วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2564

นักวิจัย"มจร"ขอความชัดเจน คำว่า วารสาร" ที่มีคุณภาพกับเป็นที่ยอมรับ" จาก "กพอ." ต่อเกณฑ์ตำแหน่งวิชาการใหม่

 


วันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2564  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่ 



พระมหาเกรียงศักดิ์ อินฺทปญฺโญ,ดร. นักวิจัยสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)  กล่าวถึงเรื่องเกณฑ์ใหม่ อว . ว่า ประกาศของ กพอ. สำหรับการร่างเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการระดับ ผศ. รศ. และ ศ. โดยไม่จำเป็นต้องตีพิมพ์ในวารสารที่อยู่ใน ฐาน TCI แต่เปิดกว้างให้ตีพิมพ์ในวารสารใดๆ ก็ได้ที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการของสาขานั้นๆ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง

จากประกาศ ผู้เขียนมีคำที่พึงพิจารณาอยู่ สองคำ คือ "วารสารที่มีคุณภาพ" และ "วารสารเป็นที่ยอมรับ" สองคำนี้ ต้องดูว่า กพอ. จะมีเกณฑ์อะไรที่บ่งบอกถึงวารสารคุณภาพ และเป็นที่ยอมรับ.  ซึ่ง ณ ปัจจุบัน มี TCI ที่พยายายามทำให้ชัดเจนเกี่ยวกับคุณภาพและการยอมรับในวารสารไทย แม้ยังมีข้อสงสัยในบางประเด็น โดยเฉพาะการพิจารณาคุณภาพวารสารในบริบทสังคมไทย

คุณภาพวารสารและการยอมรับ ณ ขณะนี้ ขึ้นอยู่กับว่าใครคือผู้กำหนด ใครคือผู้พิจารณา ที่ผ่านมา กพอ.ระบุให้ TCI เป็นผู้กำหนดเบ็ดเสร็จว่าวารสารใด มีคุณภาพและได้รับการยอมรับ  แต่คราวนี้ กพอ.เปิดกว้างให้มีผู้กำหนด "คุณภาพวารสาร" ซึ่งยังไม่ชัดว่าใครหรืออย่างไร? ซึ่งต้องรอระเบียบที่คงมีออกมาให้เห็นกันต่อไป

เมื่อมีการเปิดกว้างให้ผู้ชี้ขาด คุณภาพวารสาร คำถามคือ หน่วยงานเหล่านั้น จะสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและตรวจสอบคุณภาพวารสารได้อย่างไร ให้เป็นที่ยอมรับ เป็นไปได้หรือไม่ที่แต่ละมหาวิทยาลัย หรือ เครือข่ายมหาวิทยาลัย จะสามารถพัฒนาคุณภาพวารสารตนเองได้ โดยบูรณาการกระบวนการทำงานจาก TCI หรือกระบวนการพัฒนาคุณภาพวารสารจากฐานข้อมูลวารสารอื่นๆ พร้อมทั้งมีคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพวารสารด้วยตนเอง โดยมี ตัวชีวัดทางสังคมวิชาการ มาเป็นเกณฑ์ตัดสินถึงคุณภาพอีกชั้นหนึ่ง คือ ค่า Citation 

การกระจายผู้ตัดสินคุณภาพสู่มหาวิทยาลัย หรือเครือข่ายมหาวิทยาลัย ภายใต้ผู้ตัดสินใหญ่คือสังคมวิชาการ จะเป็นการทำงานในรูปแบบการกระจายผู้พิจารณาคุณภาพวารสารและจะเกิดบรรยากาศการเรียนรู้การพัฒนาคุณภาพวารสารในวงกว้างมากขึ้น

ขอบคุณ TCI ที่จุดประกายการพัฒนาวารสารไทย ขอบคุณความห่วงใย จาก กพอ.ต่อความหลากหลายทางวิชาการและการพัฒนาสังคมด้วยงานวิชาการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ๔. เสขปริหานิยวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ๔. เสขปริหานิยวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ บทนำ พระไตรปิฎกเล่มที่ 2...