วันอังคารที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2566

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามพิษณุโลก เข้าศึกษาดูงานศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน"มจร"



วันที่ 27  มิถุนายน  2566 ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่และนักศึกษาคณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก เข้าศึกษาดูงานกระบวนการฝึกอบรมหลักสูตรไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ย 2562  ตามที่ กพยช รับรอง  พร้อมศึกษาการขับเคลื่อนศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน   โดยหลักสูตรสันติศึกษา  มหาวิยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) โดยมีผู้บริหารของวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร ต้อนรับ 

พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาระดับปริญญาโท มจร เปิดเผยว่า หลักสูตรสันติศึกษาและวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร ที่มีความเข้มแข็งในการจัดฝึกอบรมผู้ไกล่เกลี่ย ซึ่งจะเชื่อมสมานประสานให้คนเข้าใจกัน เพราะความขัดแย้งทำให้ความร่มเย็นเป็นสุขหายไป ทำให้คุณภาพชีวิตไม่ดีนัก สอดรับกับคำว่า สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี  

@siampongnews Cheetahtalk #เครื่องแปลภาษา ♬ เสียงต้นฉบับ - samran sompong

โดยอดีตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยแสดงบทบาทในการจัดการความขัดแย้งในเชิงรับไม่ได้ร่วมมือกับองค์กรใด แต่ปัจจุบันมีการร่วมมือกับองค์กรภายนอก โดยนำเครื่องมือศาสนาไปแก้ไขความขัดแย้ง รวมถึงการยอมรับวันวิสาขบูชาถือว่าเป็นการยอมรับในทางพระพุทธศาสนา 

การใช้กฎหมายเป็นแพ้ทั้งคู่ แต่คนที่มองว่าตนเองชนะถามว่าเสียทรัพย์เสียเวลาไปเท่าใด "เป็นชัยชนะความว่างเปล่า" จึงออกไปศึกษาสถาบันต่างๆ เช่น สถาบันพระปกเกล้า สำนักงานศาลยุติธรรม จึงมีการเปิดหลักสูตรร่วมกันนำ เกิดความเพียรชอบในปธาน 4 ในทางพระพุทธศาสนา เป็นการป้องกัน แก้ไข  เยียวยา และรักษาสันติภาพให้เกิดความยั่งยืน โดยหลักสูตรไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่จัดเป็นปหานปธานคือ แก้ไขความขัดแย้ง เพราะเราทราบว่าความขัดแย้งในบ้านเมืองเราเกิดขึ้นมายาวนานทำมห้เกิดการสูญเสียการพัฒนา

จึงย้ำว่าต้องผลิตพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้มากที่สุดที่มีคุณภาพ โดยพัฒนาตนเองให้มีความพร้อมแล้วออกไปช่วยเหลือสังคมโลก จึงต้องมีบารมี10๐ ทัศ เป็นฐานของโพธิสัตว์ เป็นผู้นำในการสร้างบารมี เริ่มจากการให้ทาน รวมถึงให้กำลังใจซึ่งกันและกัน มีระเบียบวินัยในการจัดการตนเอง โดยพัฒนาตามกรอบบารมี 10 ในการทำหน้าที่ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท จึงต้องวัดคุณภาพของจิตตนเอง โดยจิตมีความเอิบอิ่มใจเบาสบาย นโยบายในการขับเคลื่อนการสร้างของมหาจุฬาคือ ภาวนา อันหมายถึงวิปัสสนากรรมฐานแบบเชิงรับและเชิงรุก   

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"มจร"สีเขียวยุคAI! จัดกิจกรรม "รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม คืนขยะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"

กิจกรรม “รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างจริยธรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ด้วยหล...