“อภัย-บี”หนี่งในผลิตภัณฑ์คุณภาพ ของอภัยภูเบศร ป้องกันสมองเสื่อม ปลอดภัยต่อตับและไตเภสัชมหาวิทยาลัย อุบลฯ-ขอนแก่นคว้ารางวัลงานวิจัย เวทีมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่20
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2566 ในงานเวทีมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 20 เวทีการประกวดผลงานวิชาการด้านสมุนไพร การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก ในปีนี้มีผู้เข้าประกวด และผ่านการคัดเลือกรับรางวัลงานวิจัยจากหลากหลายหน่วยงาน โดยการประกวดนี้มีขึ้นเพื่อส่งเสริมการศึกษาวิจัย ยกระดับภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรด้วยผลงานทางวิชาการ
@siampongnews #อภัย-บี หนี่งในผลิตภัณฑ์คุณภาพ ของ #อภัยภูเบศร ป้องกัน #สมองเสื่อม ปลอดภัยต่อตับและไตเภสัชมหาวิทยาลัย อุบลฯ-ขอนแก่นคว้ารางวัลงานวิจัย เวที #มหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่20 #ข่าวtiktok ♬ เสียงต้นฉบับ - samran sompong
โดยในปีนี้ อภัย-บี หรือ ตำรับกลีบบัวแดง เป็นหนึ่งในงานวิจัยที่ได้รับรางวัล โดยทีมนักวิจัย รศ.ดร.พรทิพย์ วรวุฒิ คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ รศ.ดร.จันทนา บุญยะรัตน์ จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับรางวัลงานวิจัยรองชนะเลิศอันดับ 1 เรื่อง ผลการป้องกันความจำเสื่อมในสัตว์และการทดสอบความเป็นพิษของยาสมุนไพรตำรับกลีบบัวแดง และยังได้รับรางวัลนวัตกรรมเพื่อสังคม 60 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เนื่องจากเป็นการวิจัยที่ช่วยยกระดับภูมิปัญญาของไทยและสร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจให้กับประเทศได้ ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดโครงการการวิจัยตำรับอภัย-บี เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งดำเนินการมามากกว่า 5 ปี ตั้งแต่การพัฒนามาตรฐานวัตถุดิบ การทดสอบฤทธิ์ รวมถึงการวิจัยในคน จนปัจจุบันตำรับอภัย-บีได้รับการอนุมัติให้ขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่สามารถจำหน่ายได้ทั่วไป
ในการศึกษาวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนยาสำหรับการวิจัย คือผลิตภัณฑ์อภัย-บี กลีบบัวแดง ของ มูลนิธิ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร โดยภายในงาน คณะนักวิจัยยังได้มีการบรรยายความรู้ให้ประชาชนที่มาร่วมงานผ่านเวทีอภัยภูเบศร ในหัวข้อ เปิดงานวิจัย อภัย-บี ตำรับแก้สมองเสื่อม โดยนักวิจัยได้เผยว่า การศึกษาวิจัยนี้เป็นการดูถึงประสิทธิผลในการป้องกันและรักษาอัลไซเมอร์ของตำรับยาสมุนไพรกลีบบัวแดงในหนูทดลองที่ทำจาก บัวหลวง บัวบก และ พริกไทย จากงานวิจัยในสัตว์ทดลองพบกลไกหลากหลายในต้านอัลไซเมอร์ ทั้งการบำรุงเซลล์สมอง ปกป้องสมองจากสารพิษ ต้านเอนไซม์อะเซทิลโคลินเอสเตอเรส ลดการสะสมของโปรตีน tau และ โปรตีนอะไมลอยด์ในสมอง ช่วยเพิ่มความจำของหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นสมองเสื่อม โดยสามารถฟื้นฟูความจำทั้งระยะสั้นและระยาว จึงสามารถใช้ได้ทั้งการป้องกันและรักษาอัลไซเมอร์ได้ รวมถึงการทดสอบความเป็นพิษต่อตับและไตแล้วพบว่ามีความปลอดภัยต่อตับและไต ซึ่งงานวิจัยนี้สอดคล้องกับการวิจัยในอาสาสมัครสุขภาพดีที่ดำเนินการไปแล้ว ทั้งนี้กลุ่มนักวิจัยมีเป้าหมายที่จะศึกษาฤทธิ์ในมนุษย์เพิ่มเติมในประสิทธิผลการป้องกันอัลไซเมอร์ เพราะปัญหาสมองเสื่อมปัจจุบันพบมากขึ้นด้วยสังคมผู้สูงอายุ ประกอบกับยาที่ใช้กันทั่วโลกมีเพียง 5 ชนิด และใช้ได้สำหรับกรณีที่เป็นอัลไซเมอร์ที่มีความรุนแรงน้อยถึงปานกลางเท่านั้น โดยยาที่อนุมัติมาก่อนหน้านี้เป็นยาที่ออกฤทธิ์ด้วยกลไกเดียว ซึ่งตำรับอภัย-บี ออกฤทธิ์หลายกลไกน่าจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหานี้ได้ โดยวางแผนวิจัยในอนาคตว่าจะมีการนำเทคนิคทางการวิจัยขั้นสูงทั้งโปรติโอมิกส์และเมตาโบโลมิกส์เข้ามาใช้ เพื่อให้เข้าใจการออกฤทธิ์แบบองค์รวมของตำรับยาสมุนไพรดังกล่าว
รศ.ดร.จันทนา หัวหน้าชุดโครงการได้กล่าวเพิ่มเติมว่า "ตำรับอภัย-บี กลีบบัวแดง เราทำงานวิจัยมาต่อเนื่อง งานวิจัยที่นำมาเสนอในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งในชุดโครงการใหญ่ที่ผ่านมา โดยที่ผ่านมาเราได้ทดสอบฤทธิ์ในการต้านความจำเสื่อม พบว่าเป็นตำรับที่มีศักยภาพ พบการออกฤทธิ์หลายกลไก ทั้งการช่วยต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ปกป้องสมอง ช่วยฟื้นฟูความจำ ลดระดับฮอร์โมนความเครียดในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส ซึ่งสอดคล้องกับองค์ความรู้ดั้งเดิม และผ่านการวิจัยในมนุษย์ที่มีภาวะรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย (Mild Cognitive Impairment หรือ MCI ) ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นก่อนภาวะสมองเสื่อมไปแล้ว พบว่ามีความปลอดภัยและกำลังดำเนินการต่อเพื่อศึกษาประสิทธิผลในกลุ่มผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น ซึ่งในส่วนตัวก็มีความรู้สึกมั่นใจว่าเราจะสามารถพัฒนาตำรับยานี้มาเพื่อแก้ปัญหาสมองเสื่อมให้กับประเทศได้อย่างแน่นอน"
สำหรับท่านที่สนใจสามารถเที่ยวชมงานและปรึกษาสุขภาพได้ ที่งานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 20 ณ อิมแพ็คเมืองทองธานี ฮอลล์ 11-12 โดยงานยังคงมีตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 2 กรกฎาคม 2566 เวลา 10.00-20.00น. และสามารถติดตามรับฟังข้อมูลความรู้จากเวทีอภัยภูเบศรย้อนหลังได้ทาง เฟซบุ๊คสมุนไพรอภัยภูเบศร และYoutube อภัยภูเบศร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น