วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2564

โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง! พระราชปริยัติกวี เป็นพระเทพวัชรบัณฑิต

 


วันที่ 27 มกราคม 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า 



"พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ พระราชปริยัติกวี เป็น พระเทพวัชรบัณฑิต ปริยัติศาสนกิจดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี พระราชาคณะชั้นเทพ สถิต ณ วัดปากน้ำ พระอารามหลวง กรุงเทพมหานคร มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ ๕ รูป คือ พระครูปลัด ๑ พระครูวินัยธร ๑ พระครูสังฆรักษ์ ๑ พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฎีกา ๑"


พระเทพวัชรบัณฑิต,ศ.ดร. ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา

พระเทพวัชรบัณฑิต ชาตภูมิ นามเดิมว่า สมจินต์ วันจันทร์  เกิดเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2503 ณ ตำบลโคกกลาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์


การบรรพชาและอุปสมบท

พ.ศ. 2525 หลังจากที่สอบได้ ป.ธ.7 ก็ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดปากน้ำ โดยมีพระธรรมธีรราชมหามุนี ปัจจุบันคือ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายานามว่า สมฺมาปญฺโญ


การศึกษา/วิทยฐานะ

พ.ศ. 2514 นักธรรมชั้นเอก วัดเสาไห้ สำนักเรียนคณะจังหวัดสระบุรี

พ.ศ. 2528 เปรียญธรรม 9 ประโยค สำนักเรียนวัดปากน้ำ กรุงเทพฯ

พ.ศ. 2531 ศึกษาศาสตรบัณฑิต (มัธยมศึกษา), มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

พ.ศ. 2534 พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พระพุทธศาสนา), มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พ.ศ. 2537 Ph.D. (Pali & Buddhist Studies), BHU, India


การปกครองคณะสงฆ์

ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดปากน้ำ 

งานด้านการศึกษา

พ.ศ. 2527 - ปัจจุบันเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ณ สำนักเรียนวัดปากน้ำ กรุงเทพฯ

พ.ศ. 2537 เป็นเจ้าหน้าที่ประจำกองวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พ.ศ. 2538 เป็นรักษาการผู้อำนวยการกองวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พ.ศ. 2540 เป็นผู้อำนวยการกองวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พ.ศ. 2540 เป็นรักษาการรองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พ.ศ. 2541 เป็นรักษาการคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พ.ศ. 2541 เป็นคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (วาระที่ 1)

พ.ศ. 2545 เป็นคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (วาระที่ 2)

พ.ศ. 2549 เป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (วาระที่ 1)

พ.ศ. 2553 เป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (วาระที่ 2)

พ.ศ. 2557 เป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (วาระที่ 3)

พ.ศ. 2557 เป็นรักษาการผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ (รูปแรก)

กรรมการและเลขานุการสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการประจำวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พ.ศ. 2558 เป็นเลขานุการแม่กองบาลีสนามหลวง

พ.ศ. 2561 อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


งานวิชาการ

ผลงานแปลและแต่งหนังสือทางวิชาการ : พัฒนาการแห่งพุทธจริยศาสตร์, พัฒนาการแห่งความคิดแบบอินเดียโบราณ , กรรมและการเกิดใหม่, พุทธทัศนะเบื้องต้น, ปรัชญาแห่งนาคารชุน, พระพุทธศาสนามหายาน,พระพุทธศาสนามหายาน : พัฒนาการและสารัตถธรรม, พุทธปรัชญา : สาระและพัฒนาการ, คัมภีร์วิมุตติมรรค, ลังกาวตารสูตร, บูรณาการพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างพลังบริหาร


ผลงานการเรียบเรียง : คู่มือปฐมสมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัย, คู่มือการเรียนการสอน วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.5, ประมวลการสอนธรรม โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน, พระพุทธศาสนาในจีน ทิเบต เวียดนาม ญี่ปุ่น, กฎแห่งความรัก (ปรัชญาความรักในพระพุทธศาสนา)

บทความทางวิชาการ : บทวิเคราะห์วัชรยาน ตอนที่ 1-5 (บทความทางวิชาการ), นาคารชุนกับปัญหาว่าด้วยกาล ภาวะและอภาวะ, แนะนำพระวินัยปิฎก, ปรัชญามาธยมิกะ, สืบค้นตรรกวิทยาในพระไตรปิฎกและวรรณกรรมพระพุทธศาสนา, วิพากษ์ทางสายกลางของอริสโตเติลกับมัชฌิมาปฏิปทาในพระพุทธศาสนาเถรวาท, พระวินัย : กฎเกณฑ์และคุณค่าทางสังคม กำเนิดและพัฒนาการแห่งพระพุทธรูป, สถานการณ์ฯ พระพุทธศาสนาในโลกปัจจุบัน, เจดีย์ในพระพุทธ-ศาสนา, นิพพาน : อัตตาหรืออนัตตา, วิพากษ์แนวคิด : พระพุทธศาสนาสำหรับโลกหลังยุคใหม่, พระพุทธศาสนาแบบธิเบต : วิเคราะห์มันตระ “โอม มณี ปัทเม หูม”, ทัศนะเกี่ยวกับการศึกษาของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) : วิเคราะห์จากหนังสือ “ทางสายกลางของการศึกษาไทย”, พระพุทธศาสนากับมังสวิรัติ, พุทธวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยกรอบแห่งอธิกรณ-สมถะ 7 : ศึกษาแนวการประยุกต์ใช้สัมมุขาวินัย เยภุยยสิกาวินัย,  การจัดการศาสนาและวัฒนธรรมในอุษาคเนย์เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ, ความเข้มแข็งของสถาบันสงฆ์ ปริมาณหรือคุณภาพ, อานิสงส์ของการบริจาคอวัยวะตามหลักพระพุทธศาสนา:กรณีการบริจาคไต, ทางสายกลาง: วิธีบริหารจัดการชีวิตสู่ความสุขตามหลักพระพุทธศาสนา, ศึกษาวิเคราะห์แก่นธรรมจากชาดก

เอกสารประกอบการสอน : พุทธปรัชญา, วิชาปรัชญาจีนและญี่ปุ่น, วิชาจริยศาสตร์

งานวิจัย : การศึกษาวิเคราะห์หลักจริยศาสตร์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา, พจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, บูรณาการพุทธธรรมเพื่อเพิ่มพลังบริหาร

บรรณาธิการ : มหาบัณฑิตสัมมนา : บทความสัมมนาทางวิชาการ, พระพุทธศาสนากับวิทยาการโลกยุคใหม่


ตำแหน่งทางวิชาการ

พ.ศ. 2542 เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา สังกัดคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

พ.ศ. 2548 เป็นรองศาสตราจารย์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา สังกัดคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

พ.ศ. 2559 เป็นศาสตราจารย์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา สังกัดคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

เกียรติคุณ

พ.ศ. 2546 รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา (เสาเสมาธรรมจักร) ประเภทส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนา สาขาการแต่งหนังสือทางพระพุทธศาสนา

สมณศักดิ์

พ.ศ. 2528 มีสมณศักดิ์ทางวิชาการเปรียญธรรม 9 ประโยค ที่ พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ

พ.ศ. 2551 โปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ที่ พระศรีคัมภีรญาณ 

พ.ศ. 2559 โปรดพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชปริยัติกวี ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

26 มกราคม พ.ศ. 2564 โปรดพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพวัชรบัณฑิต ปริยัติศาสนกิจดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี 

(หมายเหตุ ขอบคุณข้อมูลประวัติจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ๔. เสขปริหานิยวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ๔. เสขปริหานิยวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ บทนำ พระไตรปิฎกเล่มที่ 2...