วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2564


วันที่ 14 ม.ค.2564  เฟซบบุ๊ก ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ Dr. Suvit Maesincee ได้โพสต์ข้อความว่า ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ BCG สู่ผู้นำอุตสาหกรรมโลก

นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีและถือเป็นการส่งสัญญานที่ชัดเจน ที่เมื่อวานนี้ (13 มกราคม)  ท่านนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (โมเดลเศรษฐกิจ BCG) ที่ประชุมได้เห็นชอบยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2564-2569 โดยประกาศให้ “โมเดลเศรษฐกิจ BCG” เป็นวาระแห่งชาติเรื่องที่ 2 ต่อจาก “ไทยแลนด์ 4.0” ที่ประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติไปก่อนหน้านี้ 





*โมเดลเศรษฐกิจ BCG ในบริบทโลก

หนึ่งในวาระเชิงยุทธศาสตร์ที่จะทำให้โมเดลเศรษฐกิจ BCG เกิดผลเป็นรูปธรรม คือ การยึดโยงโมเดลเศรษฐกิจ BCG กับการตอบโจทย์ความต้องการของตลาดโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในโลกหลังโควิด

หนึ่งในสี่สาขายุทธศาสตร์ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่มีศักยภาพในระดับโลก หากมีการพลิกโฉม เสริมแกร่งจากภายใน ด้วยการมีนโยบายภาครัฐที่ชัดเจน โมเดลธุรกิจสมัยใหม่ และที่สำคัญคือ การยกระดับขีดความสามารถในการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม คือ “อุตสาหกรรมอาหาร”

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตอาหารส่งออกเป็นอันดับที่ 16 ของโลก จากวิกฤตของโรคระบาดโควิด-19 เราได้เห็นความสำคัญของความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคและเกษตรกรที่ต้องมาพึ่งพาการซื้อขายในระบบออนไลน์ และการส่งสินค้าในระบบดิจิตอลรูปแบบใหม่มากขึ้น การเชื่อมต่อคมนาคมในภูมิภาคอาเซียนและประเทศจีนส่งผลให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการที่จะก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางของการผลิตและการส่งออกอาหารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

*พลิกโฉมอุตสาหกรรมอาหารไทย สู่การเป็นผู้นำในตลาดโลก 

การวิจัย พัฒนา และสร้างนวัตกรรม ตลอดจนห่วงโซ่คุณค่าของการผลิตอาหารเพื่อต่อยอดไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ เป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจ มีประเด็นมุ่งเน้น 11 ประเด็นสำคัญต่อไปนี้

1. Smart & Precision Agriculture ปรับปรุงพันธุ์พัฒนางานด้าน Omics และ Big Data เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตให้สูงขึ้นโดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติในการผลิตที่น้อยลง

2. Digitized Food System เชื่อมโยงเกษตรกรผู้ประกอบการและผู้บริโภคครอบคลุมถึงระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability)

3. Personalized Foods พัฒนาอาหารที่เหมาะสมกับพันธุกรรมและปัญหาด้านสุขภาพของผู้บริโภคจำเพาะราย

4. Functional Foods และ High Value Natural Ingredients พัฒนาอาหารและส่วนผสมอาหารที่มีคุณค่าและมูลค่าเพิ่มสูงรวมถึงพัฒนาอาหารและส่วนผสมโดยใช้กระบวนการทาง Bioprocessในการผลิตอาหารสัตว์

5. Novel Foods และ Novel Processing พัฒนาอาหารที่จะเป็นแหล่งโปรตีนชนิดใหม่ทดแทนเนื้อสัตว์รวมทั้งแปรรูปอาหารด้วยกระบวนการแบบใหม่เพื่อให้อาหารเก็บได้นาน โดยมีความใกล้เคียงกับอาหารสดและอาหารที่ปรุงเสร็จใหม่ๆ

6. ลด Food Loss และเพิ่ม Waste Utilization ผ่านกลไกของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน

7. พัฒนา Packaging เพื่อรักษาคุณภาพและบ่งบอกสภาพอาหารภายในบรรจุภัณฑ์ 

8. Cultural Street Foods บูรณาการเสน่ห์ของอาหารวัฒนธรรมเข้ากับนวัตกรรมการออกแบบและเทคโนโลยีความปลอดภัยอาหารเชื่อมโยงการท่องเที่ยว

9. พัฒนาระบบ Logistics และ Distribution อาหารที่มีประสิทธิภาพรองรับชีวิตวิถีใหม่และระบบคมนาคมและดิจิตอลสมัยใหม่

10. พัฒนาโมเดลธุรกิจการบริหารจัดการและการตลาดอาหารรูปแบบใหม่ตามความต้องการของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

11. พัฒนาระบบตรวจสอบมาตรฐานสินค้าที่ถูกต้องรวดเร็วและมีความน่าเชื่อถือรวมไปถึงปลดล็อคข้อจำกัดที่ล้าสมัยเพื่อเชื่อมโยงให้การวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

...ถึงเวลาที่พวกเราต้องรู้รักสามัคคี ร่วมกันเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส ปรับกลไกการสร้างความมั่งคั่งของประเทศใหม่ ด้วย “โมเดลเศรษฐกิจ BCG “ ที่ตอบโจทย์ความสมดุล ทั่วถึงและยั่งยืน ครับ

** ขอขอบคุณท่านอาจารย์สิรี ชัยเสรี ในแนวคิดการพลิกโฉมอุตสาหกรรมอาหารในบทความนี้ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนะนำหนังสือนิยายอิงธรรมะ: พอสันติสุข

  เนื้อหาหนังสือนิยายอิงธรรมะ: พอสันติสุข บทนำ บทเกริ่นนำ: อธิบายถึงแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและความสำคัญในชีวิตประจำวัน แนะนำตัวละครหล...