วันพุธที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2566

"นิพิฏฐ์" ส.ว.คนไหนหนุนเปลี่ยนวันชาติก็ควรโหวตให้ "พิธา"เป็นนายกฯคนที่ 30



เมื่อวันที่ 29  มิถุนายน 2566  นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) โพสต์เฟซบุ๊กสั้นๆว่า สมาชิกวุฒิสภาท่านใด สนับสนุนเปลี่ยนวันชาติ จาก 5 ธ.ค. เป็น 24 มิ.ย. โปรดช่วยกันสนับสนุนคุณพิธาให้ได้เป็นนายกรัฐมนตรี

ก่อนหน้านี้นายนิพิฏฐ์ได้โพสต์ว่า ความเก๋า กับ ความอ่อนหัด 

-ความเก๋า ของพรรคเพื่อไทย คือ ไม่สร้างประเด็นที่ประชาชนไม่สบายใจ เช่น ไม่พูดถึง ม.112,ไม่พูดถึงการแยกดินแดน,ไม่พูดถึงการเปลี่ยนวันชาติ 

@siampongnews [พร้อมส่ง] 1 ห่อมี 5ก้อน #สบู่สมุนไพรพรทิน่า ♬ เสียงต้นฉบับ - samran sompong

-ความอ่อนหัดของพรรคก้าวไกล คือ ยกเลิก ม.112, ส่งสมาชิกร่วมเสวนาเรื่องการแยกดินแดน, สมาชิกระดับแกนนำเสนอเปลี่ยนวันชาติ จาก 5 ธค. เป็น 24 มิถุนายน 

-พรรคก้าวไกล อ่อนหัดเข้าไปอีก เมื่อเสนอประเด็นที่อ่อนไหวเช่นนี้แล้ว ยังบากหน้าไปขอความเห็นชอบจากสว.เพื่อให้เลือกหัวหน้าพรรคเป็นนายกรัฐมนตรี

-สุดท้าย ก็อ่อนหัดทะลุซอย ถึงขนาดขอให้ฝ่ายค้านเลือกตนเองเป็นนายกรัฐมนตรี

- มีประเทศไหนบ้างที่ฝ่ายค้านเลือกฝ่ายตรงข้ามให้เป็นนายกรัฐมนตรี แล้วตัวเองเดินกลับมานั่งเป็นฝ่ายค้าน 

-พรรคก้าวไกล บริหารอำนาจไม่เป็น เห่อเหิม คึกคะนอง เหมือนลิงเล่นไม้ขีดไฟ สุดท้ายก็เผาตัวเอง

-อย่าฝันว่า จะมานั่งเป็นฝ่ายค้าน ผมขอยกตัวอย่าง ข้อเขียนของ มาเคียเวลลี เตือนใจว่า" อย่าปล่อยศัตรูที่คิดว่าอาจจะมาทำร้ายในภายหลัง" 

-ถ้าเป็นสำนวนหนังกำลังภายใน คุณก็จะถูกสลายเคล็ดวิชา กลายเป็นคนธรรมดา ที่ต้องเดินออกนอกด่าน เอวัง!!!

"เสรี" ฟันธง "8พรรค" ตั้งรัฐบาล ไปไม่รอด 

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ให้สัมภาษณ์ผ่านรายงานการเจาะลึกทั่วไทย อินไซด์ไทยแลนด์ ว่า การเข้าพบ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ​เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ไม่มีเจตนาเร่งรัดคดีของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าและแคนดิเดตพรรคก้าวไกล แต่จากการทำงานของกมธ.ที่ศึกษาเกี่ยวกับการถือหุ้นของนายพิธา ได้มอบรายละเอียดให้กกต. ด้วย อย่างไรก็ดีขณะนี้ยังไม่มีข้อตกลงต่อการเข้าชื่อเพื่อส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้วินิจฉัยคุณสมบัติของนายพิธา เป็นเพียงการหารือตามช่องทางของรัฐธรรมนูญเท่านั้น

