วิทยากร: พระปราโมทย์  วัตถุประสงค์ : เพื่อให้พระสงฆ์นักเผยแผ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทในการเผยแผ่ธรรมในยุคปัจจุบัน สร้างแรงบันดาลใจในการเป็นวิทยากรต้นแบบสันติภาพ เข้าใจในนิเทศศาสตร์ในพระไตรปิฎก เข้าใจในหลักการเผยแผ่ธรรม วิธีการเผยแผ่ธรรม อุดมการณ์เผยแผ่ธรรม มีความเข้าใจมีทักษะเทคนิคการกระบวนการไกล่เกลี่ยโดยพุทธสันติวิธี โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นแบบการไกล่เกลี่ยป้องกันความขัดแย้งและเสริมสร้างสังคมสันติสุข  

วันที่ ๒ ของการฝึกอบรม วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เวลา  ๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น. หัวข้อ สุดยอดการเป็นวิทยากรมืออาชีพ และเทคนิคการสื่อสารธรรมให้โดนใจคนยุคดิจิทัล  วิทยากรโดย อาจารย์สาโรจน์ พึ่งไทย  วิทยากรกระบวนการมืออาชีพ และนิสิตระดับปริญญาเอก หลักสูตรสันติศึกษา มจร  

วัตถุประสงค์ : เพื่อให้พระสงฆ์นักเผยแผ่มีความรู้ความเข้าใจทักษะเกี่ยวกับการเป็นวิทยากรมืออาชีพ มีทักษะมีเครื่องมือในการสื่อสารธรรมให้ทันสถานการณ์ สามารถสื่อสารให้โดนใจคนยุคดิจิทัล มีเครื่องมือในการเป็นวิทยากรที่สามารถถ่ายทอดธรรมให้เกิดการรู้ตื่นและเบิกบานและสามารถออกแบบกิจกรรมง่ายๆ     

วันที่๓ ของการฝึกอบรม วันที่ ๓  กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔  เวลา  ๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น. หัวข้อ  ออกแบบกิจกรรมอย่างไร  ให้ตอบโจทย์ผู้ฟังตามเจเนอเรชั่นและจริต: วิเคราะห์ตนเองเข้าใจผู้อื่นถ่ายทอดธรรมตามจริต วิทยากรโดย  ดร.จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร วิทยากรกระบวนการพัฒนาองค์กร   

วัตถุประสงค์ : เพื่อให้พระสงฆ์นักเผยแผ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทรนด์ของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบหักศอก เข้าใจในเจเนอเรชั่น แต่ละ Zen ควรจะออกแบบการสื่อสารธรรมะอย่างไรให้สามารถตอบโจทย์ วิเคราะห์จริตผู้ฟัง วิเคราะห์ตนเองในการเป็นวิทยากร วิเคราะห์ผู้ฟังตามจริตเพื่อการสื่อสารธรรม และสามารถออกแบบกิจกรรมที่สอดรับกับเจเนอเรชั่นและจริตของผู้ฟังได้ สามารถถ่ายทอดธรรมตามเจเนอเรชั่นและจริต       

วันที่ ๔ ของการฝึกอบรม วันที่ ๔  กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เวลา  ๑๓.๐๐-๑๕.๐๐ น. หัวข้อ  การออกแบบกิจกรรมสำหรับองค์กรที่มีความขัดแย้ง และการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมสำหรับผู้ใหญ่อย่างมีความสุข  วิทยากร:พระปราโมทย์  

วัตถุประสงค์ : เพื่อให้พระสงฆ์นักเผยแผ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้ง ความรุนแรง พุทธสันติวิธี สามารถวิเคราะห์ความขัดแย้ง สามารถออกแบบกิจกรรมเพื่อจัดการความขัดแย้งในองค์กร การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ การออกแบบกิจกรรมที่สร้างการมีส่วนร่วม และการออกแบบกิจกรรมที่สร้างความสุขในการเรียนรู้      

โดยในระหว่างวันที่ ๑-๔ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๔ คุณโยมพันโทหญิง ศศิวาศน์ ศรีเนธิยานันท์ เป็นหัวหน้าแผนกพิพิธภัณฑ์และเวชนิทัศน์ กองวิทยาการ กรมแพทย์ทหารบก น้อมนำหนังสือพุทธภูมิสุวรรณภูมิ จำนวน ๑๖๐ เล่ม เพื่อน้อมถวายพระสงฆ์ พระนักเผยแผ่ พระวิปัสสนาจารณ์รุ่นที่ ๔๙  วัดสุวรรณประสิทธิ์ ศูนย์วิปัสสนาเคลื่อนที่แห่งประเทศไทย  กรุงเทพมหานคร        

ดังนั้น ปัจจุบันมีการเปิดรับสมัครผู้สนใจเรียน Peace Facilitator หลักสูตรวิทยากรต้นแบบสันติภาพ รุ่นที่ ๗ ซึ่งมีการปรับหลักสูตรใหม่พัฒนาวิทยากรกระบวนการด้านสันติภาพและออกแบบกิจกรรมสร้างสันติสุข  ปรับหลักสูตรใหม่ พร้อมถ่ายทอดกิจกรรมในการพัฒนาองค์กร สามารถออกแบบกิจกรรมได้ด้วยตนเอง  เพราะ #เสน่ห์ของวิทยากรคือการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ส่วนงานหลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จึงมีการเปิดหลักสูตรวุฒิบัตร #สำหรับพระสงฆ์และบุคคลทั่วไปที่สนใจ ต้องการมีความสุขจากภายใน เข้าใจตนเองเพื่อเข้าใจคนอื่น ผู้มีอุดมการณ์ในการทำงานรับใช้เพื่อนมนุษย์ มีความกระหายในการเรียนรู้ มีฉันทะในการพัฒนาตน ต้องการเกื้อกูลสังคมให้เกิดสันติสุข ต้องการเติบโตในการเป็นวิทยากรกระบวนการต้นแบบสันติภาพ ต้องการเทคนิคการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ออกแบบกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างองค์กรสันติสุข ตามแนวทางภายใต้หลักสูตร #วิทยากรต้นแบบสันติภาพ : Peace Facilitator ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ผ่านงานวิจัยระดับปริญญาเอก  สาขาสันติศึกษา มจร       

กระบวนการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพสามารถแบ่งออกเป็น ๓ ภาคการเรียนรู้ พร้อมถ่ายทอดประสบการณ์จากการเป็นวิทยากรพัฒนาองค์กรมากกว่า ๑๕ ปี ประกอบด้วย ๑) #ภาคทฤษฏี คือ ออกแบบกิจกรรมเป็นวิทยากรพัฒนาองค์กร กระบวนการฝึกอบรมแบบธรรมะโอดี เรียนรู้เครื่องมือพุทธสันติวิธีในการจัดการความขัดแย้งระดับตนองค์กรและสังคม ๒) #ภาคปฏิบัติ ฝึกปฏิบัติการเป็นวิทยากรต้นแบบตามแนวพุทธศาสนาและศาสตร์สมัยใหม่ กิจกรรมพัฒนาองค์กรแบบธรรมะโอดี ออกแบบกิจกรรมตามแนวทางพุทธสันติวิธี การสร้างสันติภายใน  ๓) #ภาคสนาม  ฝึกทดลองการเป็นวิทยากรจริงและฝึกภาคสนาม สามารถเข้าร่วมเป็นเครือข่ายวิทยากรสันติภาพเพื่อถอดบทเรียนการเป็นวิทยากรต้นแบบสันติภาพ พิเศษมีสิทธิและโอกาสในการศึกษาดูงานด้านการฝึกอบรมในสถานที่ต่างๆ ในฐานะครอบครัววิทยากรสันติภาพ          

มีรูปแบบการฝึกอบรม ใช้หลักสูตรในการฝึกอบรมตามแนวทางของการค้นพบตาม K-U-M-S-A-N Model โดยเป็นรูปแบบที่ผ่านงานวิจัยอย่างเป็นระบบในระดับปริญญาเอก เป็นวิทยากรตามแนวทางศาสตร์สมัยใหม่ ประกอบด้วย +วิทยากรกระบวนการ +วิทยากรกิจกรรมกลุ่ม +วิทยากรปฏิบัติการ +วิทยากรโค้ชชิ่ง +วิทยากรธรรมะโอดี   และพัฒนาสู่การเป็นวิทยากรต้นแบบตามแนวพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย +หลักการวิทยากรต้นแบบ +อุดมการณ์วิทยากรต้นแบบ +วิธีการวิทยากรต้นแบบ +การสื่อสารวิทยากรต้นแบบ สันติภาพวิทยากรต้นแบบ โดยมีกิจกรรมการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพสามารถแบ่งออกเป็น ๖ ด้าน  คือ 

๑) ด้านวิทยากรกระบวนการ   

๒) ด้านการฝึกอบรมธรรมะโอดี

๓) ด้านการพัฒนาองค์กร 

๔) ด้านเครื่องมือพุทธสันติวิธี

๕) ด้านการสร้างสันติภายใน

๖) ด้านการพัฒนาชีวิตและความสุข     

โดยสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร 098-1596542 ไอดีไลน์ : 1596542 สามารถเข้าไลน์กลุ่ม #สมัครวิทยากรต้นแบบสันติภาพรุ่น ๗ เพื่อรับข่าวสารและสมัคร ได้ที่ https://line.me/R/ti/g/O_Xdb9lpIM

โครงสร้างนิยายเรื่อง "น่านรัก"

โครงสร้างนิยายเรื่อง "น่านรัก" 1. บทนำ เปิดเรื่อง : สันติสุข ชายหนุ่มนักเขียนนิยายธรรมะที่ต้องการค้นหามิติใหม่ของการเล่าเรื่องธรรม...