วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เพจพระปัญญาวชิรโมลี นพพร ได้โพสต์ภาพและข้อความว่า ธนาคารน้ำใต้ดินเพอร์มาคัลเจอร์ เก็บน้ำไว้ใช้หน้าแล้ง แก้ปัญหาน้ำท่วมขังหน้าฝน และปรับปรุงดินให้ดินดี
@siampongnews [พร้อมส่ง] 1 ห่อมี 5ก้อน #สบู่สมุนไพรพรทิน่า ♬ เสียงต้นฉบับ - samran sompong
ที่ข้างกุฏิเวลาหน้าฝนน้ำท่วมขังทุกปีกว่าจะแห้งใช้เวลาหลายวัน คิดว่าจะทำหลุมดักน้ำให้ซึมลงในดินอย่างรวดเร็วก็ไม่มีเวลา วันนี้มีรถมาทำงานเลยถือโอกาสให้เขาลองทำที่กักน้ำในดิน เพื่อจะใหเดินบริเวณนั้นดูดซับน้ำไว้ ลดปัญหาน้ำท่วมขังได้ และเมื่อถึงช่วงหน้าแล้งที่ขาดแคลนน้ำ บางที่ก็บอกว่าสามารถสูบน้ำขึ้นมาใช้ได้ แต่ที่นี่คิดว่าความชื้นในดินสูง จากเดิมประมาณเดือนมีนาคม ถึงเมษายน ดินจะแห้งมาก ถ้าเราเลื่อนความชื้นในดินอออกไปอีกถึงเดือนพฤษภาคม เท่านี้ก็ดีมากแล้ว
ธนาคารน้ำใต้ดินจะมี 2 ระบบคือ ระบบปิด กับระบบเปิด แต่ที่มีเวลาทำนี้คือระบบปิดขนาดใหญ่ ปกติเขาจะทำประมาณ 1 เมตร แต่ที่ทำนี้คือกว้าง 3 เมตร ลึก 4 เมตร ตรงกลางขุดเป็นร่องลงตามสูตรเขาเรียกว่าสะดือ แล้วนำหินหยาบ ¾ มารองก่อน
แล้วนำท่อ PVC วางที่กลางบ่อ โดยให้ท่อมีความยาวสูงกว่าปากบ่อ แล้วใช้ไม้ไผ่มามัดขึงกับท่อ PVC ให้ได้แนวดิ่งตั้งฉากกลางบ่อ โดยรอบ ๆ ท่อเจาะรูให้เป็นที่หายใจเวลาเติมน้ำลงจะเติมได้เร็ว
นำอิฐ, หิน, กระเบื้องแตก หรือเศษปูน ใส่ลงในก้นหลุมจนเหลือพื้นที่จากปากบ่อประมาณ 20 ซม.คลุมด้วยตาข่าย แล้วทับด้วยก้อนหินขนาดเล็กหรือกรวด ให้ต่ำกว่าผิวดิน 5 ซม. จากนั้นใช้ PVC สามทางสวมปลายท่อด้านบน โดยให้ปลายท่อหมุนตามทิศทางลม พร้อมปรับระดับดินรอบบ่อ เพื่อให้น้ำไหลเข้าธนาคารน้ำใต้ดินได้สะดวก
แต่ที่นี่พิเศษคือใช้ตอไม้ขอนไม้มาแทนเศษอิฐเศษปูน เพราะต้องการปรุงดินไปในตัว เมื่อผ่านไป 10 ปี 20 ปี ที่นี่จะเป็นดิน เป็นอาหารของต้นไม้ และไม่ได้รดน้ำอีกต่างหาก เป็นการทำเกษตรประหยัดน้ำ ประหยัดปุ๋ยจึงเรียกว่าเพอร์มาร์คัลเจอร์ เมื่อมารวมกับธนาคารน้ำใด้ดินจึงเรียกว่า ธนาคารน้ำใต้ดินเพอร์มาร์คัลเจอร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น