วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2564

"ผกก.ป่าตอง"สอบจบป.เอกสันติศึกษา"มจร" เสนอโมเดลไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นสอบสวนเชิงพุทธ


เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2564  หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา พระปราโมทย์  วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มจร เลขาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร  เปิดเผยว่า วันนี้(27ม.ค.) มีการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์ของ พ.ต.อ. ธีรพันธ์ นิธิภณยางสง่า ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นนิสิตปริญญาเอก รุ่น 1  สาขาวิชาสันติศึกษา มจร เรื่อง "การพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยชั้นสอบสวนโดยพุทธสันติวิธี : ศึกษากรณีพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรป่าตอง"  ซึ่งมีพระมหาหรรษา ธัมมหาโส เป็นผู้อำนวยการหลักสูตร 

โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการทำงานด้านไกล่เกลี่ยระดับสากลและการไกล่เกลี่ยเชิงพุทธ ประกอบด้วย นายอดุลย์ ขันทอง   อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งพระโขนง และนายปรัชญา อยู่ประเสริฐ  อดีตผู้พิพากษาศาลหัวหน้าศาลประจำสำนักประธานศาลฎีกา อาจารย์พิเศษประจำหลักสูตร เป็นกรรมการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์ สะท้อนเติมเต็มให้งานวิจัยมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นเพราะเป็นความหวังของประชาชนที่มีความขัดแย้งแทนที่จะมุ่งขึ้นสู่ศาล แต่ข้อขัดแย้งของประชาชนจบในระดับสอบสวน ลดความขัดแย้งในสังคม คำถาม กระบวนการไกล่เกลี่ยชั้นสอบสวนโดยพุทธสันติวิธีควรมีกระบวนการอย่างไร ถือว่าเป็นงานวิจัยที่เป็นความหวังของตำรวจในยุคปัจจุบัน  

สอดรับกับหลักสูตรสันติศึกษา มจร มีแผนนโยบายวิจัยการไกล่เกลี่ยเชิงพุทธโดยตั้งคำถามวิจัยว่าหน้าตาการไกล่เกลี่ยเชิงพุทธควรจะเป็นอย่างไร? โดยหลักสูตรเตรียมงบเพื่อการวิจัยพร้อมระดมผู้เชี่ยวชาญการไกล่เกลี่ยแบบสากล ผู้เชี่ยวชาญการไกล่เกลี่ยแบบพุทธ มาร่วมเสนอแนวทางในกระบวนการไกล่เกลี่ยตามแนวพุทธ ซึ่งเป็นอัตลักษณ์รูปแบบการไกล่เกลี่ยตามแนวทางพระพุทธศาสนา พร้อมยกระดับเปิดหลักสูตรระดับปริญญาเอกในสาขาวิชาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเชิงพุทธ        

วิชาที่สำคัญในการพัฒนาคือ สติสำหรับไกล่เกลี่ย สิ่งที่พึงตระหนัก คือตาบอดคลำช้าง ควรจะคลำช้างทั้งตัวอย่าคลำเฉพาะขาเท่านั้น ความขัดแย้งจึงต้องมองให้รอบด้าน บทบาทสำคัญของผู้ไกล่เกลี่ยจะต้อง 1)มีความเป็นกลาง 2)ไม่เป็นผู้ตัดสิน 3)เชื่อมต่อการเจรจาของทั้งสองฝ่าย 4)สร้างทางเลือกต่างๆ ในการยุติข้อพิพาท 5)รับผิดชอบต่อกระบวนการ 6)ที่มาของอำนาจในการไกล่เกลี่ย ถือว่าเป็นความยินยอมของคู่ความ อำนาจที่แท้จริงอยู่ที่ข้อความทั้งสองฝ่าย ปัจจัยในความไม่สำเร็จในการไกล่เกลี่ยมิใช่อยู่ที่ผู้ประนีประนอมเท่านั้นแต่มีหลายปัจจัย เช่น ด้านเวลา ผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องมี 3 ทักษะ คือ People ทักษะเกี่ยวกับคน Process ทักษะด้านกระบวนการ Problem-solving ทักษะอื่นมองปัญหาแยกออกจากคน ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดเชิงบวก  

พระปราโมทย์ กล่าวด้วยว่า ดังนั้น จึงเริ่มแล้วสำหรับการไกล่เกลี่ยของตำรวจ เป็นการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นสอบสวนด้วยเครื่องมือพุทธสันติวิธียกระดับมาตรฐานทั่วประเทศ งานวิจัยสันติศึกษาจึงเป็นฐานการคลี่คลายความขัดแย้งในสถานีตำรวจเมื่อประชาชนเกิดข้อพิพาท พร้อมยกระดับบริการคนทำงานการไกล่เกลี่ยด้วยการเตรียมเปิดปริญญาเอกสาขาวิชาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเชิงพุทธเพื่อตอบโจทย์สังคมสันติสุขต่อไป 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"วราวุธ" เผย พม.จับมือ พศ.- กรมการศาสนา ตั้งศูนย์คุ้มครองเด็กและสามเณร สร้างพื้นที่ปลอดภัยแก่เด็กและเยาวชนหากถูกละเมิด

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567  นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมยุษย์ (รมว.พม.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีเด็ก ...