วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564

"หมอประเวศ"เสนอมรรค 8 ขันธ์ 10 ทางรอดจากโควิดวิกฤตสุดท้ายของโลก



"หมอประเวศ" บรรยายนักศึกษาหลักสูตรประกาศนีบัตรแนวคิดพื้นฐานการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี รุ่น 5 สถาบันพระปกเกล้า ทางออนไลน์ ชี้โควิดทรายเม็ดสุดท้ายวิกฤตโลก เสนอทางรอดด้วยมรรค 8 ขันธ์ 10 สร้างสังคมศานติสุข 

เมื่อวันที่  15 มกราคม   2564 พระปราโมทย์  วาทโกวิโท, ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) นักศึกษาหลักสูตรประกาศนีบัตรแนวคิดพื้นฐานการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี รุ่น 5  สถาบันพระปกเกล้า เปิดเผยว่า เรียนออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom ณ หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ภายใต้ "หลักสูตรแนวคิดพื้นฐานการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี" โดยสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ในภาคบ่ายหัวข้อจินตภาพสังคมสันติสุข บรรยายโดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะสี ประธานมูลนิธิเด็ก ที่ปรึกษากิตติศักดิ์มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ 

โดยมีสาระประเด็นสำคัญว่า  เราจะสร้างสันติสุขจะต้องเริ่มต้นจากจินตนาการ ไอน์สไตน์จึงกล่าวว่า จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ จินตนาไม่มีขอบเขตไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งเจ้าชายสิทธัตถะจินตนาการว่ามนุษย์พ้นทุกข์ได้ จึงออกไปแสวงหาความรู้จนนำไปสู่การพ้นทุกข์ คนไทยเราจึงต้องมีจินตนาการใหญ่ร่วมกัน โดยอยากเห็น #สังคมศานติสุข  ประดุจสวรรค์บนดิน นำไปสู่ประเทศไทยยุคศรีอาริยะ คำว่า สังคมศานติสุขควรจะเป็นอย่างไร? เราตั้งเอาการอยู่ร่วมกันเป็นตัวตั้ง สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล สร้างชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง อะไรที่เสียสมดุลจะไม่ปกติ แต่ถ้าสมดุลจะเกิดสันติสุข เราไม่มีภูมิคุ้มกันจนทำให้โลกเกิดวิกฤต โลกจึงเสียสมดุลอย่างมากในปัจจุบัน ตะวันตกคิดแบบแยกส่วนจึงเกิดการเสียสมดุล เราจะต้องคิดแบบร่วมกันจึงเกิดสันติสุข   ในอดีตชุมชนมีความเข้มแข็ง อยู่ร่วมกันระหว่างคนกับคน และคนกับสิ่งแวดล้อมอย่างสันติสุข แต่ปัจจุบันชุมชนไม่มีความเข้มแข็ง     

วิกฤตของโลกในขณะนี้ Self-Organized Criticality เป็นการเกาะเกี่ยวกันถึงจุดวิกฤต เหมือนทรายเม็ดสุดท้าย อันหมายถึง โควิด ทุกอย่างสัมพันธ์เกาะเกี่ยวกันจึงพังทั้งระบบ  มาเตือนมนุษย์แบบหักศอก เราจึงต้องตระหนักสร้างภูมิคุ้มกัน ชุมชนจึงเป็นระบบภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุด เป็นหน่วยสังคมพื้นฐาน (Basic unit) ของประเทศ ถือว่าเป็นเซลล์หน่วยย่อยพื้นฐานของร่างกาย เรามีบ้านอยู่ มีอาหารกิน ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง มีภูมคุ้มกัน ภายใต้ภัยเศรษฐกิจและโควิด  เราจำเป็นต้องมีโครงสร้างสังคมศานติสุข ประกอบด้วย "ชุมชนศานติสุข ตำบลศานติสุข อำเภอศานติสุข" 



