วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2564

"บรรจบ"อาจารย์พิเศษคณะนิติ"มธ." เปิดสอนออนไลน์วันแรก สาขาวิชาการบริหารกระบวนการยุติธรรม



เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 24 มกราคม พ.ศ.2564  ที่สถาบันพลังจิตตานุภาพ บ้านบรรณรุจิ นนทบุรี ศ.พิเศษ ร.ท.ดร. บรรจบ บรรณรุจิ อาจารย์พิเศษประจำหลักสูตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารกระบวนการยุติธรรม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า ในการเปิดเรียนวันแรกของนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา เป็นการสอนโดยการใช้ระบบ Online การเรียนการสอนผ่านระบบการประชุมทางออนไลน์โดยใช้ Application ชื่อ Webex Meeting ซึ่งสำหรับตนการสอน Online จากที่บ้าน ได้รับการประสานงานจากเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยในการประสานงานเป็นอย่างดี



นายศุภชัย สมเจริญ รองประธานวุฒิสภา และนักศึกษาปริญาเอก ดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารกระบวนการยุติธรรม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ถือเป็นยุค Social distancing ที่นักเรียนนักศึกษาต้องให้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย เพื่อเรียน Online แน่นอนการเรียนการสอนอาจจะติดขัดบ้างแต่ทุกคนอาจต้องปรับตัวเพื่อสามารถเรียนรู้ในภาวะวิกฤตของไวรัส โควิด-19 ซึ่งการเรียน Online คงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในสถานการณ์นี้ ตนก็ต้องเรียนอยู่ที่บ้าน แต่ด้วยเทคโนโลยีเราสามารถเรียนได้เสมือนในห้องเรียนเหมือนอยู่ที่มหาวิทยาลัย นักศึกษาทุกคนเห็นหน้ากันและสามารถโต้ตอบกับอาจารย์ได้ใกล้เคียงกับเรียนในห้องเรียนจริง ถือว่าเป็นทางออกที่ดี แต่คงต้องเพิ่มความคุ้นเคยเพื่อปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่กำลังเข้ามา

นายณพลเดช มณีลังกา อนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาด้านพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นๆ สภาผู้แทนราษฎร และนักศึกษาปริญาเอก ดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารกระบวนการยุติธรรม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงเช้าวันนี้เป็นการเรียนวิชา บย 800 ประเด็นคัดสรรในการบริหารกระบวนการยุติธรรมชั้นสูง เป็นเนื้อหาของเรื่องดุษฎีนิพนธ์ของตนที่นำเสนอแนวทาง “การลดคดีอาญาในกระบวนการยุติธรรมด้วยกลยุทธ์สภาองค์กรส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา” ด้วยการเรียนจะเป็นการวิพากษ์เชิงลึกจากคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ แต่ด้วยการเรียนแบบ Online อาจทำให้ไม่คุ้นเคย ครั้งนี้ถือเป็นการเปิดภาคเรียนวันแรก ตนจึงประสานไปยังอาจารย์เพื่อขอเข้าไปเรียนโดยตรงที่บ้านอาจารย์บรรจบ โดยเว้นระยะห่าง Social distancing เป็นการเรียนแบบกึ่ง Online ถือเป็นมิติใหม่ของวงการศึกษาไทย ที่นักเรียนนักศึกษาอาจจะต้องปรับตัวในการเรียนแต่อาจฝึกสมาธิเพื่อฝึกสร้างความต่อเนื่องในการเรียนรู้และควรเพิ่มการทบทวนและฟังซ้ำเพื่อเน้นย้ำความเข้าใจ ตนคิดว่าการเรียนการศึกษาต่อไปภายหน้า มนุษย์จะเข้าถึงการศึกษาได้ง่ายขึ้น ดังนั้นวงการการศึกษาอาจจะต้องปรับตัวให้มาก เพื่อให้ทันต่อสังคมโลกที่เปลี่ยนไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ๕. ทุจริตวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ปัญจมปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ๕. ทุจริตวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ปัญจมปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทคัด...