"วุฒิสาร ตันไชย" เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า หวั่นวัคซีนโควิด ทำโลกปชต.ขัดแย้งกันเอง เพราะความเหลื่อมล้ำ ชี้ระบบภาคเกษตรพึ่งพาตนเองได้ดีที่สุด
เมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๖๔ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) นักศึกษาหลักสูตรประกาศนีบัตรแนวคิดพื้นฐานการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี รุ่น ๔ สถาบันพระปกเกล้า เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊กPramote OD Pantapat ว่า เรียนออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom ณ หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ภายใต้ "หลักสูตรแนวคิดพื้นฐานการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี" โดย สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ในช่วงบ่ายหัวข้อ #การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง บรรยายโดย อาจารย์ ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า โดยมีสาระประเด็นสำคัญว่า เราจะสร้างวัฒนธรรมการเรียนออนไลน์ให้มีคุณภาพ ด้วยการสร้างวินัยของคนในชาติ เราไม่ได้มีปัญหาเรื่องอุปกรณ์ออนไลน์แต่เราต้องปรับวัฒนธรรมการใช้ออนไลน์ เรากำลังตั้งคำถามถึงประเทศที่เป็นแบบแม่ด้านประชาธิปไตย คือ ออกมาประท้วงแล้วใช้ความรุนแรง ถามว่าประชาธิปไตยกำลังมีปัญหาอะไร? ประเทศที่มีความเป็นประชาธิปไตยจะต้องมีความอดทนความเห็นที่แตกต่างกัน แต่ควรหาทางออกโดยรัฐสภา เราต้องมีความอดทนต่อสิ่งที่เห็นไม่ตรงกันแต่อาจจะข้ามเส้นของกฎหมาย
มิติประชาธิปไตย : Democracy มอง ๓ มิติ คือ ๑)มิติคุณค่า คือ ความเสมมอภาค ความยุติธรรม การยอมรับความแตกต่าง การมีส่วนร่วม ๒)มิติสถาบัน คือ ระบบราชการ พรรคการเมือง ระบบรัฐสภา รัฐบาล องค์กรอิสระ สื่อมวลชน ๓)มิติกระบวนการ คือ การเลือกตั้ง การแสดงความคิดเห็น การเสนอกฎหมาย การถอดถอน การออกเสียงประชามติ เป็นช่องทางใช้อำนาจโดยตรงของประชาชน แต่การเลือกตั้งอาจจะไม่สามารถนำไปสู่ประชาธิปไตย จงสามารถแบ่งเป็นประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งประชาชนใช้อำนาจทางตรง แต่สังคมมันใหญ่ขึ้นจึงไม่สามารถใช้ได้ และประชาธิปไตยตัวแทน โดยเลือกตัวแทนมาเป็นสิทธิ์เป็นเสียง การเลือกตั้งจึงเป็นการใช้ตัวแทน รัฐธรรมนูญจึงพยายามให้ประชาชนมามีส่วนร่วม คำถามทำไมประชาธิปไตยในไทยจึงไม่มีความสมบูรณ์มากนัก เพราะเป็นมิติคุณประชาธิปไตย คือ การเคารพเสียงส่วนน้อย การเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เชื่อว่าสังคมมีความแตกต่างกัน เราจึงไม่ละเมิดสิทธิ การใช้เหตุผลอธิบาย เช่น อธิบายเหตุผลว่าลูกป่วยขอแซงคิวก่อน ทุกคนยอมให้แซงคิว เคารพสิทธิและเสรี เคารพในความแตกต่าง จึงย้ำว่า "แม้ประชาธิปไตยจะเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นแต่ไม่ใชเงื่อนไขที่เพียงพอต่อการปกครองที่ดี" ในมุมของเราการเป็นผู้แทนราษฎรที่ดีควรเป็นอย่างไร ? เราคาดหวังอะไรกับผู้แทนราษฎรในปัจจุบัน ปัจจุบันเราเหลื่อมล้ำมากจึงมีคนอาศัยระบบอุปถัมภ์ จึงมีผู้ให้ผู้รับ จึวมีบุญคุณ ตอบแทนคุณ ถ้าเราจะทำให้คนลดความเหลื่อมล้ำ ต้องทำให้คนเข้าถึงระบบพื้นฐานคือ "ระบบการศึกษา ระบบสุขภาพ ระบบยุติธรรม" ถ้าในสังคมไม่ยุติธรรมแสดงว่าเรามีความเหลื่อมล้ำ คนรวยไม่เคยติดคุก คนจนคิดคุกมากมาย เราต้องให้คนเข้าถึงระบบขั้นพื้นฐาน
