วันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2566

พระคิดโมเดลให้แล้วทำเลยไม่ต้องรอ! หนองเล็กซ้อนหนองใหญ่ ธนาคารน้ำใต้ดินแบบหลุมขนมครกแก้แล้ง



เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2566  เพจพระปัญญาวชิรโมลี นพพร วัดป่าศรีแสงธรรม ต.ห้วยยาง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ได้โพสต์ข้อความว่า   หนองเล็กซ้อนหนองใหญ่  ธนาคารน้ำใต้ดินแบบหลุมขนมครก ซ้อนหนองเล็ก เขียนศาสตร์พระราชาลงบนตำราของแผ่นดิน

@siampongnews #ธนาคารน้ําใต้ดิน แบบหลุมขนมครกแก้แล้ง หนองเล็กซ้อนหนองใหญ่ พระคิดโมเดลให้แล้วทำเลยไม่ต้องรอ #ข่าวtiktok ♬ เสียงต้นฉบับ samran sompong

เป็นแนวทางการประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่เรรื่องน้ำท่วม น้ำแล้ง จากธรรมชาติที่ให้มาไม่ตรงกับความอยากของคน การใช้ภูมิปัญญากับงานวิชาการจึงเกิดขึ้นเพื่อช่วยในการบริหารจัดการน้ำแบบ หนองเล็ก ซ้อนหนองใหญ่ ใช้ธนาคารน้ำใต้ดินแบบหลุมขนมครก ซ้อนหนองเล็ก ในพื้นที่โพนผักหวานป่า 100 ต้น โพนโกโก้แก้จน150 ต้น มาเป็นอาโวคาโด้เพิ่มอีก 3 ไร่ และโพนป่าพยุง 300 ต้น และวันนี้โพนยางนาอีก 450 ต้น ซึ่งเป็นแนวทางตามพระราชดำริปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง

@siampongnews สเปรย์ #ฟ้าทะลายโจร ♬ เสียงต้นฉบับ - samran sompong

การทำโพนหรือเนินดินโดยการใช้ขอนไม้เศษไม้รองพื้น ขี้วัว 1 กระสอบเททับไว้รดด้วย พด.1 เพื่อเร่งจุลินทรีย์ให้ทำงานสัก 14 วัน ระหว่างนี้มีฝนตกก็จะเป็นการกักความชื้นพร้อมค่อย ๆ ย่อยสลายเศษไม้ ใบไม้ให้กลายเป็นปุ๋ยไปเรื่อย ๆ เพื่อช่วยแก้ปัญหาเรื่องดินขาดความอุดมสมบูรณ์ของโคกอีโด่ยแห่งนี้ที่ทำเป็นกองดินสูงทับเศษไม้ไว้เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหินด้านล่าง ต้นไม้ใหญ่ไม่ค่อยมีรากแล้วหยั่งลงไปได้ 1-1.5 เมตร ก็เจอดินดาน ต้นไม้ที่โตมักจะหงิกงอและแตกพุ่ม ถ้าเรายกกองดินให้สองประมาณ 2 เมตร ก็จะปลูกอะไรได้หลายอย่าง จากนั้นจึงปลูกพืชผักสวนครัวห รือสมุนไพรอื่น ๆ ผสมผสานกันเพื่อการจัดพื้นที่ทำให้ทุกสิ่งเกิดประโยชน์สูงสุดโดยมี 

1) ต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงาที่ง่ายสุดคือกล้วยช่วยบังแสงที่มาช่วงบ่ายทางทิศใต้/ตะวันตกเฉียงใต้  2) ต้นไม้เป้าหมายคือผักหวานป่า และอาโวคาโด้ ที่ให้ผลผลิตทุกวันถ้ารดน้ำ แต่ต้องใช้เวลาปีสองปีกว่าจะโตได้   3) ต้นไม้ที่มีอายุสั้นปานกลางเช่นมะละกอ   4) ต้นไม้ที่โตในช่วงหน้าหนาว และสมุนไพร เช่นมะเขือ พริก   5) พืชผักคลุมดิน เพื่อช่วยเพิ่มสารอาหารให้กับพื้นดิน