จะต้องมีการบูรณาการร่วมกันผ่านการจัดการสังคมศานติสุขผ่านองค์กร คือ องค์กรชุมชนหรือสภาผู้นำชุมชน ผู้นำธรรมชาติ อบต. เทศบาลตำบล เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ และประชาคมคมภูมิบ้านภูมิเมืองจังหวัด เราขัดแย้งเพราะเรามองแบบแยกส่วนต่างคนต่างมองเหมือนตาบอดคลำช้าง มองอย่างไรก็ขัดแย้งแบบยาวนาน วิธีการแก้ต้องมองแบบภาพรวม แล้วแก้ปัญหาร่วมกันแบบองค์รวมคิดแบบบูรณาการลงมือทำแบบบูรณาการ เรามีเซลล์สมอง 100,000 กลุ่ม จึงต้องสนับสนุนสมรรถนะขององค์กรจัดการ โดยใช้มรรค 8 ทางปัญญาของกลุ่มเซลล์สมอง ใช้งานพัฒนานโยบาย และการใช้งานพัฒนาปฏิบัติ ประกอบด้วย 1)จัดให้มีการสำรวจข้อมูลของสถานการณ์ความเป็นจริง  2)นำข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ให้เป็นความรู้เพื่อการใช้งาน 3)นำความรู้ที่เป็นโยบายสู่กระบวนการตัดสินใจ สร้างเป้าหมายและวิสัยทัศน์ร่วม  4)สื่อสารนโยบายสู่ผู้เกี่ยวข้อง และร่วมทำแผนปฏิบัติ  5)ปฏิบัตินโยบาย และปฏิบัติตามแผน   6)ติดตามสนับสนุนนโยบายแก้ไขอุปสรรค และติดตามสนับสนุนการปฏิบัติ  7) ประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบาย 8)เจริญสติ  มุ่งให้ผู้คนเจริญสติจะลดความขัดแย้งภายในตน  ยุทธศาสตร์จะต้องประกอบเป็นเครื่องประเทศไทย เราขาดการออกแบบที่เป็นองค์รวม ปัจจุบันเราเป็นประเทศที่เครื่องหลุดเป็นส่วนๆ ถึงไม่สามาถวิ่งได้ ถ้าประกอบเครื่องครบรถยนต์สามารถวิ่งได้   

ประเทศไทยจึงต้องพัฒนาไปสู่ขันธ์ 10 ประกอบด้วย  1)ร่างกายประเทศแข็งแรงคือ แผ่นดินไทย 2)สมองเข้มแข็ง 3)ระบบริการภาครัฐสมรรถนะสูง 4)ภาคธุรกิจที่บูรณาการแบบองค์รวม  5)สังคมเข้มแข็งสังคมแห่งความเป็นธรรม 6)ระบบสมรรถนะของชาติให้สูงสุด 7)องค์กรศาสนาที่ประยุกต์ปัญญาสูงสุดในการพัฒนาอย่างบูรณาการ  8)กองทัพสร้างระบบภูมิคุ้มกันชาวบ้านปลอดภัย 9)ระบบข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารให้สังคมรู้ความจริง 10 )ระบบสุขภาพหรือสุขภาวะทางกายทางจิตใจ นำไปสู่สันติภาวะ สันติวิธีมิใช่เพียงแค่ไกล่เกลี่ยให้คนดีกันเท่านั้น แต่มีหลากหลายมิติ จึงต้องออกแบบองค์รวมอย่าออกแบบแยกส่วน ไม่แยกข้างแยกขั้ว มุ่งเดินทางสายกลางตามแนวทางของพระพุทธเจ้า จะนำไปสู่สันติภาวะและสันติภาพ ไทยจึงยกระดับการมีอำนาจทางสันติภาพ ร่วมสามารถอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่าง เคารพในความมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์           

ดังนั้น ศักยภาพของนักศึกษาสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาลจึงเป็นความหวังให้เกิดสังคมสันติสุข รวมแล้วมากว่า 1,000 คน 100 กลุ่มเซลล์สมอง ขับเคลื่อนสันติสุขในมิติต่างๆ แล้วนำมาเสนอร่วมกัน สันติวิธีจึงต้องใช้เวลาและกระตุ้นสมองส่วนหน้าคือ ปัญญาและคุณธรรม สมองส่วนหน้าเป็นอาริยะ  และต้องลดสมองส่วนหลังคือ สมองสัตว์เลื้อยคลาน       

ทำให้ท่านศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี จึงย้ำมากว่าอย่าเสียสมดุลในการอยู่ร่วมกัน ห่วงมากในยุคโควิดอาจจะเป็นทรายเม็ดสุดท้ายจุดวิกฤตโลก จึงมีการเสนอขันธ์ 10 โครงสร้างสังคมศานติสุข ต้องไม่มองเหมือนตาบอดคลำช้างนับจะเกิดขัดแย้งระยะยาว จึงต้องแก้ปัญหาด้วยเครื่องมือทางสายกลางตามแนวทางของพระพุทธเจ้าสร้างภูมิคุ้มกันจากภายใน สิ่งที่สะท้อนมากในการขับเคลื่อนชุมชนสังคมสันติสุข คือมุ่งให้อาจารย์มหาวิทยาลัยทั่วประเทศต้องคิดเชิงระบบและการบริหารจัดการ ต้องให้มหาวิทยาลัยเป็นหัวรถจักรทางปัญญา จึงฝากถึงรัฐมนตรีกระทรวง อว. ในฐานะกำกับดูแลมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนะนำหนังสือนิยายอิงธรรมะ: พอสันติสุข

  เนื้อหาหนังสือนิยายอิงธรรมะ: พอสันติสุข บทนำ บทเกริ่นนำ: อธิบายถึงแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและความสำคัญในชีวิตประจำวัน แนะนำตัวละครหล...