ทำไมประเทศไทยถูกจัดเป็นประเทศที่มีระบอบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยไม่สม่ำเสมอ มีปัญหาเชิงสถาบันการเมือง ค้นพบว่าหัวคะแนนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้การซื่อสิทธิขายเสียง และระบบพวกพ้อง เราต้องให้ประชาชนตื่นรู้ ให้ความรู้กับประชาชน หันมาสนใจด้านการเมือง ปัจจุบันข้อมูลข่าวสารทางออนไลน์เกี่ยวกับการเมือง เป็นทั้งข้อมูลที่มีการปรุงแต่ง ดัดแปลง ตัดต่อ เราไม่ทราบว่าข้อมูลใดจริงหรือข้อมูลเท็จ นำไปสู่การปลุกเร้าให้เกิดความเกลียดชัง ความขัดแย้ง ความรุนแรง การบิดเบือนข้อมูลสามารถทำได้ง่ายขึ้น มีการผลิตช้ำๆ ส่งต่อไปเรื่อยๆ อย่างรวดเร็ว ทำให้เราได้รับข้อมูลบ่อยครั้ง เราควรมีอะไรเป็นภูมิคุ้มกันตรวจสอบข้อมูลข่าวสารในปัจจุบัน บางข้อมูลไม่เป็นความจริงด้วยการใส่ร้ายกัน ทำให้ประชาธิปไตยถูกแทกแซงโดยบริษัทข้ามชาติ ทำให้ชาวบ้านคนรากหญ้าไม่มีที่ยืนแล้ว บริษัทขนาดใหญ่สามารถควบคุมการผลิตที่ดี จึงตั้วคำถามว่า เพราะเหตุใดระบอบประธิปไตยแบบตัวแทนจึงไม่สามารถสร้างรัฐบาลที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน #สังคมไทยจึงอยู่ในวังวนแห่งวิกฤตการเปลี่ยนผ่าน
ศาสตราจารย์ Larry Diamond ชี้ทิศทางความเสื่อมของประธิปไตยทั่วโลก ๕ ด้าน คือ ๑)การเสื่อมลงเสรีภาพและประชาธิปไตยในระดับโลก ๒)คลื่นการเติบโตของนโยบายประชานิยมที่ไม่ใช้เสรีนิยม ๓)การเเบ่งขั้วอำนาจทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ ๔)การหนคืนอำนาจของจีนและรัสเชีย ๕)การผุพังของคุณค่าประชาธิปไตยและการลดบทบาทของยุโรปและอเมริกา ส่งผลต่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ มีการแบ่งขั้วมากขึ้น รวมถึงปัจจุบันเราใช้ออนไลน์สร้างฐานในการแบ่งขั้วทางการเมือง ศาสตราจารย์ยังชี้สาเหตุที่ทำให้เกิดความเสื่อม คือ ความอ่อนแอของหลักนิติรัฐ การมุ่งแสวงหาอำนาจของฝ่ายบริหาร การแบ่งขั้วทางการเมืองที่รุนแรง พรรคการเมืองชาติพันธุ์ ศาสนา ชนชั้น สถาบันทางการเมืองอ่อนแอ ระบบเศรษฐกิจที่อ่อนแอ และขาดหลักธรรมาภิบาล ซึ่งในปัจจุบันเราเห็นการแบ่งขั้วทางการเมืองซึ่งปะทะกันระหว่างเจเรเนอร์ชั่นต่างกัน ถือว่าไม่ใช่เรื่องแปลกเป็นปกติ เด็กรุ่นใหม่กล้าคิดกล้าพูดในสิ่งที่เราไม่กล้าคิดไม่กล้าพูดในยุคของเรา ประเด็นเศรษฐกิจที่อ่อนแอคือ การบริการ พอโควิดภาคบริการตายทั้งหมด อดีตเรามองว่าภาคเกษตรอ่อนแอที่สุด แต่ในปัจจุบันภาคเกษตรเข้มแข็งที่สุดมีความมั่นคงที่สุด ส่วนหลักธรรมาภิบาลต้องสร้างการมีส่วนร่วม วัฒนธรรมการเมืองแบบประชาธิปไตยการมีส่วนร่วมจะต้องมีความคิดเห็นที่สามารถมีความแตกต่างกันได้ และประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ : Deliberative Democracy เราจึงต้องสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตยกลายเป็นวิถีชีวิต เราจึงพยายามมุ่งเน้นการสร้างประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจร่วม