“ผมบอกกับ กกต. ว่าควรจะส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญก่อนที่รัฐสภาจะโหวตนายกฯ เพราะมีประเด็นความเห็นไม่ตรงกันและถูกหยิบเป็นประเด็นปลุกปั่นประชาชน สร้างแรงกดดันค่างๆ ดังนั้นหากการดำเนินการดังกล่าวของ กกต. ที่ไต่สวนคดีของนายพิธาแล้วมีมูลเข้าข่ายการกระทำความผิด ช่วยส่งศาลรัฐธรรมนูญให้เร็วที่สุดจะเป็นผลดี เพื่อให้มีข้อยุติในทางศาล โดยไม่เกี่ยวกับการลงมติของส.ว.ที่ถูกตั้งข้อสังเกตว่าหากจะงดออกเสียงแล้วจะมีความชอบธรรมมากกว่า” นายเสรี กล่าว

นายเสรี กล่าวด้วยว่าสำหรับความเคลื่อนไหวของ 8 พรรคการเมืองต่อการจัดตั้งรัฐบาลที่มีปัญหา ส่วนตัวมองว่า ไปไม่รอด แม้จะมีการทำเอ็มโอยู คือการบังคับเดินจากผลคะแนนที่ผ่านมา แม้จะเรียกว่าเป็นฝั่งประชาธิปไตย แต่ตนมองว่าประชาธิปไตยจอมปลอม เพราะรวมเพราะข้อเสนอที่มีมาตั้งแต่แรก แต่ข้อเท็จจริง เขาคงไม่อยากรวมเพราะมีประเด็นการแก้ไขมาตรา 112

“การเมืองเป็นเรื่องอำนาจ ที่บอกว่าสืบทอดอำนาจเป็นส่วนที่ถูกกล่าวหา แต่พวกนี้กำลังแสวงหาอำนาจ คือ อำนาจทั้งนั้นไม่ควรกล่าวหากัน โดยท้ายสุดแล้วผมมองว่าแต่ละพรรคมีเป้าหมายและทิศทางของตัวเอง เชื่อว่าคงไปกันไม่รอด ส่วนปัญหาตำแหน่งประธานสภาฯ นั้นผมมองว่าไม่ใช่เหตุของการแยกทาง โดยตำแหน่งดังกล่าวถือมีความสำคัญ และคนที่ทำหน้าที่ต้องมีความเป็นกลาง ตั้งใจทำให้การเมืองดีขึ้นหากทำเพื่อประโยชน์ของตนเอง กลุ่มตนเอง แสดงความก้าวร้าวที่ผ่านมา จะเป็นประธานสภาฯ เป็นเหตุผลให้พรรคอื่นเขาเป็น” นายเสรี กล่าว

นายเสรี กล่าวด้วยว่า ตำแหน่งประธานสภาฯ​เปนอำนาจสูงสุดของประเทศ แต่ละพรรคต้องสร้างผลงานและรักษาผลประโยชน์ให้กับชาติและประชาชนดังนั้นการมีตำแหน่งหรืออำนาจสูงสุดในระบอบประชาธิปไตยจึงความสำคัญในทางการเมือง หากพรรคใดที่ได้เสียงจากประชาชนมากพอเลือกได้เขาต้องได้ตำแหน่งดังกล่าว เพื่อเป็นความรับผิดชอบของการลงสมัครรับเลือกตั้งและหลังจากได้รับเลือกมาจากประชาชน.




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"วิเคราห์ ทิฏฐิสังยุตต์ มูลปัณณาสก์ ทุติยเปยยาล - นวาตสูตร

  "วิเคราห์   ทิฏฐิสังยุตต์  มูลปัณณาสก์  ทุติยเปยยาล  -   นวาตสูตร  - เนวโหตินนโหติตถาคตสูตร - รูปีอัตตาสูตร - อรูปีอัตตาสูตร -รูปีจอร...