 6) พืชหัว เห็ด หรือสิ่งอะไรที่เกี่ยวข้องกับดินซึ่งที่นี่ใช้ดอกกระเจียวหวานเพราะเป็นอาหารเก็บได้เรื่อย ๆ ถ้ามีการให้น้ำ แถมราคาสูงด้วย หรือการให้แมลงต่าง ๆ ที่ช่วยพรวนดินมาอาศัยอยู่ด้วยเช่นมันแกวนี่ก็เป็นสมุนไพรอย่างดี   7) ไม้เลื้อย หรือถั่วฝักยาว  8 ) ไม้มรดกหรือไม้เศรษฐกิจมูลค่าสูงเช่นพยุง ยางนา ประดู่ 

หลายประเทศในโลกกำลังให้ความสำคัญกับ SDGs ที่ถือว่าความมั่นคงของโลกที่ UN ประกาศออกมา ดูแล้วเขาก็ปรับมาจากหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่พร้อมรับปรับตัวกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก ไม่ใช่ความมั่นคง แต่เป็นความคงอยู่ของอาหาร น้ำ พลังงาน ให้มีพอกิน พอใ ช้ นี่คือการแปลงหลักสัปปุริสธรรม 7 คือ รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาล รู้ชุมชน รู้บุคคล เมื่อรวมกันโดยย่อยก็คือ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ๆ ที่ 1) คือความรู้จากวิทยาการ/เทคโนโลยีกับภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) คือคุณธรรมที่เป็นไปเพื่อเจริญงอกงาม ใช้กับคนก็เป็นคนดี ใช้กับสังคมก็เป็นสังคมดี ใช้กับการพัฒนาพื้นที่ ใช้กับการเกษตร การทำงานก็ออกมาดี เมื่อดีมีประโยชน์คนย่อมเห็นคุณค่าสืบสาน รักษา และต่อยอด นั่นก็คือความไม่ขาดแคลนหรือมีอย่างต่อเนื่อง แต่จะยั่งยืนไหมก็ดูกันต่อไปว่าใครจะทำต่อหรือไม่ทำต่อ ถ้าไม่บำรุงรักษา หรือว่าทำขึ้นมาใหม่มันก็หมดไป จึงใช้คำว่ายั่งยืนไม่ได้ บางทีเราก็ไปเห่อตามภาษาฝรั่งมากเกินไปจนไปให้เป้าหมายว่าต้องยั่งยืนทั้งที่มันเป็นทุกสิ่งทุกอย่างล้วนอนิจจัง คือไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงตลอด แต่เขาจะว่าอย่างไรก็ปล่อยเขาไป เราทำอะไรก็ให้ตั้งใจใให้ดีที่สุดก็พอแล้ว

ทางวัดก็ร่วมกิจกรรมรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ในทรัพยากรดินภายใต้แนวคิด อาหารก่อกำเนิดเกิดจากดิน หรือ Soils, where food Begins. ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ด้วยการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรดินในโกอีโด่ย ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) พร้อมติดแฮชแท็ก (Hashtag) #WorldSoilDay #วันดินโลก #soilswherefoodbegins #Soils4Nutrition #FAO #MOI #กระทรวงมหาดไทย #บำบัดทุกข์บำรุงสุข #SDGsforAll #ChangeforGood และตั้งค่าโพสต์เป็นสาธารณะ เพื่อร่วมแสดงเจตนารมณ์ในการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรดิน และการฟื้นฟู และพัฒนาดิน สู่การเป็นแหล่งสร้างอาหารที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เท่านี้เราก็ได้มีโอาสช่วยโลกให้น่าอยู่มากขึ้น

นี่แหละที่เขาเรียกว่า  Sustainovation in Action  #หลักปรัชญาโลกพอเพียง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"มจร วัดไร่ขิง" เปิดหลักสูตรปั้น "มัคนายก" ต้นแบบ พร้อมใบรับรองเพิ่มความรู้สร้างอาชีพ

 เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2567   พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ รองผอ.วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หรือ &q...