เรากำลังจะมีกฎหมายแบบประชามติ โดยไม่ได้มอบอำนาจการตัดสินใจให้ตัวแทนทั้งหมด โดยในผู้แทนราษฎรพยายามมีตัวแทนทุกภาคส่วน เป็นตัวแทนที่แท้จริง จงสะท้อนว่าการมีส่วนร่วม มีเสรีภาพที่แสดงความเห็นแม้แตกต่าง ทำให้เกิดความร่วมมือของประชาชน โดยใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ จึงสะท้อนว่า พลเมืองคือ คนที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงของสังคมประเทศให้ดีขึ้น คุณลักษณะของพลเมืองที่มีวัฒนธรรมประชาธิปไตยประกอบด้วย ๑)พลเมืองตระหนักรู้ มีความสนใจ มีความรู้ ๒)พลเมืองกระตือรือร้น ผู้ดำเนินการ บทพิสูจน์โควิดสะท้อนถึงการเป็นพลเมืองป้องกันตนเองและป้องกันคนอื่น
ในระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนเเพื่อสร้างประชาธิปไตยแบบปรึกษารือเริ่มต้นจาก "ให้ข้อมูลข่าวสาร ปรึกษาหารือ เข้ามามีบทบาท สร้างความร่วมมือ และเสริมอำนาจ " คุณค่าและจิตใจประชาธิปไตยสำหรับพลเมือง คือ "อธิปไตยของปวงชน เพื่อส่วนร่วม ยุติธรรม นิติรัฐ เสรีภาพ ความเท่าเทียม ความหลากหลาย สัจจะ แสวงหาความสุข และรักบ้านเกิดเมืองนอน " โดยรับผิดชอบต่อสังคมมุ่งเน้นส่วนรวมมากกว่าส่วนตน สิทธิจึงมี ๒ ความหมายคือ ๑)สิทธิมนุษยชน เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นสิทธิที่มีความเท่าเทียมกัน ๒)สิทธิตามกฎหมาย เป็นสิทธิที่กลุ่มตั้งขึ้นมา เช่น สิทธิการเลือกตั้ง เราไม่ได้ให้สิทธิทุกคนในการเลือกตั้ง เช่น นักบวช เป็นต้น ระบอบประชาธิปไตยจึงยอมรับในความแตกต่างในความหลากหลาย : Diversity เราจึงต้องให้คนรักบ้านเกิดเมืองนอน โดยไม่น่าความรักบ้านเกิดมาสร้างความแบ่งแยก
การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโดยมุ่งเน้นให้รับผิดชอบต่อสังคม จึงต้องให้การศึกษาแบบทางการและไม่เป็นทางการ ภาพรวมของ Civic Education คือ ความรู้คือ กฎหมายพื้นฐาน คุณค่าคือเห็นคุณค่าตนเอง ผู้อื่น และทักษะคือ การอธิบาย การวิเคราะห์ และการทำความเข้าใจ ประเทศไทยควรใส่ใจในเรื่องใดของการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง ซึ่งเหตุผลที่ Civic Education ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะคนรุ่นเก่าไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง เคนชินกับระบบการสอนแบบอำนาจนิยม มิติสำคัญคือการสร้างคุณค่าในมิติประชาธิปไตย การจัดการศึกษาด้านการเป็นพลเมืองจะต้องแบบการเรียนการสอนให้มีความเหมาะสม
ดังนั้น ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า จึง ตั้งคำถามประเทศแม่แบบด้านประชาธิปไตยว่าเกิดอะไรขึ้นในการใช้ความรุนแรง มองว่าความเหลื่อมล้ำเป็นความล้มเหลวของประชาธิปไตย ซึ่งอนาคตอาจจะนำไปสู่การต่อสู้กันเพื่อต้องการวัคซีนป้องกันโควิด มองว่าระบบภาคเกษตรพึ่งพาตนเองได้ดีที่สุด ปัจจุบันการแบ่งขั้วทางการเมืองเป็นการปะทะกันระหว่างเจเรเนอร์ชั่นต่างกัน แต่สิ่งสำคัญต้องประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือเคารพในคุณค่าของทุกคนในความเป็นมนุษย์ ซึ่งมีการกระตุ้นการเรียนแบบออนไลน์ ภายใต้คำว่า " สร้างวัฒนธรรมการเรียนออนไลน์อย่างมีคุณภาพ "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น